จักรวาลคู่ขนานของหนังทั้ง 5 เรื่อง ในวันที่ทุกคนยอมรับความแตกต่าง

เคยลองคิดกันไหมคะ ถ้าเกิดว่าคนเราสามารถยอมรับความแตกต่างของกันและกันได้ โลกนี้จะเป็นอย่างไร? 

เนื่องจากวันนี้ คือ “วันยอมรับความแตกต่างสากล” (International Day for Tolerance) ซึ่งตรงกับทุกวันที่ 16 พฤศจิกายนของทุกปี กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ผู้คนตระหนักและเคารพในความแตกต่างและหลากหลายของเพื่อนมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา สีผิว เพศ เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม

“โอบรับทุกความแตกต่างต่างอย่างเท่าเทียม”

สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค การเปิดกว้างและยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ “แสนสิริ” ผลักดันและให้ความสำคัญจนเกิดเป็นแคมเปญต่างๆ มากมาย เพื่อขับเคลื่อนสังคมอย่างมีคุณภาพ อาทิ Live Equally (เราเท่ากัน), Zero Dropout (เด็กทุกคนต้องได้เรียน), No One Left Behind (แสนสิริไม่ทอดทิ้งใคร) และอีกมากมาย

ตั้งแต่อดีตจนถึงอนาคต เราจะยังคงสานต่อเจตนารมณ์และส่งมอบ DNA ที่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาสร้างบ้านและสร้างสังคมให้มีคุณภาพและน่าอยู่ รวมถึงการส่งต่อแนวคิดดีๆ อย่างการเคารพสิทธิของผู้อื่น และการช่วยเหลือให้ทุกคนได้มีชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมสร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน

CODA เมื่อความบกพร่องของร่างกายไม่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต

Coda, วันแห่งการยอมรับความแตกต่างสากล

รูบี้ เป็นเพียงเด็กคนหนึ่งที่มีความฝันและมีพรสวรรค์ในการร้องเพลง แต่บทบาทที่เธอได้รับคือ การต้องเป็น “ผู้ใหญ่” ในขณะที่เธอเป็นเด็กคนหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเธอเป็นคนเดียวในครอบครัวที่ได้ยินเสียงปกติ ทำให้ต้องคอยช่วยเหลือในการเป็นตัวกลางการสื่อสารและการทำประมงของครอบครัว

จะเป็นอย่างไรถ้าในวันที่ทุกคนสามารถยอมรับในความบกพร่องของร่างกาย พร้อมให้โอกาสและสิทธิในการทำงาน ให้ความสำคัญกับการออกแบบสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวันให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม 

รูบี้ก็จะได้ใช้ชีวิตอย่างเด็กทั่วไป ไม่ถูกบูลลี่ และคว้าโอกาสในการทำตามความฝันได้ทันที โดยไม่ต้องพะวงเรื่องครอบครัว

Green Book หากความต่างของสีผิว ไม่มีอคติมาเป็นเส้นแบ่ง

Green Book, วันแห่งการยอมรับความแตกต่างสากล

ในหนังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของโทนี่ ซึ่งก็เป็นหนึ่งในคนที่อคติกับคนผิวดำ แต่ก็จำเป็นต้องไปขับรถให้ ดอน เชอร์ลีย์ นักดนตรีผิวดำ อย่างจำใจ แม้ว่าสุดท้ายมิตรภาพระหว่างทางจะทำให้ทั้งสองเข้าใจกันมากขึ้น

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเหยียดสีผิวหรือเชื้อชาติอย่างรุนแรงในอเมริกาก็ยังคงรุนแรงและมีอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

ถ้าในโลกนี้ไม่มีการแบ่งแยกและการเหยียดสีผิว หนังสือกรีนบุ๊ค ก็อาจจะเป็นเพียงไกด์บุ๊คสำหรับท่องเที่ยวทั่วไปที่ไม่ได้แบ่งแยกว่าคนผิวดำต้องพักแต่ที่นี่เท่านั้น ถึงจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและอยู่ได้อย่างปลอดภัย

Wonder อ๊อกกี้จะได้ถอดหมวกและใช้ชีวิตอย่างสบายใจ

Wonder, วันแห่งการยอมรับความแตกต่างสากล

“อ๊อกกี้” เด็กน้อยเกิดมาพร้อมกับโรคที่ตัวเขาไม่สามารถเลือกได้ว่าไม่อยากจะป่วยที่ทำให้รูปลักษณ์ใบหน้าของเขา แตกต่างจากคนอื่น และจับจ้องเมื่อออกจากบ้าน ทำให้เขาต้องใส่หมวกมนุษย์อวกาศไว้ตลอด

แต่เมื่อต้องไปโรงเรียนและต้องถอดหมวกออกก็ทำให้เขาถูกเพ่งเล็ง มองว่าเป็นตัวประหลาด และถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนร่วมชั้น

ถ้าคนมองข้ามเรื่องรูปลักษณ์ ยอมรับในความแตกต่างได้ อ๊อกกี้ อาจจะได้ใช้ชีวิตแบบเด็กคนอื่นๆ ได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องกังวล และสวมหมวกมนุษย์อวกาศไว้ตลอดเวลา

The Intern ในวันที่เพศและวัยไม่ใช่ตัวกำหนดบทบาทและหน้าที่อีกต่อไป

The Intern, วันแห่งการยอมรับความแตกต่างสากล

หนังเล่าเรื่องราวของบทบาทและหน้าที่ของผู้หญิง รวมถึงความแตกต่างของช่วงวัย ผ่านตัวละครอย่าง จูลส์ และ เบน เจ้านายและเด็กฝึกงานต่างเจเนอเรชันที่ต้องมาร่วมงานกัน 

“เบน” ได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า “ไม่มีใครแก่เกินจะเรียนรู้” ส่วน “จูลส์” หญิงสาวที่พิสูจน์ตัวเองจนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

หากกลับกันในโลกที่ทุกอย่างเท่าเทียม เบน กับ จูลส์ คงจะได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักและอยากทำโดยไม่ต้องเจอบทพิสูจน์จากอคติในบทบาทของ “ผู้หญิง” และ “คนสูงอายุ”

The Man Who Knew Infinity
ความแตกต่างอาจเป็นสมการที่รามานุจันแก้ได้ไวกว่าโจทย์คณิตศาสตร์

The Man Who Knew Infinity

หนังที่สร้างจากเรื่องจริงของนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดีย ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนและสมาชิกวิทยาลัยทรินิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ “ศรีนิวาสะ รามานุจัน”

แม้ว่าเขาจะเป็นอัจฉริยะและมีศักยภาพด้านคณิตศาสตร์มากมายแค่ไหน รวมถึงการได้ตอบรับจากศาสตร์จารย์ จี เอช ฮาร์ดี้ จนได้เข้ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แล้ว แต่ก็ต้องพิสูจน์ตัวเองอีกมากมายตลอดทั้งชีวิต เพียงเพราะเชื้อชาติ ชนชั้น และฐานะ ที่เกือบพรากโอกาสในการเป็นนักคณิตศาสตร์ไปในหลายครั้ง

ถ้าในจักรวาลคู่ขนานที่ทุกคนยอมรับ ให้โอกาส และเคารพในความแตกต่างของกันและกัน รามานุจัน คงจะได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม และมีเวลามากพอที่จะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้กับวงการคณิตศาสตร์ได้อีกมากมายในช่วงเวลาชีวิตที่นับว่าไม่ได้ยืนยาวมากนักของเขา

การยอมรับในความแตกต่างและสนับสนุนความเท่าเทียม  เป็นสิ่งที่แสนสิริผลักดันและให้ความสำคัญมาตลอด โดยให้โอกาสกับพนักงานในการแสดงศักยภาพและความคิดเห็นได้ทุกเพศทุกวัยอย่างเท่าเทียม  

นอกจากในองค์กรแล้ว เรายังผลักดันเรื่องของสิทธิเด็ก การศึกษา และการพัฒนาสังคม ช่วยเหลือกันในวันที่ยากลำบากโดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ในการมุ่งมั่นสร้างสังคมที่ดี มีคุณภาพ และความเสมอภาคอย่างยั่นยืน

CONTRIBUTOR

Related Articles

เสียงจากหัวใจ: บทสนทนากับ Chanisara ผู้สร้างแรงบันดาลใจผ่านตัวอักษรและกำลังใจ

ในโลกที่เต็มไปด้วยความท้าทายและข้อจำกัด บางครั้งเราต้องการเพียงกำลังใจเล็กๆ ที่จะช่วยผลักดันให้ก้าวต่อไป หากคุณเป็นแฟนคลับคอลัมน์หนึ่งที่เป็นภาพตัวการ์ตูนสีสันสดสวยน่ารักๆ บนโซเชียลมีเดียของแสนสิริ วันนี้เป็นโอกาสที่ดีคุณจะได้พบกับเจ้าของคอลัมน์ส่งพลังบวกสร้างแรงบันดาลใจบนโลกออนไลน์แล้ว กับ คุณชนิสรา หน่ายมี (แบมแบม) เจ้าของคอลัมน์ ‘Mental Life by Chanisara’ ผู้ซึ่งไม่เพียงแต่เอาชนะข้อจำกัดของตัวเอง แต่ยังใช้พลังแห่งการเขียนเพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น เนื่องในโอกาสวันคนพิการแห่งชาติ เรามาร่วมฟังเรื่องราวที่จะทำให้คุณมองเห็นว่า ทุกข้อจำกัดล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของโอกาสใหม่ๆ

Live Equally, สมรสเท่าเทียม, Love Wins Sansiri

Sansiri Pride in Milestone จากวันนั้น สู่วันที่ “สมรสเท่าเทียม”

ช่วงเวลาที่ผ่านมา นอกจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แล้ว “แสนสิริ” ยังมุ่งมั่นในการส่งเสริมสังคมแห่งความเท่าเทียมและเคียงข้างผลักดันให้ทุกคนกล้าที่จะเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่ และในวันนี้สิ่งที่เราเฝ้ารอมาตลอดก็เข้าใกล้ความจริงแล้ว เมื่อ “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในอีกไม่ถึง 120 วันหลังจากนี้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปย้อนดูสิ่งที่เราผลักดันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ส่งเสริมพนักงานในองค์กร จนก้าวไปสู่การเป็นองค์กรที่สนับสนุนและผลักดันให้ความหลากหลายอย่างเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในระดับสังคม จาก Sansiri Pride ในวันนั้น ส่งต่อมาถึง Everyone is

Live Equally, สมรสเท่าเทียม, Love Wins Sansiri

เมื่อความรักไม่มีข้อจำกัด จินตนาการใหม่ของหนัง LGBTQIA+ ยุค #สมรสเท่าเทียม

 จากจอภาพยนตร์สู่โลกแห่งความจริง ยุคสมรสเท่าเทียม จากภาพยนตร์ LGBTQIA+ ที่เราคุ้นเคย กำลังจะถูกเขียนบทใหม่ เมื่อประเทศไทยก้าวสู่ยุคแห่งความเท่าเทียมทางเพศ คู่รักทุกคู่จะมีสิทธิ์สมรสอย่างถูกต้องมาร่วมกันจินตนาการถึงเรื่องราวความรักในภาพยนตร์เหล่านี้ ถ้าหากตัวละครได้มาอยู่ในยุคที่มีกฎหมายรองรับ ความสุข ความฝัน การใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จะงดงามเพียงใด โดยกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป แสนสิริขอร่วมยินดีกับก้าวสำคัญของประเทศไทยสู่การยอมรับความรักทุกรูปแบบ เพราะเราเชื่อว่า