Investment Game Changer
จุดเปลี่ยนการลงทุนอสังหาฯ
ในวันที่โลกเปลี่ยนไป

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ผู้คนทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม ปราศจากการแบ่งแยก เพศ สีผิว เชื้อชาติ ภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดความเหลื่อมล้ำอย่าง Parasite ได้รับรางวัลออสการ์และเป็นที่กล่าวถึงไปทั่วโลก หลายคนต่างแสดงออกถึงความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กระทบกับความเป็นอยู่ของผู้คนและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้โลกดีขึ้น
เมื่อในวันนี้โลกเปลี่ยน พฤติกรรมเปลี่ยน แล้วในโลกของการลงทุนอสังหาฯ
จะมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง?

เรียนรู้แนวคิดจากลูกบ้านแสนสิริทั้งสองท่าน ชายหนุ่มที่ประสบความสำเร็จทั้งในฐานะนักธุรกิจคนรุ่นใหม่และนักลงทุนที่มีวิสัยทัศน์ อย่าง ‘คุณสน บริวัฒน์ ปิ่นประดับ’ ผู้มีประสบการณ์การเป็นนักวางกลยุทธ์มืออาชีพและที่ปรึกษาบริษัทชั้นนำระดับโลกมามากกว่า 15 ปี ทุกวันนี้ดำรงตำแหน่ง Partner and Managing Director ที่ Boston Consulting Group (BCG) และ ‘คุณพัตเตอร์ พีระภัทร ศิริจันทโรภาส’ CEO หนุ่มจากบริษัท SHARGE Management คนรุ่นใหม่ไฟแรงที่หันมาบุกเบิกธุรกิจด้านพลังงานทางเลือก

SIRI Podcast EP.5 เสนอมุมมองจากนักลงทุนและผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดลึกซึ้งไปไกลกว่าแค่ผลกำไรตอบแทนในรูปแบบตัวเลขกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “Investment Game Changer จุดเปลี่ยนการลงทุนอสังหาฯ ในวันที่โลกเปลี่ยนไป”

siri podcast สิริ พอดแคสต์ คุณสน - บริวัฒน์ ปิ่นประดับ Partner & Managing Director Boston Consulting Group และ คุณพัตเตอร์ - พีระภัทร ศิริจันทรโรภาส Managing Director บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด

ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่เป็นทั้งผู้ประกอบการและเป็นนักลงทุน คิดว่าการลงทุนในอนาคตต่อจากนี้จะเป็นไปในทิศทางไหนบ้าง?

คุณพัตเตอร์ : การลงทุนในอนาคต ทุกคนจะหันมาแคร์เรื่องการลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Investing) และเทรนด์การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน (Sustainable Living Trend) มากขึ้น พูดง่ายๆ ว่าเอาเงินไปสร้างอะไรที่มากกว่าผลตอบแทนทางการเงิน นั่นคือจะมีสิ่งต่างๆ อย่างเช่นพวกการเปลี่ยนแปลงในทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact) หรือว่าการช่วยคน หรือทำอะไรที่ทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้น

หมายถึงการลงทุนกับอะไรก็ตามที่สร้างการเปลี่ยนแปลง สร้างผลกระทบให้กับโลก เช่น เรื่องของสิ่งแวดล้อมใช่ไหม?

คุณพัตเตอร์ : ใช่ครับ เริ่มตั้งแต่ PM2.5 จนมาถึง COVID-19 เป็นตัวอย่างของเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับโลก ที่คนละเลย มันเป็นการย้ำเตือนให้รู้สึกว่าควรจะทำอะไรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นได้ ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมตัดสินใจลงทุนกับบริษัท SHARGE Management ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับเรื่องของพลังงานที่ยั่งยืน

“ตั้งแต่ปัญหา PM 2.5 จนมาถึง COVID-19 สิ่งเหล่านี้เตือนให้รู้ว่าคนเราควรตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม และทำอะไรเพื่อให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น การลงทุนในอนาคต ทุกคนจึงแคร์เรื่อง Impact Investing และ Sustainable Living Trend คนจะเริ่มเอาเงินไปลงทุนในสิ่งที่ได้รับ อย่างการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมหรืออะไรที่ทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้น”

– คุณพัตเตอร์ – พีระภัทร ศิริจันทรโรภาส

ส่วนในมุมมองของคุณสน คิดว่าการลงทุนในอนาคตต่อจากนี้จะเป็นไปในทิศทางไหนบ้าง?

คุณสน : ผมมองว่ามันมี 2 ฝั่ง ฝั่งแรกคือบริษัทที่คำนึงถึงเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) มีมากขึ้น แต่หลักๆ ถ้าเราดูนักลงทุน หรือกองทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนทั่วโลก หรือกองทุนในเมืองไทยเอง ก็ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมหรือความยั่งยืนมากขึ้นจริงๆ แล้ว ศัพท์ที่ใช้กันก็คือ ‘ESG’ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญในวงการลงทุน

อยากให้อธิบายความหมายของ ESG ว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร และนักลงทุนจะไปลงทุนในเรื่องเหล่านี้อย่างไร?

คุณสน : ESG ย่อมาจาก Environmental, Social, and Governance ก็คือเรื่องสิ่งแวดล้อม การให้ความสำคัญเกี่ยวกับสังคม และสุดท้ายก็คือการกำกับดูแลของบริษัทที่ดีหรือมีธรรมาภิบาล เพราะทุกวันนี้ผู้บริโภคฉลาดขึ้น ทุกคนก็อยากจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และคืนกำไรให้กับสังคมด้วย ส่วนในมุมของบริษัทที่สามารถทำ ESG ได้ ก็มีผลวิจัยออกมาค่อนข้างเยอะว่า บริษัทเหล่านี้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ส่วนของนักลงทุนถ้าเราเลือกลงทุนในบริษัทที่เป็น ESG ผลประกอบการและต้นทุนจะดีกว่าบริษัทที่ไม่ได้สนใจในเรื่อง ESG ซึ่งสำหรับกองทุนเอง คนก็ให้ความใส่ใจในเรื่องของ ESG มากขึ้น ถ้าเกิดมองกลับไปประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว จะมีกองทุนที่เราเรียกว่า Focus ESG ไม่ถึง 100 กองทุน ในขณะที่ปัจจุบันมีถึง 700-800 กองทุนทั่วทั้งโลก

ส่วนตัวผมที่มาสนใจตรงนี้เพราะรายได้ค่อนข้างน่าสนใจ ยกตัวอย่างผมลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในโซลาร์ฟาร์มทั่วโลกตั้งแต่อเมริกาใต้ เอเชีย ตะวันออกกลาง ซึ่งผลตอบแทนค่อนข้างดี บางทีก็เกิน 10% ซึ่งสิ่งที่มันแตกต่างกับการลงทุนทั่วไป ก็คือ อย่างแรก ปกติเราดูเรื่องของต้นทุน ดูเรื่องของผลประกอบการ แต่ตอนนี้มานั่งกังวลเรื่อง Solar Radiation หรือความร้อนของดวงอาทิตย์ ในช่วงนั้นหรือในเดือนนั้นดีหรือเปล่า แล้วสามารถสร้างกำไรหรือสร้างรายได้ให้บริษัทได้หรือเปล่า ซึ่งเรื่องของพลังงานแสงอาทิตย์มีรายได้ที่เข้ามาค่อนข้างดี และค่อนข้างสม่ำเสมอ

siri podcast สิริ พอดแคสต์ คุณสน - บริวัฒน์ ปิ่นประดับ Partner & Managing Director Boston Consulting Group และ คุณพัตเตอร์ - พีระภัทร ศิริจันทรโรภาส Managing Director บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด

สำหรับคุณพัตเตอร์ มีมุมมองอย่างไรในเรื่อง ESG บ้าง?

คุณพัตเตอร์ : มองว่าเราเองใช้ชีวิตอยู่กับโลกอยู่แล้ว และเราก็ต้องการให้โลกดีกับการอยู่อาศัยของมนุษย์ไปตลอด ตัวอย่างเช่น PM2.5 หรือ COVID-19 มันก็อาจจะมีที่มาจากการไม่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้อากาศไม่ดีหรือว่าไวรัสเกิดขึ้นมา และกระทบกับการใช้ชีวิตของเรา ส่วนตัวแล้วอาจจะมองเรื่องผลตอบแทนทางการเงินเป็นหลัก แต่เราก็ได้ทำให้โลกดีขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้ผมคิดว่ามันเป็นเทรนด์ใหม่ที่คนในอนาคตควรจะคำนึงถึง

อย่างไรก็ตามเมื่อมีเทรนด์ ESG แล้ว ในบริษัทใหญ่ๆ ก็ควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยใช่ไหม?

คุณสน : ใช่ครับ ส่วนตัวมองว่าคนที่ทำ ESG ได้ จะเป็นผู้ชนะในตลาด เพราะการที่เราจะเอากำไรมาลงทุนใน ESG หรือสิ่งแวดล้อม หรือลงทุนกับสังคม รายได้ต้องดีกว่าบริษัททั่วไป ดังนั้นแปลว่าผลประกอบการต่างๆ หรือโมเดลธุรกิจต้องแข็งแรงกว่าเจ้าอื่น เราจะเห็นได้ว่าคนที่เริ่ม ESG จะเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในตลาด เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งมันมีผลก็คือสามารถสร้างมูลค่าของแบรนด์ในระยะยาว ถึงแม้มันจะเป็นอะไรที่วัดยาก ณ ปัจจุบัน แต่ถ้าเกิดมองในอนาคต แบรนด์ที่ให้ความสำคัญตรงนี้จะสามารถสร้างมูลค่าได้ด้วยการเข้าถึงผู้บริโภคและยังสามารถขายของได้ดีขึ้นด้วย

“ทุกวันนี้ผู้บริโภคฉลาดขึ้น ทุกคนอยากจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและคืนกำไรให้กับสังคมด้วย บริษัทที่มีหลัก ESG (Environmental, Social, and Governance) ผลการวิจัยชี้ว่าพวกเขาได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า”

– คุณสน บริวัฒน์ ปิ่นประดับ

เทรนด์ของ ESG เกิดขึ้นเมื่อไหร่ มีมานานแค่ไหนแล้ว?

คุณสน : อย่างแรกน่าจะเริ่มจากการที่ภาครัฐทั่วโลกได้ให้ความสำคัญตรงนี้ เพราะทุกวันนี้โลกเรามันร้อนขึ้น ในทุกปีเราก็เห็นว่าโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น อย่างที่ 2 เป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่สามารถทำให้หลายอย่างเกิดขึ้นได้ เช่น เมื่อก่อนต้นทุนของโซลาร์เซลล์ค่อนข้างสูง แต่ในปัจจุบันถือว่าถูกมาก แบตเตอรี่ที่ใช้ในการทำพลังงานแสงทดแทนก็ถูกลงมาเยอะ และอย่างที่ 3 ผู้บริโภคค่อนข้างเห็นความสำคัญของสิ่งเหล่านี้มากขึ้น พอ 3 อย่างที่กล่าวมารวมกัน ก็เป็น Perfect Storm ที่ทำให้เกิด ESG โดยผมมองว่าในอนาคตจะมีเงินประมาณ 30 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งเป็นเงินที่จะส่งมอบจากเจเนเรชันก่อนหน้านี้มาให้นักลงทุนในยุคปัจจุบัน เราพูดถึงคนที่อายุ 25 -40 ปี อาจจะค่อนข้างกว้าง แต่คนในยุคนี้การลงทุนจะไม่เหมือนเมื่อก่อน เพราะคนจะมองในเรื่องของสิ่งแวดล้อม มองถึงเรื่องแบรนด์ที่ดูแลพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน อย่างผมเองก็คงไม่ซื้อคอนโดฯ ที่ใช้แรงงานเด็ก เพราะฉะนั้นเซกเมนต์นี้ที่เราเรียกว่า 25-40 ปี เป็นเจเนเรชันถัดไปที่มีเงินประมาณ 30 ล้านล้านเหรียญในการลงทุน ซึ่งมองว่าจะเป็น ESG ในเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูง

อยากให้ยกตัวอย่างว่าบริษัทอะไรที่สนับสนุนเรื่องนี้อย่างเต็มที่?

คุณพัตเตอร์ : บริษัทที่ใกล้ตัวสุดก็น่าจะเป็นแสนสิริ แล้วก็บางจาก (BCPG) ที่ทำโซลาร์ เริ่มจากบางจากคือ เขาทำเรื่องโซลาร์ฟาร์มแล้วก็เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เอามาแชร์พลังงาน หรือทำเป็น Connected grid ขึ้นมา ในโครงการของแสนสิริคือ T77 Community ที่ถือว่าเป็นโปรเจกต์นำร่อง ที่ทำให้คนได้ตระหนักมากขึ้นถึงเทคโนโลยีที่เป็น Grid ในการแชร์พลังงานจากตึกหนึ่งไปอีกตึกหนึ่ง ตึกนี้ใช้น้อย ตึกนี้ใช้มากก็แลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างวัน ถ้ามองถึง ESG อันนี้เป็นเรื่อง E แต่ถ้าเป็น S ที่ใกล้ตัวก็คือที่แสนสิริพาร์ทเนอร์กับ UNICEF ซึ่งมันก็จะเกี่ยวกับเรื่องของความรับผิดชอบทางสังคม (Social Responsibility) หรือ Governance ที่หมายถึงธรรมาภิบาล อันนี้ก็คือ S กับ G ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทในไทยที่บริษัทอื่นๆ ควรจะทำเหมือนกัน

siri podcast สิริ พอดแคสต์ คุณสน - บริวัฒน์ ปิ่นประดับ Partner & Managing Director Boston Consulting Group และ คุณพัตเตอร์ - พีระภัทร ศิริจันทรโรภาส Managing Director บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด

นอกจากประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ยังมีประเด็นเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ ทั้งหมดนี้มันครอบคลุม 2 ตัวแรกเลยทั้ง E ทั้ง S ใช่ไหม เช่น ความเท่าเทียมกันของพนักงานในบริษัท LGBTI ต้องมีอย่างไรบ้าง?

คุณสน : ปัจจุบันนี้ก็มีบางบริษัทได้คำนึงถึงตรงนี้มากขึ้น แต่ถ้าเกิดเทียบกับต่างประเทศ คิดว่าเมื่อไทยก็ยังค่อนข้างล้าหลังอยู่ ยกตัวอย่างหนึ่ง สมมติผมเป็นคู่รักที่ไม่ได้แต่งงานจดทะเบียนทั่วไป บางบริษัทอาจจะไม่ให้ผลประโยชน์เรื่องของการรักษาพยาบาล ประกัน สวัสดิการอาจไม่เท่าเทียมกัน

บริษัทระดับโลกที่เป็นแบบอย่างเรื่อง ESG ที่เราสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ คือบริษัทอะไรบ้าง?

คุณสน : Microsoft ก็เป็นบริษัทหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นบริษัทแรกๆ ที่ได้ลงทุนเรื่องของการชดเชยคาร์บอนเครดิต เพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับศูนย์ (Carbon Neutral) คือทุกครั้งที่มีการสร้างมลภาวะจากการทำธุรกิจ ก็จะชดเชยด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต อันนี้ทำมาได้ประมาณ 10 ปีแล้ว แต่เป้าหมายในระยะยาว คือเป็น Negative Carbon หรือคาร์บอนติดลบ ไม่ผลิตเลยและต้องซื้อคืนให้สังคมด้วย และมันจะมีคอนเซ็ปต์ใหม่ๆ เช่น Net Zero ก็คือสมมติผมบิน โดยปกติก็สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตได้ ถ้ามีเงินบริษัทไหนก็สามารถซื้อ คาร์บอนเครดิต ไปชดใช้ได้ แต่พอเป็นคอนเซ็ปต์ของ Net Zero แปลว่าถ้าบินก็ต้องไปหาวิธีลดคาร์บอนเอาเอง จะไม่สามารถเอาเงินไปซื้อได้ ที่มีแนวคิดแบบนี้ เพราะว่าไม่อย่างนั้นบริษัทที่รวยก็จะใช้เงินอย่างเดียว

คุณพัตเตอร์ : อีกบริษัทก็คือ Tesla ทั้งเป็นเทรนด์ใหม่ของเรื่อง EV ที่คนสนใจ แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง Net Zero เนี่ย ของไทยอาจจะยังไม่ต้องไปไกลขนาดถึง Net Zero หรือคาร์บอนติดลบ (Negative Carbon) ก็เอาแค่ลดคาร์บอนก่อนก็ได้

“บริษัทที่ทำ ESG ได้ จะเป็นผู้ชนะในตลาด เพราะการที่จะเอากำไรมาลงทุนในสิ่งแวดล้อมหรือสังคม แปลว่าผลประกอบการต่างๆ จะต้องแข็งแรงกว่าเจ้าอื่น บริษัทที่เริ่มทำ ESG จะกลายเป็นผู้นำและสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งผลก็คือสามารถสร้างมูลค่าของแบรนด์ในระยะยาวได้”

– คุณสน – บริวัฒน์ ปิ่นประดับ

บ้านเราฝุ่น PM2.5 เต็มไปหมด เมื่อไหร่เราจะถึงจุดที่ 50/50 รถครึ่งหนึ่งใช้น้ำมัน แต่อีกครึ่งหนึ่งเป็นพลังงานไฟฟ้า ถ้าประเมินแล้วมีโอกาสไปถึงขั้นนั้นได้ภายในกี่ปี?

คุณพัตเตอร์ : ผมว่าเร็วสุดอาจจะในปี 2025 นะครับ

คุณสน : ผมคิดว่าอันนี้ผมต้องให้ภาครัฐเป็นคนดัน ถ้าคือเกิดขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้าได้จริง ภาครัฐต้องสนับสนุน ซึ่งก็เริ่มเห็นว่าภาครัฐเนี่ยมีแนวทางแล้ว เพียงแต่ว่ามันต้องผลักดันมากกว่านี้

siri podcast สิริ พอดแคสต์ คุณสน - บริวัฒน์ ปิ่นประดับ Partner & Managing Director Boston Consulting Group และ คุณพัตเตอร์ - พีระภัทร ศิริจันทรโรภาส Managing Director บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด ต๊ะ พิภู

แนวคิดของ ESG มีผลต่อไลฟ์สไตล์ของผู้คนอย่างไรบ้าง?

คุณพัตเตอร์ : จริงๆ แล้วคนเราก็อยู่กับเรื่อง ESG อยู่แล้ว มันเป็นเรื่องในเชิงของความรับผิดชอบต่อสังคม เช่นการไม่ทิ้งขยะมั่วซั่ว หรือการปลูกต้นไม้ทดแทน เก็บขยะ ช่วยสังคม หรือเลือกใช้ Biodegradable Plastic คือพลาสติกที่ย่อยสลายได้ มันเป็นสิ่งที่คนไทยทำอยู่แล้ว แต่ว่าในเชิงคอร์ปอเรท เรารับเรื่อง ESG จากต่างประเทศมา และเริ่มเห็นว่ามีการให้ความสำคัญบ้างแล้ว เช่น เราอาจจะเห็นว่ามีอสังหาริมทรัพย์ที่กรีนขึ้น หรือว่า พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากบริษัทใหญ่ๆ อย่างเช่น ปตท. จึงคิดว่าอะไรเหล่านี้จะเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่จะกระตุ้นสังคมได้ดี ตัวอย่างในเรื่องของรถยนต์ คนไทยรู้จัก Tesla รู้ว่าคืออะไร เรารู้ว่าประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร แล้วก็จริงๆ แล้วเราแค่อยากจะใช้มัน แต่เรายังใช้ไม่ได้เพราะว่าภาษียังแพง หรือว่าตัวเลขยังน้อยอยู่ อันนี้ก็เป็นเรื่องของซัพพลาย แล้วก็เรื่องของราคาด้วย ทำให้บางคนยังจับต้องมันไม่ได้ แต่เทคโนโลยีก็มีการพัฒนาทุกวัน ซึ่งก็ทำให้ของถูกลง เมื่อไหร่ไปถึงจุดที่คนสามารถจับต้องได้ ใช้ชีวิตกับมันแล้วมีความสุข ถึงตอนนั้นยังไงเราก็รับเข้ามาอยู่แล้ว

คุณสน : ผมคิดว่าปรากฏการณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น คือผู้บริโภคยอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อความสบายใจ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราซื้อตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป แม้แต่คอนโดหรือบ้าน เพราะผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญตรงนี้มากขึ้น แล้วบริษัทที่สามารถเอาตรงนี้ไปประยุกต์ใช้ก็ถือเป็นการสร้างมูลค่าให้แบรนด์ ก็จะเป็นผู้ชนะในระยะยาวได้

มองจากมุมของผู้ประกอบการ คิดว่าโปรดักต์ใหม่ๆ ที่จะมาตอบโจทย์มนุษย์ในยุคนี้หรือในอนาคตอันใกล้ต้องเป็นแบบไหน?

คุณพัตเตอร์ : อะไรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmentally Friendly) อย่างสีเขียว สีฟ้าอะไรอย่างนี้ แล้วก็อะไรที่ทำให้ชีวิตผมไม่ต้องทำอะไรเยอะ ผมก็จะชอบ เช่น กดง่าย รูดง่าย ใช้มือถือทำอย่างเดียว หรือว่ารถที่ไม่ต้องไปเติมน้ำมัน เพราะว่าผมขี้เกียจขับพามันไปเติมน้ำมัน เอาน้ำมันมาเติมที่หมู่บ้านผมอะไรอย่างนี้ มองว่าเทรนด์พวกนี้เป็นอะไรที่น่าจะโตได้เร็ว

อะไรที่ง่าย สะดวกสบาย รวดเร็ว และรักสิ่งแวดล้อม คือคำตอบของพัตเตอร์ ในส่วนของคุณสนคิดว่าอย่างไร?

คุณสน : ผมมองว่าถ้าเกิดพูดถึงเรื่อง ESG แล้วเขาทำจริงๆ โชว์ว่ามีผลตอบแทนที่ได้จริง ไม่ว่าเป็นเชิงของสภาพสิ่งแวดล้อมหรือเป็นเรื่องของสังคม คิดว่าต่อไปคนเราจะให้ความใส่ใจเกี่ยวกับการเดินทางหรือว่าการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยที่มองถึงทุกสเต็ปตั้งแต่เราออกจากบ้าน จนถึงขึ้นเครื่องบินที่สนามบิน จนกระทั่งถึงขึ้นเรือ ไปดำน้ำ จนกลับมาถึงบนบก คิดว่าประสบการณ์ต่างๆ พวกนี้ คนก็คงให้ความสนใจมากขึ้น คือไปเที่ยวเฉยๆ โดยที่ไม่ใส่ใจเรื่องพวกนี้คงไม่ใช่ เพราะยุคสมัยมันเปลี่ยนไป

“สำหรับอสังหาฯ ถ้ามองแบบทั่วไป ทุกห้องจะเหมือนๆ กันก็คือห้องสี่เหลี่ยม แต่ของแสนสิริเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย เพราะมีการใส่เรื่องของไลฟ์สไตล์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Wind Turbine หรือ EV Station ก็ถือเป็นการสนับสนุน Sustainable Living โดยเฉพาะ เรื่องบริการหลังการขายก็สำคัญ เพราะส่งผลต่อ Resale Value ไม่น้อยเช่นกัน”

– คุณพัตเตอร์ – พีระภัทร ศิริจันทรโรภาส

ทั้งคุณสน และคุณพัตเตอร์เป็นทั้งนักลงทุนและเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จ และยังเป็นลูกบ้านของแสนสิริด้วย ดังนั้นขอถามถึงปัจจัยในการเลือกอสังหาฯ เพื่อลงทุน เลือกจากอะไรเป็นหลัก?

คุณสน : การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนระยะยาว เพราะฉะนั้น บริการหลังการขายสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลตึก ดูแลส่วนกลาง สังคมและลูกบ้าน รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือเราเรียกว่าเป็นแนวทางต่างๆ ในการออกแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D: Research and Development) ที่เอามาใช้ในโครงการ สิ่งเหล่านี้มันสร้างมูลค่าให้กับตัวคอนโดฯ หรือบ้านได้ อย่างส่วนตัวผมเอง ครั้งแรกที่ซื้อ บ้านไม้ขาว ของแสนสิริที่ภูเก็ต ผมไปดูส่วนกลาง ดูต้นไม้ ดูสวนต่างๆ สภาพดีมากๆ 3 ปีผ่านไปก็ยังเหมือนเดิมจึงคิดว่าตรงนี้ที่ทำให้มูลค่ามันคงอยู่ได้ หรือเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ

คุณพัตเตอร์ : หลักลงทุนคือขอให้มันเป็นการลงทุนที่ทำให้เกิดผลตอบแทนจริงๆ แล้วอสังหาฯ ถ้ามองแบบทั่วไป ทุกห้องควรจะเหมือนกัน ถ้าเกิดเป็นคอนโด ก็คือห้องสี่เหลี่ยม แต่ที่ผมคิดก็คือ ของแสนสิริเป็นมากกว่าคอนโด เพราะมีการโปรโมทเรื่องไลฟ์สไตล์ แล้วก็บริการหลังการขายที่ดี ซึ่งผมคิดว่ามันจะทำให้มูลค่าของตึกยั่งยืน และด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นพวกกังหันลมหรือว่าพวกสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ผมมองว่ามันเป็นการสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนกันตั้งแต่เทรนด์ยังไม่เริ่มในเมืองไทยเลย มันก็เหมือนคอนเซ็ปต์ที่ว่า ทำไมเราถึงเลือกซื้อรถโตโยต้า หรือรถเบนซ์ เพราะว่าเรื่องบริการหลังการขาย เป็นเรื่องสำคัญ การที่บริการดี มูลค่าการส่งต่อ ก็ดีเหมือนกัน

siri podcast สิริ พอดแคสต์ คุณสน - บริวัฒน์ ปิ่นประดับ Partner & Managing Director Boston Consulting Group และ คุณพัตเตอร์ - พีระภัทร ศิริจันทรโรภาส Managing Director บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด ต๊ะ พิภู

นิยามในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์คืออะไร?

คุณสน : สำหรับคนส่วนมากที่รู้จักผม จะคิดว่าผมคิดทุกอย่างเป็นตัวเลข ผมคิดว่าอันนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวันแรกที่เราไปดู ไม่ว่าจะเป็นดูเรื่องของห้อง เรื่องส่วนกลางนะครับ ความรู้สึกตรงนั้น ส่วนมากผมจะดูเรื่องลม เรื่องดินฟ้าอากาศ แล้วก็ความรู้สึก ผมจะยืนอยู่คนเดียว 2-3 นาที แล้วความรู้สึกมันก็จะมาเอง อย่างล่าสุดผมก็ยืนอยู่ที่หน้า เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ เค้าย้ายต้นจามจุรีไปข้างหลังบ้านด้วย เพราะใส่ใจเรื่อง ESG ผมเองยืนอยู่ประมาณ 2 นาทีแล้วลมมันมาอย่างสม่ำเสมอก็สบายใจ มันก็ตอบว่าใช่ แต่ว่าแน่นอนเรื่องแบรนด์ และทุกอย่างเราทำการบ้านมาหมดแล้ว ผมไม่เคยตัดสินใจอะไรเกิน 24 ชั่วโมง ถ้าเป็นเรื่องพวกนี้ ถ้าให้นิยามสั้นๆ คือ ความสุข ความสบายที่เราอยู่ตรงนั้น แล้วเรารู้สึกว่านี่คือบ้านเราในอนาคต 20-30 ปี

คุณพัตเตอร์ : เราต้องทำการบ้านมาก่อน ส่วนหนึ่งมันก็ต้องเป็นเรื่องของแพสชันตัวเองด้วยว่าเราอยากจะอยู่ตรงนั้นจริงๆ หรือเปล่า แต่สุดท้ายคือก็ต้องมองว่าเรื่องบริการหลังการขาย แล้วก็เรื่องของผลตอบแทนทางการลงทุน เป็นอะไรที่ดึงดูด ตอนแรกคิดว่าจะซื้อคอนโดอยู่เอง สุดท้ายก็คิดว่าปล่อยเช่าดีกว่า นิยามจริงๆ คือแพสชันกับผลตอบแทนทางการลงทุนคือเรื่องแรก คือเราต้องชอบสถานที่ เราต้องรักสถานที่ก่อน นั่นคือในทองหล่อ แล้วก็ผลตอบแทนของทองหล่อ สิ่งที่ตามมาก็เป็นเรื่องที่ดีที่ลงทุนแล้วเงินงอกเงย เรื่องสุดท้ายก็คือแพสชัน สถานที่ตรงนั้นมันคือร้านอาหารเก่าที่ผมได้พาแฟนมาเจอครอบครัวผมครั้งแรก ผมก็เลยคิดว่าอยากจะมาอยู่ตรงนั้นเหมือนกัน

“อสังหาฯ เป็นการลงทุนระยะยาว ดังนั้นบริการหลังการขายสำคัญมาก ทั้งเรื่องของการดูแลตึก ส่วนกลาง สังคม และลูกบ้าน ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้มันสร้างมูลค่าให้กับโครงการได้ ส่วนตัวก็ซื้อโครงการของแสนสิริ ผ่านไป 3 ปี ส่วนกลางยังดูดีมากเหมือนเดิม จึงคิดว่าตรงนี้ที่ทำให้มูลค่ามันคงอยู่ และเพิ่มขึ้นอีกด้วย”

– คุณสน – บริวัฒน์ ปิ่นประดับ

siri podcast สิริ พอดแคสต์ คุณสน - บริวัฒน์ ปิ่นประดับ Partner & Managing Director Boston Consulting Group และ คุณพัตเตอร์ - พีระภัทร ศิริจันทรโรภาส Managing Director บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด

เท่าทันโลก เท่าทันเทรนด์ อย่างเช่นการมุ่งเน้น ESG ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดีมีธรรมาภิบาล ใส่ใจมองอนาคตอย่างยั่งยืน คือสิ่งที่คนรุ่นใหม่อย่างคุณสนและคุณพัตเตอร์ได้สอดแทรกไว้ในการสนทนาครั้งนี้ นอกจากนี้การศึกษาทำการบ้านให้มากพอ หาข้อมูล และติดตามเรื่องราวการลงทุนระดับโลกจะทำให้นักลงทุนมองเห็นรายละเอียดได้มากกว่าและให้ความสำคัญได้ถูกจุดซึ่งจะส่งผลให้ประสบความสำเร็จ เพื่อก้าวสู่การเป็น Game Changer ได้ไม่ยาก

ถ้าคุณอยากเรียนรู้แนวคิดดีๆ จากคนในแวดวงอสังหาฯ ติดตาม SIRI Podcast อ่านย้อนหลังได้ที่

– EP. 1 ล้วงลึกเรื่องลงทุน จากมุมมอง ‘วรางคณา อัครสถาพร’ ผู้อยู่เบื้องหลังพอร์ตรายได้กว่า 3 หมื่นล้านของแสนสิริ
– EP. 2 ‘Design ต่าง สร้าง Value’ ลงทุนในอสังหาฯ คือการลงทุนในความสุข กับ อู้ พหลโยธิน
– EP. 3 เลือกลงทุนอย่างไรให้ฉลาดและคุ้มค่า ในภาวะที่ตลาดเป็นของผู้ซื้อ กับ ฟลุค เกริกพล
EP. 4 สูตร (ไม่) ลับ สร้างกำไร.oการลงทุนปล่อยเช่าคอนโด โดย อ๊บ-สมสกุล หลิมศุทธพรรณ

สามารถฟังพอดแคสต์ SIRI Podcast
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ด้านล่าง

Related Articles

การเงินยุคดิจิทัล_ไม่เปลี่ยนเท่ากับปิด_เศรษฐา ทวีสิน CEO แสนสิริ, ‘คุณเฟื่องลดา’ สรานี สงวนเรือง, ‘คุณเฟิร์น’ ศิรัถยา อิศรภักดี sansiri คุยนอกทวีต siri podcast

โลกการเงินยุคดิจิทัล ไม่เปลี่ยนเท่ากับปิด?

ในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน การเงินการลงทุนก็เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนต้องปรับตัวไม่ต่างจากเรื่องอื่นๆ SIRI Podcast รายการ คุยนอกทวีต EP. 3 ชวนมาเปิดมุมมอง ย้อนมองการเปลี่ยนแปลงการลงทุนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แชร์พฤติกรรมของการลงทุนจากเจเนอเรชันที่ต่างกัน พร้อมร่วมกันมองทิศทางการเงินดิจิทัลที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต นำโดยคุณเศรษฐา ทวีสิน CEO แสนสิริ ตัวแทนคนรุ่นก่อนที่เรียนรู้ ปรับตัว และพร้อมศึกษารูปแบบการลงทุนใหม่ๆ นั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับแขกรับเชิญอีกสองท่าน

เท่าไหน ที่เท่ากัน? เพราะเราไม่ได้ขอสิทธิ์ที่มากกว่า แค่ขอให้ได้ “เท่ากัน”

‘ทุกคนเท่ากัน’ คำพูดที่พูดได้ง่าย แต่กลับทำให้เกิดขึ้นจริงได้ไม่ง่ายนัก และเบื้องหลังยังแฝงการเรียกร้องพร้อมยืนหยัดจากใครหลายคนที่มีความแตกต่างไปจากสิ่งที่สังคมคุ้นเคย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และการยอมรับในความแตกต่างหลากหลายนั้นมาตั้งแต่ในอดีต รวมไปถึง…การยืดหยัดเพื่อความเท่าเทียมทางเพศด้วยเช่นกัน คุยนอกทวีตกับคุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ของแสนสิริ คราวนี้ กับคำถามที่ว่า “เท่าไหน ที่เท่ากัน” EP.02 มาพร้อมกับ Speaker สุดพิเศษถึง 2

The Great Reset มองอนาคตผ่านสายตาคนต่างวัย โลกนี้จะหน้าตาแบบไหนกัน?

ในช่วงที่ COVID-19 กระจายตัวไปทั่วโลก หลายคนอาจนึกถึงหรืออาจเคยได้ยินคำที่ว่า “The Great Reset” กันมาบ้าง ก็เพราะ COVID-19 นี้เองได้กลายเป็นเหมือนตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของสังคมเราให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ราวกับกดปุ่มรีเซ็ตใหม่! เมื่อการรีเซ็ตครั้งใหญ่ หรือ The Great Reset ได้ย่างกรายเข้ามา จึงทำให้โลกเริ่มเปลี่ยนไปจากที่เราเคยรู้จัก