วิเคราะห์กีฬาเพิ่มโอกาสชนะด้วย Data Analytics

เดี๋ยวนี้หันไปทางไหน ก็ดูเหมือนจะหนีไม่พ้นเรื่องราวของเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าท่านผู้อ่านเปิดดูข่าวธุรกิจ และไอทีเป็นประจำจะเห็นเรื่องของ data analytics และ digital platform ต่างๆ ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน และรูปแบบธุรกิจในหลายๆ อุตสาหกรรม แม้กระทั่งรัฐบาลไทยเองยังมีการอ้างอิงถึง ไทยแลนด์ 4.0 ที่เป็นการยกระดับเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาเชื่อมต่อ
และสร้างเป็นระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจสังคมที่หมุนไปตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

คอลัมน์นี้ของผมเองเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เริ่มจะควรถูกนำมาใช้ในวงการกีฬาฟุตบอลก็หลายต่อหลายครั้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ goal-line technology หรือการนำเอาภาพ instant replay มาใช้ในการตัดสิน รวมถึงเรื่องของการนำเอา data ของนักเตะ สถิติต่างๆ ที่ถูกเก็บเอาไว้ในฐานข้อมูลมาใช้ในการประมวลศักยภาพ คุณภาพของนักเตะแต่ละคน ก่อนที่สโมสรจะยอมเสียเงินก้อนใหญ่เพื่อซื้อตัวมาเสริมทีม โดยโค้ชรุ่นเก๋าๆ อย่าง Arsene Wenger นี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในคนแรกๆ ของวงการฟุตบอลที่นำเอาข้อมูลทางสถิติต่างๆ มาใช้ในการบริหารทีมนักเตะหลายต่อหลายคนในยุคแรกๆ ของเค้าอยู่ หรือไปก็มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว

data-and-sport_sansiri-blog-6
GPS Tracking – Credit: planetinnovation.com.au
data-and-sport_sansiri-blog-5
GPS Tracking – Credit: vxsport.com

ยกตัวอย่างเช่นสมัยที่เค้าซื้อตัว Mathieu Flamini มาร่วมทีมในปี 2004 Wenger เคยบอกว่าเค้าจับตาดูสถิติระยะทางการวิ่งและการจ่ายบอลของผู้เล่น midfield คนนี้ของ Marseille มาตลอดก่อนหน้านี้และพบว่ามีระยะทางการวิ่งใน 90 นาทีเฉลี่ยสูงเกือบที่สุดในลีกยุโรป และมีอัตราการจ่ายบอลที่สมบูรณ์เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงทำให้เค้าตัดสินใจได้ไม่ยาก ในการควักกระเป๋าเพื่อซื้อตัวนักเตะคนนี้มาในราคาเบาๆ ไม่จำเป็นต้องทุ่มทุนสร้างมหาศาลเหมือนทีมอื่นๆ ในยุคนั้น และในปัจจุบันจะเห็นได้ครับว่าแนวคิดเรื่อง data analytics แบบนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับวงการฟุตบอลอย่างแพร่หลาย ลองดูสิครับทั้งตอนซ้อมตอนแข่ง นักเตะหลายคนจะมีสายรัดหน้าอกที่ทำหน้าที่เป็น GPS และวัดอัตราการเต้นหัวใจกันหลายคนเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ เอามาประมวลผลเพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาการเล่นของทีมอย่างละเอียด

แต่เพิ่งไปอ่านเจอบทความเกี่ยวกับกีฬาเทนนิสอันหนึ่งที่เค้าพูดถึงการเริ่มเอา data ต่างๆ เข้ามาใช้ในการประมวลผล โดยเค้าบอกว่า เทนนิสนับเป็นกีฬาอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างล้าหลังในการเอาเทคโนโลยีเรื่อง data นี้มาใช้ จากที่เราเห็นส่วนมากในการถ่ายทอดการแข่งขันก็เห็นจะมีใช้เทคโนโลยีในเรื่องของตัวจับสปีดความเร็วของลูกเสิร์ฟและกล้อง hawk-eye เทคโนโลยีที่ใช้ในการตัดสินว่าลูกลงหรือไม่ลง และเป็น instant replay แต่ข้อมูลอื่นๆ ของนักกีฬาระหว่างการแข่งขันที่จะเอามาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เกมของคู่แข่งขันยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับกีฬาอย่างฟุตบอล

ก็เลยเป็นที่มาของข้อสงสัยผมว่า หรือว่ากีฬาประเภททีมจะมีโอกาสในการเอา data ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่ากีฬาประเภทเดี่ยว

คิดดูก็อาจจะจริงนะครับ เพราะอย่างฟุตบอล การเล่นเป็นทีมสำคัญมาก pattern การขึ้นเกม ระยะทางและพื้นที่ที่นักเตะในแต่ละตำแหน่งวิ่ง และ cover ในแต่ละเกมมีนัยยะสำคัญต่อรูปเกม และการขึ้นเกมของทีมอย่างมาก เพราะถ้าฟันเฟืองตัวใดตัวหนึ่งไม่ทำตามหน้าที่หรือมีประสิทธิผลด้อยกว่าตัวอื่น นั่นหมายถึงช่องโหว่ที่คู่ต่อสู้จะวิเคราะห์ และจัดการกับจุดอ่อนตรงนั้นได้ในเกมต่อไป และยังรวมถึงมูลค่าและคุณค่าของตัวนักเตะในตลาดซื้อขายด้วย อย่างที่กล่าวมาในข้างต้น กรณีของ Flamini ข้อมูลประวัติต่างๆ ในแต่ละเกมของเค้าจะเป็นตัวชี้เป็นชี้ตายถึงความสนใจ และมูลค่าที่ทีมแต่ละทีมจะมอง

ในขณะที่กีฬาที่เล่นคนเดียว ไม่ต้องหวังพึ่งเพื่อนร่วมทีม อย่างเทนนิส (ยกเว้นในเกมคู่) และเป็นเกมกีฬาที่แต่ละคนมีจุดแข็งที่ชัดเจนอยู่แล้ว มีความซับซ้อนน้อยมาก ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์อะไรเพิ่มเติมมากมายหลากหลายมิติ สำหรับนักเทนนิสระดับต้นๆ แล้วพวกเค้าดูเกมในอดีต และอ่านจากการเล่นของคู่แข่งไม่ยากหรอกครับ ถ้าแค่จับจุดอ่อนได้ก็จัดการเสียตรงนั้น สมมติว่าผมรู้ว่าคนนี้เล่นแบ็คแฮนด์สไลด์ตลอดเวลา ก็ส่งไปทางนั้น ยังไงโอกาสที่เค้าจะมีแบ็คแฮนด์ที่เป็น winner shot ก็คงยาก หรือในอีกกรณีหนึ่งยกตัวอย่าง เช่น จากสถิติเรารู้อยู่แล้วว่าอดีตนักเทนนิสที่มีการเสิร์ฟที่รุนแรงอย่าง Pete Sampras มีความเร็วเฉลี่ยของลูกเสิร์ฟที่กี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมักจะเสิร์ฟลงตรงจุดไหน แต่ถ้ายังไงๆ มันก็เร็วเกินกว่าที่นักเทนนิสคนอื่นจะสามารถจัดการได้ก็จบที่ตรงนั้น ไม่สามารถแก้เกมอะไรได้นอกจากรักษาเกมเสิร์ฟตัวเองไว้ให้ดีที่สุด

เลยดูเหมือนกว่าสถิติสำหรับเกมกีฬาอย่างเทนนิสจะกลายเป็นเรื่องที่บรรดาโค้ช และนักกีฬาเองไม่ค่อยสนใจกับมันมากนัก เพราะดูเหมือนไม่ก่อให้เกิดคุณค่าเสียเท่าไหร่ แต่สำหรับบรรดาสมาพันธ์เทนนิสหรือผู้จัดการแข่งขันก็พยายามหามูลค่า และคุณค่าจากข้อมูลเพื่อที่จะดึงดูดและสร้างความน่าสนใจให้กับกีฬาเทนนิสให้ได้มากที่สุด

data-and-sport_sansiri-blog-4

Forehand and backhand speed analysis – Credit: nytimes.com

มีผู้เชี่ยวชาญทางด้าน data analytics ของวงการเทนนิสหลายคนก็พยายามสร้างความเชื่อมโยงสถิติต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็น pattern อะไรบางอย่างที่มีหลายมิติมากกว่าเดิม จากที่เราเคยเห็นกันว่าความเร็วเฉลี่ยช็อตโฟร์แฮนด์ของ Rafael Nadal อยู่ที่ประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเร็วและเป็นคนที่เล่นโฟร์แฮนด์ได้ดีที่สุดคนหนึ่ง แต่ถ้าหากเอาสถิติด้านอื่นๆ มาจับเช่น ความแม่นยำของช็อตโฟร์แฮนด์จากมุมต่างๆ ของคอร์ตที่เป็นคอร์ตดิน คอร์ตหญ้า หรือคอร์ตสังเคราะห์ต่างกันหรือไม่ หรือความแม่นยำภายใต้สถานการณ์กดดันอย่างหลังเกมที่เพิ่งจะถูกเบรคเกมเสิร์ฟไป ฯลฯ ก็อาจจะทำให้คู่แข่งขันสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการเล่นเพื่อให้เหมาะสมและส่งผลให้แฟนๆ ได้เห็นรูปแบบการแข่งขันที่หลากหลายมากขึ้น

ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจนะครับ แต่ถ้าผมเป็นนักกีฬาเทนนิส หรือนักกีฬาประเภทเดี่ยวอื่นๆ อาจจะไม่ค่อยแฮปปี้นัก เพราะนั่นหมายถึงจากเดิมที่ไม่ค่อยมีคนสนใจเรื่องนี้ก็จะมีการเอาสถิติมาแฉจุดด้อยให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่แน่บรรดาสปอนเซอร์ต่างๆ ที่สนับสนุนอาจจะเอามาเป็นข้อมูลในการพิจารณาว่าใครจะมีโอกาสดีกว่า และน่าสปอนเซอร์กว่าก็เป็นได้

ข้อมูลจาก: คอลัมน์ “เศรษฐา & กีฬา” ว่าด้วยเรื่อง data กับกีฬา โดยคุณเศรษฐา ทวีสิน (สยาม สปอร์ต รายวัน) วันที่ 20 มกราคม 2560

ถ้าคุณสนใจบทความกีฬา:

การล่วงละเมิดทางเพศในวงการกีฬา ปัญหาที่ต้องจัดการ

เปลี่ยนตัวผิดคิดจนตัวตาย!

Related Articles

ส่อง “บ้านในฝัน” ของคนยุค Millennial

คนยุค Millennial ถือเป็นกลุ่มคนที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายในสังคม และในวันที่พวกเขาเริ่มมีบ้านเป็นของตัวเองกันแล้ว สไตล์การตกแต่งภายในบ้านของพวกเขานั้นจะเปลี่ยนไปจากคนยุคก่อน ๆ เหมือนกันหรือไม่ วันนี้เราจะมาส่องดู  Signature Style บ้านในฝัน ของคนยุคนี้กัน Rustic + Modern ภาพจากโครงการ สิริ เพลส

โซล่าร์เซลล์ นวัตกรรมที่ทั้งโลกจับตามอง

ทำความรู้จักกับ โซล่าร์เซลล์ นวัตกรรมที่ทั้งโลกจับตามอง

การก้าวหน้าของวิทยาการในศาสตร์ต่างๆ รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาในช่วงที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลนี้ แม้ว่าจะส่งให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของมนุษย์มากมาย แต่การอยู่ร่วมกันนี้ก็ทำให้เกิดมลพิษทางธรรมชาติ จากการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติอย่างรวดเร็ว แต่ในปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปล่อยมลพิษสู่ธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิตมากเกินไป ก็ทำให้นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบการใช้งานพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก (Renewable energy) ที่กำลังถูกพัฒนาเพื่อนำมาทดแทนการใช้พลังงานจากธรรมชาติที่อาจหมดไปในอนาคต รวมถึงเป็นพลังงานที่สะอาด ซึ่งหมายความว่าเป็นพลังงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในระยะยาว โซล่าร์เซลล์ เป็นหนึ่งในการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด จากการวิจัยของ Green Tech Media (GTM)

Home Automation

Home Automation เมื่อบ้านของคุณมีชีวิต

การพัฒนาของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันส่งผลให้อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งานภายในบ้านได้รับการพัฒนาให้มีความฉลาดขึ้นกว่าเดิม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น อุปกรณ์ Home Automation ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้ ได้แก่ อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ และอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงที่ได้รับการพัฒนาให้ตอบสนองกับผู้ใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม โดยในประเทศไทยเองอุปกรณ์อัจฉริยะที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้คือ Smart TV ที่มีสัดส่วน 35% ของตลาดทีวีทั้งหมด และรองลงมาคือกล้องวงจรปิด นอกจากนี้อุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อประหยัดพลังงานก็กำลังจะขยายเข้าสู่ตลาด Home Automation