Diversity Trends “หลากหลาย” โดย “หลอมรวม” 

หลังจากหนังฮอลลีวู้ดในยุค 60s-70s เต็มไปด้วยงานที่สะท้อนถึงปัญหาหลายอย่างของสังคมอเมริกันในตอนนั้น ไม่ว่าจะเป็นการหย่าร้าง ความล้มเหลวของสถาบันครอบครัว ช่องว่างระหว่าง gen พ่อกับลูก หรือคนหนุ่มสาวกับสถาบันทางสังคม รวมไปถึง “แผลเหวอะ” อย่างสงครามเวียดนาม

พอลืมตาขึ้นทศวรรษที่ 80 หนังจากโรงงานฮอลลีวู้ดเข้าสู่ยุคที่นักวิชาการเรียกว่า Escapist งานอย่าง E.T. และ Indiana Jones หลายภาค กับแฟรนไชส์ Rocky ภาคต่อ รวมไปถึง Rambo และ James Bond 007 กลายเป็น “ช่วงเวลาผ่อนคลาย” ของสังคมอเมริกัน

ช่วงนั้น ดูเหมือนจะเป็นปี 1980 มีหนังเพลงของ อลัน พาร์คเกอร์ เรื่องหนึ่งดังมาก ดังขนาดกลายมาเป็น “ชื่อร้าน” เช่าวิดิโอย่านท่าพระจันทร์ ซึ่งก็คือ Fame (เจ้าของร้านบอกกับผมเอง) หนังเรื่องนี้ไม่เน้นสร้าง production อลังการใหญ่โตแบบที่หนัง musical นิยมทำกัน พาร์คเกอร์เน้นเนื้อหาที่โดนใจคนหนุ่มสาวในยุคนั้น นั่นคือ การทุ่มเทแข่งขันเคี่ยวกรำ ในโรงเรียนสอนศิลปะทุกแขนง เพื่อไปสู่ปลายทางที่ความฝัน

โดยที่ “ฝัน” ของเขาไม่ใช่ “หมอ” และ “ฝัน” ของเธอไม่ใช่ “แอร์โฮสเตส”

ภาพยนตร์เรื่อง Fame ปี 1980

(ภาพจาก IMDb)

มีฉากหนึ่งที่ดีมากนั่นคือ เด็กหนุ่มสาวทุกคนจะผิวสีอะไร ก็ออกมาเต้นกลางถนนไปด้วยกัน เป็นการบอกว่า ไม่ว่าเราจะมาจากไหน ผิว เชื้อชาติ จะต่างกันอย่างไร… ที่ปลายทางของความฝัน ก็ไม่ต่างกัน นั่นคือการเป็นที่ยอมรับ ผ่านความสามารถแต่ละคน

นี่เป็นหนังที่เกี่ยวกับเทรนด์ D&I หรือ diversity & inclusion แรก ๆ ในโลกการดูหนังของผมตั้งแต่ไปเรียนภาพยนตร์วิจารณ์สมัยยังเป็นหนุ่มเป็นสาว มีความพยายามจะนำเอา Fame กลับมาทำใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2009 ผลก็คือเละไม่เป็นท่า ฉะนั้น เวลาจะดูหนังเรื่องนี้ ต้องปี 1980 ดีที่สุด

น่าเสียดายว่า ถ้าจะมีใครสักคนลองเอา Fame มาทำใหม่ตอนนี้ จะรีเมคหรือรีบูธ มันจะกลายเป็นงานร่วมสมัยมากที่สุดเรื่องหนึ่งเมื่อ “ชายตามอง” ไปยังเทรนด์ตัวนี้ที่กระจัดกระจาย ปกคลุมอยู่ใสหลายพื้นที่

มีอะไรบ้างล่ะ ?

สำนักแฟชั่นอย่าง Vogue เพิ่งประกาศว่า ปี 2019 นี้ วงการแฟชั่นต้อนรับดีไซเนอร์ผิวสีเข้ามาทำงานเต็มตัว หลังจากก่อนหน้านี้ “เปิดกว้าง” ให้กับนางแบบผิวสี จะอ้วนจะผอม ก็ดาหน้าทยอยขึ้นปกอย่างครบครัน

(ภาพจาก Vogue)

อะคาเดมีฟุตบอลหลายแห่งในยุโรป เปิดโอกาสให้เด็กเล็ก ๆ เยาวชนชายหญิงได้จัดทีมประจำปีที่มีสีผิวต่างกันเพื่อแข่งขันกัน หมายความว่าผิวขาวครึ่งทีมและผิวสีครึ่งทีม มาแข่งขันกัน และถึงแม้ว่าในวงการฟุตบอลอาชีพ การเหยียดเชื้อชาติและสีผิวจะยังรุนแรงกว่ามาก แต่นอกสนาม ผ้าพันคอที่ทำโดยแฟนบอลระยะหลัง ๆ ก็เป็นรูปหน้าดำบ้าง ขาวบ้าง ของนักเตะในทีมที่ใช้ชีวิตร่วมกัน

เทรนด์ diversity หรือ “การอยู่ร่วมของความหลากหลาย” นั้นอาจจะยังไม่ “กระเพื่อม” ในไทยมากนัก แต่ในยุโรปและอเมริกา ตอนนี้ม้วนตัวขึ้นฝั่งเป็นลูกคลื่นถาโถม ชัดเจนครับ และทำท่าจะอยู่อีกนาน เพราะเทรนด์โลกพัดพามาทางนี้

พยานเสียงดัง ตัวใหญ่ ที่แอบบอกเรามาสองปีหลังแล้วก็คือ รางวัล “ออสการ์”

ถ้าย้อนหลังไปดู “หนังชนะเลิศ” สองปีหลัง จะพบว่าบรรดาหนังเข้าชิงหลายเรื่อง ดารานักแสดงที่เข้าชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาที่ชัดเจนที่สุดคือ “ผู้กำกับ” ปีนี้มาจากความหลากหลายมากในรอบ 10 ปี ออสการ์พยายามจะบอกว่า นี่คือยุคของความเท่าเทียมทั้งทางเพศ สีผิวและเชื้อชาติ จะ alien หรือมนุษย์ สิ่งที่งดงามคือ การอยู่ร่วมของความหลากหลาย… (หนังชนะปีที่แล้วคือ Shape of Water เกี่ยวกับเอเลียน มาปีนี้ Green Book ก็เกี่ยวกับความแตกต่างหลากหลาย ที่จะเรียนรู้อยู่ร่วมกันของคนขับรถผิวขาว กับนักดนตรีผิวสี)

ภาพยนตร์เรื่อง Shape of Water

(ภาพจาก Forbes)

ภาพยนตร์เรื่อง Green Book

(ภาพจาก Time)

นี่ยังไม่นับ “หนังเรื่องอื่น ๆ” ที่เน้นย้ำแนวคิด diversity ไม่ว่าจะเป็นคนต่างด้าวกับคนเมือง คนผิวสีกับผิวขาว เพศทางเลือก LGBT ที่ปกคลุมภาพยนตร์อย่างหนาแน่นใน 2-3 ปีนี้

พูดถึงหนังแล้วก็คิดเลยเถิดไปถึง “หนังโฆษณา” ของน้ำอัดลมแบรนด์หนึ่ง

หนังโฆษณาตัวนี้ ก็อยู่ในกระแสของการทำการตลาดด้วย Diversity & inclusion ผ่านเรื่องสั้น ๆ สามตอน พ่อกับลูกสาว แม่กับลูกชาย และคู่รัก ซึ่งก็คือ diversity ที่พยายามเปิดใจรับฟัง รับรู้ ยอมรับสิ่งที่ต่างไปจากมุมตัวเอง

คนที่ติดตามเทรนด์ของโลกเรื่อย ๆ คงจะทราบดีว่า ตอนนี้องค์กรชั้นนำระดับโลกมากมาย ต่างก็ปรับตัวให้มีความหลากหลายมาอยู่ร่วมทำงานด้วยกัน ความหมายว่า “หลากหลาย” ไม่ใช่แค่สีผิวที่แตกต่าง ทว่า ยังครอบคลุมไปถึงเพศสภาพ รสนิยมทางเพศ ทัศนคติทางเพศ รวมไปถึงคนที่ต่างวัยอย่างแต่ละ Gen ด้วย

หมดยุคแล้ว “ตัวกูของกู” ไม่สนใจใครอื่น หรือว่านี่คือ sharing economy อีกแบบหนึ่ง ?

Related Articles

Live Equally, สมรสเท่าเทียม, Love Wins Sansiri

Sansiri Pride in Milestone จากวันนั้น สู่วันที่ “สมรสเท่าเทียม”

ช่วงเวลาที่ผ่านมา นอกจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แล้ว “แสนสิริ” ยังมุ่งมั่นในการส่งเสริมสังคมแห่งความเท่าเทียมและเคียงข้างผลักดันให้ทุกคนกล้าที่จะเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่ และในวันนี้สิ่งที่เราเฝ้ารอมาตลอดก็เข้าใกล้ความจริงแล้ว เมื่อ “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในอีกไม่ถึง 120 วันหลังจากนี้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปย้อนดูสิ่งที่เราผลักดันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ส่งเสริมพนักงานในองค์กร จนก้าวไปสู่การเป็นองค์กรที่สนับสนุนและผลักดันให้ความหลากหลายอย่างเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในระดับสังคม จาก Sansiri Pride ในวันนั้น ส่งต่อมาถึง Everyone is

Live Equally, สมรสเท่าเทียม, Love Wins Sansiri

เมื่อความรักไม่มีข้อจำกัด จินตนาการใหม่ของหนัง LGBTQIA+ ยุค #สมรสเท่าเทียม

 จากจอภาพยนตร์สู่โลกแห่งความจริง ยุคสมรสเท่าเทียม จากภาพยนตร์ LGBTQIA+ ที่เราคุ้นเคย กำลังจะถูกเขียนบทใหม่ เมื่อประเทศไทยก้าวสู่ยุคแห่งความเท่าเทียมทางเพศ คู่รักทุกคู่จะมีสิทธิ์สมรสอย่างถูกต้องมาร่วมกันจินตนาการถึงเรื่องราวความรักในภาพยนตร์เหล่านี้ ถ้าหากตัวละครได้มาอยู่ในยุคที่มีกฎหมายรองรับ ความสุข ความฝัน การใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จะงดงามเพียงใด โดยกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป แสนสิริขอร่วมยินดีกับก้าวสำคัญของประเทศไทยสู่การยอมรับความรักทุกรูปแบบ เพราะเราเชื่อว่า

pride month-live equally-สมรมเท่าเทียม

สมรมเท่าเทียม: ไม่ใช่ความสุขของใคร แต่เป็นสุข (ของ) สาธารณะ

เมื่อสังคมโลกเต็มไปด้วยความหลากหลาย เราสามารถมอบโอกาสให้ทุกคนมีสุขอย่างเท่าเทียมได้รึเปล่า? ตลอดเดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่เต็มไปด้วยสีสันแห่งสายรุ้ง เป็นเดือนของการเฉลิมฉลอง Pride Month เทศกาลแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) แม้ว่า Pride Month จะมีจุดเริ่มต้นที่ไม่สวยงามเหมือนขบวนพาเหรดที่ถูกจัดขึ้นในหลายๆ ประเทศ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างโอกาสให้กับทุกคนไม่ว่าจะเพศไหน ให้ออกมาแสดงตัวตนและเรียกร้องในสิทธิที่ถูกลดทอนเพียงเพราะตนนั้น “แตกต่าง” สำหรับบางคน “สมรสเท่าเทียม” อาจเป็นสิ่งเล็กๆ ที่ไม่กระทบต่อชีวิต