คู่รัก LGBTQIAN+ ต้องรู้!
กู้ร่วมอย่างไร
ให้ผ่านง่าย

เมื่อคู่รัก LGBTQIAN+ วางแผนอนาคตอยากใช้ชีวิตด้วยกัน หากต้องการมีบ้านในฝันเป็นของตัวเอง จะสามารถ “กู้ร่วม” กันได้ไหม? ตอบเลยว่า “ได้ค่ะ” 

เพราะตอนนี้ก็มีธนาคารหลายแห่งให้สินเชื่อที่คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถกู้ร่วมกันได้ตามเงื่อนไขเดียวกับ “คู่รักที่ยังไม่ได้สมรสกัน” โดยต้องมี “เอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน” ประกอบในการยื่นกู้ด้วยค่ะ

วันนี้เราเองก็ได้รวมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่จะช่วยให้การกู้ร่วมนั้นมีโอกาสผ่านการอนุมัติง่ายขึ้น มาฝากกันค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย เพราะเราอยากเห็น “คุณ” ได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนรักที่บ้านในฝัน พร้อมอนาคตที่วาดหวังอย่างมีความสุขที่สุดค่ะ 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก! https://siri.ly/rf10NC6

syndicated oan lgbtqia+

อาจมีบางคนยังสงสัยว่า ทำไมต้องกู้ร่วม?
นั่นก็เพราะว่า การกู้ร่วมกันจะทำให้มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการชำระหนี้ และเพิ่มความน่าเชื่อถือสำหรับผู้ยื่นขอสินเชื่อ รวมถึงอาจได้วงเงินเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

เงื่อนไขในการยื่นขอสินเชื่อต่างกันไหม?
สำหรับเงื่อนไขและขั้นตอนการซื้อบ้านแบบกู้ร่วมของ LGBTQIAN+ ก็เหมือนการกู้ร่วมปกติ* โดยเบื้องต้นพิจารณาจาก…

✅ คุณสมบัติ
✅ วงเงิน
✅ รายได้
✅ ภาระหนี้
✅ อายุขั้นต่ำ

แล้วดูสัดส่วนภาระหนี้เทียบกับรายได้ เพื่อประเมินว่าผู้กู้จะผ่อนไหวหรือไม่ และผ่อนต่อเดือนได้แค่ไหนค่ะ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก! https://siri.ly/fM7JHd6

syndicated oan lgbtqia+

สิ่งที่จำเป็นในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสถาบันการเงิน อย่างเช่น การยื่นขอสินเชื่อ แน่นอนว่า ทางสถาบันการเงินจะต้องตรวจสอบ “ความมั่นคงทางการเงิน” ไม่ว่าจะเป็นรายได้ ภาระหนี้สิน รายการเดินบัญชี หรือเครดิตทางการเงิน เป็นต้น

ดังนั้น หากคู่รัก LGBTQIAN+ ต้องการที่ยื่นกู้ร่วมกัน การวางแผนและเตรียมตัวให้ดี ก็จะมีโอกาสได้รับการอนุมัติผ่านง่ายมากขึ้น

เคลียร์หนี้สิน เพราะสถาบันทางการเงินจะเช็กประวัติการผ่อนชำระหนี้ย้อนหลังผ่านฐานข้อมูลของเครดิตบูโร

เช็กรายการเดินบัญชี (Statements) มีเงินเข้า – ออกสม่ำเสมออย่างสมเหตุสมผลไหมก่อนจะยื่น เพราะทางสถาบันการเงินจะเช็กความน่าเชื่อถือในการใช้จ่ายของคุณจากรายการเดินบัญชีย้อนหลัง ซึ่งหากมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หรือมีเงินในบัญชีเยอะก็จริง แต่มีการจ่ายออกมากกว่ารับจนดูผิดปกติ ส่วนนี้ก็อาจจะมีผลเช่นเดียวกัน

รักษาเครดิตทางการงานให้ดี หากคุณมี Credit Scoring ที่ดี จากการใช้บัตรเครดิตซื้อของและชำระให้ตรงเวลา (โดยไม่ชำระขั้นต่ำ) ทำให้มีประวัติที่ดีในเครดิตบูโร ก็จะมีโอกาสในการขอสินเชื่อผ่านสูงขึ้น

สำคัญที่สุด คือ วินัยทางการเงิน หากเลือกที่จะร่วมชีวิตคู่กันแล้วไม่ว่าเพศไหนก็ตาม ก็ควรจะต้องวางแผนอนาคต การออม หรืออาจจะเป็นการถือสินทรัพย์ร่วมกัน เพื่อให้มีหลักฐานในการยื่นกู้ร่วมกับคนรักของคุณได้อีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก MAKE by KBank

syndicated oan lgbtqia+

หลังจากผ่านขั้นตอนของการวางแผนและสร้างความมั่นคงทางการเงินมาแล้ว สเต็ปต่อไปก็เตรียมเอกสารให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารข้อมูลส่วนบุคคล เอกสารแสดงรายได้ เอกสารทางด้านหลักประกัน และเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่าคู่รัก LGBTQIAN+ * อยู่ร่วมกัน หลังจากนั้นก็พร้อมยื่นกู้ร่วมได้เลย

อย่างไรก็ดี เพื่อความชัวร์ เราควรจะเตรียมตัวให้พร้อมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูล รายละเอียด ค่าใช้จ่ายๆ ต่างที่เกี่ยวกับซื้อบ้าน คำนวณความสามารถในการผ่อนชำระ สอบถามเงื่อนไขต่างๆ จากทางสถาบันการเงินให้เคลียร์ที่สุด รวมไปถึงที่สำคัญควร “ปรึกษากับคู่รักของคุณ” ในทุกๆ ขั้นตอนให้เข้าใจตรงกัน เพราะคุณทั้งคู่ได้ลงเรือลำเดียวกันแล้วก็ควรจะพายไปด้วยกันให้ถึงฝั่ง ซึ่งปลายทางก็ “บ้าน” ของคุณทั้งคู่นั่นเอง

สุดท้ายนี้ อยากพูดถึงความสำคัญของการมี พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ซึ่งหากร่างฯ ผ่านครบทุกวาระ และได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ พวกเราทุกคนก็จะได้รับโอกาสในความเท่าเทียมกันมากขึ้นสำหรับสิทธิของการเป็นคู่สมรสอย่างแท้จริงในทุกมิติค่ะ 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก! https://siri.ly/rf10NC6


cr. cover picture : freepik

CONTRIBUTOR

Related Articles

Ready Set Marry

เมื่อรัก คือ รักบนความเท่าเทียม ชีส & รถเมล์

หากลองคิดดูจากผู้คนนับล้านคนจะมีสักกี่คนที่เกิดวัน เดือน ปี เดียวกัน แล้วได้โคจรมาเจอกัน มากกว่านั้นคือได้กลายเป็น “คู่รัก” กัน เช่นเดียวกับคู่ของ “ชีส” – ณัฐฐิยา สงวนศักดิ์ และ “รถเมล์” – ชัญญานุช มะลิมาตร ที่ร่วมกันถักทอเรื่องราวความรักต่างๆ ร่วมกันมาจนจะเข้าปีที่

Ready Set Marry

เมื่อรัก…คือ การให้ความสำคัญ กับคนที่อยู่เคียงข้าง ลูกไม้ & มาย

แสนสิริ ขอชวนทุกคนมาร่วมกันนับถอยหลังสู่วันที่ประเทศไทยจะมี “สมรสเท่าเทียม” อย่างเป็นทางการ โดยคู่รักทุกคู่จะสามารถจดทะเบียนเป็น “คู่สมรส” และได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมพร้อมกันในวันที่ 22 มกราคม 2568 ผ่านแคมเปญ Ready, Set, Marry! เริ่มจากคู่รักสายแฟชั่น ‘ลูกไม้’ อินทิรา หอมเทียนทอง และ ‘มาย’

ส่งต่อโอกาสทางการศึกษาผ่านโครงการ ZERO DROPOUT

Zero Dropout  เพราะ “การศึกษา” เปรียบเสมือนใบเบิกทางต่อยอดสู่อนาคต แต่กลับมีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ รายได้ในครอบครัวไม่เพียงพอ สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการศึกษา เด็กบางคนต้องช่วยที่บ้านทำงานจนเรียนไม่ทัน หรือขาดเอกสารในการยืนยันตัวตน ทำให้ “เด็ก” หลายคนหลุดออกจากระบบการศึกษาและพลาดโอกาสในการทำตามความฝันและพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น    โครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” เป็นสิ่งที่แสนสิริมีความมุ่งมั่นตั้งใจริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ