รถไฟฟ้า

สรุปผังรถไฟฟ้า: อัปเดตความคืบหน้า 11 สายหลัก

แสนสิริ บล็อก เสนอแผนผังรถไฟฟ้า ความคืบหน้า และรายละเอียดของเส้นทางรถไฟฟ้าทั้ง 11 สาย
มาดูกันว่าแต่ละสถานีอยู่ตรงไหนกันบ้าง และแต่ละโครงการจะสร้างเสร็จเมื่อไหร่?

ผังเส้นทางเดินรถไฟฟ้า

Bangkok Mass Transit Sansiri Blog

อัพเดทความคืบหน้าโครงข่ายรถไฟฟ้า (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2559)

bts-map-updated

ข้อมูลโดย TerraBKK.com

รายละเอียดแนวเส้นทางและสถานีของแต่ละสาย

1. สายสีเขียว

1.1 สายสีเขียวอ่อน

หมอชิต-แบริ่ง -เปิดให้บริการแล้ว

แบริ่ง-สมุทรปราการ
แนวเส้นทาง แนวเส้นทางเริ่มต้นต่อเนื่องจาก BTS ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช – แบริ่ง บริเวณซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่านคลองสำโรง ผ่านแยกเทพารักษ์ แยกปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อถึงบริเวณจุดตัดกับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้แนวจะเบี่ยงจากเกาะกลางไปทางทิศตะวันตกของถนนสุขุมวิท เพื่อข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท จากนั้นจึงเบี่ยงกลับมาอยู่ในแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณหน้าสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง
สถานีรถไฟฟ้า- 9 สถานี
สถานีสำโรง-ปู่เจ้าสมิงพราย-เอราวัณ-โรงเรียนนายเรือ-สมุทรปราการ-ศรีนครินทร์-แพรกษา-สายลวด-เคหะสมุทรปราการ

หมอชิต-คูคต
แนวเส้นทาง แนวเส้นทางเริ่มต้น ต่อเนื่องจาก BTS สถานีหมอชิต ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยก ลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณแยกหลักสี่และเบี่ยงออกด้านขวาเลียบไปตามขอบอุโมงค์ลอกแยกหลักสี่ และเบี่ยงเข้าสู่เกาะกลางดังเดิม ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่หน้าตลาดยิ่งเจริญ โดยเมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน แนวเส้นทาง จะเบี่ยงไปทางด้านทิศตะวันออก (ด้านเหนือของพื้นที่ประตูกรุงเทพฯ) ข้ามคลางสอง ผ่านบริเวณด้านข้างของสถานีตำรวจภูธรคูคต เข้าสู่บริเวณเกาะ กลางของถนนลำลูกกา และสิ้นสุดที่บริเวณคลองสอง (บริเวณสถานีคูคต)
สถานีรถไฟฟ้า- 16 สถานี
สถานีห้าแยกลาดพร้าว-พหลโยธิน24-รัชโยธิน-เสนานิคม-ม.เกษตรศาสตร์-กรมป่าไม้-บางบัว-กรมทหารราบที่11-วัดพระศรีมหาธาตุ-อนุสาวรัย์หลักสี่-สายหยุด-สะพานใหม่-โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช-พิพิทธภัณฑ์กองทัพอากาศ-กม.25-คูคต

คูคต-ลำลูกกา (อาจจะเปลี่ยนแปลงแนวเส้นทางในอนาคต)
สถานีรถไฟฟ้า- 4 สถานี
สถานีคลอง 3, สถานีคลอง 4, สถานีคลอง 5 และสถานีวงแหวนตะวันออก

สมุทรปราการ-บางปู (อาจจะเปลี่ยนแปลงแนวเส้นทางในอนาคต)
สถานีรถไฟฟ้า- 4 สถานี
สถานีบางปู, สถานีศรีจันทร์ประดิษฐ์, สถานีเมืองโบราณ และสถานีสวางคนิวาส

1.2 สายสีเขียวเข้ม

สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า –เปิดให้บริการแล้ว

สนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส (1 กม.) เพื่อเชื่อมกับสายสีแดงเข้ม

2. สายสีน้ำเงิน

บางซื่อ-หัวลำโพง –เปิดให้บริการแล้ว

หัวลำโพง-บางแค
แนวเส้นทาง เริ่มจากสถานีหัวลำโพง วิ่งแบบรถใต้ดินไปตามแนวถนนพระรามที่ 4 เข้าสู่ถนนเจริญกรุง ผ่านวัดมังกร–กมลาวาส ผ่านวังบูรพา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสนามไชย ลอดอุโมงค์ใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาดไปจนถึงคลองบางกอกใหญ่ เข้าสู่ถนนอิสรภาพ และปรับโหมดวิ่งแบบลอยฟ้า มุ่งสู่แยกท่าพระ ซึ่งใช้สถานีร่วมกับสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จากนั้นวิ่งไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านบางไผ่ บางหว้า ภาษีเจริญ บางแค สิ้นสุดที่วงแหวนรอบนอกถนนกาญจนาภิเษก
สถานีรถไฟฟ้า- 11 สถานี
สถานีวัดมังกรกมลาวาส-วังบูรพา-สนามไชย-อิสรภาพ-ท่าพระ-บางไผ่-บางหว้า-เพชรเกษม 48-ภาษีเจริญ-บางแค-หลักสอง

บางซื่อ-ท่าพระ
แนวเส้นทาง เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อ ผ่านแยกเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง เข้าสู่ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผ่านแยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.จรัญสนิทวงศ์ บริเวณโรงเรียนเทคโนโลยีพระราม 6 ผ่านแยกบางพลัด แยกบรมราชชนนี แยกไฟฉาย และสิ้นสุดที่แยกท่าพระ
สถานีรถไฟฟ้า- 10 สถานี
สถานีเตาปูน –บางโพ-บางอ้อ-บางพลัด-สิรินธร-บางยี่ขัน –บางขุนนนท์-แยกไฟฉาย-จรัญสนิทวงศ์ 13-ท่าพระ

บางแค-พุทธมณฑลสาย4 (อาจจะเปลี่ยนแปลงแนวเส้นทางในอนาคต)
สถานีรถไฟฟ้า- 4 สถานี
สถานีพุทธมณฑลสาย 2-ทวีวัฒนา-พุทธมณฑลสาย 3-พุทธมณฑลสาย 4

3. สายสีม่วง

บางใหญ่-บางซื่อ
แนวเส้นทาง เริ่มจากบริเวณคลองบางไผ่ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) กาญจนาภิเษก เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้สะพานพระนั่งเกล้า ก่อนถึงสี่แยกแครายจะเลี้ยวขวาไปตามถนนติวานนท์ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนกรุงเทพ – นนทบุรี ถึงบริเวณแยกเตาปูน มีสถานีเตาปูนเป็นสถานีเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT) และในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ
สถานีรถไฟฟ้า- 16 สถานี
สถานีคลองบางไผ่-ตลาดบางใหญ่-สามแยกบางใหญ่-บางพลู-บางรักใหญ่-ท่าอิฐ-ไทรม้า-สะพานพระนั่งเกล้า-แยกนนทบุรี 1-ศรีพรสวรรค์-ศูนย์ราชการนนทบุรี-กระทรวงสาธารณสุข-แยกติวานนท์-วงศ์สว่าง-บางซ่อน-เตาปูน

เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
แนวเส้นทาง เริ่มจากจุดเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ ที่บริเวณสถานีเตาปูน โดยเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดินแล้วเบี่ยงเข้าสู่ ถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แยกผ่านฟ้า เข้าสู่ถนนมหาไชย ผ่านวัดราชนัดดารามวรวิหาร เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสีแยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ลอดแยกมไหสวรรย์ จากนั้นเปลี่ยนเส้นทางยกระดับผ่านแยกถนนจอมทองเข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ ผ่านแยกถนนประชาอุทิศ ข้ามทางด่วนเฉลิมมหานคร เข้าสู่ราษฎร์บูรณะข้ามคลองแจงร้อน ผ่านสามแยกพระประแดง และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณครุใน
สถานีรถไฟฟ้า- 17 สถานี
สถานีเตาปูน-เกียกกาย-กรมชลประทาน-สามเสน-หอสมุดแห่งชาติ-บางขุนพรหม-ผ่านฟ้า-วังบูรพา-สะพานพุทธ-วงเวียนใหญ่-สำเหร่-มไหสวรรค์-จอมทอง-ดาวคะนอง-บางปะกอก-ประชาอุทิศ-ราษฎร์บูรณะ

4. สายสีแดง

4.1 สายสีแดงอ่อน

บางซื่อ-ตลิ่งชัน
แนวเส้นทาง เริ่มจากจุดเริ่มต้นโครงการ ทางเหนือของสถานีบางซื่อ 2 ประมาณ 800 เมตร วิ่งขนานกับแนวทางรถไฟสายใต้ในปัจจุบัน โดยเป็นทางยกระดับจากบางซื่อไปถึงบางบำหรุ และเริ่มลดระดับลงสู่ระดับพื้นดิน จากสถานีบางบำหรุจนกระทั่งสิ้นสุดปลายทางบริเวณจุดตัดถนนสวนผักกาดเขตตลิ่งชัน
สถานีรถไฟฟ้า- 7 สถานี
สถานีกลางบางซื่อ-บางซ่อน (เชื่อมต่อกับสายสีม่วง)-สะพานพระราม 6-บางกรวยและกฟผ-บางบำหรุ-ชุมทางตลิ่งชัน-บ้านฉิมพลี

ตลิ่งชัน-ศิริราช
แนวเส้นทาง ก่อสร้างทางรถไฟตามแนวเส้นทางรถไฟเดิมให้สามารถรองรับระบบรถไฟชานเมืองที่เป็นรถไฟฟ้าได้
สถานีรถไฟฟ้า- 4 สถานี
สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน-จรัญสนิทวงศ์-ศุนย์ซ่อมบำรุงธนบุรี-ธนบุรีและศิริราช

บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน
สถานีรถไฟฟ้า- 3 สถานี
สถานีบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน

มักกะสัน-หัวหมาก
สถานีรถไฟฟ้า- 3 สถานี
สถานีมักกะสัน-รามคำแหง-พัฒนาการ

ตลิ่งชัน-ศาลายา
สถานีรถไฟฟ้า- 4 สถานี
สถานีบ้านฉิมพลี-กาญจนาภิเษก-ศาลาธรรมพสน์-ศาลายา

4.2 สายสีแดงเข้ม

บางซื่อ-รังสิต
แนวเส้นทาง เริ่มจากบริเวณแยก ประดิพัทธ์ห่างจากสถานีบางซื่อไปทางทิศใต้ประมาณ 1.8 กิโลเมตร แนวเส้นทางจะขึ้นมาทางทิศเหนือตามแนว เขตทางรถไฟในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ผ่านพื้นที่เขต พญาไท จตุจักร บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และไปสิ้นสุด ที่สถานีรังสิต จังหวัดปทุมธานี
สถานีรถไฟฟ้า- 10 สถานี
สถานีกลางบางซื่อ-จตุจักร-วัดเสมียนนารี-บางเขน-ทุ่งสองห้อง-หลักสี่-การเคหะ-ดอนเมือง-หลักหก-รังสิต

รังสิต-ธรรมศาสตร์ (ส่วนต่อขยาย)
แนวเส้นทาง เริ่มจากสถานีรังสิตขึ้นไปทางทิศเหนือจนถึงสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถานีรถไฟฟ้า- 4 สถานี
สถานีคลองหนึ่ง-ม.กรุงเทพ-เชียงราก-ม.ธรรมศาสตร์

บางซื่อ-หัวลำโพง
สถานีรถไฟฟ้า- 5 สถานี
สถานีสามเสน-ราชวิถี-ยมราช-ยศเส-หัวลำโพง

หัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย
สถานีรถไฟฟ้า- 17 สถานี
สถานี คลองสาน-วงเวียนใหญ่-ตลาดพลู-ตากสิน-จอมทอง-วัดไทร-วัดสิงห์-บางบอน-รางสะแก-รางโพธิ์-สามแยก-พรมแดน-ทุ่งสีทอง-บางน้ำจืด-คอกควาย-บ้านขอม-มหาชัย

5. สายสีส้ม 

แนวเส้นทาง เริ่มต้นจากสถานีรถไฟตลิ่งชัน จากนั้นใช้แนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนินแล้วเบี่ยง ใช้แนวถนนหลานหลวง ผ่านยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภถึงดินแดงแล้วเลี้ยว ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี้ยงเข้าแนวถนนพระรามเก้า ตัดผ่านถนนประดิษฐ์ธรรมนูญ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี แยกถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี

ตลิ่งชีน-ศูนย์วัฒนธรรม (ตะวันตก)
สถานีรถไฟฟ้า – 13 สถานี
สถานีตลิ่งชัน-บางขุนนนท์-ศิริราช-สนามหลวง-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย-หลานหลวง-นิยมราช-ราชเทวี-ประตูน้ำ-ราชปรารภ-รางน้ำ-ดินแดง-ประชาสงเคราะห์

ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (ตะวันออก)
สถานีรถไฟฟ้า – 17 สถานี
สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-รฟม.-ประดิษฐ์มนูธรรม-รามคำแหง12-รามคำแหง-ราชมังคลา-หัวหมาก-ลำสาลี-ศรีบูรพา-คลองบ้านม้า-สัมมากร-น้อมเกล้า-ราษฎร์พัฒนา-มีนพัฒนา-เคหะรามคำแหง-มีนบุรี-สุวินทวงศ์

6. สายสีชมพู

แคราย-มีนบุรี
แนวเส้นทาง เริ่มต้นบนถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณระหว่าง ศูนย์ราชการนนทบุรีและแยกแคราย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ – บางซื่อ) บริเวณสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นจะวิ่งเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกแครายเข้าถนนติวานนท์ วิ่งตามถนนติวานนท์จนถึงแยกปากเกร็ด เลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านเมืองทองธานี ผ่านศูนย์ราชการ ผ่านทางแยกหลักสี่ เชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงที่สถานีหลักสี่ ลอดใต้ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) และผ่านวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยมีสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเป็นสถานีเชื่อมต่อ (Interchange Station) เพื่อเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างรถไฟฟ้าสาย สีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งตามถนนรามอินทรา ยกระดับข้ามทางพิเศษฉลองรัชบริเวณแยกวัชรพล จนถึงแยกมีนบุรีแล้ววิ่งเข้าเมืองมีนบุรีตามถนนสีหบุรานุกิจ จากนั้นจะข้ามคลองสามวาและเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบผ่านพื้นที่ว่างและข้ามเข้าถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3 ) จนสิ้นสุดบริเวณทางแยกร่มเกล้า ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี ที่สถานีมีนบุรี
สถานีรถไฟฟ้า – 30 สถานี
สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี-แคราย-สนามบินน้ำ-สามัคคี-กรมชลประทาน-ปากเกร็ด-เลี่ยงเมืองปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะปากเกร็ด28-เมืองทองธานี-ศรีรัช-แจ้งวัฒนะ14-ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ-ทีโอที-หลักสี่-ราชภัฏพระนคร-วัดพระศรีมหาธาตุ-รามอินทรา3-ลาดปลาเค้า-รามอินทรา31-มัยลาภ-วัชรพล-รามอินทรา40-คู้บอน-รามอินทรา83-วงแหวนตะวันออก-นพรัตนราชธานี-บางชัน-เศรษฐบุตรบำเพ็ญ-ตลาดมีนบุรี-มีนบุรี

7. สายสีเหลือง

ลาดพร้าว-สำโรง
แนวเส้นทาง เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าว โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาของกรุงเทพมหานครที่แยกฉลองรัช และยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ทางแยกลำสาลี ต่อจากนั้นแนวเส้นทางจะยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาอีกครั้งไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย
สถานีรถไฟฟ้า – 23 สถานี
สถานีรัชดา-ภาวนา-โชคชัย4-ลาดพร้าว71-ฉลองรัช-วังทองหลาง-ลาดพร้าว101-บางกะปิ-แยกลำสาลี-ศรีกรีฑา-พัฒนาการ-คลองกลันตัน-ศรีนุช-ศรีนครินทร์38-สวนหลวงร.9-ศรีอุดม-ศรีเอียม-ศรีราชาล-ศรีแบริ่ง-ศรีด่าน-ศรีเทพา-ทิพวัล-สำโรง

8. สายสีเทา 

วัชรพล-ลาดพร้าว
แนวเส้นทาง เริ่มต้นบริเวณซอยวัชรพล จุดตัดกับถนนรามอินทรา มุ่งหน้าลงใต้ผ่านซอยนวลจันทร์ ข้ามถนนเกษตร-นวมินทร์ และสิ้นสุดที่จุดตัดกับถนนลาดพร้าว
สถานีรถไฟฟ้า – 5 สถานี
สถานีวัชรพล-นวลจันทร์-เกษตรนวมินทร์-โยธินพัฒนา-ลาดพร้าว87

 ลาดพร้าว-พระราม4
แนวเส้นทาง เริ่มต้นบริเวณถนนลาดพร้าว มุ่งหน้าลงทิศใต้ ผ่านถนนประชาอุทิศ ยกข้ามทางพิเศษศรีรัช เลี้ยวเข้าถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เลี้ยวเข้าซอยทองหล่อจนพบจุดตัดถนนสุขุมวิทจึงยกระดับข้ามโครงสร้างระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวบริเวณสถานีทองหล่อ เพื่อเข้าสู่ซอยสุขุมวิท 38 แล้วเบี่ยงแนวเข้าสู่ซอยสุขุมวิท 40 จนถึงจุดตัดกับถนนพระราม 4 สิ้นสุดที่ทางแยกรัชดา – พระราม 4 บริเวณตลาดคลองเตย
สถานีรถไฟฟ้า – 10 สถานี
สถานีฉลองรัช-นวศรี-พระราม9-ศูนย์วิจัย-ทองหล่อ25-ทองหล่อ10-ทองหล่อ-สุขุมวิท38-พระราม4-คลองตัน

พระราม4-สะพานพระราม9
แนวเส้นทาง เริ่มต้นบริเวณทางแยกรัชดา – พระราม 4 บริเวณตลาดคลองเตย เลี้ยวเข้าถนนพระราม 3 มุ่งหน้าลงทิศใต้ เชื่อมกับถนนรัชดาภิเษกเลียบแนวทางด่วนเฉลิมมหานคร ยกข้ามทางขึ้นลงทางด่วนฯในบางช่วง จนสิ้นสุดที่จุดตัดกับถนนพระราม 3 อีกครั้งที่บริเวณสะพานพระราม 9
สถานีรถไฟฟ้า – 6 สถานี
สถานีแยกรัชดาพระราม4-คลองเตย-พระราม3-นราธิวาส-สาธุประดิษฐ์-สะพานพระราม9

9. สายสีทอง

แนวเส้นทาง เริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางซ้ายบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร ผ่านวัดสุวรรณาราม ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ข้ามทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านโรงพยาบาลตากสิน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนจันทรวิทยา และวัดอนงคารามวรวิหาร

กรุงธนบุรี-โรงพยาบาลตากสิน
สถานีรถไฟฟ้า – 3 สถานี
สถานีกรุงธนบุรี-ไอคอนสยาม-คลองสาน

โรงพยาบาลตากสิน-วัดอนงคารามวรวิหาร
สถานีรถไฟฟ้า – 2 สถานี
สถานีก่อนถึงรร.จันทรวิทยา-วัดอนงคาราม

10. สายสีน้ำตาล

แคราย-บึงกุ่ม
แนวเส้นทาง จะเป็นแนวเดียวกับทางด่วน จุดเริ่มต้นโครงการจะต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) มีสถานีร่วมกันที่หน้าศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นจะวิ่งตรงมาถนนงามวงศ์วาน ผ่านแยกพงษ์เพชร แยกวิภาวดี เชื่อมกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ตรงมาถึงแยกเกษตรฯ เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ตรงมาบนถนนเกษตร-นวมินทร์ (ถนนประเสริฐมนูกิจ) ช่วงจุดตัดกับทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา ในอนาคตจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเทา (โมโนเรล) จากนั้นจะตรงไปผ่านแยกนวมินทร์เลี้ยวขวาเข้าถนนนวมินทร์ ไปตามแนวถนน ช.2 ของ กทม.ที่จะสร้างใหม่เพื่อเปิดพื้นที่พัฒนาใหม่ แล้วตัดเข้านวมินทร์ซอย 50 และซอย 42 ผ่านถนนเสรีไทย ซอย 35 ข้ามถนนเสรีไทยและไปตามถนนรามคำแหง ซอย 129/1 บรรจบกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี) ที่สถานีมีนบุรี
สถานีรถไฟฟ้า – 23 สถานี
สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี-แคราย-งามวงศ์วาน 12-ประชาชื่น-ชินเขต-คลองเปรม-บางเขน-เกษตรศาสตร์-ธ.ก.ส.-บางบัว- ลาดปลาเค้า-ประเสริฐมนูกิจ 18-สุคนธสวัสดิ์-เกษตรนวมินทร์-คลองลำเจียก-นวลจันทร์ 11-นวมินทร์-นวมินทร์ 50-นวมินทร์ 42-บึงกุ่ม-เสรีไทย-สัมมากร

11. สายท่าอากาศยาน

พญาไท-สุวรรณภูมิ – เปิดให้บริการแล้ว

ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท
สถานีรถไฟฟ้า – 5 สถานี
สถานีดอนเมือง-หลักสี่-บางเขน-บางซื่อ-ราชวิถี

ข้อมูลเพิ่มเติม

รถไฟด่วนท่าอากาศยาน (Airport Express)  จะจอดให้บริการที่สถานีสำคัญ ได้แก่ ดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน และสุวรรณภูมิ ใช้เวลา 30 นาที

รถไฟท่าอากาศยาน (Airport City Line)  จะหยุดตามสถานีรายทางที่ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน บางซื่อ ราชวิถี พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทาง 50 นาที

 

Related Articles

ตกหลุมรักชีวิตที่ลงตัว ที่สิริ เพลส สุขสวัสดิ์ – พระราม 3

ท่ามกลางความวุ่นวายต่างๆ ความสุขที่หาได้ง่ายๆ คือช่วงเวลาคุณภาพที่อยู่ที่บ้านร่วมกับคนที่เรารัก ซึ่งการเลือกบ้านสักหลังต้องสามารถตอบโจทย์ทั้งการพักผ่อนและการใช้ชีวิตในแต่ละวัน มีฟังก์ชันที่ครบครันเพื่อสมาชิกในครอบครัว ทำเลรายล้อมด้วยโรงพยาบาล โรงเรียน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าต่างๆ รวมทั้งเป็นทำเลศักยภาพที่สามารถพัฒนาต่อไปในอนาคต ความคุ้มค่าทั้งหมดนี้ คือความลงตัวที่หาไม่ได้ง่ายๆ ลองหลับตาแล้วจินตนาการดูว่าจะดีแค่ไหนถ้า… ได้พักผ่อนในบ้านที่บรรยากาศสงบ ร่มรื่น ไม่มีตึกสูงบังสายตาให้อึดอัด มีลมคอยพัดผ่านให้ความรู้สึกผ่อนคลาย นับว่าเป็นความฝันของคนเมืองที่หลายคนตามหา การเดินทางไม่ต้องเร่งรีบออกไปทำงานในแต่ละวัน เพราะอยู่ใกล้เมือง

รถไฟฟ้า มาหาแล้วกี่สาย? อัพเดทความคืบหน้า รถไฟฟ้า 12 สายทั่วกรุงเทพฯ

หลังจากที่ภาครัฐมีการผลักดันรถไฟฟ้ามาแล้วหลายสาย เชื่อว่าหลายคนต้องอยากรู้ว่าตอนนี้รถไฟฟ้าแต่ละสายที่จะผ่านหน้าบ้านเรานั้น ดำเนินการไปถึงขั้นไหนแล้วบ้าว แสนสิริ บล็อก จึงขออัพเดทความคืบหน้าของ รถไฟฟ้า ทั้ง 12 สายทั่วกรุงเทพฯ ของปี 2019 นี้มาให้ทราบโดยทั่วกัน ภาพรวมความคืบหน้าของรถไฟฟ้า 12 สายทั่วกรุงเทพฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 31

รีโนเวทบ้านให้เป๊ะ และปลอดภัย
ผู้สูงวัยแฮปปี้

อุบัติเหตุหกล้มในกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นภายในบ้าน เราจึงจำเป็นต้องออกแบบบ้านและจัดบ้านให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยเป็นหลัก แต่จะต้องออกแบบอย่างไร ตามไปดูกันเลย 6 วิธี ออกแบบบ้านให้เป๊ะเอาใจผู้สูงอายุ ภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เกิดขึ้นที่ไหนไกลเลย แต่เป็นในบ้านพักอาศัยของผู้สูงอายุเอง ซึ่งถือเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุอย่างมาก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใส่ใจการออกแบบบ้านให้เป็นพิเศษ เพื่อลดปัญหาการหกล้มภายในบ้าน เพราะฉะนั้นเรามีวิธีออกแบบบ้านสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะมาฝาก รับรองได้ว่าปลอดภัย ผู้สูงอายุอยู่แล้วมีความสุขแน่นอน ออกแบบบ้านให้ปลอดภัย ผู้สูงวัยแฮปปี้ 1.