รู้จัก Burnout Syndromes
ภาวะหมดไฟ หมดใจในการทำงาน

จากงานที่เรารัก งานที่เราชอบ อยู่ๆ กลับรู้สึกเบื่อกับงานที่ทำอยู่ และไม่อยากทำขึ้นมาซะงั้น

ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า นี่ฉันเป็นอะไร? จนอาจจะคิดว่า เป็นโรคซึมเศร้ารึเปล่านะ? เพราะบางอาการอาจมีความคล้ายคลึงกัน คำตอบคือไม่ใช่ แต่อาการเหล่านี้เรียกว่า Burnout syndromes หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งกรมอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การรับรองว่าเป็นโรคทางการแพทย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019  ซึ่งจัดอยูในกลุ่ม ICD (International Classification of Diseases) โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่กดดันมากเกินไป

Burnout syndromes เกิดขึ้นจากอะไร

Burnout syndromes เกิดขึ้นจากความรู้สึกเหนื่อยล้าทางจิตใจ ที่สะสมต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเครียดและความกดดันในการทำงาน หากไม่ได้รับการระบายหรือการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง จะทำให้เกิดความรู้สึก เหนื่อยล้า หมดเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หดหู่ หมดหวัง ท้อแท้ หงุดหงิด โมโหง่าย รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า ฯลฯ หากไม่ได้รับการเยียวยาทางจิตใจ อาจจะทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับและโรคซึมเศร้าตามมาในที่สุด

5 ระยะของอาการภาวะหมดไฟ

ระยะฮันนีมูน (the honeymoon) เป็นช่วงมีไฟในการทำงาน มีความตั้งใจ พร้อมทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อความสำเร็จของตัวเองและองค์กร

ระยะรู้สึกตัว (the awakening) เมื่อทำงานผ่านไปสักระยะ เกิดความรู้สึกว่าความคาดหวังไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ค่าตอบแทนไม่ได้ดั่งที่หวัง งานเยอะเกินไป ฯลฯ

ระยะไฟตก (brownout) มีความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากไปทำงาน ไม่อยากเจอผู้คน บางคนอาจจะติดแอลกอฮอล์หรือใช้จ่ายเกินจำเป็น

ระยะหมดไฟเต็มที่ (full scale of burnout) เมื่อรู้สึกหมดไฟอย่างเต็มที่จะไม่อยากทำงาน อยากลาออจากงาน รู้สึกสิ้นหวังและหมดความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งอาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้

ระยะฟื้นตัว (the phoenix phenomenon) หากได้รับการผ่อนคลายหรือบำบัดรักษาจัดสมดุลชีวิต หรือได้งานที่อยากทำ จะทำให้กลับมามีไฟในการทำงานอีกครั้ง

 เช็กหน่อยสิ เราอยู่ในภาวะหมดไฟรึเปล่านะ

  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายหมดพลังในการทำงาน
  • นอนไม่หลับหรือหลับยาก
  • ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ไม่อยากทำงาน
  • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • มีอาการปวดหัว คลื่นใส้ ม้วนท้อง ในระหว่างการทำงาน
  • อารมณ์แปรปรวน
  • ไม่ดูแลตัวเอง
  • แยกตัวออกจากผู้อื่น

7 วิธี ปลุกพลังใจ เติมไฟในการทำงาน

หาความสุขให้กับตัวเอง ให้เวลาพักผ่อนกับตัวเอง หาเวลาทำสิ่งที่ชอบ ออกไปเที่ยว ไปรับประทานอาหารอร่อยๆ เล่นเกม ดูทีวี ฯลฯ เพื่อให้ผ่อนคลายจากความเครียด

พูดคุยกับคนที่ไว้ใจหรือปรึกษาจิตแพทย์ ควรระบายความในใจให้คนอื่นฟัง อย่าเก็บไว้คนเดียว หากไม่มีใครที่รับฟังเราได้ ให้ลองปรึกษาจิตแพทย์ เพราะการพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว

ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี ให้กลับมาสดใสแข็งแรง ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้ครบ 8 แก้ว ดูแลผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ถ้าตัวเองสวย หล่อจะทำให้กลับมาสดใสได้ค่ะ

สร้าง work life balance ให้กับตัวเอง สร้างสมดุลชีวิตให้กับตัวเอง จัดสรรเวลาชีวิต ไม่เอางานกลับไปทำที่บ้าน หาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นทำให้สามารถเยียวยาจิตใจได้

ไม่กดดันตัวเองในการทำงาน เพราะการกดดันจะทำให้คิดงานไม่ออกและงานขาดประสิทธิภาพ จึงควรทำใจให้สบายหรือลองฝึกนั่งสมาธิก่อนนอนอาจจะทำให้มีสมาธิมากขึ้น

เล่นกีฬา ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่งทำให้ใจกลับมาฟู ลดอาการเหนื่อยล้ากลับมารู้สึกสดชื่นและมีชีวิตชีวาเหมือนเดิม

ลดการเล่นสื่อโซเชียล ลดการใช้อินเทอร์เน็ต ลดการไถฟีด หรือลองทำ Social Detox เพราะการดูชีวิตคนอื่นมากเกินไป อาจจะทำให้บั่นทอนจิตใจตัวเอง คิดมาก และเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับคนอื่น การไม่เห็นอาจจะทำให้เราสบายใจขึ้นก็ได้นะ

หากวันไหนคุณรู้สึกหมดไฟ ขอให้คุณเยียวยาจิตใจให้หายดี เราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้คุณ

อ้างอิง :

https://www.medparkhospital.com/en-US/lifestyles/burnout-syndrome

https://www.chulaguide.com/burnout-syndrome/ 

Royal Thai Air Force Medical Gazette Vol. 66 No. 2 May – August 2020

https://www.forbes.com/sites/learnvest/2013/04/01/10-signs-youre-burning-out-and-what-to-do-about-it/?sh=6b455e00625b

https://www.medparkhospital.com/lifestyles/burnout-syndrome 

https://www.dek-d.com/studyabroad/51560/ 

Related Articles

Chronic Stress

Chronic Stress เครียดไม่รู้ตัว ภัยใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้าม

ไม่ว่าเราจะเจอกับปัญหาอะไรในชีวิต ขอให้ตั้งสติและค่อยๆ คิดหาหนทางแก้ไข เพราะทุกปัญหามีทางออกเสมอ ในทุกวันนี้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย อาจจะทำให้เราเกิดความเครียด ความกดดัน  เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น บางสถานการณ์เป็นเรื่องที่เราไม่คาดคิดหรือควบคุมไม่ได้ เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาอะไรก็ตามที่เราเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ปัญหาการเงิน ปัญหาการงาน หรือปัญหาส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งอาจจะทำให้เราเครียดไม่รู้ตัวจนอาจเกิดภาวะเครียดสะสม  แต่ไม่ว่าคุณกำลังเครียดกับปัญหาอะไรอยู่

Pebbling

“Pebbling” การแสดงความรักแบบนกเพนกวิน : การกระทำเล็กๆ ที่มีคุณค่าต่อจิตใจ

เมื่อเราแบ่งปันความสุขเล็กๆ ผ่านข้อความเพียงสั้นๆ หรือ ภาพที่คุ้นตา นั่นคือ การแสดง “ความรัก” ที่เรียบง่ายและแสนพิเศษ ในทุกวันนี้ชีวิตของทุกคนขับเคลื่อนกันด้วยโลกออนไลน์ซะเป็นส่วนใหญ่ บางคนเล่นโซเชียลแทบตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมา หลายคนมักจะหยิบจับโทรศัพท์ขึ้นมาเป็นอันดับแรก เพื่อส่องความเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ เช็คข่าวสาร หรือส่งข้อความหาคนที่เรารัก ฯลฯ  ใครเคยเจอแบบนี้บ้าง จะมีคนคนหนึ่งที่คุณรู้จักชอบส่งคลิปให้เรา ส่งมีม ส่งรูปภาพให้ทุกวัน

Impostor Syndrome

เพราะเราทุกคนมีความเก่งในแบบฉบับของตัวเอง

เราไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร เพราะเราทุกคนล้วนมี “คุณค่า” และ “เก่ง” ในแบบฉบับของตัวเอง  คนเราทุกคนมีคุณค่าและเก่งในแบบของตัวเองไม่จำเป็นต้องเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร แต่จงภูมิใจในตัวเองที่ใช้ชีวิตและเติบโตมาได้อย่างงดงามจนถึงทุกวันนี้ ทุกคนล้วนผ่านอุปสรรคและความท้าทายในชีวิตของตัวเองมาด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้เราทุกคนจะมีประสบการณ์ในชีวิตที่แตกต่างกัน แต่เชื่อเถอะว่าเราทุกคนต้องเคยผ่านเหตุการณ์ที่เป็นบทเรียนในชีวิต เคยแตกสลาย แล้วกลับมายืนหยัดได้ด้วยตัวเองกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้น คุณเก่งและมีคุณค่าไม่แพ้ใครเลยนะ  วันนี้ Mental Life by Chanisara