อัพเดตล่าสุด!
ซื้อบ้าน ปี 2567
ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

เก็บเงินมาได้สักพัก ถึงเวลาทำความฝัน “ซื้อบ้าน-คอนโด” ของตัวเองสักหลังให้เป็นความจริงสักที แต่ๆๆ ก่อนจะไปลุยคว้ามา ต้องมาเช็กความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เราต้องเตรียมการกันก่อน

วันนี้เรามาอัพเดทกันดีกว่า ในปี 2567 นี้ ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และที่สำคัญภาครัฐฯ มีมาตรการช่วยคนซื้ออสังหาริมทรัพย์อะไรหรือไม่อย่างไร พร้อมแล้วไปอัพเดทกันเลย!

ค่าจองและทำสัญญา

เป็นค่าใช้จ่ายก้อนแรกสำหรับวางมัดจำ ขึ้นอยู่แต่ละโครงการ ส่วนใหญ่บ้านจะแพงกว่าหลักหมื่นขึ้นไป ส่วนคอนโดมิเนียมจะเริ่มตั้งแต่หลักพัน จากนั้นในส่วนของค่าทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งราคาจะมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับโครงการกำหนด

ค่าเงินวางดาวน์

สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน ต้องเตรียมเงิน เผื่อวางเงินดาวน์ 10-20% สำหรับบ้านหลังที่ 2-3 ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท และบ้านราคาเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป หลังมาตรการผ่อนผัน LTV ตามนโยบาย ธปท. สิ้นสุด เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา แต่ใครที่ซื้อบ้านหลังแรก และหลังที่สองราคาไม่เกิน 3 ล้าน จะสามารถกู้ได้เต็ม 100% เลย

ค่าประเมินราคา

หากเป็นการขอสินเชื่อกับธนาคารเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยทุกประเภท ตัวอย่างเช่น คอนโด กฌจะมีค่าประเมินราคาห้องชุดที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคาร ซึ่งเฉลี่ยจะอยู่ที่หลักพันบาท และหากยื่นกู้ธนาคารหลาย ๆ แห่งพร้อมกัน ก็จะต้องเสียค่าประเมินหลายครั้งเช่นกัน

ค่าโอนกรรมสิทธิ์

ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ตามปกติแล้วมักจะเป็นการตกลงที่จะร่วมกันแบ่งจ่ายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการซื้อขายแต่ละครั้ง โดยค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ ตามอัตราปกติ จะคิดอยู่ที่อัตรา 2% ของราคาประเมิน ทั้งนี้มาตรการใหม่ปี 2567 รัฐบาลได้มีปรับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนฯ เป็น 1% ของราคาบ้าน

ค่าจดจำนอง

คิดเป็น 1% ของยอดเงินกู้ทั้งหมด และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ซื้อบ้านโดยการกู้ ซึ่งหากซื้อเงินสด ก็ไม่ต้องเสียค่าจดจำนองนั่นเอง สำหรับการซื้อบ้านใน ปี 2566 รัฐบาลมีมาตรการลดหย่อนให้เป็น 0.01%​ สำหรับบ้านไม่เกิน 3 ล้าน

ซื้อบ้านแล้วไงต่อ? หลังซื้อยิ่งสำคัญกว่า อ่านต่อบทความ ขั้นตอนและค่าธรรมเนียมโอนบ้าน โอนคอนโด เรื่องสำคัญที่ควรรู้

ค่าประกันสินเชื่อและวินาศภัย

ส่วนนี้จะช่วยครอบคลุมทุกความเสี่ยง หากกรณีผู้กู้เสียชีวิตไป จะได้มีเงินจากบริษัทประกันมาผ่อนชำระต่อแทน นอกจากนี้ยังมีประกันวินาศภัย ที่ครอบคลุมภัยที่อาจเกิดขึ้นกับบ้านได้ เพื่อให้หากเกิดเหตุธนาคารจะได้รับการเยียวยาจากบริษัทประกัน ค่าใช้จ่ายของประกันทั้ง 2 ชนิดเมื่อต้องซื้อบ้านหรือคอนโดจะแตกต่างไปตามสิทธิประโยชน์ที่เลือก

ค่าตกแต่งที่อยู่อาศัย

ซื้อบ้านสักหลังจะเข้าอยู่แต่ตัวแบบเปล่าๆ ก็กระไรอยู่! ซึ่งส่วนใหญ่ของคนที่ซื้อที่อยู่ มักมีค่าใช้จ่ายสำหรับการตกแต่ง ต่อเติม หรือเพิ่มเฟอร์นิเจอร์เข้าไปด้วยเสมอ ให้อยู่ได้อย่างสะดวกสบายในแบบที่ใจต้องการ ยังไงก็อย่าลืมเผื่อเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ด้วยนะ

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

สุดท้ายไม่ท้ายสุด กว่าจะได้บ้าน-ทาวน์โฮมสักหลัง คอนโดสักห้องยังต้องมีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดให้เราเซอร์ไพร์สและต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ค่าส่วนกลาง ค่ากองทุนส่วนกลางให้กับนิติฯ ค่าค่ามิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้าที่อาจจะมีค่าประกันรวมอยู่ด้วย หรือแม้กระทั่งค่าขนย้ายข้าวของ ที่แม้เราอาจจะสามารถขนได้เองบางส่วน ทว่าของขึ้นบ้านใหม่ทั้งที ของไม่ได้มีน้อยๆ แน่นอน ยังไงก็อาจจะต้องเตรียมเงินเผื่อเหลือไว้ดีกว่าขาดใช่ไหมล่ะ

Sansirihomefinancialplanner-ที่ปรึกษาแสนสิริ

สรุปแล้วการซื้อบ้านและคอนโด ก็ไม่ได้มีแต่เพียงค่าบ้าน-ทาวน์โฮม-คอนโดเท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วยนั่นเอง เพราะฉะนั้นก่อนจะพุ่งตัวไปคว้าที่อยู่ในฝันไว้ในครอบครอง ก็อย่าลืมศึกษาข้อมูลหรือปรึกษาทีมขายกันให้ดีก่อน

สำหรับลูกค้าแสนสิริ ไม่ต้องห่วงเรื่องเตรียมค่าใช้จ่ายหรือกู้ซื้อ! เพราะเรามีทีม Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาด้านการกู้ซื้อบ้านมืออาชีพคอยให้คำแนะนำลูกค้าแบบฟรีๆ สงสัยส่วนไหนก็โทร 1685 หรือหรือนัดหมายผ่านทางโครงการแสนสิริที่คุณสนใจได้เลย

 

– อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ Home Financial Planner จากแสนสิริ คลิก Sansiri.com/thai/home-financial-planner

Related Articles

มาตราการอสังหา 2567

วางแผนซื้อบ้านต้องรู้! มาตรการอสังหาฯ ปี 2567 ช่วยยังไงบ้าง?

สานฝันคนอยากมีบ้านกับมาตรการอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐ ปี 2567  ที่ออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง วันนี้ เราจะมาพูดถึงมาตรการที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังจะวางแผนซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าโอนและจดจำนองที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมจากการปลูกสร้างบ้าน (ล้านละหมื่น) หรือสินเชื่อบ้าน โดย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งรายละเอียดแต่ละมาตรการจะเป็นอย่างไร มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ เริ่มจาก “มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567”

วางแผนยื่นภาษี ฉบับคนมีคู่...สมรส

วางแผนยื่นภาษี ฉบับคนมีคู่…สมรส

สมัยก่อนอยู่ตัวคนเดียว ทำอะไรคนเดียว ยื่นภาษีก็ทำได้เพียงแบบเดียว แต่ครั้นพอแต่งงานแล้ว มีคนอีกคนเข้ามาเป็นคู่ชีวิต มาแชร์สิ่งต่างๆ ในทุกๆ วัน ซื้อบ้านหลังอบอุ่นด้วยกัน แม้แต่การยื่นภาษีก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วยเช่นกัน เดือนแห่งความรักเวียนมาถึงทั้งที แสนสิริเอาใจคนมีคู่(สมรส) ด้วยเรื่องราวที่คู่สมรสทุกคู่จะไม่รู้ไม่ได้! นั่นก็คือการยื่นภาษีในวันที่มีใครอีกคนหนึ่งก้าวเข้ามาเป็นอีกครึ่งชีวิตของคุณแล้วนั่นเอง ยิ่งในช่วงมกราคม – มีนาคมแบบนี้ ยังเป็นช่วงการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วยเช่นกัน ว่าแต่จะ “ยื่นแยกกัน”

credit card-credit score check

5 ขั้นตอน สร้าง “เครดิตดี” ให้กู้ซื้อบ้านง่าย ยังไงก็ผ่านฉลุย

เครดิตทางการเงินที่ดี ย่อมช่วยเพิ่มโอกาสในการกู้ซื้อบ้านให้เป็นไปอย่างราบรื่นและผ่านฉลุย แต่ถ้าใครกำลังกังวลกับเครดิตของตัวเองแล้วนั้น วางใจได้เลย เพราะเครดิต…สร้างได้! อยากซื้อบ้านสักหลังหรือซื้อคอนโดสักยูนิต นอกจากการเลือกบ้านหรือคอนโดที่ถูกใจและตอบโจทย์ชีวิตได้เป็นอย่างดีแล้ว เรื่องการกู้ซื้อบ้านก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน แต่การจะกู้ซื้อบ้านให้ง่ายอย่างใจหวังนั้น แน่นอนว่าผู้กู้ต้องมีเครดิตทางการเงินที่ดี หรือก็คือมีความน่าเชื่อทางการเงินมากพอสำหรับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เมื่อมีเครดิตทางการเงินที่ดีแล้ว การกู้สินเชื่อต่างๆ หรือแม้แต่การทำธุรกรรมทางการเงิน ก็มีแต่ราบรื่นและเป็นไปอย่างง่ายดาย แถมต้องเรียกว่ามีชัยไปกว่าครึ่งยิ่งกว่าคนทั่วไปหรือผู้ที่มีประวัติทางการเงินไม่ดี ส่วนวิธีการสร้างเครดิตทางการเงินที่ดีนั้น ก็ไม่ยุ่งยากวุ่นวายอย่างที่หลายคนกลัว แค่ลุย 5