สมรมเท่าเทียม:
ไม่ใช่ความสุขของใคร แต่เป็นสุข (ของ) สาธารณะ

เมื่อสังคมโลกเต็มไปด้วยความหลากหลาย เราสามารถมอบโอกาสให้ทุกคนมีสุขอย่างเท่าเทียมได้รึเปล่า?

ตลอดเดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่เต็มไปด้วยสีสันแห่งสายรุ้ง เป็นเดือนของการเฉลิมฉลอง Pride Month เทศกาลแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)

แม้ว่า Pride Month จะมีจุดเริ่มต้นที่ไม่สวยงามเหมือนขบวนพาเหรดที่ถูกจัดขึ้นในหลายๆ ประเทศ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างโอกาสให้กับทุกคนไม่ว่าจะเพศไหน ให้ออกมาแสดงตัวตนและเรียกร้องในสิทธิที่ถูกลดทอนเพียงเพราะตนนั้น “แตกต่าง”

สำหรับบางคน “สมรสเท่าเทียม” อาจเป็นสิ่งเล็กๆ ที่ไม่กระทบต่อชีวิต แต่สำหรับคนบางกลุ่ม นี่เป็นโอกาสครั้งใหญ่ที่จะเปิดทางให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตในแบบที่มั่นคงได้ โดยไม่ต้องกังวลต่อข้อกฎหมายใดๆ ซึ่งจุดเริ่มต้นเล็กๆ นี่เอง ที่จะพาเราไปรู้จักกับ “สุข (ของ) สาธารณะ”

pride month-live equally-สมรมเท่าเทียม

ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ความสุขนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องแค่กับใครคนใดคนหนึ่งเลย แต่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่และความเท่าเทียมของสังคมโดยส่วนรวมต่างหาก เพราะมันก็เกิดเป็นคำถามมากมายว่าเราจะทำอย่างไรให้สังคมนี้ได้รับโอกาสที่ทั่วถึงอย่างเท่าเทียม

อย่างแรกก็คงต้องมองดูถึงเรื่องของโอกาสในการเข้าถึง “สิทธิพื้นฐาน” โดยเฉพาะในเรื่องของ “ชีวิตคู่” ที่ใครๆ อาจมองว่าเป็นเรื่องง่าย แต่กับคนบางกลุ่มแล้ว นี่ไม่ง่ายเลย หนทางของการวางแผนอนาคตนั้น มองไปก็อาจมืดมิด เพียงเพราะถูกจำกัดอยู่แค่ว่า “เขาเป็นเพศเดียวกัน” แต่หากทุกคนได้รับ “โอกาส” ในการมีชีวิตคู่ ที่จะสามารถวางแผนใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างราบรื่น ทุกคนก็จะมีสิทธิที่จะมีความสุขได้อย่างเท่าเทียม ทั้งหมดนี้ก็เพื่อในอนาคตที่ถูกเติมเต็มด้วยสีสัน พร้อมรอยยิ้มที่สดใสของทุกคน ไม่ว่าใครก็สามารถใช้ชีวิตของตนเองและคู่ครองได้อย่างมีความสุขท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่สวยงามเช่นนี้

ถึงแม้สังคมแห่งความเท่าเทียมอาจจะใช้เวลานานในการสร้างให้สมบูรณ์ แต่จุดเริ่มต้นเล็กๆ ก็สามารถกลายเป็นจุดเปลี่ยนทางสังคม จนทำให้เกิด “สุข (ของ) สาธารณะ” ที่มีผลต่อทั้งโลกเหมือนกับครั้งแรกที่กฎหมายเท่าเทียมได้ถูกบัญญัติขึ้น

A Step Forward To Live Equally: ก้าวแรกของโอกาส ก้าวต่อไปของความเท่าเทียม

pride month-live equally-สมรมเท่าเทียม

“กฎหมายสมรสเท่าเทียม” คำที่ทำให้เราได้ตระหนักว่า นี่คือก้าวแรกของโอกาส ที่จะทำให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม

กฎหมายนี้ เริ่มขึ้นเมื่อปีค.ศ. 2000 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทางเนเธอร์แลนด์ แก้ไขกฎหมายการสมรสเพียงแค่ประโยคเดียวเท่านั้น คือ การแต่งงานสามารถทำได้ระหว่างคนสองคนที่มีเพศแตกต่างกัน หรือ “เพศเดียวกัน” ซึ่งทำให้เราเห็นเลยว่า นี่คือประเทศที่เคารพการเป็นอยู่ของคนอย่างแท้จริง จนทำให้ปัจจุบัน มีถึง 31 ประเทศ ที่อนุญาตให้มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม และยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ ที่ไม่ใช่แค่เพียงมองว่าเป็นสีสัน แต่เป็นการบ่งบอกสิทธิ ที่พวกเขาควรได้ใช้ชีวิตคู่กันอย่างถูกกฎหมาย

ดังนั้น Pride Month อาจไม่ใช่แค่เวทีแสดงสีสันหรือความแตกต่าง แต่อาจรวมถึงการสร้างโอกาสให้คนตัวเล็กๆ ที่มีจำนวนไม่น้อย ให้เขาได้ใช้ชีวิตกันอย่างเท่าเทียมในแบบที่ควรจะเป็น

Chance For Change: จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากการให้โอกาส

pride month-live equally-สมรมเท่าเทียม

จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง “ข้อดี” ที่จะนำมาซึ่งโอกาสของความเท่าเทียม และส่งผลถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในสังคมระยะยาว โดยสภาพสังคมที่ดี ต้องเริ่มจากสวัสดิการรัฐที่เข้าถึงได้ เหมือนกับคู่สมรสชายและหญิง

• “การรับบุตรบุญธรรม” ที่จะช่วยให้เด็กกำพร้าทุกคน มีโอกาสในการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความรักจากพ่อแม่ที่เพียบพร้อม

• “อำนาจทางการเงิน” ที่จะได้รับโอกาสเข้าถึงได้มากขึ้น และยังอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ในเรื่องของธุรกิจต่าง ๆ ที่จะมาซัพพอร์ตพวกเขาได้มากขึ้นอีกด้วย

เพียงแค่ไม่กี่ข้อดี ก็นับว่าเป็นโอกาสของความเท่าเทียมที่ทุกคนจะได้รับอย่างแท้จริง และจะดีแค่ไหน หากเราได้รับโอกาสในการดำเนินไปถึงจุดที่ควรจะเป็น

Sustainable Happiness Starts From Living Equally: ความสุขที่ยั่งยืนเริ่มจากชีวิตที่เท่าเทียม

pride month-live equally-สมรมเท่าเทียม

ความสุขที่ไม่ยากเกินคว้ามักเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่เรียกว่า “ครอบครัว” ใครๆ ต่างก็มองหาความมั่นคงให้กับคนที่รัก และเมื่อทุกครอบครัวได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกัน ก็จะเกิดการยกระดับสังคมไทยให้เป็นสากลมากขึ้นตามมา

แม้เราจะอยู่ในสังคมที่ความหลากหลาย เป็นดั่งแสงสว่างที่คอยมอบสีสันให้กับคนรอบข้าง แต่กลับกันชีวิตของพวกเขามักถูกบดบังด้วยเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นเพียงเพราะ “ความแตกต่าง” หากทุกอย่างดำเนินต่อไปในทิศทางที่ดี ก็จะทำให้เกิดความเสมอภาคทั้งในเรื่องของสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของชีวิตคู่สำหรับ “ทุกคน” ไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่ง และเมื่อใดที่ความเท่าเทียมบังเกิดต่อทุกคนในสังคม ก็จะเกิด “สุข (ของ) สาธารณะ” อย่างแท้จริง

เราจึงพร้อมสนับสนุนทุกโอกาส ที่จะทำให้ทุกคนในสังคมนี้ “เท่าเทียมกัน” เหมือนดั่งแคมเปญ “Live Equally” ของเราที่จัดขึ้น เพื่อให้ทุกคนได้เติบโตอย่างสวยงามในสังคมที่เสมอภาคกันอย่างแท้จริง

CONTRIBUTOR

Related Articles

เพราะ เธอ = เธอ Her Equality International Women’s day 2024

เพราะรณรงค์เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมยังคงดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะกี่ยุคสมัยตราบใดที่ยังมีการกีดกันในสายอาชีพ การคุกคามและใช้ความรุนแรง สวัสดิการและค่าแรงที่ไม่เป็นธรรมในหลายๆ เคสที่เกิดขึ้น เพราะเป็นผู้หญิงหรือมีเพศสภาพที่แตกต่างกัน ทำให้กลายเป็นเหตุอันชอบธรรมที่จะทำอะไรก็ได้ เช่นนั้นหรือ? ย้อนไปมองในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ผู้หญิง ทรานส์ หรือเพศที่ถูกกดขี่ต่างก็ต่อสู้เพื่อสิทธิที่ควรได้รับและพิสูจน์ตัวเองหนักไม่แพ้ใครเลย จวบจน 2024 แล้ว ต้องบอกว่าหลายๆ สิ่งที่ถูกกรุยทางไว้ก็เห็นผลแล้ว แต่ก็ยังมีบางสิ่ง ขนบ นอร์ม ต่างๆ

internation women day - วันสตรีสากล - วันสตรีโลก

ทุกวันนี้ ผู้หญิงทั่วโลก ยังเผชิญปัญหา?

แม้ทุกวันนี้ผู้หญิงได้รับความเสมอภาคมากขึ้น แต่ความเหลื่อมล้ำที่ผู้หญิงต้องพบเจอ หมดไปแล้วจริงๆ เหรอ? จุดเริ่มต้น 8 มีนาคมของทุกปี #วันสตรีสากล (International Women’s Day) ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิงที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ แต่ในทุกวันนี้ผู้หญิงทั่วโลกยังมีอีกหลายปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ ทั้งการถูกกดขี่ทางเพศ โดนทำร้ายร่างกายและจิตใจ หรือแม้กระทั่งถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม แสนสิริจึงอยากเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงที่ต้องการให้ปัญหาต่างๆ ของผู้หญิงถูกทลายลง เพราะองค์กรแสนสิริยึดมั่นในเรื่องความเท่าเทียม ให้คุณค่ากับทุกความหลากหลาย

ผู้สูงอายุ-วัยเกษียณ

สว. ยุคใหม่ เกษียณอย่างไรให้มีความสุข

เพราะชีวิต ไม่ได้สิ้นสุดที่วัยทำงาน หากถึงวัยหลังจากนั้น จะยังมีความสุขได้อยู่ไหมนะ? ณ ช่วงวัยขณะนี้ เราอาจกำลังไล่ตามหาความฝัน การเติบโต และการประสบความสำเร็จ ที่ต้องเร่งสปีดสุดขีด เพื่อให้ถึงปลายทางที่คิดภาพเอาไว้อย่างเร็วที่สุด กว่าจะรู้ตัวอีกที เวลาก็ผ่านไปเร็วเหมือนติดจรวด มาถึงวัยที่ต้องนั่งสำรวจสุขภาพตัวเอง เช็คดูว่าเพื่อนคนไหนยังอยู่ในวัยนี้กับเราบ้าง และสิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่ความสำเร็จ แต่คือประกันชีวิต การก้าวเข้ามาเป็น “สว.” เป็นอีกวัยที่ต้องทำการบ้านอย่างหนัก