Zero Dropout
เด็กทุกคนต้องได้เรียน
เพื่อเด็กไทยหลุดการศึกษาเป็น "ศูนย์"

รู้หรือไม่…วิกฤติโควิดและความยากจน ทำให้เด็กใน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ถึง 3,592 คนเสี่ยงหลุดการศึกษาในปีการศึกษา 2565 นี้ และตัวเลขนี้จะทวีคูณสูงขึ้นอีก หากไม่มีใครช่วย

แสนสิริ และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จึงปักหมุด ‘สวนผึ้ง’ เป็นอำเภอนำร่องของโครงการ “Zero Dropout: เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ที่เราจะทำให้เด็กทุกคนได้เรียน 100% และหลุดจากการศึกษาเป็น “ศูนย์” ให้ได้

ระดมความร่วมมือพนักงานแสนสิริ-ลูกบ้าน บริจาคหนังสือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และทาสีอาคารเรียนเก่าZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

ความเสี่ยงที่เด็กจะหลุดจากระบบการศึกษานั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาครอบครัว ความยากจน ทุกอย่างคือ “ความไม่พร้อม” ทำให้เด็กเข้าไม่ถึงระบบการศึกษาที่ดี เราต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาในประเทศไทย โดยมีจังหวัดราชบุรี เป็นโมเดลต้นแบบ ยิ่งสถานการณ์โควิดระบาดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กเข้าถึงการศึกษาได้ยากขึ้น รูปแบบการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนไปเป็นแบบออนไลน์ เด็กที่จังหวัดราชบุรีหลายคนเป็นเด็กชาติพันธุ์ทำให้ยากต่อการเข้าใจภาษาไทยเข้าไปอีก หลายโรงเรียนมีวิธีแก้ด้วยการเปิดเสียงตามสายตามชุมชนให้เด็กได้ฟังเพื่อทำความคุ้นเคยกับภาษาไทยมากขึ้น

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราส่งมอบอุปกรณ์การศึกษา และ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ที่เราสามารถช่วยเหลือได้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้น้องๆได้เข้าถึงการศึกษาได้ง่ายขึ้น เราเลยจัดกิจกรรมในการรวบรวมหนังสือนิทาน หนังสือเสริมพัฒนาการที่น่าอ่านอีกหลายเล่มจากลูกบ้านและเพื่อนพนักงานกว่า 2,500 เล่ม แล็ปท็อป, คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การศึกษาต่างๆที่สภาพดีไปแบ่งปันให้กับเด็กที่จังหวัดราชบุรี พร้อมทั้งชวนเพื่อนพนักงานไปปรับปรุง ทาสี ห้องสมุด เพื่อเติมความสดใสและเพิ่มบรรยากาศที่ดีกับโรงเรียนมากขึ้น

ยังมีเด็กอีกหลายคนชอบวาดรูปแต่ไม่รู้จะนำไปต่อยอดอย่างไร ชอบเล่นกีฬาแต่จะควบคู่กับการเรียนไปด้วยต้องทำเช่นไร เราเลยชวนเพื่อนพนักงานสายงานต่างๆ เช่น สถาปนิก เทรนเนอร์ฟิตเนส ผู้จัดการหมู่บ้าน เข้าไปแนะแนวเปิดโลกเกี่ยวกับอาชีพให้เด็กที่จังหวัดราชบุรี ให้น้องได้มองเห็นทางเลือกในอนาคตของตัวเองกว้างมากขึ้น ให้เขาได้เลือกเรียนในสิ่งที่เขารัก นำสิ่งที่ตนเองถนัดไปต่อยอดเส้นทางอาชีพได้ในอนาคต เหมือนเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้น้องนำไปต่อยอดความฝัน

เราพยายามช่วยเหลือทุกอย่างให้ครอบคลุมเพื่อเป็นส่วนเสริมในการสร้างคุณภาพการศึกษาที่ดีและลดความเสี่ยงที่เด็กจะหลุดจากการศึกษา ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนต้องมาช่วยกันร่วมมือกันเพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยให้ดียิ่งขึ้น

หวังว่าเราจะได้เห็นเด็กหลุดจากระบบการศึกษาเป็น “ศูนย์” ได้ในไม่ช้า

CONTRIBUTOR

Related Articles

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

ZERO DROPOUT เพราะการศึกษาที่มีคุณภาพ คือสะพานสู่ความฝัน

ปัจจุบัน จังหวัดราชบุรีมีนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 127,266 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนยากจนพิเศษ อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาท ต่อคนต่อเดือน 3,258 คน คิดเป็น 2.56 % สาเหตุดังกล่าวทำให้ครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องในการไปโรงเรียนได้ จึงทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา คือมีเด็กที่หลุดระบบการศึกษาและเสี่ยงหลุดระบบการศึกษาเกิดขึ้น โจทย์ดังกล่าวทำให้แสนสิริ องค์กรในภาคเอกชนที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมเด็กและเยาวชน ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน-แสนสิริ-นักเรียนไทย-นักเรียน

สร้างโอกาสให้น้องเรียนรู้ “วิชาชีพ วิชาชีวิต” ใน Zero Dropout

หากคุณเป็นแฟนคลับ ที่ติดตามแสนสิริเป็นประจำเสมอ น่าจะยังคงจำกันได้ดีกับโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ภารกิจที่เรามุ่งมั่นให้เด็กไทยมีโอกาสได้เรียนและกลับคืนสู่ระบบการศึกษา โดยเริ่มต้นที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นโมเดล และจากที่เราได้ลงไปสัมผัสโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าว พบว่าในหลายโรงเรียนมีทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านอาชีพให้กับนักเรียนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพื้นที่นั้นเป็นส่วนที่ติดกับชายแดนเมียนมาร์ จึงเป็นเหตุให้มีเด็กชาติพันธุ์มากมาย ประกอบกับครอบครัวมีฐานะยากจน ส่งผลให้เด็กบางคนไม่สามารถเรียนจบในการศึกษาภาคบังคับได้ เพราะต้องช่วยพ่อแม่รับจ้างเพื่อหาเงินมายังชีพในครอบครัว หนึ่งในกิจกรรมย่อยที่ช่วยเติมเต็มในโครงการ

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

Giving Mission ภารกิจ ‘ให้’น้องยิ้มได้ กับ Zero Dropout

เพราะอาหารกลางวัน คือพลังสำคัญของนักเรียน จำความรู้สึกของวันที่งานยุ่งมากจนแทบไม่ได้ทานข้าวได้ไหม? ทั้งเหนื่อยทั้งหิวจนอดทนแทบไม่ไหว ความรู้สึกแบบนั้นคงไม่มีใครอยากพบเจอ แล้วรู้ไหมว่า เรื่องน่าเศร้าคือยังมีนักเรียนจำนวนมากที่ยากจนหรือด้อยโอกาสจนมักจะไม่ได้ทานทั้งอาหารเช้าและอาหารเที่ยง เพราะครอบครัวมีรายได้ไม่มากพอที่จะเตรียมอาหารเช้าทุกวันได้ ส่วนโรงเรียนก็ได้รับงบประมาณสำหรับค่าอาหารกลางวันที่ไม่พอเพียง หลายครั้งที่เด็กๆ ได้กินอาหารกลางวันในปริมาณเพียงเล็กน้อย ไม่อิ่มท้องทั้งยังได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือบางวันก็อาจจะไม่ได้ทานอาหารเลย โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยยังสามารถเป็นกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนไปด้วยในตัว สอนให้นักเรียนได้ทดลองลงมือทำจริงแบบครบวงจร เกิดประสบการณ์ทั้งเพาะปลูก ดูแลพืชผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ไข่