อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพเป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่จะรับมือ แต่ถ้าคุณทำอย่างถูกที่ ถูกเวลา มันจะส่งผลกระทบต่อหลายชีวิตบนโลกใบนี้
คำพูดของ Mike Huang ซีอีโอแอพพลิเคชั่น Glow ที่ให้บริการติดตามเรื่องสุขภาพผ่านแกดเจ็ทและสมาร์ทโฟน คำพูดของเขาทำให้เรานึกถึงกระแสตีกลับของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพซึ่งเคยเป็นความฝันของคนรุ่นใหม่ เมื่อมีข่าวว่ากว่า 90% ของธุรกิจสตาร์ทอัพต้องปิดตัวลง ดับความฝันที่อยากเป็นนายตัวเองและประสบความสำเร็จในเร็ววัน
อันที่จริงเรื่องนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก และยังคงถกเถียงกันอยู่ว่า สตาร์ทอัพ เป็นบิสสิเนสโมเด็ลที่เหมาะกับทุกประเทศและยั่งยืนจริงหรือไม่ แต่ถ้าหากเราวัดความสำเร็จจากตัวเลขแล้ว หมวดหนึ่งที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอด ก็คือเรื่องของสุขภาพ อาจเป็นอย่างที่ Mike Huang กล่าวไว้ก็ได้ว่า ถ้ามันอยู่ถูกเวลาและส่งผลต่อชีวิตมนุษย์จริงๆ ก็เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ได้ไม่ยาก
เป็นที่ปรากฏชัดแล้วว่า สตาร์ทอัพ หมวดสุขภาพ (หรือ Health Care) ได้รับความนิยมติดต่อกันมาหลายปี หลักฐานที่ยืนยันถึงที่พูดไปได้ก็คือยอดระดมทุนที่โตขึ้น 200% ระหว่างปี 2010 จนกระทั่งถึงปี 2014 ถ้าให้วิเคราะห์อย่างเร็วๆ ยุคทองของธุรกิจสตาร์ทอัพในหมวดสุขภาพนั้นเกิดจากโมเด็ลทางธุรกิจที่กระชับขึ้น ประชากรที่ทยอยแก่ไปตามๆ กัน มาพร้อมกับความต้องการที่สูง ถึงปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เอื้ออำนวยในทุกด้าน ทั้งวิดีโอที่สามารถแชทกับหมอได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล แกดเจ็ทซึ่งสวมติดตัวได้ หรือแม้กระทั่งการหาหนทางรักษาตัวเองโดยไม่พึ่งหมอ พูดให้ง่ายกว่านี้ก็คือ ตราบใดที่ธุรกิจของคุณทำให้เราใช้ชีวิตได้นานขึ้นอย่างปลอดภัย ก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในเร็ววัน (ส่วนวิธีการใช้ที่ยากหรือง่ายนั้น ค่อยว่ากันอีกที)
ความสำเร็จไม่ใช่บังเอิญที่จะทำให้ธุรกิจไปต่อได้อย่างปลอดภัย Dean Stephens ซีอีโอของบริษัท Healthline เว็บไซต์รวมบทความเกี่ยวกับสุขภาพที่มีคนอ่านหลายล้านต่อเดือน เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ระบบสาธารณสุขของสหรัฐเป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก และยังคงเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกนาน ความวุ่นวายและยุ่งยากในกระบวนการรักษายิ่งกระตุ้นให้เราอยากหาทางออก ผมเลยเลยสร้างระบบบริการแบบใหม่ที่อยู่ระหว่างปัญหาและยังไม่มีใครทำ ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐทำให้ผมมีรายได้แล้วหลายร้อยล้านเหรียญตั้งแต่เปิดบริษัทมา”
การสร้างธุรกิจขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันเป็นหลักการพื้นฐานที่นักเรียนบริหารทุกคนเคยเรียน นอกจากธุรกิจของเราจะต้องเติมเต็มความต้องการของมนุษย์และหาทางออกให้พวกเขาแล้ว ความใส่ใจแบบหูตาไวก็เป็นสิ่งสำคัญเหมือนกัน หากลองคลิกเข้าไปดูที่ www.healthline.com คุณจะเห็นว่าหน้าตาของเว็บไซต์นั้นเฟรนด์ลี่ทั้งในหน้าเดสท็อปและโมบายล์ สวนมางกับเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลที่ข้อมูลหายากราวกับว่าเป็นความลับขั้นสุดยอด การทำงานของเว็บ healthline แบ่งได้คร่าวๆ คือ มีส่วนที่เป็นข้อมูลให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในเรื่องสุขภาพ แต่ถ้าหากคุณป่วยอยู่แล้วจะมีช้อยส์ให้เลือกว่า “เรียกหมอเลยไหม?” วิเคราะห์โรคด้วยตัวเอง และคำแนะนำการใช้ยา ซึ่งเป็นการคลิกต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้สึกว่าโดนขายของอยู่หรือมีคนมาล้วงความลับคุณไป ความรู้สึกรักษาตัวเองให้หายได้โดยไม่ต้องพึ่งบริการของรัฐ คงเป็นจิตทยาอย่างหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าอยู่อำนาจรัฐ และยอมจ่ายเงินที่มากกว่านิดหน่อย แลกมากับความสบายใจปริมาณมาก
แค่ตอบโจทย์ก็ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ทันทีอย่างนั้นเลยเหรอ?
อย่าเพิ่งรีบรันธุรกิจจนกว่าจะมั่นใจว่ามีคนเห็นด้วยกับไอเดียของคุณ ปัจจัยอย่างหนึ่งของการทำสตาร์ทอัพ นั่นก็คือ Crownfunding หรือการระดมเงินทุนก้อนใหญ่จากคนที่พร้อมจะร่วมหัวจมท้ายไปกับโปรเจ็คท์ที่เราคิดขึ้นมา สิ่งที่เขาจะได้กลับไปนั้นล้วนแล้วแต่เป็นไปตามข้อตกลงของแต่ละบริษัท เช่น จะได้ใช้บริการก่อน หรือมีส่วนลดที่มากกว่าคนอื่น ยิ่งไปกว่านั้น อาจจะมีพาร์ทเนอร์ยักษ์ใหญ่กระโดดลงมาเล่นในเกมนี้โดยการโยนเงินจำนวนมหาศาลลงมาในฐานะผู้สนับสนุน และเกิดเป็นผลประโยชน์ทางธุรกิจเมื่อโปรเจ็คท์ของคุณประสบความสำเร็จ อย่าลืมว่าระบบสาธารณะสุขนั้นมีโครางข่ายที่ใหญ่มาก คลินิก โรงพยาบาล โรงงานผลิตยา และบริการต่างๆ ที่ทยอยออกมารองรับความป่วยไข้ของคนในสังคม หากถอยมาดูดีๆ ก็จะพบว่าเม็ดเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบนี้ มากมายอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ก็เริ่มไม่ค่อยแปลกใจแล้วล่ะว่าทำไมเม็ดเงินที่โผล่ขึ้นมาถึงเยอะขนาดนี้
อาชีพที่เริ่มเข้าสู่วงการ สตาร์ทอัพ ตอนนี้ คือ หมอ จากข้อมูลมีอย่างน้อย 2 บริษัท คือ FundRx และ AngelMD ที่ติดต่อบรรดานายแพทย์ไปโดยตรงเพื่อจะระดมทุนสร้างธุรกิจขึ้นมาเพราะเป็นกลุ่มคนที่ “ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพที่สุด” จนกลายเป็นเทรนด์เลยก็ว่าได้ จากที่เมื่อก่อน คนเป็นหมอมักจะเอาเงินไปทุ่มเทกับการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการรักษาซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องใช้เวลา ง่ายกว่าคือเอาเงินไปหุ้นกับคนที่มีความรู้เรื่องธุรกิจ และรันบิสสิเนสที่ตัวเองเข้าถึงได้ไม่ยาก คงยังไม่มีข้อสรุปในตอนนี้หรอกว่าการที่หมอหันไปสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพมากๆ จะส่งผลดีหรือเสียต่อไปในอนาคตอย่างไร แต่ก็ถือว่าเป็นจังหวะที่น่าจับตามอง
สำหรับคนเราคงมีไม่กี่บทบาทที่ทำได้ จะเพิกเฉย ติดตาม ริเริ่ม หรือลงทุน ก็ต้องดูกันเอาเองว่าจะเลือกอะไร
ติดตามความเป็นไปของเทคโนโลยีที่ทั้งเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์และชีวิตประจำวัน จาก แสนสิริ บล็อก ที่ PropTech หรือเข้าไปอ่านเรื่องของ Health Care อื่น ๆ คลิกอ่าน สร้างบ้านอัจฉริยะตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป
Sources:
http://fortune.com/2015/02/19/healthcare-startups-succeed/
http://medcitynews.com/2015/04/healthcare-startups-can-increase-chances-fund-raising-success/?rf=1
https://www.entrepreneur.com/article/239937
http://www.healthline.com/symptom/diarrhea
https://www.wired.com/2013/09/health-startups-target-the-massive-money-behind-real-pain/
https://fundrx.com/team
https://www.angelmd.co/about