อัพเดตล่าสุด!
ซื้อบ้าน ปี 2566
ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

เก็บเงินมาได้สักพัก ถึงเวลาทำความฝัน “ซื้อบ้าน-คอนโด” ของตัวเองสักหลังให้เป็นความจริงสักที แต่ๆๆ ก่อนจะไปลุยคว้ามา ต้องมาเช็กความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เราต้องเตรียมการกันก่อน

วันนี้เรามาอัพเดทกันดีกว่า ในปี 2566 นี้ ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และที่สำคัญภาครัฐฯ มีมาตรการช่วยคนซื้ออสังหาริมทรัพย์อะไรหรือไม่อย่างไร พร้อมแล้วไปอัพเดทกันเลย!

ค่าจองและทำสัญญา

เป็นค่าใช้จ่ายก้อนแรกสำหรับวางมัดจำ ขึ้นอยู่แต่ละโครงการ ส่วนใหญ่บ้านจะแพงกว่าหลักหมื่นขึ้นไป ส่วนคอนโดมิเนียมจะเริ่มตั้งแต่หลักพัน จากนั้นในส่วนของค่าทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งราคาจะมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับโครงการกำหนด

ค่าเงินวางดาวน์

สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน ต้องเตรียมเงิน เผื่อวางเงินดาวน์ 10-20% สำหรับบ้านหลังที่ 2-3 ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท และบ้านราคาเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป หลังมาตรการผ่อนผัน LTV ตามนโยบาย ธปท. สิ้นสุด เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา แต่ใครที่ซื้อบ้านหลังแรก และหลังที่สองราคาไม่เกิน 3 ล้าน จะสามารถกู้ได้เต็ม 100% เลย

ค่าประเมินราคา

หากเป็นการขอสินเชื่อกับธนาคารเพื่อซื้อคอนโด จะมีค่าประเมินราคาห้องชุดที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคาร ซึ่งเฉลี่ยจะอยู่ที่หลักพันบาท และหากยื่นกู้ธนาคารหลาย ๆ แห่งพร้อมกัน ก็จะต้องเสียค่าประเมินหลายครั้งเช่นกัน

ค่าโอนกรรมสิทธิ์

ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ตามปกติแล้วมักจะเป็นการตกลงที่จะร่วมกันแบ่งจ่ายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการซื้อขายแต่ละครั้ง โดยค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ ตามอัตราปกติ จะคิดอยู่ที่อัตรา 2% ของราคาประเมิน ทั้งนี้มาตรการใหม่ปี 2566 รัฐบาลได้มีปรับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนฯ เป็น 1% ของราคาบ้าน

ค่าจดจำนอง

คิดเป็น 1% ของยอดเงินกู้ทั้งหมด และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ซื้อบ้านโดยการกู้ ซึ่งหากซื้อเงินสด ก็ไม่ต้องเสียค่าจดจำนองนั่นเอง สำหรับการซื้อบ้านใน ปี 2566 รัฐบาลมีมาตรการลดหย่อนให้เป็น 0.01%​ สำหรับบ้านไม่เกิน 3 ล้าน

ซื้อบ้านแล้วไงต่อ? หลังซื้อยิ่งสำคัญกว่า อ่านต่อบทความ ขั้นตอนและค่าธรรมเนียมโอนบ้าน โอนคอนโด เรื่องสำคัญที่ควรรู้

ค่าประกันสินเชื่อและวินาศภัย

ส่วนนี้จะช่วยครอบคลุมทุกความเสี่ยง หากกรณีผู้กู้เสียชีวิตไป จะได้มีเงินจากบริษัทประกันมาผ่อนชำระต่อแทน นอกจากนี้ยังมีประกันวินาศภัย ที่ครอบคลุมภัยที่อาจเกิดขึ้นกับบ้านได้ เพื่อให้หากเกิดเหตุธนาคารจะได้รับการเยียวยาจากบริษัทประกัน ค่าใช้จ่ายของประกันทั้ง 2 ชนิดเมื่อต้องซื้อบ้านหรือคอนโดจะแตกต่างไปตามสิทธิประโยชน์ที่เลือก

ค่าตกแต่งที่อยู่อาศัย

ซื้อบ้านสักหลังจะเข้าอยู่แต่ตัวแบบเปล่าๆ ก็กระไรอยู่! ซึ่งส่วนใหญ่ของคนที่ซื้อที่อยู่ มักมีค่าใช้จ่ายสำหรับการตกแต่ง ต่อเติม หรือเพิ่มเฟอร์นิเจอร์เข้าไปด้วยเสมอ ให้อยู่ได้อย่างสะดวกสบายในแบบที่ใจต้องการ ยังไงก็อย่าลืมเผื่อเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ด้วยนะ

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

สุดท้ายไม่ท้ายสุด กว่าจะได้บ้าน-ทาวน์โฮมสักหลัง คอนโดสักห้องยังต้องมีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดให้เราเซอร์ไพร์สและต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ค่าส่วนกลาง ค่ากองทุนส่วนกลางให้กับนิติฯ ค่าค่ามิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้าที่อาจจะมีค่าประกันรวมอยู่ด้วย หรือแม้กระทั่งค่าขนย้ายข้าวของ ที่แม้เราอาจจะสามารถขนได้เองบางส่วน ทว่าของขึ้นบ้านใหม่ทั้งที ของไม่ได้มีน้อยๆ แน่นอน ยังไงก็อาจจะต้องเตรียมเงินเผื่อเหลือไว้ดีกว่าขาดใช่ไหมล่ะ

Sansirihomefinancialplanner-ที่ปรึกษาแสนสิริ

สรุปแล้วการซื้อบ้านและคอนโด ก็ไม่ได้มีแต่เพียงค่าบ้าน-ทาวน์โฮม-คอนโดเท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วยนั่นเอง เพราะฉะนั้นก่อนจะพุ่งตัวไปคว้าที่อยู่ในฝันไว้ในครอบครอง ก็อย่าลืมศึกษาข้อมูลหรือปรึกษาทีมขายกันให้ดีก่อน

สำหรับลูกค้าแสนสิริ ไม่ต้องห่วงเรื่องเตรียมค่าใช้จ่ายหรือกู้ซื้อ! เพราะเรามีทีม Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาด้านการกู้ซื้อบ้านมืออาชีพคอยให้คำแนะนำลูกค้าแบบฟรีๆ สงสัยส่วนไหนก็โทร 1685 หรือหรือนัดหมายผ่านทางโครงการแสนสิริที่คุณสนใจได้เลย

 

– อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ Home Financial Planner จากแสนสิริ คลิก Sansiri.com/thai/home-financial-planner

Related Articles

ขายของออนไลน์ ก็กู้ซื้อบ้านได้ ง่ายนิดเดียว-ขายออนไลน์ซื้อบ้าน-กู้บ้าน-sansirihomefinancialplanner

ขายของออนไลน์ ก็กู้ซื้อบ้านได้ ง่ายนิดเดียว

ในยุคของ E-Commerce แบบนี้ ไม่ว่าหันไปทางไหน ใครๆ ก็ซื้อของออนไลน์กันทั้งนั้น จึงไม่แปลกเลยที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะกลายเป็นอาชีพยอดฮิต เพราะค่อนข้างมั่นคงและรายได้ดีไม่แพ้งานประจำเลย เผลอๆ ดีกว่าด้วยซ้ำ อะไรคือสาเหตุที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กู้ไม่ผ่าน? แต่ทั้งๆ ที่ยอดขายทะลุเป้าทุกเดือนแบบนี้ ทำไมพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนถึงยังกู้ไม่ผ่านในเวลาที่อยากมีบ้านกันล่ะ? สาเหตุหลักเลย คือหลายคนไม่ได้เก็บหลักฐานการใช้จ่ายของธุรกิจไว้ เช่น ใบสั่งซื้อ หรือบิลต่างๆ ทำให้พิสูจน์ไม่ได้ว่ารายได้มาจากการขายออนไลน์จริงหรือไม่

กู้ร่วม ทางออกของคนอยากมีบ้าน

เชื่อว่าทุกคนที่กำลังวางแผนซื้อบ้าน ต้องมีบ้านในฝันของตัวเองอยู่แล้ว… ปัญหาคือถ้าได้วงเงินกู้ไม่เพียงพอ หรือยื่นกู้ไม่ผ่านขึ้นมา บ้านหลังนั้นคงหลุดมือไปอย่างน่าเสียดาย แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกัน! เพราะปัญหานี้มีทางออก “การกู้ร่วม” นี่เอง คือทางออกที่จะทำให้บ้านในฝันเป็นของเราได้ง่ายขึ้น แล้วการกู้ร่วมต้องทำยังไง มีเทคนิคยังไงบ้าง Sansiri Blog มีคำตอบ กู้ร่วมคืออะไร? ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักการกู้ร่วมกันก่อน “การกู้ร่วม” คือการร่วมเซ็นสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน

Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาเรื่องการเงินจากแสนสิริ

Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาเรื่องการเงินจากแสนสิริ ช่วยคุณมีบ้านง่าย ได้ยังไงบ้าง?

“อยากมีบ้าน แต่กลัวเรื่องกู้…, จะกู้แต่ก็กลัวเรื่องเอกสารวุ่นวาย…, ไหนจะต้องติดต่อธนาคาร โอ้ยย ทำไมมีบ้านสักหลัง ต้องคิดอะไรเยอะแยะจัง” สารพัดหลายปัญหาหลายความกังวลของคนอยากมีบ้าน แสนสิริเข้าใจดีว่าการซื้อบ้านสักหลังนึงสำหรับบางคนถือเป็นเรื่องสำคัญในชีวิต หลายๆ คนอาจมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เราจึงมีบริการเพื่อสำหรับผู้ที่สนใจอยากเป็นเจ้าของโครงการจากแสนสิริ “Sansiri Home Financial Planner” บริการให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อคนอยากมีบ้าน ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากธนาคารชั้นนำมาเป็นที่ปรึกษา ทั้งการเตรียมเอกสาร