Stop Cyberbullying
ไม่ควรมีใครต้องถูกบูลลี่!

เมื่อโลกออนไลน์เข้าถึงง่ายมากกว่าที่คิด แค่เพียงสัมผัสหน้าจอ เปิดสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต ก็สามารถเชื่อมต่อกันได้ภายในเสี้ยววินาที แต่ในขณะเดียวกัน แค่เสี้ยววินี้ก็แลกมากับ ภัยบนโลกออนไลน์ ซึ่งสามารถส่งผลต่อชีวิต “ออฟไลน์” ของใครหลายๆ คน เช่นเดียวกัน

การเหยียดเพศ ล้อเลียนรูปลักษณ์ ปมด้อย หรือคุกคามทางเพศ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาหลายยุคหลายสมัย แต่เมื่อโลกเข้าสู่ยุคออนไลน์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้กับทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะการพิมพ์ผ่านหน้าจอ มักเกิดจากการตัดสินใจที่รวดเร็วและกล้ากว่าการพูดต่อหน้า

เนื่องในวัน #StopCyberbullyingDay เราไม่เพียงต้องการรณรงค์ให้หยุด! การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ต้องการให้ทุกคนตระหนักเห็นถึงความเท่าเทียม ฉุกคิดและสำรวจพฤติกรรมตัวเองต่อการบูลลี่ให้มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ

เราอยากสร้างความตระหนักให้ทุกคนเห็นถึงผลกระทบด้วยสถิติต่างๆ ของผู้ถูกบูลลี่ เพื่ออนาคตข้างหน้า เราจะมีโอกาสได้เห็นสังคมที่ทุกคนมีความเห็นอกเห็นใจ และหยุดพฤติกรรมเหล่านี้

เลิกโต้ตอบ กดไลค์ให้ก็พอ 

stop bullying day-live equally-วันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

เคยเป็นไหมที่แชร์ภาพทั่วไป หรือแสดงความคิดเห็นตามปกติ แต่กลับโดนพิมพ์ตอบกลับในเรื่องอื่นจนเกินเลยไปถึงการใช้คำที่เหยียด คุกคาม หรือการกลั่นแกล้งรูปแบบต่างๆ จนเราต้องพิมพ์ตอบโต้กลับด้วยความรุนแรงเช่นเดียวกัน

หากเป็นเช่นนั้นเราจะกลายเป็นคนที่ถูกบูลลี่ และบูลลี่คนอื่นกลับโดยไม่รู้ตัว ด้วยเหตุนี้แล้ว เราอยากให้ลองเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ เช่นการไม่พิมพ์ตอบโต้ กดไลค์ให้ก็พอ หรือหยุดการกดติดตามเพื่อหลีกเลี่ยงการมองเห็นสิ่งที่อาจกวนใจเรา หรือให้ดีกว่านั้นกดบล็อกแล้วรีพอร์ทไปด้วยเลย เพื่อสังคมจะได้ลดคนกลุ่มนี้ลง

ก่อนจะแชร์รูปเพื่อนลงโซเชียล ถามกันก่อนว่าโอเครึเปล่า

stop bullying day-live equally-วันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยมีประสบการณ์แกล้งเพื่อนรูปแบบนี้แน่นอน

การถ่ายรูปแกล้งเพื่อน และแชร์ลงโซเชียล บางครั้งอาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะเราไม่รู้ว่าเพื่อนจะตลกไปกับเรารึเปล่า บางทีการทำโดยไม่บอกอาจสร้างความอับอายจนรับไม่ได้ และกลายเป็นส่วนหนึ่ง หรือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เพื่อนโดนบูลลี่ก็ได้ ทางที่ดีเราควรถามความยินยอมอีกฝ่ายเสียก่อน หรือเลือกที่จะเก็บไว้ดูเองเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมา

อย่ามองทุกอย่างเป็นเรื่องตลกเกินไป ควรคิดก่อนว่า อีกฝ่ายจะตลกด้วยไหม

stop bullying day-live equally-วันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

มีใครทำผิดพลาดเล็กน้อย…หัวเราะ
ทำไม่เหมือนคนอื่น…หัวเราะ

บางครั้งการเป็นคนสนุกสนาน หรือเป็นคนตลกมากเกินไปก็กลายเป็นคนบูลลี่อีกฝ่ายได้แบบไม่รู้ตัว พฤติกรรมของเราอาจทำให้อีกฝ่ายเสียความมั่นใจไปเลยทันที ทางที่ดีลองหยุดคิด และดูสถานการณ์ก่อนว่า ควรพูด หรือทำตัวอย่างไรดีกว่า

บางเรื่องก็ปล่อยให้เป็นอดีตดีกว่า

stop bullying day-live equally-วันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

การเห็นและแชร์รูปเก่าๆ ของเพื่อน หรือการกลับมาพบกันหลังจากไม่ได้เจอกันนานย่อมมีแต่ความรู้สึกดีๆ แน่นอน แต่บางครั้งในวงสนทนา เรื่องราวความอับอายของเพื่อนในสมัยเด็ก ที่เรามองเป็นเรื่องตลกถูกหยิบนำมาเล่า แท้จริงอาจเป็นความอับอายของเพื่อนที่ฝังใจมาตลอดก็ได้

หากไม่อยากให้เสียความรู้สึก และบรรยากาศในวง ลองเปลี่ยนเป็นเริ่มจากเล่าเรื่องตัวเอง หรือวีรกรรมฮาๆ ที่เคยทำร่วมกันดูไหม น่าจะกลายเป็นเรื่องราวสนุกๆ ที่เผลอหยุดคุยไม่ได้เลย

จากเจอหน้าปุ๊บ ทักทายรูปร่างปั๊บ ลองเปลี่ยนมาอัปเดตชีวิตกันดีกว่ามั้ย

stop bullying day-live equally-วันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

อาจจะเป็นเรื่องเคยชินที่เจอกันต้องทักเรื่องรูปร่าง หน้าตา หรือภาพลักษณ์ภายนอก แต่อย่าให้ความเคยชินเหล่านี้เป็นดาบทิ่มแทงผู้อื่น เพราะคำพูดของเราอาจเป็นการตอกย้ำทำให้คนๆ นั้นสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง

ลองเปลี่ยนจากการทักทายเรื่องรูปลักษณ์ภายนอก เป็นอัปเดตชีวิตช่วงนี้ หรือเป็นเรื่องสนุกๆ ที่ได้ไปพบเจอ มาเป็นหัวข้อสนทนาเพื่อไม่ให้เกิดการบูลลี่โดยไม่รู้ตัวดีกว่า

หากทุกคนตระหนักถึงปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เพิ่มความเห็นอกเห็นใจต่อกัน เพียงแค่นี้เราก็สามารถสร้างสังคมที่ทุกคน  “Live Equally”  ได้แล้ว

CONTRIBUTOR

Related Articles

Ready Set Marry

เมื่อรัก คือ รักบนความเท่าเทียม ชีส & รถเมล์

หากลองคิดดูจากผู้คนนับล้านคนจะมีสักกี่คนที่เกิดวัน เดือน ปี เดียวกัน แล้วได้โคจรมาเจอกัน มากกว่านั้นคือได้กลายเป็น “คู่รัก” กัน เช่นเดียวกับคู่ของ “ชีส” – ณัฐฐิยา สงวนศักดิ์ และ “รถเมล์” – ชัญญานุช มะลิมาตร ที่ร่วมกันถักทอเรื่องราวความรักต่างๆ ร่วมกันมาจนจะเข้าปีที่

Ready Set Marry

เมื่อรัก…คือ การให้ความสำคัญ กับคนที่อยู่เคียงข้าง ลูกไม้ & มาย

แสนสิริ ขอชวนทุกคนมาร่วมกันนับถอยหลังสู่วันที่ประเทศไทยจะมี “สมรสเท่าเทียม” อย่างเป็นทางการ โดยคู่รักทุกคู่จะสามารถจดทะเบียนเป็น “คู่สมรส” และได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมพร้อมกันในวันที่ 22 มกราคม 2568 ผ่านแคมเปญ Ready, Set, Marry! เริ่มจากคู่รักสายแฟชั่น ‘ลูกไม้’ อินทิรา หอมเทียนทอง และ ‘มาย’

ส่งต่อโอกาสทางการศึกษาผ่านโครงการ ZERO DROPOUT

Zero Dropout  เพราะ “การศึกษา” เปรียบเสมือนใบเบิกทางต่อยอดสู่อนาคต แต่กลับมีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ รายได้ในครอบครัวไม่เพียงพอ สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการศึกษา เด็กบางคนต้องช่วยที่บ้านทำงานจนเรียนไม่ทัน หรือขาดเอกสารในการยืนยันตัวตน ทำให้ “เด็ก” หลายคนหลุดออกจากระบบการศึกษาและพลาดโอกาสในการทำตามความฝันและพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น    โครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” เป็นสิ่งที่แสนสิริมีความมุ่งมั่นตั้งใจริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ