sansiri blog

อุณหภูมิเปลี่ยน ดีไซน์เปลี่ยน:
เช็กอุณหภูมิบ้านเย็นทั่วโลก

ด้วยสภาวะโลกร้อนที่เรากำลังเผชิญทุกวันนี้ ทำให้โลกมีแนวโน้มที่จะอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังเกิดความแปรปรวนทางสภาพอากาศอีกมากมาย ดังนั้นในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลกจึงได้มีแนวคิดในการออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับกับสภาพอากาศในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่ร้อนเกินไป หรือหนาวเกินไป

เราลองมารู้จักแบบบ้านที่ถูกคิดเพื่ออุณหภูมิพอเหมาะและอยู่สบาย ทั้งด้วยการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม การออกแบบโดยคำนึงถึงทิศทางแสงแดดและลม ไปจนถึงการปรับโครงสร้างให้รองรับสภาพอากาศ ติดตามไปพร้อมๆ กันเลย

บ้านดิน : เย็นสบาย บนความเรียบง่าย

บ้านดิน หนึ่งในบ้านที่ใครๆ ก็สามารถเรียนรู้และสร้างขึ้นได้ด้วยมือของตัวเอง เแต่ในความเรียบง่ายนั้น บ้านดินยังมีข้อดีที่น่าสนใจซ่อนอยู่ นั่นก็คือภายในจะมีอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี เป็นบ้านที่เหมาะสำหรับการสร้างในเมืองร้อนแถมยังแข็งแกร่งทนทานมีอายุถึง 1,000 ปี

Sansiri Blog

ดีไซน์ที่ช่วยให้บ้านดินเย็นสบาย

โดยสิ่งที่ทำให้บ้านดินมีความเย็นก็คือ ผนังดินที่มีความหนา อีกทั้งฝาผนังยังสามารถดูดซึมความชื้นได้ดี รวมทั้งการออกแบบด้วยโครงสร้างหลังคาสูงโปร่ง โดยธรรมชาติอากาศร้อนจะลอยขึ้นที่สูง ทำให้พื้นที่ภายในบ้านเย็นสบาย และถ้าหลังคาทำจากวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนอย่าง ไม้ไผ่ ก็จะช่วยให้ภายในเย็นขึ้นได้อีก ถ้าใครได้ลองเข้าไปอยู่ในบ้านดินจะรู้สึกถึงความแตกต่างจากสภาพอากาศภายนอก เพราะมีอุณหภูมิภายในประมาณ 24 – 26 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังเย็นสบายอยู่ตลอดทั้งวัน

เฮลิโอโดม : นวัตกรรมล้ำ ออกแบบสอดคล้องแสงอาทิตย์

เฮลิโอโดม (Heliodome) แบบบ้านที่มีดีไซน์ดูล้ำสมัยและแปลกตา แต่กำเนิดขึ้นด้วยแนวคิดที่เข้าใจได้อย่างเรียบง่าย ในคอนเซ็ปต์การออกแบบที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จากโปรโตไทป์แรกสู่การพัฒนาจนแบบบ้านนี้เกิดขึ้นจริงในประเทศฝรั่งเศส มีฟังก์ชั่นสำคัญคืออุณหภูมิภายในที่พอเหมาะในทุกฤดูกาล

sansiri blog 11

โครงสร้างสุดล้ำ ทำให้บ้านมีอุณหภูมิพอเหมาะกับทุกฤดู

ด้วยการออกแบบรูปทรงของบ้านให้มีความสอดคล้องกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ออกแบบโครงสร้างด้านที่เป็นกระจกรอบไว้ตรงฝั่งที่พระอาทิตย์ขึ้นในฤดูหนาว และดีไซน์ฝั่งทึบไว้ด้านที่พระอาทิตย์ขึ้นในฤดูร้อน การออกแบบอย่างรอบคอบนี้ ทำให้ในหน้าหนาว จุดที่พระอาทิตย์ขึ้นและส่องแสงโดยตรง จะตรงกับฝั่งที่เป็นกระจก จึงช่วยให้บ้านมีความอบอุ่นและมีแสงสว่างที่เพียงพอ แต่เมื่อถึงหน้าร้อน แสงแดดจะส่องตรงเข้าด้านที่เป็นผนังทึบจึงทำให้ไม่โดนแสงตกกระทบโดยตรง ส่งผลให้อุณหภูมิในบ้านเย็นสบายกว่าภายนอก และนอกจากฟังก์ชั่นด้านอุณหภูมิที่พอเหมาะแล้ว แบบบ้านเฮลิโอโดม ยังสามารถช่วยประหยัดพลังงานไปได้ถึง 80% เมื่อเทียบกับบ้านทั่วไปในขนาดเดียวกัน นับเป็นแนวคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจริง และเป็นมิตรต่อโลกใบนี้อีกด้วย

sansiri blog

อิกลู : ที่พักพิงอบอุ่น ท่ามกลางความหนาว

อิกลู (Igloo) ที่พักอาศัยของชาวอินูอิตหรือชาวเอสกิโม บ้านทรงครึ่งวงกลมน่ารักที่หลายคนรู้จักกันดี บ้านนี้ถูกก่อสร้างโดยวัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่หนาวเย็น นั่นก็คือก้อนน้ำแข็งที่ถูกตัดให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดพอเหมาะ จากนั้นนำไปวางซ้อนกัน สร้างเสร็จแล้วใช้หิมะแทนปูน โบกภายในให้ทั่ว แต่ใครจะคิดว่าบ้านที่ทำจากหิมะกลับมีอุณหภูมิภายในที่อบอุ่น

Sansiri Blog

เทคนิคการสร้างบ้านให้อบอุ่นของชาวอินูอิต

เริ่มจากที่ตั้งของอิกลู ที่จะออกแบบให้มีทางเข้าในระดับต่ำกว่าภายนอก เพื่อป้องกันลมหนาวเย็นที่พัดพาเข้าไปด้านใน และการเลือกตกแต่งด้วยหนังสัตว์ที่นอกจากเพื่อความสวยงามแล้ว ยังมีประโยชน์ในการช่วยกักเก็บความร้อนที่เกิดจากการก่อไฟภายในบ้านหรือความร้อนที่ออกจากร่างกายมนุษย์ ทำให้มีความอบอุ่นไหลเวียนอยู่ภายในตัวบ้าน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ภายในอิกลู มีอุณหภูมิที่แตกต่างจากภายนอกมากถึง 35 – 50 องศาเซลเซียส เป็นแนวคิดการดีไซน์ที่ช่วยให้อยู่อาศัยได้อย่างอบอุ่นท่ามกลางหิมะมาอย่างยาวนาน

และที่แสนสิริก็มีนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยในสภาวะอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง กับ Cooliving Designed Home การดีไซน์เพื่อ ลดอุณหภูมิสูงของสภาพอากาศภายนอก ให้ภายในรู้สึกเย็นสบาย ลดอุณหภูมิได้มากถึง 2 องศา และยังช่วยลดการใช้พลังงาน โดยมาพร้อม 5 ฟังก์ชั่นคือ  Solar Attic ระบบพัดลมและช่องระบายอากาศใต้หลังคา ที่ทำงานร่วมกับแผงโซลาร์เซลล์เพื่อลดความร้อนใต้หลังคา ทำให้บ้านเย็นลง และลดการสะสมของเชื้อโรค อีกทั้งยังใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อช่วยลดโลกร้อน Breeze Panel ช่องลมระบายอากาศติดกับประตูหน้าต่างที่มีสวิทช์เปิด-ปิดได้ตามใจ ช่วยระบายอากาศ ทำให้บ้านไม่อึดอัดได้ทันทีที่ต้องการ

burasiri watcharapol

Shading Screen ระแนงกันแดดที่ดีไซน์สวยงามและยังมีฟังก์ชั่นของการเลื่อนสไลด์ปรับตำแหน่งเพื่อบังทิศทางลมและแสงในช่วงเวลาที่แตกต่าง  Texture Wall ผนังบ้านที่มีพื้นผิวไม่เรียบ เพื่อลดความร้อนสะสมบนผนัง และไม่ให้แสงแดดกระทบผนังโดยตรง  UV Shield สีที่เคลือบสารช่วยสะท้อนแสงแดดออกนอกตัวบ้าน ลดการสะสมความร้อน พร้อมกระจกเขียวตัดแสง ทำให้รู้สึกสบายตา และช่วยให้บ้านเย็นสบายได้ทั้งวัน รายละเอียดเหล่านี้ คือสิ่งที่ถูกคิดเพื่อให้การอยู่อาศัยมีความสุขในทุกช่วงเวลา

ซึ่งนวัตกรรม Cooliving Designed Home นี้ได้ถูกสร้างสรรค์ไว้ที่ โครงการ บุราสิริ วัชรพล และ บุราสิริ พัฒนาการ บ้านนิยามใหม่ที่ผสานทั้งนวัตกรรมพลังงานสะอาดและธรรมชาติ ออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อให้คุณได้ใช้ชีวิตกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว ด้วยดีไซน์ภายนอกที่ร่มรื่นรายล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ และภายในที่มีอากาศสะอาดเย็นสบายด้วยนวัตกรรม เพื่อให้ครอบครัวได้ใช้ชีวิตคุณภาพที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

https://www.facebook.com/sansirifamily/videos/317273198870900/

 

 

Related Articles

BELLOW! อย่าง สีเหลือง ... อยู่ตรงไหนในบ้านได้บ้าง

BELLOW! อย่าง สีเหลือง … อยู่ตรงไหนในบ้านได้บ้าง

อย่าง “สีเหลือง” เบลโล่วว!  พร้อมแจกความสดใสไปทั่วเมืองกับเหล่าวายร้ายจอมป่วน “MINION” ที่กลับมาสร้างสีสันความสนุกอีกครั้ง ทำให้ปิ๊ง! ไอเดียและได้แงบันดาลใจจากสีเหลือ เหล่านี้ ถ้านำมาแต่งบ้าน จะนำไปแมตช์ตรงไหนให้ดูสนุกและสดใสได้บ้างนะ มาดูกันเลย สีเหลืองเป็นสีสันแห่งความสุข ความสดใส สร้างความคิดสร้างสรรค์ และเติมแรงบันดาลใจ หากเลือกโทนสีที่ใช่และเลือกใช้ให้ลงตัว เช่น การไล่เฉดสีเข้ม-อ่อน และจัดสรรสัดส่วนให้พอเหมาะ

THE ERAS OF AESTHETIC DESIGN

THE ERAS OF AESTHETIC DESIGN 40 ปีแห่งการดีไซน์ เล่าผ่านยุคสมัยอันรุ่งเรืองทางศิลปะ

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัย “ศิลปะ” ก็ยังคงเป็นสิ่งสร้างความจรรโลงใจ เพลิดเพลิน รื่นรมย์ และผ่อนคลายให้กับมนุษย์ จากความวิจิตรงดงามในด้านต่างๆ ทั้ง สถาปัตยกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม จิตรกรรม รวมไปถึงคีตศิลป์ต่างๆ ทั้งหมดทั้งมวลได้รับการรังสรรค์และร้อยเรียงกันด้วย “การดีไซน์” ให้ลงตัว บทบาทของความผู้ด้านดีไซน์ของ แสนสิริ เองนั้นก็เองก็เริ่มจากความเชื่อ…เชื่อในความเป็นไปได้ใหม่ๆ พร้อมสานต่อยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปะให้คงอยู่ไปจนถึงอนาคต

Behind The Design EP3

Behind The Design EP.3: เพราะบ้านคือพื้นที่ของทุกคน? การดีไซน์ ⇆ ความเท่าเทียม

ในการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันเราอาจจะเจอกับหลายเหตุการณ์ที่ยากลำบากไม่ว่าจะเป็นการเดินทางที่แสนยากลำบาก เจอรถติด คนบนรถไฟฟ้าเยอะ เจอแอ่งน้ำตามทางเท้าใวัฝนตก แต่หากเปรียบเทียบกลุ่มคนพิการที่ต้องใช้วีลแชร์ หรือผู้สูงอายุที่เดินเหินได้ไม่คล่องตัวแล้ว ปัญหาที่พวกเขาต้องพบเจอนั้นอาจจะใหญ่กว่าคนทั่วไป  การเข้าใจในการออกแบบที่จะตอบโจทย์ผู้คนทุกกลุ่มหรือที่เรียกว่า “Universal Design” จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากการร่วมมือของทุกคนทุกกลุ่ม โดยต้องปรับเปลี่ยนปัจจัยภายนอกให้เกิดความเหมาะสม แต่สิ่งที่น่าจะตอบโจทย์ทุกคนน่าจะต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้น  นั่นก็คือ “บ้าน” วันนี้ Behind The Design อยากชวนทุกคนลองมองในมุมของคนพิการทางการเคลื่อนไหวและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบพื้นที่