เมื่อคนยุคใหม่ขอ(สร้าง)โลกสวย

เคยคิดกันไหมว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เราเจอกันอยู่ตอนนี้มันหนักขนาดไหน หากคิดไม่ออกก็ลองดูง่าย ๆ อย่างปัญหาขยะพลาสติก คุณรู้ไหมว่าพลาสติกชิ้นเก่าแก่ ที่เกิดพร้อมสงครามโลกครั้งที่สอง ณ ตอนนี้ก็ยังคงอยู่ในสภาพแข็งแรงท้าแดดฝน ไม่เสื่อมสลาย หรือมีทีท่าว่าจะแก่ชรา จนต้องพึ่งไม้เท้าเลยแม้แต่นิดเดียว แล้วแบบนี้ความฝันที่จะมี ‘โลกสวย’ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ในตอนนี้เรากำลังเจอกับปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งก็มาจากการใช้ชีวิตของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะล้นโลกที่มีปริมาณกว่า 6.9 ล้านตันทั่วโลก และในจำนวนนี้กว่า 6.3 ล้านตัน ไม่ได้ถูกแยกอย่างถูกวิธี ยังไม่รวมปัญหาตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาขยะในทะเล ปัญหาการกำจัดขยะแบบผิด ๆ เช่น การเผา สุดท้ายกลายเป็นปัญหาใหญ่ ที่พันกันยุ่งเหยิงยิ่งกว่าสายไฟฟ้าที่ยังไม่ลงดิน ก่อตัวเป็นวิกฤตทางสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้เกิดภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ และที่สำคัญผลกระทบต่าง ๆ ยังส่งผลต่อพวกเราทุกคนด้วย

แต่ก็ใช่ว่าโลกเราจะหมดหวังไปซะทีเดียว เพราะข้อมูลจาก TREND 2019 NOW AGE: Manifesto and Action จากการศึกษาของ TCDC พบว่าในตอนนี้มีเทรนด์ใหม่ ๆ ของคนที่อยากจะลุกมาสร้างโลกสวย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตามมาดูกันเลยว่ามีเทรนด์อะไรที่น่าสนใจบ้าง

The Age of Activism ไม่ใช่แค่ปากว่า แต่มือก็ถึง

ผู้คนต่างลุกขึ้นมาสู้ตามแนวความคิดและคุณค่าที่ตัวเองยึดถือ ที่ไม่ใช่เพียงด้านการเมือง เศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่คิดว่าการมี โลกสวย และน่าอยู่ สำหรับพวกเขาแล้วไม่ใช่ utopia อีกต่อไป แต่ต้องเริ่มจากการลุกขึ้นมาลงมือทำอะไรบางอย่าง เพื่อทำฝันให้เป็นจริง

ภาพจาก U.S. Embassy & Consulates in Indonesia

อย่างประเทศอินโดนีเซียที่ไม่ไกลจากเรา ก็มีคนรุ่นใหม่วัยเยาว์แต่ความคิดก้าวไกลก่อตั้งบริษัท Bye Bye Plastic Bags ที่มีแคมเปญต่าง ๆ เพื่อมุ่งลดการใช้พลาสติก โดยสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่เป็นผู้ออกมาสร้างความเปลี่ยนแปลง

ภาพจาก a day magazine

หรือในประเทศไทยเองตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็เริ่มมีมาตรการที่จริงจังในการลดปริมาณขยะ รวมทั้งการแยกขยะที่ถูกต้อง อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มีโครงการ Chula Zero Waste ที่มุ่งเน้นการสร้างลดปริมาณขยะในมหาวิทยาลัย โดยงดแจกถุงพลาสติกฟรีในร้านค้าภายในมหาวิทยาลัย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ถุงผ้า เปลี่ยนไปใช้แก้วไบโอพลาสติก ที่ย่อยสลายได้ภายใน 4 เดือน ซึ่งได้รับความสนใจและความร่วมมือเป็นอย่างดี สามารถลดขยะได้กว่า 5.7 ตัน ในเวลา 4 เดือนที่เริ่มใช้ รวมทั้งยังสนับสนุนการนำภาชนะส่วนตัวมาใช้ เพื่อลดการสร้างพลาสติกใหม่อีกด้วย

Descendants in Decay เมื่อมูลค่าเกิดขึ้นได้จากความเสื่อมโทรม

ขยะกำลังล้นโลก และคำว่า “ล้น” ไม่ได้เว่อร์เกินไปจริง ๆ เพราะหากติดตามข่าวทุกวันนี้ นอกจากเราจะพบขยะบนบกแล้ว ขยะยังตามลงไปดำน้ำ กลายเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าสิ่งมีชีวิตในทะเล และล่าสุดยังพบ microplastic ที่ร่วงหล่นมาจากฟากฟ้าอีกต่างหาก ดังนั้นแค่ลดการสร้างขยะอาจจะยังไม่พอ จึงเกิดแนวความคิดใหม่ ๆ ในการนำขยะมาเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งมีค่า หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นในงานศิลปะ สถาปัตยกรรม หรือแม้กระทั่งวงการแฟชั่น

ภาพจาก Clean Waves

“แว่นตากันแดด Clean Waves” จึงเกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง Corona และ Parley for the Oceans ด้วยแนวคิดการนำขยะมาสร้างเป็นของมีค่าอีกครั้ง โดยเจ้าแว่นตานี้ทำจากเศษขยะที่เก็บได้ตามชายฝั่ง เกาะ ใต้ท้องทะเล นอกจากนี้แบรนด์ชื่อดังอย่าง Adidas ก็ได้ร่วมมือกับ Parley ในการทำรองเท้าจากขยะด้วยเช่นกัน ถือเป็นอีกวิธีดี ๆ ที่จะช่วยให้เราเปลี่ยนขยะมาหมุนเวียนเป็นสิ่งมีมูลค่าอีกครั้ง

Transparent and Sustainable Luxury นิยามใหม่ของความหรูหรา

เมื่อค่าของสินค้าอยู่ที่คุณรักษ์โลกมากแค่ไหน ในยุคนี้มูลค่าของสินค้าไม่ใช่เรื่องของราคาอีกต่อไป แต่เป็นมูลค่าทางจิตใจ หรือทางสังคม จากการสำรวจของ Nielsen คาดการณ์ว่าตลาดของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอเมริกา มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ และตื่นตัวมากโดยเฉพาะในกลุ่ม Millennial!

กลุ่มคนนี้จะยอมจ่ายมากกว่า เพื่อซื้อสินค้าที่เน้นความยั่งยืน เป็นสินค้าออแกนิค ใช้วัสดุหรือวัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติ รับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม หรือละทิ้ง Brand Loyalty เพื่อไปสนับสนุนสินค้าที่รักษ์โลกอีกด้วย

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเห็นว่า ในปีนี้จะมีบริษัทเกิดใหม่หรือองค์กรต่าง ๆ ลุกขึ้นมาร่วมสร้างโลกน่าอยู่ไปพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ด้วย อย่างโปรเจค Sansiri Green Mission ของแสนสิริที่มุ่งสร้างโลกสีเขียวให้เกิดขึ้นจริงเช่นกัน โดยเริ่มจากภายในองค์กรเอง ซึ่งมีพนักงานเป็นคนยุคใหม่กว่า 60% ที่มีความแอคทีฟ พร้อมให้ร่วมมือและขับเคลื่อนโปรเจคดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการงดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง พกแก้วน้ำมาทำงาน แยกขยะภายในที่ทำงาน รวมทั้งเปลี่ยนเศษอาหารเป็นปุ๋ยแจกฟรีให้พนักงานด้วย รวมถึงมีการทำ workshop ให้พนักงานได้ไปเรียนรู้การปลูกผักออแกนิค ได้สัมผัสและใกล้ชิดความเป็นคนเจนกรีนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมกรีน ๆ ภายในโครงการต่าง ๆ ที่จะช่วยสร้างโลกสวยให้กับทุกคน

โลกไม่ได้เป็นแค่ของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่เป็นของเราทุกคน ซึ่งก็ยังมีหวังว่าเทรนด์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นโดยคนรุ่นใหม่จะเป็นกำลังสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ และความฝันที่เราจะมีโลกที่น่าอยู่ ก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม

Related Articles

Burasiri Wongwan - Onnut

Sansiri Tree Story จากเรื่องราวของต้นไม้ สู่การส่งต่อคุณค่ายิ่งใหญ่ไม่จางหาย

เพราะคุณค่าของต้นไม้คือส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตของมนุษ์เราบนโลกใบนี้ เมื่อปราศจากต้นไม้ ก็อาจเท่ากับปราศจากชีวิต การเก็บรักษา “คุณค่า” แห่งชีวิตที่ธรรมชาติมอบให้มาอย่างใส่ใจ ให้ยังคงอยู่ตลอดไป จึงเป็นภารกิจที่สำคัญเหนือสิ่งใด ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนก็คงจะเป็นความผูกพันของชีวิตมนุษย์และธรรมชาติที่นับวันจะยิ่งเชื่อมใกล้ชิดกันอย่างที่แยกจากกันไม่ออก  “ธรรมชาติ” ยังคงคอยเข้ามาเติมเต็มการใช้ชีวิตเราให้ให้สมบูรณ์อยู่เรื่อยมาเสมอ ด้วยการยืดหยัดอยู่เคียงข้างมนุษย์ พร้อมมอบคุณค่าอันยิ่งใหญ่ให้ชีวิตเราทุกคน แต่คุณค่าแบบไหนที่ต้นไม้และธรรมชาติมอบให้เรา? คุณค่าแห่งชีวิตที่จะหยั่งรากลึกตลอดไป ในการใช้ชีวิตแต่ละวันของมนุษย์นั้นต้องเผชิญกับสุขและทุกข์อยู่เสมอ แต่เมื่อไหร่ที่ได้นอนเอนกาย หลับตาลงใต้ต้นไม้ใหญ่ กลางสวนสีเขียวผืนกว้าง

sansiri tree day ปลูกหนึ่งให้ถึงแสน

Tree Day ดีเดย์! เติมความเขียว ตามสไตล์คนเมือง ใครว่าทำไม่ได้

ปลูกต้นไม้ เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัว ที่มักถูกผลักออกไปให้ไกลตัวด้วยอุปสรรคเส้นบางๆ ที่เรายกขึ้นมาขวางกั้นตัวเองทุกครั้ง รู้นะ…ว่าโลกร้อน ฝุ่นลอยฟุ้งเป็นหมอกพิษ สนับสนุนนะ…ให้ทุกคนปลูกต้นไม้ แต่อยู่กลางเมืองแบบนี้ ต้องขอบาย ปลูกเองไม่ได้จริงๆ ว่าแต่ ใครว่าอยู่เมืองใหญ่ จะปลูกพื้นที่สีเขียวให้เติบโตไม่ได้? หลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะหันไปร่วมวงสนทนาไหน ก็ได้ยินปัญหาโลกร้อนและปัญหามลพิษจากทั่วทุกสารทิศเต็มไปหมด เรียกได้ว่าสิ่งแวดล้อมที่เข้าขั้นวิกฤตนี้ กลายเป็นวาระแห่งชาติ หรือถ้าจะให้ถูกก็คงต้องวาระแห่งมนุษยชาติเลยทีเดียว

ใครนิ่ง แต่เราไม่นิ่งตาม : รวมพลัง “ทวงคืน” โลกที่น่าอยู่

ฝุ่นละอองเล็กๆ ที่ปกคลุมผืนฟ้าเหนือหลายๆ จังหวัดของไทย รวมถึงควันไฟที่ลอยคละคลุ้งรอบตัว จากวิกฤตไฟป่าครั้งใหญ่ทุกแห่งหน กลายเป็นส่วนหนึ่งของอากาศที่เราหายใจอย่างชินชาไปตั้งแต่เมื่อไหร่กัน? ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหยุดความสนิทกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษไว้เพียงแค่นี้? ขึ้นปี 2020 มาหยกๆ ตั้งใจไว้อย่างดีว่าปีนี้นี่ล่ะ จะต้องเปิดรับสิ่งดีๆ และซึมซับพลังบวกเข้ามาในชีวิตให้เยอะที่สุด แต่พอหันกลับมามองโลกรอบตัวจริงๆ เท่านั้น…กลับกลายเป็นว่าสิ่งเดียวที่ได้เปิดรับ คือวิกฤตสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ที่ค่อยๆ ย่างกรายมาส่งผลต่อชีวิตมากขึ้นทีละน้อย ไฟป่า ฝุ่นพิษ