‘Live Equally’ ทุกคน เท่ากัน

นี่มันปี 2021 แล้ว! เรามาถึงยุคที่คนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับ ‘ความเท่าเทียม’ และมองมนุษย์ทุกคนว่า ‘เท่ากัน’  ในวันนี้เส้นแบ่งต่างๆ ได้เลือนรางลง ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งแยกเพศ สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา ทุกคนล้วนมีสิทธิเสรีภาพที่ต้องยอมรับในกันและกัน รู้จักเคารพ และเข้าใจในความแตกต่างของเพื่อนมนุษย์ในหลากมิติ ซึ่งหลายๆ การเคลื่อนไหวทั่วโลกในทุกวันนี้ก็ทำให้เราได้เห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมและชัดเจนขึ้น

ทุกเพศ เท่ากัน

กว่าจะมีวันนี้ที่ LGBTQ+ ได้รับการยอมรับ ที่ผ่านมาพวกเขาต้องแลกมาด้วยความกดดัน ถูกตราหน้าว่าเป็นพวกจิตใจผิดปกติ กลายเป็นนักโทษของสังคม เพียงเพราะแตกต่างจากสิ่งที่คนทั่วไปกำหนด แต่ก็ยังน่ายินดีว่าประเด็นความหลากหลายทางเพศในหลายพื้นที่บนโลกกำลังได้รับการยอมรับมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Cr. tmz.com

Ellen Page ดาราชื่อดังที่ได้ออกมายอมรับว่าชอบเพศเดียวกันก่อนหน้านี้ ล่าสุดได้ประกาศขอให้สังคมยอมรับในความเป็นตัวตนของเธอนั่นคือการเป็นชายข้ามเพศ โดยเลือกเปลี่ยนชื่อเป็น Elliot Page และขอให้ใช้สรรพนามในการกล่าวถึงเธอว่า He/ They แทน ซึ่งเป็นสิ่งที่ Non-Binary อย่าง Sam Smith ได้เคยออกมาเรียกร้องไว้เช่นเดียวกัน

ข้ามมาฝั่งการเมือง Jacinda Ardern นายกรัฐมนตรีหญิงชาวนิวซีแลนด์ที่ทั่วโลกต่างยกนิ้วชื่นชมในความสามารถและเทคนิคการบริหารของเธอ ในช่วงปลายปี 2017 เธอได้ประกาศตัวที่จะหันหลังให้ศาสนาคริสต์นิกายมอร์มอน เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยที่นิกายมอร์มอนคัดค้านเรื่องการแต่งงานกับเพศเดียวกัน ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดที่ต้องการเคารพในความหลากหลายทางเพศของเธออย่างสิ้นเชิง

หรือแม้กระทั่ง Joe Biden ประธานาธิบดีคนที่ 46 ของสหรัฐฯ ที่ขยายขอบเขตของกฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ รวมทั้งยังออกมาย้ำจุดยืนถึงการอยู่เคียงข้างพวกเขาเหล่านี้

Jacinda Ardern joe biden
Cr. axios.com

ทุกสไตล์ ไม่แบ่งแยก

แน่นอนว่าเมื่อเพศยังไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนอีกต่อไป การแต่งกายก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เราได้เห็นตัวอย่างของการก้าวข้ามเส้นแบ่งเดิมๆ ในแวดวงแฟชั่น ละวางข้อจำกัดว่าเสื้อผ้าแบบไหนคือของผู้ชายหรือผู้หญิง ยกตัวอย่างการแสดงออกเพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้อย่างชัดเจนใน ‘ตน – ต้นหน ตันติเวชกุล’ หรือ ‘เจมส์ ธีรดนย์’ คนบันเทิงรุ่นใหม่ของเมืองไทย ที่เลือกจะแต่งตัวในแบบที่ต้องการ สนุกกับแฟชั่นที่หลายคนจำกัดความว่าต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นที่สวมใส่ เช่น ต่างหู เท็กซ์เจอร์ผ้าประกายระยิบระยับ การทาเล็บ ใส่ส้นสูง กระเป๋าทรงผู้หญิง ไปจนถึงการสวมใส่กระโปรง ทั้งหมดคือรสนิยมและความชอบ นี่คือตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ที่จะออกมาสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนที่ต้องการเป็นตัวของตัวเอง

ต้นหน เจมส์ ธีรดลย์
Cr. @tonhon, @jamyjamess

อีกหนึ่งโมเมนต์ที่สั่นสะเทือนไปทั้งวงการดนตรี ก็เมื่อ Harry Style ออกมาตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวคิดนี้เช่นกัน! ย้อนไปเมื่อปี 2019 เขาแต่งตัวในลุคเฟมินีนเข้าร่วมงาน Met Gala จัดเต็มไม่เว้นแม้แต่ดีเทลเล็กๆ อย่างตุ้มหูมุก ซึ่งดูเป็นเครื่องประดับของสาวๆ เพื่อเป็นการประกาศก้องว่าการแต่งกายเป็นสิทธิ์ของใครของมัน ตามความพึงพอใจ นอกจากนี้ Harry Style ยังลงภาพโปรโมทรายการใน Instagram ภายใต้ลุคนักบัลเลต์สีชมพูหวาน หลังจากนั้นเลยทำให้เขาถูกมองเป็นตัวแทนของ Gender-Mixed ด้านแฟชั่น ที่กล้าแสดงออกถึงอิสระใการแต่งตัว และน่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้ใครหลายคนได้หันมามองมุมใหม่ๆ เช่นกัน

harry style
Cr. vogue.co.th

แต่ไม่จำเป็นว่าเราต้องตัดสินว่าชายจริงจะใส่ชุดเสื้อผ้าของหญิงแท้ไม่ได้ นี่คือรูปแบบของ Gender Expression การแสดงออกตามความชอบ ทำตามใจต้องการ โดยไม่ต้องปิดบังต่อสังคม ทั้งยังไม่จำเป็นว่าจะต้องนำไปเชื่อมโยงกับรสนิยมทางเพศแต่อย่างใด

ร่างกายของเรา เท่ากับสิทธิ์ของเรา

my body my choice
ippf.org

เสื้อผ้าบนร่างกายคือสิทธิ์ในการเลือกตามความพอใจ แล้วทำไมร่างกายของเราเองต้องถูกกะเกณฑ์โดยคนอื่น? ความเท่าเทียม และการยอมรับว่าทุกคนเท่ากัน ถูกตะโกนดังยิ่งขึ้นเมื่อกระแส Body Shaming และ My body My Choice เป็นที่จับตาไปทั่วโลก แม้คนที่ประสบความสำเร็จและคนทั่วไปอาจมองว่าเพอร์เฟค อย่าง Adele นักร้องสาวที่วนเวียนอยู่กับการโดนถามถึงรูปร่าง น้ำหนัก ไซส์ และเธอได้ออกมายืนยันว่าตราบใดที่น้ำหนักไม่ได้มีผลกับสุขภาพของเธอ เธอก็ไม่จำเป็นต้องหวั่นไหวตามคำพูดของคนอื่น และอยากให้มุ่งประเด็นไปที่ความสามารถกับผลงานมากกว่า ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรจะเข้าใจ เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน

ส่วน My Body My Choice คือการเรียกร้องรณรงค์ของกลุ่มเฟมินิสต์ เกี่ยวกับสิทธิในการคุมกำเนิด และการทำแท้ง การแต่งงาน หรือมีลูก ความรัก ความพอใจในการสืบพันธุ์ และการต่อต้านค่านิยมที่มุ่งไปตามมายาคติ เช่น คนสวยต้องมีผิวขาว หรือการมีเซลลูไลท์ที่ต้นขาเป็นเรื่องน่าอาย เป็นต้น การเรียกร้องสิ่งเหล่านี้คืออีกแนวคิดที่ทำให้เห็นว่าโลกทุกวันนี้ทุกคนต่างมองหาความเท่าเทียม ไม่ว่าจะแตกต่างกันแค่ไหน แต่ทุกคน เท่ากัน

เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในยุคที่ทุกคนล้วนต้องการการยอมรับ ทุกคนต่างยืนหยัดในสิทธิและเสรีภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความเคารพในสิทธิของผู้อื่นไม่ต่างกัน

แสนสิริ Live Equally

siri campus sansiri pide month

เดือนมิถุนายน คือเดือน ‘Pride Month’ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ย้ำเตือนให้เราไม่ลืมที่จะยอมรับในความแตกต่าง เปิดใจและให้โอกาสกับทุกคน แสนสิริเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นสนับสนุนแนวคิดนี้มายาวนาน และในเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ เราจึงขอร่วมแสดงออกด้วยการการถอด Stack ออกจากโลโก้ให้เหลือเพียง 2 ชั้น เพื่อทำหน้าที่เหมือนสัญลักษณ์ ‘เท่ากับ’ ยืนยันถึงการเคารพใน ‘ความเท่าเทียม’ ใส่ใจและให้คุณค่ากับทุกความแตกต่างของทุกชีวิต เพราะ ‘ทุกคน เท่ากัน’

ไม่ใช่แค่เพียงโลโก้หรือการสนับสนุนทางคำพูดที่สวยหรู แต่ที่ผ่านมาแสนสิริได้ลงมือทำในอย่างเป็นรูปธรรมมากมาย ทั้งเป็นองค์กรแรกในไทยที่ได้ร่วมลงนามในสัญญา ‘United Nations Global Standards of Conduct for Business’ หรือ มาตรฐานข้อปฏิบัติทางธุรกิจขององค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อลดการแบ่งแยก และลดความเหลื่อมล้ำในกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งยังผลักดันการกู้ร่วมของกลุ่ม LGBT กับธนาคาร SCB

siri campus sansiri pide month live eqully

วัฒนธรรมในองค์กรของแสนสิริสนับสนุนให้พนักทุกคนสัมผัสได้ถึงความเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ เช่น การเข้าถึงผู้บริหารระดับสูงได้อย่างเป็นกันเอง เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เติบโต และยังมีโครงการอบรมเพื่อให้พนักงานได้เข้าใจข้อปฏิบัติเพื่อความไม่แบ่งแยก ภายในองค์กรมีการออกแบบที่เป็น Universal Design มีทางลาดสำหรับคนพิการ มีห้องละหมาด ห้องให้นมบุตร มีพนักงานหลากเชื้อชาติ รวมทั้งมีห้องน้ำที่แปะป้าย LGBT

ในส่วนของโครงการจากแสนสิริก็ยังใส่ใจในความแตกต่าง เช่น การออกแบบพื้นที่บ้านสำหรับผู้สูงอายุ คำนึงถึงทางลาดเพื่อใช้รถเข็น หรือใช้พื้นรับแรงกระแทกเพื่อความปลอดภัยของทั้งเด็กและผู้สูงอายุ เป็นต้น

siri campus sansiri pide month live eqully

และเมื่อ Pride Month วนกลับมาเพื่อนเตือนใจเราอีกครั้ง รวมทั้งเรื่องราวจากหลายประเด็น หลากมิติ เหตุการณ์และการแสดงออกของผู้คนทั่วโลกในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่เราได้เห็นเป็นตัวอย่าง ยิ่งเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่า เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในยุคที่ทุกคนล้วนต้องการการยอมรับ ทุกคนต่างยืนหยัดในสิทธิและเสรีภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความเคารพในสิทธิของผู้อื่นไม่ต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่าแนวคิดนี้จะไม่จางหาย แต่ยังคงชัดเจนขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

และไม่ว่าจะอีกนานแค่ไหน แสนสิริ ก็พร้อมมุ่งมั่นพัฒนา เพื่อสนับสนุนความเทียม เพื่อสร้างสรรค์ชีวิตที่ดี และให้ทุกคนรู้สึกได้อย่างแท้จริงว่า ‘เราเท่ากัน’

CONTRIBUTOR

Related Articles

pride month-live equally-สมรมเท่าเทียม

สมรมเท่าเทียม: ไม่ใช่ความสุขของใคร แต่เป็นสุข (ของ) สาธารณะ

เมื่อสังคมโลกเต็มไปด้วยความหลากหลาย เราสามารถมอบโอกาสให้ทุกคนมีสุขอย่างเท่าเทียมได้รึเปล่า? ตลอดเดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่เต็มไปด้วยสีสันแห่งสายรุ้ง เป็นเดือนของการเฉลิมฉลอง Pride Month เทศกาลแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) แม้ว่า Pride Month จะมีจุดเริ่มต้นที่ไม่สวยงามเหมือนขบวนพาเหรดที่ถูกจัดขึ้นในหลายๆ ประเทศ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างโอกาสให้กับทุกคนไม่ว่าจะเพศไหน ให้ออกมาแสดงตัวตนและเรียกร้องในสิทธิที่ถูกลดทอนเพียงเพราะตนนั้น “แตกต่าง” สำหรับบางคน “สมรสเท่าเทียม” อาจเป็นสิ่งเล็กๆ ที่ไม่กระทบต่อชีวิต

gay, lgbtq, brokeback mountain, movie

Brokeback Mountain หุบเขาแห่งความปวดร้าว จุดเริ่มต้นความเท่าเทียมของ LGBTQ+

ผ่านมา 17 ปีแล้ว ที่โลกได้รู้จักกับภาพยนต์ LGBTQ+ ระดับตำนานอย่าง ‘Brokeback Mountain’ แม้นานแค่ไหนก็ยังครองตำแหน่งหนังที่นำเสนอประเด็นความหลากหลายทางเพศได้ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง ภาพยนต์ที่ได้พาเราไปพบกับเรื่องราวความรักของคาวบอยหนุ่ม 2 คน ที่ทั้งงดงามแต่ก็เจ็บปวดจนกลั้นน้ำตาไม่อยู่ นอกจากจะกวาดรางวัลไปมากมาย อีกความสำเร็จของ Brokeback Mountain คือการจุดประเด็นให้ผู้คนในสังคมหันมาเข้าใจและพูดถึงสิทธิของ LGBTQ+ มากขึ้น

คำชั้นสูง, Pride Month, Year Of Inclusion Live Equally, Sansiri, equally, ความเท่าเทียม, แสนสิริ เพศเดียวกัน, lgbtqi+, sansiri lgbtqi+

คำชั้น (ฉัน) สูง: คำนี้ยังจำเป็นอยู่ไหม ลองปรับ-เพื่อเปลี่ยน-ให้เท่าเทียม

“บิ๊ก A บินประชุมด่วน ถกต่างชาติเรื่องน้ำมันแพง” “ส่องคลังรถหรู ไฮโซ B นักธุรกิจพันล้าน” “ดารา C เตรียมสละโสด แต่งงาน ‘สาวหล่อ’ แฟนทอมนอกวงการ” อ่านเผินๆ ก็ดูเป็นประโยคที่ปกติดี แต่เคยรู้สึกเอ๊ะกันมั้ย ทำไมต้องใช้คำแบบนี้ด้วยนะ? เพราะคำเสริมที่คอยบอกยศบอกเพศเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติที่เรามักจะเห็นในข่าว