“Dead Inside” ภาวะไร้ความรู้สึก
ไร้เป้าหมายในชีวิต

การระบายความรู้สึกภายในใจออกมา
คือ การปลดปล่อยความทุกข์และโอบกอดความรู้สึกของตัวเอง

ใครเคยมีความรู้สึกว่าชีวิตไม่สดใส รู้สึกชีวิตว่างเปล่า ไม่มีพลัง ไม่มีจุดหมายในชีวิต แต่ยังใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติไหมคะ? แต่สำหรับใครที่ไม่เคยมีความรู้สึกนี้ อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ หรือตั้งคำถามว่าความรู้สึกนี้คืออะไรกันแน่นะ?

ภาวะนี้เรียกว่า “Dead Inside” ภาวะตายจากข้างใน หรือ “ภาวะหัวใจไร้ความรู้สึก” คนที่มีความรู้สึกเฉยชา ไม่มีความหวังในชีวิต ไม่มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต แค่ใช้ชีวิตไปตามหน้าที่ที่เราต้องทำ ในแต่ละวัน ทั้งๆ ที่ จริงๆ ใจข้างในพังไปหมดแล้ว

คนที่มีภาวะ Dead Inside จะรู้สึกไม่มีความทุกข์ ไม่มีความสุข เหมือนปล่อยวางกับชีวิตได้ แต่ในความเป็นจริง คือการปล่อยวางทั้งที่ยังมีความรู้สึกเจ็บปวด ทุกข์ ทรมานอยู่ลึกๆ ภายในใจ ซึ่งบางคนก็อาจจะเป็นแค่เพียงชั่วคราว บางคนอาจเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนซึ่งหากปล่อยไว้ อาจจะนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้นะคะ

วันนี้ Mental Life by Chanisara จะพาทุกคนมารู้จักกับภาวะ Dead Inside หรือ ภาวะไร้ความรู้สึก สาเหตุของภาวะ Dead Inside และ วิธีเยียวยาจิตใจกันค่ะ

Dead Inside

มารู้จักกับภาวะ “Dead Inside” การใช้ชีวิตที่เหมือนหุ่นยนต์

Dead Inside คือภาวะที่ตายจากข้างใน ไม่มีความรู้สึก ชินชา ใช้ชีวิตให้หมดไปวันๆ มีชีวิตอยู่เหมือนคนไร้หัวใจ ไร้ความรู้สึก ใช้ชีวิตเหมือนหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ที่ต้องทำเท่านั้น เหมือนกับที่เกริ่นไว้ข้างต้น แต่ทุกคนรู้ไหมว่าภาวะนี้คล้ายคลึงกับภาวะ Anhedonia หรือ “ภาวะสิ้นยินดี” ซึ่งถ้าปล่อยไว้จะทำให้เกิดภาวะสิ้นยินดีและโรคซึมเศร้าตามมานั่นเองค่ะ

Anhedonia หรือ ภาวะสิ้นยินดี จะรู้สึกเฉยชา และหมดแรงใจในการใช้ชีวิต เหมือนกันกับ Dead Inside แต่สิ่งที่ต่างคือคนที่มีอาการภาวะสิ้นยินดี จะรู้สึกว่าหมดความสนใจจากสิ่งที่เคยชอบทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง Shopping ฯลฯ  จะไม่ชอบทำและไม่อยากทำสิ่งนั้นอีกต่อไป ซึ่งภาวะนี้เป็นส่วนหนึ่งของโรคซึมเศร้านั่นเองค่ะ

“Dead Inside” เกิดจากสาเหตุอะไร?

Dead Inside เกิดขึ้นได้มาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีความเครียดสูงหรือ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ที่อยู่ในภาวะ PTSD คือ ภาวะซึมเศร้าหลังประสบเหตุการณ์เลวร้าย รวมถึงผู้ที่มีความกดดันในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคนที่ประสบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต และไม่สามารถปรับตัวได้ หรือคนที่ถูกครอบครัวและสังคมตั้งความหวัง ก็อาจจะนำไปสู่ภาวะดังกล่าวได้เช่นกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ความเครียด ส่งผลโดยตรงต่อสภาพจิตใจของคนเรา จนอาจจะทำให้เราเครียดสะสมโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจะเกิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันที่เราต้องประสบพบเจอ เช่น ปัญหาจากความกดดันในการทำงาน ความสัมพันธ์ที่ Toxic อกหัก หรือเลิกกับแฟน หรือ การเจอประสบการณ์ที่ยากลำบากในชีวิต ฯลฯ ส่งผลให้ขาดแรงจูงใจในการใช้ชีวิต ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าตามมา

โรคซึมเศร้า เนื่องจากคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีความรู้สึก เฉยชาว่างเปล่าและไม่มีแรงจูงใจ “ทำ” ในสิ่งที่เคยชอบทำ ก็อาจจะมีภาวะนี้ได้เช่นกันค่ะ แต่คนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้าหากมีภาวะ Dead Inside นานๆ อาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้นะคะ 

โรค  PTSD เมื่อผ่านประสบการณ์เลวร้าย ใจอาจบอบช้ำ อาจด้านช้า รู้สึกว่างเปล่าไม่มีความรู้สึก ไม่สามารถรับรู้ถึงอารมณ์ได้ และไม่มีแรงใจในการใช้ชีวิตต่อไป เช่น คนที่พบเจอกับความสูญเสียในชีวิต ฯลฯ

การเปลี่ยนแปลงในชีวิต อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแปลงในชีวิตครั้งใหญ่ เช่น ต้องย้ายที่ทำงาน ย้ายที่อยู่อาศัย ย้ายโรงเรียน เมื่อเราต้องปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ อาจจะทำให้เรารู้สึกไม่มั่นคงและไร้จุดหมายในชีวิตได้นะคะ

ความคาดหวังของครอบครัวและสังคม การถูกกดดันจากครอบครัวและสังคม อาจทำให้เกิดความรู้สึก Dead Inside เช่น คาดหวังว่าเราต้องประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะสังคมรอบข้างเป็นเช่นนั้น หรือคนรอบข้างคาดหวังว่า ต้องสอบได้ที่ 1  เกรด 4.00  จนทำให้เรารู้สึกกดดันและเครียด จนกลายเป็นคนที่เฉยชากับชีวิตได้ค่ะ 

อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแค่สาเหตุบางประการที่ทำให้เกิดความรู้สึก Dead Inside ยังมีอีกหลายปัจจัยที่สามารถทำให้เราเกิดภาวะ Dead Inside ได้นะคะ

เช็คอาการก่อนจะเป็น “Dead Inside”“ภาวะหัวใจไร้ความรู้สึก” 

ไม่มีจุดมุ่งหมายและแรงจูงใจในการใช้ชีวิต 

ไม่มีแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด ไร้ซึ่งความฝันหรือจุดมุ่งหมายในชีวิต เหมือนไม่รู้ว่าเราทำสิ่งต่างๆ ไปเพื่ออะไร 

ตามหาความหมายของชีวิต 

คนที่อยู่ในภาวะนี้ มักจะตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราเกิดมาทำไม? หรือเราใช้ชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร? พวกเขาจะจริงจังกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ และจะพยายามหาความหมายของการมีชีวิตอยู่ให้เจอ

ไม่มีความรู้สึก 

เฉยชา ไม่รู้สึกมีความสุข หรือ ความทุกข์ แม้ว่าจะเจอเรื่องน่ายินดีก็จะไม่รู้สึกอะไร

รู้สึกโดดเดี่ยว 

หลีกหนีการเข้าสังคม การพบเจอกับผู้คน ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับใคร อยากอยู่คนเดียว แม้จะรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างก็ตาม

7 เคล็ด (ไม่) ลับ การเยียวยาจิตใจ เมื่ออยู่ในภาวะไร้ความรู้สึก

ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วบำบัด

การหาต้นต่อสาเหตุของปัญหาจะทำให้เราแก้ไขปัญหาถูกจุด และหายกลับมามีชีวิต ชีวาได้เร็วขึ้น

ยอมรับความวิตกกังวลของตัวเอง

เมื่อรับรู้ว่าตัวเรามีเรื่องวิตกกังวล เราจะพยายามหาวิธีจัดการกับความวิตกกังวลมากขึ้น

รักตัวเอง ดูแลร่างกายตัวเอง

การดูแลสุขภาพร่างกายเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากเราดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง สุขภาพใจจะดีขึ้นด้วย

ลองหากิจกรรมใหม่ทำ

ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นกิจกรรมที่เราชอบและสร้างความสุขให้กับเรา

หาแรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่างๆ

การมีแรงบันดาลใจ จะทำให้เรามีพลังในการทำสิ่งต่างๆ

ระบายให้ใครสักคนฟัง

การระบายความทุกข์ภายในใจให้ใครสักคนฟัง จะทำให้เรารู้สึกสบายใจมากยิ่งขึ้น

ควรไปพบแพทย์หรือนักจิตวิทยา

จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นและหากสาเหตุมาจากโรคซึมเศร้า อาจจะรักษาด้วยการพูดคุยระบายหรือรักษาด้วยการใช้ยาเพื่อที่จะให้เรารู้สึกดีขึ้นนะคะ

“Dead Inside” ความรู้สึกที่ตายจากข้างใน ไม่มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต อาจจะเพราะเกิดความกดดันแบบไม่ได้ระบายความทุกข์ออกมา ลองระบายความทุกข์ออกมาเผื่อเราจะได้รู้สึกดีขึ้นนะคะ 


Source 

https://www.verywellmind.com/why-do-i-feel-dead-inside-5210393 

https://www.istrong.co/single-post/dead-inside 

https://www.brandthink.me/content/dead-inside 

https://www.pptvhd36.com/health/how-to/2816#google_vignette 

https://www.brandthink.me/content/dead-inside 

https://www.alljitblog.com/dead-inside-4/ 

Related Articles

Food Coma

“หนังท้องตึง หนังตาหย่อน” “Food Coma” อาการง่วงนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จ

ไหนใครมีอาการแบบนี้บ้าง ง่วงหลังทานอาหารเสร็จแต่เราต้องกลับมานั่งทำงาน กลับมาเรียนต่อในตอนบ่าย ต้องกินชา กินกาแฟ เป็นตัวช่วยให้ตาสว่าง กลับมารู้สึกกระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง หลายคนอาจสงสัยว่าที่เรามีอาการเช่นนี้เพราะเราขี้เกียจหรือเปล่านะ? แต่แท้จริงแล้ว อาจจะเป็นเพราะเรากินอาหารที่มีแป้งและไขมันมากเกินไป รวมถึงกินอิ่มมากเกินไปจึงทำให้เรารู้สึกง่วงนอนนั่นเองค่ะ  อาการนี้เขาเรียกกันว่า “Food Coma” หรือการง่วงหลังจากรับประทานอาหารเสร็จหากฟังดูอาจจะดูเหมือนเป็นอาการที่อันตราย แต่แท้จริงแล้ว อาการนี้ไม่เป็นอันตราย แต่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน การเรียน สุขภาพ

White Lies

White Lies โกหกตัวเองและผู้อื่นวันนี้เพื่อความสบายใจ แต่ส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างไม่คาดคิด

อย่าโกหกตัวเองเพื่อรักษาความรู้สึกคนอื่น เพราะความรู้สึกของเราสำคัญไม่แพ้ใคร ทุกคนเคยโกหกตัวเองว่ามีความสุขเพื่อให้คนอื่นสบายใจไหมคะ? หลายครั้งที่เราโกหกตัวเองว่าเรายังไหว ไม่เป็นไรแค่นี้สบายมาก เราพูดกับตัวเอง “ฉันโอเค” “ฉันมีความสุข” พยายามหลอกตัวเองให้คิดแบบนั้น เพื่อที่จะแสดงออกมาให้คนอื่นเห็นว่า “”ฉันไม่เป็นไร” ทั้งที่ภายในใจแตกสลายและรับอะไรแทบจะไม่ไหวอีกแล้ว แต่เราพยายามยิ้ม พยายามหัวเราะ และบอกคนอื่นว่าไม่เป็นไร เพียงเพราะไม่อยากเป็นภาระผู้อื่นและเพื่อให้คนรอบข้างของเรารู้สึกสบายใจ  การกระทำเช่นนี้เรียกว่า “การโกหกสีขาว” หรือ  “White

World Laughter Day

“เสียงหัวเราะ” เปรียบเสมือนยาวิเศษที่ช่วยเยียวยาหัวใจ

“การหัวเราะ” เปรียบเสมือนยาวิเศษที่ช่วยเยียวยาหัวใจ ทำให้เราคลายเครียด มีความสุขและมองโลกในแง่บวกมากขึ้น เสียงหัวเราะสามารถเปลี่ยนโลกแสนมืดมนของใครบางคน ให้กลับมาสว่างสดใสได้ เคยไหมคะ เวลาเราเห็นใครคนหนึ่ง ไม่สดใสเหมือนเคย เราจะพยายามทำให้เขากลับมายิ้ม กลับมาหัวเราะ เพื่อที่จะทำให้เขากลับมามีความสุขได้อีกครั้ง เสียงหัวเราะจึงเปรียบเสมือนยาวิเศษที่ทรงพลังที่ช่วยเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของผู้คนให้กลับมามีความสุข มีอารมณ์ขันและมองโลกในแง่ดีมากยิ่งขึ้น แม้ในวันที่ทุกอย่างไม่ได้เป็นดังที่ใจเราคิด หรือในวันที่เราต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต เสียงหัวเราะ อาจเป็นตัวช่วยให้เราสบายใจขึ้น และเมื่อเราสบายใจ