When Business Kills

ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่หลาย ๆ คนให้คุณค่าและมองว่าเป็นสังคมในอุดมคติ

การเปิดเสรีนี้เองที่ทำให้ภาคธุรกิจของสหรัฐมีความหลากหลายและแข่งขันกันสูง แต่การที่มีเสรีภาพมากจนเกินไปอาจทำให้ความมั่งคั่งของธุรกิจบางประเภทกลายเป็นต้นตอของโรคร้ายที่ยังหาทางแก้ไม่ได้ ประเด็นนี้มีตัวอย่างชัดเจน คือ ธุรกิจค้าขายอาวุธปืนและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิแก่ชาวอเมริกันในการครอบครองปืนได้อย่างเสรี

CNN รายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีมานี้ในสหรัฐมีกรณีการกราดยิง (mass shooting) กว่า 246 กรณี ส่งผลให้มีคนถูกยิง 1,357 ราย เสียชีวิตถึง 278 ราย แต่ถ้านับตัวเลขผู้เสียชีวิตทุกรายการจากอาวุธปืนแล้วจะพุ่งขึ้นไปถึงกว่า 18,800 ราย (จากที่สถิติเก็บได้) ทำให้การเข้าถึงอาวุธปืนยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่าจะควบคุมอย่างไรให้รัดกุมกว่านี้

ลองหาข้อมูลดูจะพบว่าวัฒนธรรมการครอบครองอาวุธปืนของชาวอเมริกันเป็นผลมาจากการต่อสู้เพื่ออิสรภาพหลายร้อยปีก่อน ความขัดแย้งระหว่างชาวพื้นถิ่นต่างเผ่า มีการแย่งชิงทรัพยากร ดินแดน “อาวุธปืน” กลายเป็นสิ่งจำเป็น ส่งผลให้ชาวอเมริกันจำนวนมากมองว่า “การครอบครองปืนคือสิทธิเสรีภาพที่พวกเขามีตามกฎหมาย” มาแต่ไหนแต่ไร

และยังถูกนำมาอ้างอิงในบริบทจากที่ได้ศึกษาผมเข้าใจว่ากฎหมายรัฐบาลกลางสหรัฐระบุเอาไว้แค่ว่า ร้านขายอาวุธปืน (ที่มีใบอนุญาตถูกต้อง) ห้ามขายปืนพกให้แก่บุคคลที่อายุต่ำกว่า 21 ปี แต่สามารถขายปืนยาว (ไรเฟิล ลูกซอง) ให้บุคคลที่มีอายุอย่างน้อย 18 ปีได้ แต่หากเป็นบุคคลที่ไม่มีใบอนุญาตสามารถขาย ส่งมอบ หรือโอนปืนยาวให้ใครก็ได้โดยไม่จำกัดอายุ (พ่อส่งต่อให้ลูก ฯลฯ)

เอาเป็นว่าการครอบครองอาวุธปืนมันช่างง่ายเสียเหลือเกิน ซึ่งถ้าเราเอาปัจจัย “วุฒิภาวะที่ยังต่ำ” ของเด็กวัยรุ่น บวกกับ “สื่อสังคมออนไลน์ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง” และ “สภาพแรงกดดันทางสังคม” จะเห็นได้ว่ามีความเสี่ยงสูงมากที่จะกลายเป็นหายนะ

ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว ราคาของอาวุธปืนในสหรัฐเองก็ย่อมเยาลงมากด้วย แถมยิ่งตอนนี้บรรดาแพลตฟอร์ม “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” (buy now pay later) ที่กำลังได้รับความนิยมก็เข้ามาจับตลาดการซื้อขายอาวุธปืนด้วย ทำให้ผู้ซื้อสามารถแบ่งจ่ายงวดสินค้าในยอดที่เล็กลงได้โดยง่ายไม่ต้องพึ่งพาเครดิตเลยแม้แต่น้อย ทำให้อาวุธปืนกลายเป็นของที่เข้าถึงง่ายมากสำหรับทุก ๆ คน โดยสถิติเขาบอกว่าอเมริกามีสัดส่วนปืน 1 กระบอกต่อประชากร 1 คนเลยทีเดียว

การแก้ปัญหาที่ประเด็นกฎหมายว่าด้วย “สิทธิในการครอบครองอาวุธปืน” เป็นเรื่องที่น่าจะมีอุปสรรคทางด้านการเมืองและโดนต่อต้านว่าเป็นการลิดรอนสิทธิ ทางเลือกที่ดีกว่าน่าจะเป็นเรื่องการเชื่อมโยงและประเมินข้อมูลด้านสังคมรายบุคคลแบบบูรณาการ เช่น ประวัติการใช้ความรุนแรง ข้อมูลปัญหาครอบครัว รายงานปัญหาภายในสถานศึกษา ฯลฯ เพื่อเอามาใช้เช็กประวัติผู้ที่ต้องการครอบครองอาวุธปืน นี่เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก

หรือไอเดียง่าย ๆ เช่น การประวิงเวลาในการครอบครองอาวุธ จ่ายเงินซื้อแล้วต้องรอ 2 สัปดาห์ก่อนที่จะได้รับอาวุธเพื่อที่ให้ผู้ซื้อได้ใช้เวลาไตร่ตรองหรือทำใจให้เย็นลง และทางผู้ขายมีโอกาสในการตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานศึกษา หน่วยงานทางด้านสวัสดิการ ฯลฯ เพื่อจัดกลุ่มบุคคลเป็นกลุ่มเฝ้าระวังและเข้าจัดการปัญหาที่ต้นเหตุ พวกนี้ผมก็ว่าช่วยได้และน่าจะได้รับการต่อต้านน้อยกว่าการที่จะไปแตะเรื่อง “สิทธิ” อันเป็นเหมือนการวิ่งชนกำแพงในประเทศที่เน้นเรื่องเสรีภาพอย่างอเมริกา

เรื่องนี้เป็นเพียงอีก 1 กรณีศึกษาที่ดีสำหรับเรา เมื่อใดที่สังคมหย่อนเรื่องมนุษยธรรม จริยธรรม ปล่อยให้แรงกดดันทางธุรกิจบิดเบือนกฎเกณฑ์ให้หละหลวมและมีช่องโหว่ เมื่อนั้นแหละครับที่ความหายนะทางสังคมจะเกิดขึ้น

CEO OF SANSIRI PLC

Related Articles

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่เป็นหุ้นส่วนของประเทศและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจได้ผ่านภาวะวิกฤติมาหลายระลอก หลังจากที่ได้เห็นแผนการกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว ดีใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้ความสำคัญกับจังหวัดรองอย่าง สตูล จันทบุรี ระนอง ตราด จากเดิมมองแค่ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ผมมองว่าคุณภาพของนักท่องเที่ยวสำคัญ เน้นเรื่องการมาอยู่ยาว หรือลองสเตย์ ที่มาเมดิคัลเวลเนส ทำให้ระยะเวลาในการอยู่เร็วขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเงินเยอะขึ้น จากปีนี้ที่ต้องเป้าไว้ว่าจะได้นักท่องเที่ยว 10

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งย่อมาจาก environment (สิ่งแวดล้อม) social (สังคม) และ governance (บรรษัทภิบาล) ปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียน นักลงทุน และผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ใครก็หลีกเลี่ยงไม่สนใจไม่ได้ในตอนนี้ จากทั้ง 3 มิติดังกล่าว นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าถ้ามองในมุมที่จับต้องได้แล้ว มิติด้านสิ่งแวดล้อม

tax, ภาษี

To tax or not to tax ?

ที่ประเทศอังกฤษตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงหาเสียงของตัวแทนจากพรรคอนุรักษนิยม 2 คน ที่จะมาเสียบเก้าอี้นายกฯ แทน นายบอริส จอห์นสัน ซึ่งประกาศลาออกไปเมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งนโยบายหลักที่ทั้งนาง Liz Truss และ นาย Rishi Sunak ยกขึ้นมาถกเถียงกันเพื่อชิงคะแนนนิยมก็คือ เรื่องการปรับโครงสร้างภาษีนั่นเอง คนหนึ่งเสนอมาตรการลดภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาให้ต่ำลง ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่าการปรับลดภาษีอาจไม่ใช่ทางออกสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว ประเด็นภาษีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจในบริบทของประเทศไทยด้วยเช่นกัน