ทุกวันนี้ ผู้หญิงทั่วโลก
ยังเผชิญปัญหา?

แม้ทุกวันนี้ผู้หญิงได้รับความเสมอภาคมากขึ้น แต่ความเหลื่อมล้ำที่ผู้หญิงต้องพบเจอ หมดไปแล้วจริงๆ เหรอ?

จุดเริ่มต้น 8 มีนาคมของทุกปี #วันสตรีสากล (International Women’s Day) ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิงที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ แต่ในทุกวันนี้ผู้หญิงทั่วโลกยังมีอีกหลายปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ ทั้งการถูกกดขี่ทางเพศ โดนทำร้ายร่างกายและจิตใจ หรือแม้กระทั่งถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม

แสนสิริจึงอยากเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงที่ต้องการให้ปัญหาต่างๆ ของผู้หญิงถูกทลายลง เพราะองค์กรแสนสิริยึดมั่นในเรื่องความเท่าเทียม ให้คุณค่ากับทุกความหลากหลาย พนักงานผู้หญิงทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงเท่ากัน และมีบทบาทหน้าที่อย่างเต็มที่ไม่ต่างกับคนอื่น แสนสิริจึงอยากเล่าถึงสิ่งที่ผู้หญิงกำลังเผชิญปัญหาอยู่ เพื่อให้ทุกคนตระหนักรู้ เข้าใจ และร่วมเป็นอีกหลายกระบอกเสียงส่งออกไป ร่วมช่วยกันแก้จนกว่าปัญหาทั้งหลายเหล่านี้จะหมดไป

ปัญหาความรุนแรง ต่อเด็กและผู้หญิง

Internationnal Woman's Day

หนึ่งในปัญหาอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลกที่เผชิญอยู่ คือ ความรุนแรงจากการถูดกดขี่ทางเพศและถูกทำร้าย โดยข้อมูลจาก UNODC ระบุว่าในแต่ละวันจะมีผู้หญิงถูกทำร้ายจนเสียชีวิตเฉลี่ย 137 คน

ในประเทศไทยก็เกิดปัญหานี้มากเช่นเดียวกัน โดยมีสถิติคดีความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก และติดอันดับ 10 ประเทศอันตรายสำหรับผู้หญิงจากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งพบว่าเป็นความรุนแรงทางร่างกาย 9.9% ทางด้านจิตใจ 32.2% และทางเพศ 4.5% และคดีส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมาจากคนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัว

หากมองให้ลึกถึงแก่นปัญหานี้มากขึ้น หนึ่งปัจจัยหลักอาจเกิดจากได้รับการศึกษาไม่เพียงพอ ทำให้ขาดความรู้ที่จะประกอบอาชีพหาเงินเองได้ ขาดประสบการณ์ชีวิตที่จะรู้ทันคนอื่น ถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมและยุติธรรม จนไปถึงถูกกระทำรุนแรงทางร่างกายและจิตใจ

แสนสิริเองเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาจึงนำร่องจัดตั้งโครงการ “Zero Dropout: เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และให้เด็กได้เข้าถึงการศึกษา ไม่มีใครต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาไทย

เราทุกคนสามารถร่วมกันป้องกันปัญหาความรุนแรงได้ โดยช่วยกันเป็นหูเป็นตา หาก ใครพบเห็นเหตุการณ์รุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงสามารถเข้าแจ้งความได้ที่ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก 0-2412-1196 หรือโทรแจ้งมูลนิธิปวีณา 1134 หรือ 02-521-9231-2

ความไม่เท่าเทียมต่อผู้หญิง

Internationnal Woman's Day

“น้อยกว่า 24% ทั่วโลกที่ผู้หญิงจะได้มีบทบาทสมาชิกของรัฐสภา”
“ผู้หญิงจะได้รับค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชายประมาณ 24% ในตำแหน่งงานที่ใกล้เคียงกัน”
“เกือบ 2 ใน 3 ของผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือ 781 ล้านคนทั่วโลก เป็นผู้หญิง”

นี่คือสถิติบางส่วนของทั่วโลกที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมต่อผู้หญิง ซึ่งในประเทศไทยก็เกิดปัญหานี้อยู่ในทุกมิติ อย่างเช่น ในตลาดแรงงานบทบาทตำแหน่งงานระดับสูงปี 2564 อยู่ที่ราว 19% เป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ราว 23% และหากมองกลับมาในสถานภาพแรงงานพบว่า 50% ผู้หญิงมีปัญหาค่าตอบแทนไม่คุ้มค่า ไม่เต็มจำนวน และขาดความต่อเนื่อง ฯลฯ

ที่แสนสิริ เราให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม ปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ตัวอย่างเช่น หากพนักงานหญิงในองค์กรตั้งครรภ์ก็จะไม่ถูกมองลดทอนความสามารถ เพราะผู้หญิงก็เป็นหัวเรือหลักในตำแหน่งงานระดับสูงได้ไม่แพ้ผู้ชาย

ทุกคนสามารถช่วยกันเป็นเสียงผลักดันความเท่าเทียมได้ เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวในสถานที่ทำงาน เช่น การรับฟังและยอมรับในความต่าง การลาคลอดบุตรต้องได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย หรือการล่วงละเมิศทางเพศในที่ทำงานต้องไม่เกิดขึ้น

ผู้หญิงทรานส์ยังคงโดนทำร้าย

Internationnal Woman's Day

ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องมีเพศสภาพเป็นหญิงเท่านั้น แต่ทรานส์เจนเดอร์ หรือผู้หญิงข้ามเพศก็เรียกได้ว่า เป็นผู้หญิงเช่นเหมือนกัน ทรานส์เจนเดอร์ก็เผชิญปัญหาต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง การถูกบูลลี่ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกทำร้ายร่างกาย และความไม่เท่าเทียมในมิติต่างๆ เพราะเพียงถูกมองว่าเป็นเพศที่แตกต่าง

โดยสถิติทั่วโลกชี้ว่า มีคดีทำร้ายร่างกายผู้หญิงทรานส์มากกว่า 2,000 ราย และผลการศึกษาในไทยพบว่า ร้อยละ 55.7 ของนักเรียนที่ระบุว่าตนเป็น LGBTI ถูกรังแกเพราะความเป็นบุคคลหลากหลายทางเพศ

ทุกคนสามารถมีส่วนช่วยปัญหาเหล่านี้ได้ เริ่มจากเปลี่ยนมุมมองทัศนคติของตัวเอง และสื่อสารกระจายสู่สังคมมากขึ้นถึงความเท่าเทียมกัน รวมถึงเป็นหูเป็นตาป้องกันการกระทำรุงแรงต่อมนุษย์ด้วยกันเอง

ผู้หญิงถูกกีดกันจากโลกดิจิทัล

Internationnal Woman's Day

ธีมวันสตรีสากลในปี 2023 คือ “DigitALL: นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ” เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงได้รับความเท่าเทียม และป้องกันปัญหาที่จะเกิดในโลกดิจิทัล

เพราะปัจจุบันผู้หญิงส่วนใหญ่ทั่วโลกยังคงถูกกีดกัน มีความเหลื่อมล้ำไม่ได้รับการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามสมควร รวมถึงผู้หญิงเจอปัญหาความรุนแรงทางออนไลน์ถึง 38% จากการสำรวจใน 51 ประเทศ ในไทยก็เช่นเดียวกัน มีสถิติเด็กผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์มากกว่าทางออฟไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

มาร่วมเป็นพลังเสียงสนับสนุนองค์กรทั่วโลกให้เด็กและผู้หญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษา เพื่อให้ได้เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้นในอนาคต และหากพบเห็นผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางออนไลน์สามารถร้อนเรียนได้ทาง www.thaipoliceonline.com

CONTRIBUTOR

Related Articles

equal-marriage-law

เมื่อโลกนี้มี “กฎหมายสมรสเท่าเทียม”

 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการผ่านร่างฯ กฎหมายสมรสเท่าเทียมของประเทศไทย ในระหว่างที่รอประกาศใช้อย่างเป็นทางการนั้น เรามาย้อนดูการเดินทางกว่า 20 ปี ก่อนที่ “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” จะผลิดอกเบ่งบานไปทั่วโลกกันค่ะ  ย้อนรอยการต่อสู้เพื่อความรักที่เท่าเทียมอันยาวนาน อาจจะนานนับศตวรรษ หรือมากกว่านั้นก็เป็นได้ แต่เหตุการณ์ที่สร้างแรงกระเพื่อมให้กับสังคมครั้งใหญ่ก็คือ “เหตุจลาจลที่สโตนวอลล์ หรือ Stonewall Riots” ที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับการกดขี่การแสดงออกและอัตลักษณ์ทางเพศ หลังจากนั้นก็มีการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิและการแสดงออกถึงตัวตนอย่างเสรีภาพอย่างเท่าเทียมมาเรื่อยๆ จนถึงวันที่มี

syndicated oan lgbtqia+

คู่รัก LGBTQIAN+ ต้องรู้! กู้ร่วมอย่างไร ให้ผ่านง่าย

เมื่อคู่รัก LGBTQIAN+ วางแผนอนาคตอยากใช้ชีวิตด้วยกัน หากต้องการมีบ้านในฝันเป็นของตัวเอง จะสามารถ “กู้ร่วม” กันได้ไหม? ตอบเลยว่า “ได้ค่ะ”  เพราะตอนนี้ก็มีธนาคารหลายแห่งให้สินเชื่อที่คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถกู้ร่วมกันได้ตามเงื่อนไขเดียวกับ “คู่รักที่ยังไม่ได้สมรสกัน” โดยต้องมี “เอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน” ประกอบในการยื่นกู้ด้วยค่ะ วันนี้เราเองก็ได้รวมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่จะช่วยให้การกู้ร่วมนั้นมีโอกาสผ่านการอนุมัติง่ายขึ้น มาฝากกันค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย เพราะเราอยากเห็น

Cyberbullying

Cyberbullying ภัยคุกคามต่อจิตใจที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม 

บูลลี่ที่ไม่ใช่แค่แกล้ง การโพสต์ หรือ คอมเม้นต์โดยไม่คิด อาจจะเป็นแผลใจให้ใครบางคนไปตลอดชีวิตเลยก็ได้  ในทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Social Media เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันของหลายคน ทุกวันนี้อาจจะพูดได้ว่า โลกถูกขับเคลื่อนด้วย Social Media ทำไมนะหรอ? จะเห็นได้ว่าไม่ว่าเราจะไปที่ไหน จะเดินไปบนถนน ขึ้นรถไฟฟ้า เดินไปในห้าง หรือแม้กระทั่งหันไปมองคนข้างๆ ก็จะเห็นคนก้มเล่นโทรศัพท์