ปลดล็อกการกู้ร่วม
จะเพศไหนก็ไร้การแบ่งแยก

บ้าน…ไม่เคยแบ่งแยกหรือเลือกเจ้าของ ไม่เคยลุกขึ้นมาเลือกว่าใคร จากที่ไหน หรือเพศอะไรจะมาครอบครอง แต่น่าแปลกที่การจะกู้ร่วมเพื่อให้สามารถซื้อบ้านได้นั้น ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคู่รักเพศเดียวกันสักเท่าไหร่

หลายคนทำงานหนักเพื่อจะมุ่งคว้าชีวิตในฝันที่ต้องการ และฝันที่ต้องการของบางคนนั้น ก็อาจเป็นการมีบ้านสักหลังให้กับตนเองและเริ่มต้นสร้างครอบครัวกับใครสักคน แต่แน่ล่ะ ถึงมันจะดูไม่ใช่เรื่องยากหรือเป็นแค่ฝันธรรมดาๆ ของหลายคน แต่สำหรับกลุ่ม LGBTQ+ หรือกลุ่มคนที่รักเพศเดียวกันนั้นกลับเป็นเรื่องยากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้

อย่างที่ทุกคนรู้ การกู้ร่วม เพื่อซื้อบ้านหรือคอนโด นั้นจะต้องเป็นคนที่เกี่ยวพันกันทางสายเลือดอย่างพ่อ แม่ ลูก หรือพี่น้องพ่อแม่เดียวกัน หรือเป็นสามีภรรยากัน แล้วถ้าเป็นคู่รักเพศเดียวกันล่ะ โอกาสในการกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้านนั้น…อยู่ตรงไหนนะ?

ลำพังเพียงให้คนทุกคนหันมายอมรับคู่รัก LGBTQ+ และมองเห็นว่าพวกเขาก็ควรมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกับมนุษย์ทุกคน ยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้กำลังภายในการรณรงค์หรือส่งเสียงออกสู่สังคมอยู่ไม่น้อยเรื่อยมา การกู้ร่วมสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ ที่เป็นเรื่องจริงจังกว่า ก็เลยยิ่งดูริบหรี่

แต่มันถูกต้องแล้วใช่ไหม? ที่คู่รัก LGBTQ+ ที่อยากเริ่มต้นครอบครัวเล็กๆ ด้วยกัน แถมยังอุตส่าห์ลุยทำงานหนัก ฝ่าทุกสายตาและสารพัดปัญหาที่คอยผลักให้คู่รักต้องกระเถิบไกล ไปอยู่ชายขอบของโลกและสังคมอยู่ตลอดเวลา ทำไมคนกลุ่มนี้ถึงจะไม่มีสิทธิและโอกาสที่จะได้มีครอบครัวและบ้านในฝันอย่างมนุษย์ชายหญิงคนอื่นในสังคมกัน? ทำไมการกู้ร่วมของคู่รักเหล่านี้จึงต้องเป็นเรื่องที่ยากมากมาย หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลยขนาดนั้น?

แสนสิริรู้และเข้าใจถึงความเหลื่อมล้ำนี้ เราจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยร่นระยะ ช่วยจบปัญหาวุ่นวายที่เหล่าคู่รัก LGBTQ+ ต้องเจอแม้แต่ในมิติการคว้าบ้านมาเป็นของตนเองเพื่อเริ่มต้นสร้างครอบครัวในฝันแบบนี้ให้เป็นเรื่องง่ายขึ้น เราจึงได้จัดเตรียมความช่วยเหลือ พ่วงความสะดวกสบายไว้ให้พร้อม โดยเดินหน้าจับมือร่วมกับ 8 พันธมิตรธนาคาร มอบสินเชื่อบ้านสำหรับคู่ชีวิตที่มีความหลากหลาย สามารถกู้ร่วมเพื่อซื้อโครงการต่างๆ ของแสนสิริได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยทางธนาคารจะให้คำแนะนำในการยื่นกู้ร่วม และพิจารณาสินเชื่อให้แบบไร้ซึ่งอคติ เรียกได้ว่างานนี้ธนาคารต่างๆ จะดูให้เป็นกรณีพิเศษเลยทีเดียว

นอกจากนี้แสนสิริ บล็อกได้รวบรวม 3 เคล็ดลับที่จะช่วยให้คู่รักเพศเดียวกันเตรียมความพร้อมเพื่อขอกู้ร่วมในการซื้อบ้านมาครองได้ง่ายๆ แบบที่ใจต้องการ ว่าแล้วก็ลองพุ่งตรงไปไปดูกันเลย

เช็คก่อน! ธนาคารไหนสินเชื่อบ้านพร้อมผ่านฉลุย ต่อให้ลุยกู้ร่วมเพศไหนๆ

ช่องทางหนึ่งที่ทำได้ง่ายๆ นั้นก็มาจากการขยายตัวของซื้อบ้านกลุ่ม LGBTQ+ ที่เรียกได้ว่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี่เอง บางธนาคารเลยมีการปรับกลยุทธ์ หันมาเอื้อต่อการซื้อบ้านของคู่รักกลุ่มนี้ที่ต้องการกู้ร่วมกันมากขึ้น ก่อนอื่นมาเช็คลิสต์รายชื่อของธนาคารและเงื่อนไขกันก่อน ว่ามีธนาคารไหนที่ยอมให้มีการกู้ร่วมคู่รัก LGBTQ+ หรือมีเงื่อนไขและดอกเบี้ยเงินกู้ที่เหมาะสมหรือเอื้อต่อการกู้ร่วมในกรณีของคุณที่สุด

โดยแสนสิริ ได้ร่วมกับ 8 พันธมิตรธนาคาร มอบสินเชื่อบ้านสำหรับคู่ชีวิตที่มีความหลากหลาย ให้โอกาสมีบ้านในฝันเป็นจริงได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารออมสิน, ธนาคารทีเอ็มบีธนชาติ, และ ธนาคารยูโอบี มอบสินเชื่อบ้านสำหรับคู่ชีวิตที่มีความหลากหลาย ให้โอกาสมีบ้านในฝันเป็นจริงได้ง่ายขึ้น (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ทางธนาคารกำหนด) โดยจะใช้เกณฑ์การพิจารณายื่นกู้ร่วมสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่คู่สมรส รวมทั้งผู้กู้เองก็ต้องมีสิ่งเหล่านี้ครบจบในตัวเอง

• เป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
• มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี
• ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน

เอกสารนี้ต้องมีพร้อม ก่อนยื่นขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน

new year solution ปีใหม่ คนใหม่ new yaer new you 2020_2

อีกทางง่ายๆ ก็เพียงแค่เตรียมเอกสารการยื่นขอสินเชื่อเพื่อกู้เงินซื้อบ้านให้ครบ ไม่มีตกหล่นไป โดยจะว่าไปแล้วนั้นเอกสารในการขออนุมัติสินเชื่อบ้านสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากเอกสารการกู้บ้านพื้นฐานเลย เพียงแต่ต้องจัดเตรียมและตรวจดูให้ดีทั้งเอกสารส่วนตัวและเอกสารทางการเงิน ก่อนนำไปยื่นเท่านั้น เมื่อเอกสารไม่ขาดตกบกพร่อง ความมั่นใจเต็มเปี่ยม ก็แทบไม่มีปัญหาอะไรต้องกังวลแล้ว โดยเอกสารที่ว่าก็เตรียมง่ายๆ แบบนี้เลย

เอกสารส่วนตัว

บัตรประชาชน
ทะเบียนบ้านใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล

เอกสารด้านการเงิน

หนังสือรับรองเงินเดือน
สลิปเงินเดือน
บัญชีเงินฝากธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน

เช็คเพิ่มเติม เอกสารไหนบ้างห้ามขาด เมื่ออยากขอสินเชื่อกู้เงินซื้อบ้าน คลิก ที่นี่

ทางลัดฉบับไม่ลับ! เลือกสินเชื่อดี คู่รักเพศไหนก็มีชัย คว้าบ้านไปได้ง่ายๆ

บางครั้งถึงเตรียมตัว ก็ยังแอบมีข้อจำกัดจากเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนดมาคอยขวางทางการกู้เงินซื้อบ้านของกลุ่มเพศทางเลือกอยู่ แต่ทางลัดทางหนึ่งที่จะช่วยให้คู่รัก LGBTQ+ ยื่นขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านได้ง่ายขึ้นก็คือการเลือกรูปแบบการขอสินเชื่อเป็นแบบเพื่อธุรกิจหรือ SME เพราะสินเชื่อแบบนี้จะทำให้ต่อให้ไม่ใช่คู่รักเพศตรงข้ามกันก็สามารถยื่นขอเพื่อซื้อบ้านหรือทาวน์โฮมเป็นสถานประกอบกิจการได้ เพียงแต่จะมีช่วงระยะเวลาการกู้นานสูงสุดได้ 10 ปี และมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อบ้านอยู่สักหน่อย ดังนั้นจะต้องไม่ลืมพิจารณาความคุ้มค่าให้ดีเสียก่อน

นอกจากนี้กลุ่มคู่รักเพศเดียวกันอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนผู้กู้คนใดคนหนึ่ง แล้วเลือกกู้ร่วมกับญาติหรือพี่น้องในครอบครัวแทน ส่วนการผ่อนชำระค่อยเป็นเรื่องของตนเองและคู่รักต่อไป

เพราะความต้องการในการซื้อบ้านไม่ได้จำกัดอยู่เพียงครอบครัวเดียวกัน พี่น้องพ่อแม่เดียวกัน หรือจำกัดด้วยเพศ อายุ หรืออาชีพใดๆ และบ้านในฝันของเราเองก็ไม่เคยลุกขึ้นมาชี้ว่าใครจะเป็นเจ้าของ ไม่เคยเรียกร้องว่ากลุ่มคนเพศไหนๆ จะเป็นผู้ได้ครอบครอง การกู้ร่วมเพื่อคว้าบ้านมาสร้างครอบครัวที่ต้องการจึงควรเกิดขึ้นได้อย่างเท่าเทียม ไร้อคติ และไร้การแบ่งแยกเช่นกัน

อ่านคำแนะนำสำหรับทางเลือกช่วยกลุ่ม LGBTQ+กู้ร่วมซื้อบ้านเพิ่มเติมได้ ที่นี่
และไม่ว่าจะเลือกเส้นทางไหนๆ ก็ประมาณยอดเงินกู้ซื้อบ้านได้เองเบื้องต้นด้วย “เครื่องคำนวณเงินกู้” เพียงคลิก ที่นี่

CONTRIBUTOR

Related Articles

เมื่อรัก คือ รักบนความเท่าเทียม ชีส & รถเมล์

หากลองคิดดูจากผู้คนนับล้านคนจะมีสักกี่คนที่เกิดวัน เดือน ปี เดียวกัน แล้วได้โคจรมาเจอกัน มากกว่านั้นคือได้กลายเป็น “คู่รัก” กัน เช่นเดียวกับคู่ของ “ชีส” – ณัฐฐิยา สงวนศักดิ์ และ “รถเมล์” – ชัญญานุช มะลิมาตร ที่ร่วมกันถักทอเรื่องราวความรักต่างๆ ร่วมกันมาจนจะเข้าปีที่

เมื่อรัก…คือ การให้ความสำคัญ กับคนที่อยู่เคียงข้าง ลูกไม้ & มาย

แสนสิริ ขอชวนทุกคนมาร่วมกันนับถอยหลังสู่วันที่ประเทศไทยจะมี “สมรสเท่าเทียม” อย่างเป็นทางการ โดยคู่รักทุกคู่จะสามารถจดทะเบียนเป็น “คู่สมรส” และได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมพร้อมกันในวันที่ 22 มกราคม 2568 ผ่านแคมเปญ Ready, Set, Marry! เริ่มจากคู่รักสายแฟชั่น ‘ลูกไม้’ อินทิรา หอมเทียนทอง และ ‘มาย’

ส่งต่อโอกาสทางการศึกษาผ่านโครงการ ZERO DROPOUT

Zero Dropout  เพราะ “การศึกษา” เปรียบเสมือนใบเบิกทางต่อยอดสู่อนาคต แต่กลับมีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ รายได้ในครอบครัวไม่เพียงพอ สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการศึกษา เด็กบางคนต้องช่วยที่บ้านทำงานจนเรียนไม่ทัน หรือขาดเอกสารในการยืนยันตัวตน ทำให้ “เด็ก” หลายคนหลุดออกจากระบบการศึกษาและพลาดโอกาสในการทำตามความฝันและพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น    โครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” เป็นสิ่งที่แสนสิริมีความมุ่งมั่นตั้งใจริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ