การโบกธงของ Rainbow Flag

อาจจะมีหลาย ๆ อย่าง ที่ทีมอย่าง นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด สามารถคุยข่มสโมสรอย่าง ซันเดอร์แลนด์ ได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ชั้น หรือความเป็น branding ของตัวเอง แต่เรื่องหนึ่งที่สาลิกาดง เหนือกว่าแมวดำแห่งย่านอีสานของอังกฤษ

ก็คือ การยอมรับ “ความหลากหลาย” ให้มาอยู่ในหมู่ชุมชนแฟนบอลมากกว่า (ทั้ง ๆ ที่ถ้าจะย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ซันเดอร์แลนด์ประกาศตัวเป็นพวกหัวก้าวหน้า จนนำมาซึ่งการจะโค่นล้มการปกครอง และนิวคาสเซิ่ลเลือกเป็นฝ่าย royalty จนเกิดความข้ดแย้งระหว่างสองสังกัด)

การแสดงตัวอย่างหนึ่งของแฟน ๆ นิวคาสเซิ่ล ที่เรียกตัวเองว่า Toon Army (เพี้ยนมาจากคำว่า town) ก็คือ การขายและปักธงฟุตบอล จากสีขาวดำเป็น “สีรุ้ง” ในบางนัด และวางขายหน้าสนาม แฟน ๆ ก็เอามาโบกในสนาม หน้าสนาม นอกสนาม โดยไม่รู้สึก “เคอะเขิน” แม้ว่าคนโบกจะไม่ใช่ LGBT

ภาพจาก Newcastle United

ไม่รู้สึกเคอะเขินหรือขวยเขิน เพราะโลกยุคใหม่อ้าแขนรับ “เพศทางเลือก” อย่างอบอุ่น ผ่านหลากหลายเรื่องราว ที่แสดงออกมาในช่วง 2-3 ปีหลัง เช่น พลุในบางเมืองช่วงปีใหม่ จุดขึ้นท้องฟ้าด้วยไฟสี rainbow ทางเข้าศูนย์การค้าทำพื้นเป็นสีรุ้งแบ่งเป็นเส้น ๆ แบรนด์เสื้อผ้าออกหมวก หรือกำไลที่เป็นสีนี้ หรือเสื้อกีฬา เสื้อวิ่ง เสื้อฟุตบอล ทำเวอร์ชั่นพิเศษ ด้วย rainbow kit

ถ้าโลกมีสายลม แสงแดด ก็ดูเหมือนว่า เพศทางเลือกหรือ LGBT จะมีฤดูกาลของตัวเองอย่างน่าสนใจ เพราะไม่ใช่หลายพื้นที่ปรับตัวต้อนรับอย่างไม่เดียดฉันท์ แวดวงบันเทิงซึ่งเป็นเสียงที่ง่าย เพราะเข้าถึงแมส ก็แสดงตัวอย่างเนียน ๆ กับเทรนด์และที่ทางตรงนี้

ไม่ต้องมองไปไกลจน “หรี่ตา” มาก …ช่วง 3-4 ปีมานี้ หนังในกลุ่ม LGBT movies ยกพลขึ้นบก และปีนป่ายขึ้นไปได้รางวัลอยู่เป็นระยะ ๆ รวมทั้งเข้าชิงแทบจะทุกปี ล่าสุดที่คว้าหนังเยี่ยมออสการ์ ก็มี moonlight ซึ่งเป็น LGBT movie อย่างชัดเจน ก่อนหน้านั้นนิดเดียวก็มี Carol ซึ่งติดอันดับต้น ๆ ของหนังกลุ่มนี้จากสำนัก Rotten Tomatoes

ภาพยนตร์เรื่อง Moonlight

ภาพจาก IMDb

ช่วงระหว่าง 3-4 ปีมานี้ เพศทางเลือก เป็นเทรนด์ที่หลายแบรนด์พยายามจะทำการตลาด อาจจะไม่ชัดมากในสังคมไทย เพราะสังคมเราต้องรอให้ถึงเวลาที่เหมาะสม และก็เหมือนจะเป็น “ตอนนี้” ที่ด้วยอารมณ์ความรู้สึก มันมาถึงเวลาที่ “หันมามอง” มากกว่า “หมางเมิน” ไป

ถ้าจะพูดให้ลึกลง จริง ๆ ในบ้านเราก็มี voice ที่แอบเร้นอยู่มาช่วงเวลาหนึ่งแล้ว เช่น ใน hostel บางแห่ง มีการออกแบบดีไซน์ห้องพักแบบ LGBT หรือแบรนด์สินค้าบางชื่อ กล้าจะเป็น “สปอนเซอร์” จัดเทศกาลหนังภาพยนตร์กลุ่มนี้ แม้แต่แวดวงหนังโฆษณา น้ำอัดลมบางชื่อ ยัง test รสชาติสังคมไทย ด้วยการทำเรื่องราวแบบ LGBT

ภาพยนตร์โฆษณา LGBT เรื่อง I STORIES โดย Honda

รูปภาพจาก Honda

ผมคิดว่า “เพศทางเลือก” ก็คือ “ส่วนหนึ่ง” ของเทรนด์ใหญ่อย่าง D&I หรือ diversity and inclusion ซึ่งเป็นแนวทางอันว่าด้วยการยอมรับในความหลากหลาย ไม่ว่าจะแตกต่างมาจากสีผิว เชื้อชาติ หรืออะไรก็ตาม การมีอยู่ของความหลากหลาย กลายเป็น policy ในบางบริษัท เพราะโลกรับรู้ว่า นี่คือสิ่งจำเป็น (โดนัล ทรัมป์ อาจจะสำลักนิดหน่อยเวลาอ่านบทความนี้)

ถ้า diversity เป็นร่มคันใหญ่ LGBT ก็อยู่ใต้ร่มคันนี้นี่เอง

นักวิจารณ์บางคนของต่างประเทศเคยมองด้วยซ้ำว่า เหตุผลหนึ่งที่ “ออสการ์” ไม่ตกไปจากเวทีโลกแบบ รางวัล “แกรมมี่” ก็เพราะหลายปีมานี้ สำนักออสการ์เปิดรับ LGBT ไปก่อนจากหนังเข้าชิง หนังได้รางวัล และพอโดนมรสุมจากเรื่องเพศจนเจอติดแฮชแทค หลายชื่อ ทั้ง OscarSowhite มาจนถึง Metoo

ออสการ์ซึ่งบอบช้ำมาก ก็ได้เรียนรู้ ก้าวข้าม แล้วเปิดประกาศรับ committee เป็นผู้หญิงมากขึ้น เป็นคนผิวสีมากขึ้น เพื่อพาแบรนด์เดินเข้าสู่พรม diversity นั่นเอง

Troye Sivan ศิลปิน LBGT ที่กำลังเป็นกระแสทั้งในวงการเพลงและวงการแฟชั่น

ภาพจาก  Time

นี่ยังไม่นับ แวดวงแฟชั่น ที่เปิดรับดีไซเนอร์ผิวสีให้มาทำงานมากขึ้น เพราะกลุ่ม LGBT ปักหลักอยู่ในนั้นเนิ่นนานแล้ว

ฝนฟ้ามรสุมที่ซัดใส่ประเทศไทยยามนี้ จึงมีข่าวดีว่า เมื่อมันสงบลง จะมีสายลมแสงแดด ระยิบระยับเหมือนสีรุ้ง ที่จะมาหลังฝนเสมอ ป็น “สีรุ้ง” ที่จะไม่ใช่แค่พาดผ่านท้องฟ้า แต่ “ทาบทา” ในใจคน… 

 

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Pride Month ได้ ที่นี่

Related Articles

gay, lgbtq, brokeback mountain, movie

Brokeback Mountain หุบเขาแห่งความปวดร้าว จุดเริ่มต้นความเท่าเทียมของ LGBTQ+

ผ่านมา 17 ปีแล้ว ที่โลกได้รู้จักกับภาพยนต์ LGBTQ+ ระดับตำนานอย่าง ‘Brokeback Mountain’ แม้นานแค่ไหนก็ยังครองตำแหน่งหนังที่นำเสนอประเด็นความหลากหลายทางเพศได้ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง ภาพยนต์ที่ได้พาเราไปพบกับเรื่องราวความรักของคาวบอยหนุ่ม 2 คน ที่ทั้งงดงามแต่ก็เจ็บปวดจนกลั้นน้ำตาไม่อยู่ นอกจากจะกวาดรางวัลไปมากมาย อีกความสำเร็จของ Brokeback Mountain คือการจุดประเด็นให้ผู้คนในสังคมหันมาเข้าใจและพูดถึงสิทธิของ LGBTQ+ มากขึ้น

คำชั้นสูง, Pride Month, Year Of Inclusion Live Equally, Sansiri, equally, ความเท่าเทียม, แสนสิริ เพศเดียวกัน, lgbtqi+, sansiri lgbtqi+

คำชั้น (ฉัน) สูง: คำนี้ยังจำเป็นอยู่ไหม ลองปรับ-เพื่อเปลี่ยน-ให้เท่าเทียม

“บิ๊ก A บินประชุมด่วน ถกต่างชาติเรื่องน้ำมันแพง” “ส่องคลังรถหรู ไฮโซ B นักธุรกิจพันล้าน” “ดารา C เตรียมสละโสด แต่งงาน ‘สาวหล่อ’ แฟนทอมนอกวงการ” อ่านเผินๆ ก็ดูเป็นประโยคที่ปกติดี แต่เคยรู้สึกเอ๊ะกันมั้ย ทำไมต้องใช้คำแบบนี้ด้วยนะ? เพราะคำเสริมที่คอยบอกยศบอกเพศเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติที่เรามักจะเห็นในข่าว

ปลดล็อกการกู้ร่วม จะเพศไหนก็มีบ้านได้ง่ายๆ ไร้การแบ่งแยก

บ้าน…ไม่เคยแบ่งแยกหรือเลือกเจ้าของ ไม่เคยลุกขึ้นมาเลือกว่าใคร จากที่ไหน หรือเพศอะไรจะมาครอบครอง แต่น่าแปลกที่การจะกู้ร่วมเพื่อให้สามารถซื้อบ้านได้นั้น ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคู่รักเพศเดียวกันสักเท่าไหร่ หลายคนทำงานหนักเพื่อจะมุ่งคว้าชีวิตในฝันที่ต้องการ และฝันที่ต้องการของบางคนนั้น ก็อาจเป็นการมีบ้านสักหลังให้กับตนเองและเริ่มต้นสร้างครอบครัวกับใครสักคน แต่แน่ล่ะ ถึงมันจะดูไม่ใช่เรื่องยากหรือเป็นแค่ฝันธรรมดาๆ ของหลายคน แต่สำหรับกลุ่ม LGBTQ+ หรือกลุ่มคนที่รักเพศเดียวกันนั้นกลับเป็นเรื่องยากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้ อย่างที่ทุกคนรู้ การกู้ร่วม เพื่อซื้อบ้านหรือคอนโด นั้นจะต้องเป็นคนที่เกี่ยวพันกันทางสายเลือดอย่างพ่อ