มิใช่ SoccerNomic หนังสือของ ไซม่อน คูเปอร์ หรือวรรณกรรมที่เคยโดนฟ้องอย่าง Harry Trotter ที่ดันไปพ้องขายของกับ Harry Potter ของรัสเซีย…
ทว่า นี่คือ เทรนด์ ไลฟ์สไตล์ ของแวดวงบันเทิงและกีฬาที่เกิดจากสถานการณ์ช่วงโควิด-19 เป็นศัพท์ทางการบ้าง ไม่ทางการบ้าง แต่ก็เกิดเป็นกระแสมากบ้าง น้อยมาก ที่คุยสนุกปาก
ผมเคยไปสอนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ มีนักศึกษาคนหนึ่งมาถามว่า การคิดคำมากมายเหล่านี้จากอดีตถึงปัจจุบัน ถือว่าทำร้ายและทำลายภาษาหรือไม่ ?
ผมหัวเราะก่อนจะตอบว่า ถ้าจะทำลาย มันคงฝังศพไปนานแล้ว เพราะการเล่นคำ (ที่ฝรั่งเรียกว่า play a punch) นั้น มีมาน่าจะ 40 เป็นอย่างต่ำ โดยผู้ก่อการตัวดีก็คือ สื่อแท็บลอย์ดของอังกฤษ ที่มักจะพาดหัวหน้าหนึ่ง ทุกๆ เช้าๆ โดยนิตยสาร Front ของ UK เคยเปิดเผยว่า มีครีเอทีฟด้านนี้เลย ที่ถูกจ้างเข้ามาเพื่อนั่งคิดคำเล่นข่าว
ตั้งแต่ช่วงเกิด โคโรนาไวรัส มาจนถึงตอนนี้ มีมากมายหลายคำที่น่าสนใจ และเป็นสื่อที่นำมาใช้กันสนุก ขอคัดกรองเอามานำเสนอสัก 10 คำ จากแวดวงการตลาด บันเทิงและกีฬา
1. Generation Pandemic
ไม่ว่า “พวกเรา” ทุกรุ่น จะถูก “แขวนป้าย” บนคอ ด้วยชื่อของอะไร Baby Boomer, Gen X, Gen Y หรือ Gen Z แต่นิตยสาร Time เล่มล่าสุด ลงรูปของคนสองคนนั่งอยู่บนโซฟา แล้วพาดหัวว่า Generation Pandemic
คำนี้ไม่ใช่เรียกเท่ๆ แล้วจบไปนะครับ แต่มันหมายถึง “คนยุคนี้” ต้องถูก shape ด้วยวิถีชีวิตแบบหนึ่ง ที่ต้องเหมือนกัน คือก่อนหน้านี้ gen y อาจจะบอกว่า “ฉันจะทำแบบนี้แบบนั้น” ไม่เหมือนกับรุ่น gen x แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้ว เราทุกคนต้องถูกหลอมด้วยโควิด
เหมือนที่ในอดีต คนรุ่น Baby Boomer ถูก shape ด้วยสงคราม หรือพวก Millennial ถูกหล่อแช่ไว้ด้วย Financial Crisis
2. ShirtsForHeroes
อุตสาหกรรมหนึ่งที่ถูกผลกระทบมากที่สุด ไม่แพ้ธุรกิจอื่นๆ ก็คือกีฬา เงินเป็นแสนๆ ล้าน หายไปทันทีเมื่อกีฬาต้องหยุดแข่ง อย่าลืมว่า sport ถูกรัดโอบด้วยสายป่านเม็ดเงินมหาศาล ตั้งแต่การถ่ายทอดสดไปจนตั๋วเข้าชม และอีกสารพัดที่อยู่ข้างหลัง (ขนาด โรนัลโด้ โปรตุเกสโพสครั้งเดียว ได้ 17 ล้านบาท) เมื่อเป็นแบบนี้ ช่องทางหนึ่งที่เป็นเทรนด์ช่วยเหลือ หาเงิน สามารถทำได้คือ เอาเสื้อ “นักกีฬา” มาสร้างประโยชน์
เสื้อนักเทนนิส เสื้อน้กบอล เสื้อนักวิ่ง เสื้อนักวอลเล่ย์บอล…
เราจึงเห็นทุกคนนำมาออกประมูล หรือที่สนุกกว่านั้น มีการนำมาออกแบบดีไซน์ใหม่ แล้วใส่คำว่า NHS เข้าไปในเนื้อผ้า ฉะนั้นคำว่า ShirtsForHeroes จึงฮิตมากตอนนี้
3. Campervan Holiday
สิ่งหนึ่งที่ถูก shape หล่อหลอม สร้างแบบเบ้า หลังจากการมาของโควิด ก็คือ กิจกรรมการเล่นกีฬา ฟิตเนสโดนเต็มๆ โยคะหมู่ก็ไม่รอด หรือกิจกรรมในยิมฯ ก็ถูกบล็อค …สิ่งที่จะมาแทนที่ ก็คือ กีฬากลางแจ้ง หรือไลฟ์สไตล์กลางแจ้ง
และนี่คือ โอกาสของเทรนด์ Campervan Holiday ที่ฝรั่งเริ่มมาพักใหญ่แล้ว การไม่อยู่ในตึกอาคาร หรือพื้นที่บล็อคคือทางเลือก เมื่อออกไปตั้งแคมปิ้ง สินค้าพวก camping equipment มากมาย ก็ต้องถูกผลิตขึ้นมาขายเป็นหมวดหมู่ยาวเหยียด… แม้แต่ เปลนอนเพื่อนอนเล่นมือถือ!
4. Cinemask
โรงหนังกลับมาเปิดบริการแล้ว แม้ว่าจะมึนๆ งงๆ อยู่ (แถมบางเครือ โดนสั่งปิดไป 3 วันเพราะคนไม่ social distancing) ผมไปโรงหนังมา 3 ครั้งในวีคแรก ทำตัวเป็น observer เดินไปทุกพื้นที่ แล้วก็สังเกตว่า บรรดา moviegoer ต้องมีหน้าตาเหมือนๆ กัน คือ สวมใส่หน้ากากผ้า
เลยขอคิดคำหนึ่งมาเล่น นั่นคือ Cinemask มาจาก Cinema + Mask
เหมือน Gym-goer เคยล้อ Moviegoer เมื่อปีที่แล้ว…
5. Travel Bubble
คำนี้เป็นคำใหม่ครับ ความหมายมันคือ การจับคู่ของธุรกิจอะไรก็ได้ ที่มีความปลอดภัย หรือมีระบบการเซฟตัวเองจากโควิด ที่สองผ่านแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสองประเทศ ให้นักท่องเที่ยวตัวเองเดินทางไปมาระหว่างสองพื้นที่นี้ด้วยกัน เพราะสองชาตินี้ ได้สร้างระบบในการป้องกันโควิดแล้วสอบผ่าน เป็นกิจกรรมท่องเที่ยว ที่มองพาร์ทเนอร์ ที่เหมือนตัวเอง แล้วดีลกัน…
6. Bull Market
ผมขอฟันธงว่า สิ้นปี 2020 นี้ หนังซีรี่ย์ (ที่มีโอกาสตัดต่อเป็นหนังลงโรง) จะกวาดรางวัลหลายสถาบันแบบนอนมา ปรกตินั้นหนังในกลุ่ม biopic ก็เป็นตัวกวาดรางวัลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะหนังบุคคลของการเมือง กีฬาหรืออาหาร …ยิ่งเมื่อเป็น ไมเคิล จอร์แดน ที่อยู่ในกระแสเก่ง ก็ไม่มีใครลืมซีรี่ย์ 10 ตอนอย่าง The Last Dance
การที่สินค้าของ จอร์แดน ขายดีตลอดเวลาทั้งที่เขารีไทร์ไปนานมากแล้ว ทำให้สื่อเอาคำในแวดวงหุ้นอย่าง Bull Market มาเล่น คำนี้มีสองนัยยะครับ
นัยยะแรก คำว่า Bull หมายถึงทีม Chicago Bull ที่ ไมเคิล จอร์แดนเล่นในอดีต ส่วนความหมายที่สองคือ bull market คือการตลาดที่ยอดขายพุ่งขึ้นตลอด
Bull คือกระทิง เวลาขวิด มันขวิดแบบ “ช้อนร่างเหยื่อขึ้น” เขาจึงเรียกว่า bull market
7. Worker Sharing
ต้องยกเครดิตต้นทางให้กับแบรนด์หนึ่งของจีน เพราะเขาทำให้คำว่า worker sharing เรื่องของเรื่องมาจาก ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ คนว่างงาน ก็ยังมีบริษัทที่ไม่มีงานให้พนักงานทำ แต่ไม่ไล่ออก ไม่จ่ายเงิน คือ เบรคพักเอาไว้
จึงเกิดภาวะ “พนักงานบริษัทว่างงาน” โดยมีสังกัดอยู่…
Worker Sharing คือการไป “เช่ายืม” มาทำงาน แล้วเอาไปคืน เช่น ผมไปเช่าพนักงานบริษัทเพื่อนมา 30 คน เป็นเวลา 3 เดือน จ่ายเงินเดือนให้ แล้วเอาไปคืนกลับ… โดยไม่ต้องจ้างประจำ
คำว่า worker sharing ไม่ใช่ gig economy เพราะคำหลังคือพวก freelance รับงานจากหลายแห่ง คือคบงานเยอะ เป็นกิ๊กกับบริษัทต่างๆนั่นเอง…
8. Petxercise
คำนี้เทรนด์นี้ สนุกและน่ารัก เข้าใจได้ง่ายๆ เพราะคนต้องอยู่บ้าน life at home & work from home สัตว์เลี้ยงหรือ pet ก็ต้องอยู่บ้าน มนุษย์จึงดึงเอาหมาแมว มาอยู่ในกิจกรรมตัวเอง พอตัวเองออกกำลังกาย ก็เอาพวกนางพวกนายมาเล่นด้วย จาก exercise กับ pet (สัตว์เลี้ยง)
ก็กลายเป็น Petxercise
9. TechnoMovie
คำนี้ผมสนุกคิดเอง โดยอ่านพ้องเสียงเป็น เทคโนโมวีย์ เพราะพ้องรูปในตัว คำนี้เกิดจากการที่โรงหนังต้องสั่งซื้อ นวัตกรรมต่างๆ เพื่อสแกนเชื้อฆ่าเชื้อ จนราวกับว่าเรากำลังเดินเข้าพื้นที่ฉายหนัง เพื่อผ่านด่านของเทคโนโลยี จนกว่า…มันจะหมดไปในอนาคต
10. ลืม Millennial จำ Parential
อย่างที่ทุกคนทราบ คำว่า Millennial คือการเรียกคนที่เกิดระหว่างปี 1980-2000 เป็นคนที่เกิดและเติบโตมากับยุคของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านมาสู่ยุค Digital ดูเหมือนว่า คนกลุ่มนี้จะเป็นฝ่าย control โลก เป็นพระเอกของหนัง
แต่แล้วเกมก็พลิก เพราะเจอ crisis ของเศรษฐกิจและหมดแรง ไร้พลัง…
คนที่มาแทนที่ millennial แถมหัวเราะดังกว่า เพราะมีเงินเก็บในแบงค์ ก็คือพวกอาม่าอากงของ millennial ที่อายุ 60-80 ปี คนรุ่นนี้เก่งจริง ผ่านความยากลำบากมามากกว่ามาก ผ่านโลกเห็นชีวิตมาเยอะ
เปรียบเหมือน”ต้นไม้ใหญ่” หรือ parential ไม่ตายง่ายแค่ลมแรง ฝนตก แบบ millennial เช่นนี้เอง การตลาดจึงบอกว่า ลืมยุค millennial จดจำ parential แทน !
ภาษาเป็นอะไรที่ดิ้นได้เสมอ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ภาษาจะถูกหยิบมาบิด ต่อเติมให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองได้อย่างแนบเนียน เป็นเหมือน memo บนบอร์ดที่คอยเตือนเราว่า ช่วงเวลานี้ เวลานั้น เคยเกิดอะไรขึ้นบ้าง