รู้จัก Burnout Syndromes
ภาวะหมดไฟ หมดใจในการทำงาน

จากงานที่เรารัก งานที่เราชอบ อยู่ๆ กลับรู้สึกเบื่อกับงานที่ทำอยู่ และไม่อยากทำขึ้นมาซะงั้น

ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า นี่ฉันเป็นอะไร? จนอาจจะคิดว่า เป็นโรคซึมเศร้ารึเปล่านะ? เพราะบางอาการอาจมีความคล้ายคลึงกัน คำตอบคือไม่ใช่ แต่อาการเหล่านี้เรียกว่า Burnout syndromes หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งกรมอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การรับรองว่าเป็นโรคทางการแพทย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019  ซึ่งจัดอยูในกลุ่ม ICD (International Classification of Diseases) โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่กดดันมากเกินไป

Burnout syndromes เกิดขึ้นจากอะไร

Burnout syndromes เกิดขึ้นจากความรู้สึกเหนื่อยล้าทางจิตใจ ที่สะสมต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเครียดและความกดดันในการทำงาน หากไม่ได้รับการระบายหรือการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง จะทำให้เกิดความรู้สึก เหนื่อยล้า หมดเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หดหู่ หมดหวัง ท้อแท้ หงุดหงิด โมโหง่าย รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า ฯลฯ หากไม่ได้รับการเยียวยาทางจิตใจ อาจจะทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับและโรคซึมเศร้าตามมาในที่สุด

5 ระยะของอาการภาวะหมดไฟ

ระยะฮันนีมูน (the honeymoon) เป็นช่วงมีไฟในการทำงาน มีความตั้งใจ พร้อมทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อความสำเร็จของตัวเองและองค์กร

ระยะรู้สึกตัว (the awakening) เมื่อทำงานผ่านไปสักระยะ เกิดความรู้สึกว่าความคาดหวังไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ค่าตอบแทนไม่ได้ดั่งที่หวัง งานเยอะเกินไป ฯลฯ

ระยะไฟตก (brownout) มีความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากไปทำงาน ไม่อยากเจอผู้คน บางคนอาจจะติดแอลกอฮอล์หรือใช้จ่ายเกินจำเป็น

ระยะหมดไฟเต็มที่ (full scale of burnout) เมื่อรู้สึกหมดไฟอย่างเต็มที่จะไม่อยากทำงาน อยากลาออจากงาน รู้สึกสิ้นหวังและหมดความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งอาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้

ระยะฟื้นตัว (the phoenix phenomenon) หากได้รับการผ่อนคลายหรือบำบัดรักษาจัดสมดุลชีวิต หรือได้งานที่อยากทำ จะทำให้กลับมามีไฟในการทำงานอีกครั้ง

 เช็กหน่อยสิ เราอยู่ในภาวะหมดไฟรึเปล่านะ

  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายหมดพลังในการทำงาน
  • นอนไม่หลับหรือหลับยาก
  • ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ไม่อยากทำงาน
  • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • มีอาการปวดหัว คลื่นใส้ ม้วนท้อง ในระหว่างการทำงาน
  • อารมณ์แปรปรวน
  • ไม่ดูแลตัวเอง
  • แยกตัวออกจากผู้อื่น

7 วิธี ปลุกพลังใจ เติมไฟในการทำงาน

หาความสุขให้กับตัวเอง ให้เวลาพักผ่อนกับตัวเอง หาเวลาทำสิ่งที่ชอบ ออกไปเที่ยว ไปรับประทานอาหารอร่อยๆ เล่นเกม ดูทีวี ฯลฯ เพื่อให้ผ่อนคลายจากความเครียด

พูดคุยกับคนที่ไว้ใจหรือปรึกษาจิตแพทย์ ควรระบายความในใจให้คนอื่นฟัง อย่าเก็บไว้คนเดียว หากไม่มีใครที่รับฟังเราได้ ให้ลองปรึกษาจิตแพทย์ เพราะการพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว

ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี ให้กลับมาสดใสแข็งแรง ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้ครบ 8 แก้ว ดูแลผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ถ้าตัวเองสวย หล่อจะทำให้กลับมาสดใสได้ค่ะ

สร้าง work life balance ให้กับตัวเอง สร้างสมดุลชีวิตให้กับตัวเอง จัดสรรเวลาชีวิต ไม่เอางานกลับไปทำที่บ้าน หาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นทำให้สามารถเยียวยาจิตใจได้

ไม่กดดันตัวเองในการทำงาน เพราะการกดดันจะทำให้คิดงานไม่ออกและงานขาดประสิทธิภาพ จึงควรทำใจให้สบายหรือลองฝึกนั่งสมาธิก่อนนอนอาจจะทำให้มีสมาธิมากขึ้น

เล่นกีฬา ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่งทำให้ใจกลับมาฟู ลดอาการเหนื่อยล้ากลับมารู้สึกสดชื่นและมีชีวิตชีวาเหมือนเดิม

ลดการเล่นสื่อโซเชียล ลดการใช้อินเทอร์เน็ต ลดการไถฟีด หรือลองทำ Social Detox เพราะการดูชีวิตคนอื่นมากเกินไป อาจจะทำให้บั่นทอนจิตใจตัวเอง คิดมาก และเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับคนอื่น การไม่เห็นอาจจะทำให้เราสบายใจขึ้นก็ได้นะ

หากวันไหนคุณรู้สึกหมดไฟ ขอให้คุณเยียวยาจิตใจให้หายดี เราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้คุณ

อ้างอิง :

https://www.medparkhospital.com/en-US/lifestyles/burnout-syndrome

https://www.chulaguide.com/burnout-syndrome/ 

Royal Thai Air Force Medical Gazette Vol. 66 No. 2 May – August 2020

https://www.forbes.com/sites/learnvest/2013/04/01/10-signs-youre-burning-out-and-what-to-do-about-it/?sh=6b455e00625b

https://www.medparkhospital.com/lifestyles/burnout-syndrome 

https://www.dek-d.com/studyabroad/51560/ 

Related Articles

ทำไมโรคซึมเศร้าถึงเป็นปัญหาสุภาพจิตอันดับหนึ่งของไทย

สุขภาพจิตเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะสภาพจิตใจของเราสำคัญไม่แพ้สุขภาพกายเลยนะคะทุกคนว่าไหม? เพราะหากเรามีสุขภาพจิตที่ดี ก็จะทำให้เรามีความสุขในการใช้ชีวิต มีพลังในการจะทำสิ่งต่างๆ มีภาวะทางอารมณ์ที่ดี ยิ้มแย้ม สดใส และยังส่งผลต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของเราด้วยนะคะ  จากการรายงานโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขในปี 2556 พบว่าคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตถึง 7 ล้านคน แต่มีผู้เข้ารับการรักษาเพียงประมาณ 2 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่า คนไทยอาจมีปัญหาสุขภาพจิตถึง

Altruistic love

Altruistic love ความรัก ความช่วยเหลือ ด้วยหัวใจจะสามารถเยียวยาจิตใจได้

การทำดีช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ จะทำให้เรารู้สึกใจฟูและมีความสุข เวลาที่มีใครสักคนมาทำดีกับเรา ด้วยหัวใจโดยที่เขาไม่ได้ต้องการสิ่งใดตอบแทน เรามักจะรู้สึกดีและรู้สึกใจฟูใช่ไหมละค่ะ การพูดคุยให้กำลังใจ การช่วยเหลือ แบ่งปัน ด้วยความเต็มใจจะสร้างความสุขให้กับผู้รับและผู้ให้เสมอ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการแสดงความรักให้กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนคนรัก คนรู้จัก หรือแม้กระทั่งคนที่เราไม่รู้จักก็ตาม อาจเป็นคนที่เขากำลังเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ เช่น คนแก่ที่เดินข้ามถนนหรือคนที่เขาเดือดร้อนจากน้ำท่วม ฯลฯ การกระทำเหล่านี้อาจเป็นเพียงการกระทำเล็กๆ น้อย

flood

ระวังใจ…เมื่อประสบภัยน้ำท่วม

น้ำท่วมอาจทดสอบกาย แต่จิตใจเราแกร่งกว่า ผ่านมรสุม ผ่านสายฝน ขอให้เข้มแข็งและอดทน เราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่คงเป็นเรื่องยากที่เราจะควบคุมฝน ฟ้า อากาศ ในช่วงนี้เกิดน้ำท่วมในหลากหลายจังหวัดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น เชียงราย พะเยา หนองคาย ฯลฯ ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนท้อแท้ สิ้นหวังหรือหมดกำลังใจ สภาพจิตใจย่ำแย่ หลายคนอาจจะเกิดความเครียด