PRIDE MONTH คืออะไร? แล้วทำไมเราจึงให้ความสำคัญ?

ธงและผ้าสีรุ้งสะบัดอยู่เหนือลมพร้อมเสียงกระหึ่มของดนตรีสลับกับเสียงเชียร์ของผู้คนมากกว่า 2 ล้านคนที่แต่งตัวหลากสีสันจัดเต็มเท่าที่ใจจะต้องการแน่นถนนใจกลางกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา นั่นคือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเดือนแห่งความเท่าเทียมหรือ Pride Month และงานนี้คือ Pride Parade ที่ LGBTQ หรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลกจะประกาศความต้องการของตนอย่างกล้าหาญ

ภาพจาก amny.com โดย Jeff Bachner

Pride Parade หรือ LGBTQ Pride คือการเดินขบวนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่จะได้เปิดเผยตัวตนของตัวเองอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องถูกกดอยู่ภายใต้บรรทัดฐานของสังคมสองเพศอีกต่อไป ป้ายเชียร์หลากสีจะถูกเขียนถ้อยคำทรงพลังของเหล่า LGBTQ อย่าง Love is Love หรือ Proud to be me! พร้อมธงสีรุ้ง หนึ่งในสัญลักษณ์ของ LGBTQ Pride ซึ่งถูกสะบัดไปทั่วถนนที่เต็มไปด้วยคนที่ออกมาแสดงความรักและความเป็นตัวเองแก่กัน

ภาพจาก amny.com โดย Jeff Bachner

“Gender preference does not define you. Your spirit defines you.” คือสารที่ LGBT Pride ต้องการจะสื่อ เพราะแม้ปัจจุบันกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศจะได้รับสิทธิมากขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่ก็ยังคงห่างไกลกับคำว่าเท่าเทียม ทั้งในประเด็นสิทธิทางกฎหมาย ทางการแพทย์ และอื่นๆ

ภาพจาก amny.com โดย Jeff Bachner

New York City Pride 2018 ไม่ใช่ครั้งแรกของ Pride Parade แต่เป็นเวลากว่า 49 ปีแล้วนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ Pride Parade ในการจราจลสโตนวอลล์เมื่อปี 1969 ซึ่งขณะนั้นสิทธิ LGBTQ ยังไม่ได้รับการยอมรับและเป็นช่วงที่ LGBTQ ถูกใช้ความรุนแรงด้วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงไม่ได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกับคนอื่นๆ ในสังคม

สาเหตุที่ต้องเป็นเดือนมิถุนายน ก็เพราะมีเหตุการณ์สำคัญอย่าง “การจลาจลสโตนวอลล์” เกิดขึ้น  ช่วงเช้าของวันที่ 28 มิ.ย. ค.ศ.1969 ตำรวจพยายามจับกุมกลุ่ม LGBTQ ในผับสโตนวอลล์ (Stonewall Inn) ในกรุงนิวยอร์ค เนื่องจากการแต่งกายผิดเพศผิดกฎหมายในสมัยนั้น และมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่องข้ามคืนออกมาที่บริเวณถนนหน้าผับ เหล่า LGBTQ ที่ถูกกระทำมาโดยตลอดก็ได้เปล่งเสียงเรียกร้องสิทธิ ที่จะเป็นตัวเองอย่างกล้าหาญกลายเป็นการชุมนุมกันเพื่อสิทธิ LGBTQ อย่างแท้จริง และเป็นครั้งแรกที่สิทธิ LGBTQ ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในวงกว้างของสังคม

ภาพจาก amny.com โดย Charles Eckert

New York City Pride 2018 ในปีนี้มีผู้ร่วมเดินขบวนกว่า 2 ล้านคน เพื่อเฉลิมฉลองเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาว LGBTQ และระลึกถึงเหตุการณ์จราจลฯ พร้อมทั้งเป็นช่วงเวลาเรียกร้องสิทธิกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และทำให้ผู้คนทั่วโลกหันมาตระหนักถึงประเด็นของสิทธิทางเพศ เหล่าคนดังฝั่งอเมริกาหลายคนก็ออกมาเดินขบวนกันเป็นทิวแถว นำโดย Lada Gaga, Tiffany Trump, Brandon Flynn และอื่นๆ อีกมากมาย

Pride month Sansiri Blog 6
ภาพจาก amny.com โดย Charles Eckert

นอกจากการแสดงออกของกลุ่ม LGBTQ และผู้สนับสนุน แบรนด์ธุรกิจชั้นนำมากมายระดับโลก ต่างก็แสดงออกถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศด้วยหลากหลายแนวทางแตกต่างกัน ทางด้านแบรนด์ชั้นนำระดับโลกอย่าง Calvin Klein, Nike, Converse และ ikea ก็ต่างออกคอลเลคชันพิเศษสำหรับ Pride Month ออกมาให้เลือกหลากหลาย โดยนำสีรุ้งสัญลักษณ์ของ LGBTQ มาใช้ประกอบการออกแบบโดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของแบรนด์ไว้

Calvin Klein Pride Capsule 2019
ภาพจาก Calvin Klein – Pride Capsule
Nike Pride 2019
ภาพจาก Nike – BETRUE Collection 2019
converse pride
ภาพจาก Dezeen.com
ikea rainbow bag
ภาพจาก Dezeen.com

สำหรับแสนสิริเองก็ได้ร่วมแสดงพลังระดับองค์กร ผ่านการประกาศใช้โลโก้พิเศษสำหรับ Pride Month นี้โดยเฉพาะ โดดเด่นด้วยดีไซน์ที่พลิกโฉมจากโทนสีน้ำเงินสู่สีรุ้งสดใส

Sansiri Pride 2020 Logo

 

แสนสิริ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าทุกที่ล้วนประกอบด้วยผู้คนที่มีลักษณะนิสัย และความชอบหลากหลาย หากเปิดใจให้กว้าง เรียนรู้ เคารพและโอบรับความแตกต่างของแต่ละคน

ความสำคัญที่แท้จริงของ Pride Month และ Pride Parade คือ ความเท่าเทียมของมนุษย์ที่ทุกคนล้วนมีสิทธิที่จะได้ใช้ชีวิตตามใจต้องการ

Related Articles

gay, lgbtq, brokeback mountain, movie

Brokeback Mountain หุบเขาแห่งความปวดร้าว จุดเริ่มต้นความเท่าเทียมของ LGBTQ+

ผ่านมา 17 ปีแล้ว ที่โลกได้รู้จักกับภาพยนต์ LGBTQ+ ระดับตำนานอย่าง ‘Brokeback Mountain’ แม้นานแค่ไหนก็ยังครองตำแหน่งหนังที่นำเสนอประเด็นความหลากหลายทางเพศได้ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง ภาพยนต์ที่ได้พาเราไปพบกับเรื่องราวความรักของคาวบอยหนุ่ม 2 คน ที่ทั้งงดงามแต่ก็เจ็บปวดจนกลั้นน้ำตาไม่อยู่ นอกจากจะกวาดรางวัลไปมากมาย อีกความสำเร็จของ Brokeback Mountain คือการจุดประเด็นให้ผู้คนในสังคมหันมาเข้าใจและพูดถึงสิทธิของ LGBTQ+ มากขึ้น

คำชั้นสูง, Pride Month, Year Of Inclusion Live Equally, Sansiri, equally, ความเท่าเทียม, แสนสิริ เพศเดียวกัน, lgbtqi+, sansiri lgbtqi+

คำชั้น (ฉัน) สูง: คำนี้ยังจำเป็นอยู่ไหม ลองปรับ-เพื่อเปลี่ยน-ให้เท่าเทียม

“บิ๊ก A บินประชุมด่วน ถกต่างชาติเรื่องน้ำมันแพง” “ส่องคลังรถหรู ไฮโซ B นักธุรกิจพันล้าน” “ดารา C เตรียมสละโสด แต่งงาน ‘สาวหล่อ’ แฟนทอมนอกวงการ” อ่านเผินๆ ก็ดูเป็นประโยคที่ปกติดี แต่เคยรู้สึกเอ๊ะกันมั้ย ทำไมต้องใช้คำแบบนี้ด้วยนะ? เพราะคำเสริมที่คอยบอกยศบอกเพศเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติที่เรามักจะเห็นในข่าว

ปลดล็อกการกู้ร่วม จะเพศไหนก็มีบ้านได้ง่ายๆ ไร้การแบ่งแยก

บ้าน…ไม่เคยแบ่งแยกหรือเลือกเจ้าของ ไม่เคยลุกขึ้นมาเลือกว่าใคร จากที่ไหน หรือเพศอะไรจะมาครอบครอง แต่น่าแปลกที่การจะกู้ร่วมเพื่อให้สามารถซื้อบ้านได้นั้น ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคู่รักเพศเดียวกันสักเท่าไหร่ หลายคนทำงานหนักเพื่อจะมุ่งคว้าชีวิตในฝันที่ต้องการ และฝันที่ต้องการของบางคนนั้น ก็อาจเป็นการมีบ้านสักหลังให้กับตนเองและเริ่มต้นสร้างครอบครัวกับใครสักคน แต่แน่ล่ะ ถึงมันจะดูไม่ใช่เรื่องยากหรือเป็นแค่ฝันธรรมดาๆ ของหลายคน แต่สำหรับกลุ่ม LGBTQ+ หรือกลุ่มคนที่รักเพศเดียวกันนั้นกลับเป็นเรื่องยากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้ อย่างที่ทุกคนรู้ การกู้ร่วม เพื่อซื้อบ้านหรือคอนโด นั้นจะต้องเป็นคนที่เกี่ยวพันกันทางสายเลือดอย่างพ่อ