ติดแบล็คลิสต์
ก็ซื้อบ้านได้ จริงเหรอ!?

เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า “ ติดแบล็คลิสต์ ” กันใช่ไหม?

เรามักจะเข้าใจว่าคนที่ ติดแบล็คลิสต์ หรือมีประวัติค้างชำระ หรือผิดชำระหนี้ จะกู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน ทำธุรกรรมอะไรก็ยากไปหมด… แต่จริงๆ แล้ว ยังมีทางออกเสมอ และ Sansiri Blog จะมาบอกวิธีเคลียร์ประวัติแบล็คลิสต์ และทำให้กลับมากู้ซื้อบ้านผ่านกัน

ทำความเข้าใจ เครดิตบูโร-แบล็คลิสต์

blacklist home loan-thinking-manthinking-ติดแบล็คลิสต์-ซื้อบ้าน-homeloan-sansirifinancialplanner-sansiriblog-blacklist

ก่อนอื่นเลย เรามาทำความเข้าใจกับเครดิตบูโร และแบล็คลิสต์ คำว่า “เครดิตบูโร” หมายถึง บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้บัตรเครดิต รวมถึงประวัติการชำระหนี้บัตรของเรานั่นเอง แต่เครดิตบูโรไม่ได้มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนแบล็คลิสต์ เพราะมีหน้าที่แค่รวบรวมประวัติทางการเงินและรายงานให้ธนาคารรู้เท่านั้น

ส่วนคำว่า “แบล็คลิสต์” จริงๆ แล้วเป็นเป็นแค่คำนิยามที่ใช้เรียกผู้ที่มีประวัติชำระหนี้ไม่ดีเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการจัดทำบัญชีรายชื่อลงในระบบเแต่อย่างใด

สาเหตุที่กู้สินเชื่อไม่ผ่าน

blacklist home loan-thinking-manthinking-ติดแบล็คลิสต์-ซื้อบ้าน-homeloan-sansirifinancialplanner-sansiriblog-blacklist

ดังนั้น จึงพูดได้ว่าเครดิตบูโรไม่ได้มีผล 100% ในการทำให้ใครติดแบล็คลิสต์ แต่สาเหตุที่เรากู้ไม่ผ่าน มีหลายอย่าง ลองมาดูสาเหตุหลักๆ กัน

1. นโยบายการปล่อยสินเชื่อของแต่ละที่ต่างกัน เช่น บางที่มองว่าถ้าปิดหนี้หมดแล้วก็กู้ได้เลยทันที แต่บางที่อาจอยากรอดูประวัติการเงินให้นานกว่านั้น
2. รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
3. ยังมีภาระหนี้อื่นๆ อยู่เยอะ ทำให้ธนาคารอาจจะมองว่าเราอาจชำระหนี้กู้ซื้อบ้านเพิ่มอีกไม่ไหว
4. ข้อมูลในเครดิตบูโรไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารที่ขอกู้ เช่น มีการชำระไม่ครบ หรือไม่ตรงเวลานั่นเอง
5. เมื่อดูประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาแล้ว ธนาคารเห็นว่ามีโอกาสผิดชำระหนี้สูง

สรุปแล้ว ถ้ายังประวัติไม่ดีอยู่ ธนาคารก็จะอนุมัติสินเชื่อได้ยาก เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะมองว่าความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้นั้นอยู่ในระดับต่ำ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารที่อาจจะไม่เหมือนกัน

เทคนิคเคลียร์แบล็คลิสต์

มนุษย์เงินเดือน, Work-Life Balance

แล้วต้องทำยังไงถึงจะหลุดจากการเป็นแบล็คลิสต์ได้นะ? เราสามารถเคลียร์ประวัติการเงินให้กลับมาดูดีอีกครั้งได้ ตามขั้นตอนนี้!

ขั้นแรก จัดลำดับความสำคัญของหนี้แต่ละประเภท โดยดูที่อัตราดอกเบี้ยเป็นหลักเลย หรือจัดสรรหนี้ทั้งหมดให้เป็นก้อนเดียว ก็จะลดดอกเบี้ยได้ ขั้นต่อมาให้ติดต่อธนาคาร เพื่อเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้ อาจจะขอลดอัตราดอกเบี้ย หรือขยายระยะเวลาในการชำระ เพื่อลดภาระต่อเดือนลง

เมื่อคุยกับธนาคารแล้ว ขั้นต่อไปก็เริ่มต้นสร้างประวัติสินเชื่อใหม่ให้สวยงามได้ ด้วยการชำระหนี้ให้ตรงเวลาและครบจำนวน สุดท้าย ปิดหนี้ที่เหลืออยู่ให้หมด แล้วพยายามรักษาประวัติให้ขาวสะอาดแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เท่านี้ ก็จะทำให้เรากู้ซื้อบ้านผ่านได้ง่ายขึ้น

และหลังจากปิดหนี้ทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายควรสร้างวินัยในการใช้บัตรเครดิตมากขึ้น และลดการสร้างหนี้ที่ไม่จำเป็น จะได้ไม่ต้องเจอปัญหาแบล็คลิสต์อีกในอนาคต

เช็กประวัติอีกครั้งหลังเคลียร์แบล็คลิสต์

blacklist home loan-thinking-manthinking-ติดแบล็คลิสต์-ซื้อบ้าน-homeloan-sansirifinancialplanner-sansiriblog-blacklist

หลังจากเคลียร์ประวัติแบล็คลิสต์แล้ว อย่าลืมเช็กเครดิตบูโรของตัวเองอีกครั้ง โดยเช็กกับทางธนาคารโดยตรงได้เลย ช่องทางการเช็กของแต่ละธนาคารรวมถึงข้อมูลที่น่าสนใจ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเครดิตบูโร  www.ncb.co.th/faq จากนั้นนำหลักฐานมาใช้ยืนยันในการยื่นกู้ซื้อบ้านครั้งต่อไป

โดยปกติ ข้อมูลเครดิตบูโรจะถูกบันทึกและส่งมอบให้ธนาคารย้อนหลัง 3 ปี ดังนั้น ควรเคลียร์ประวัติให้สวยงามก่อนอย่างน้อย 3 ปีก่อนยื่นกู้จะดีที่สุด แต่ทั้งนี้การพิจารณาก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคารด้วยเช่นกัน

เงินเดือนไม่ถึงสองหมื่น ก็กู้ซื้อบ้านได้! ผ่านง่ายกว่าที่คิด sansiri home financial planner

นอกจากเรื่อง ติดแบล็คลิสต์ แล้ว หากมีข้อกังวลอื่นๆ เรื่องการเงินหรือการกู้ซื้อบ้าน สามารถมาปรึกษา Sansiri Home Financial Planner จากแสนสิริได้ บริการนี้จะให้คำแนะนำคุณในเรื่องการเงิน และการกู้ซื้อบ้านและคอนโดทุกขั้นตอน ช่วยให้การกู้ซื้อง่ายกว่าที่คิด

อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะช่วยให้หลายคนสบายใจขึ้นเรื่องการติดแบล็คลิสต์ และคงได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการเตรียมกู้ซื้อบ้านกันไปด้วย Sansiri Blog ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนสร้างประวัติการเงินที่ดีไปด้วยกัน

CONTRIBUTOR

Related Articles

มาตราการอสังหา 2567

วางแผนซื้อบ้านต้องรู้! มาตรการอสังหาฯ ปี 2567 ช่วยยังไงบ้าง?

สานฝันคนอยากมีบ้านกับมาตรการอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐ ปี 2567  ที่ออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง วันนี้ เราจะมาพูดถึงมาตรการที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังจะวางแผนซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าโอนและจดจำนองที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมจากการปลูกสร้างบ้าน (ล้านละหมื่น) หรือสินเชื่อบ้าน โดย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งรายละเอียดแต่ละมาตรการจะเป็นอย่างไร มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ เริ่มจาก “มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567”

ค่าใช้จ่ายซื้อบ้าน 2566

อัพเดตล่าสุด! ซื้อบ้าน ปี 2567 ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

เก็บเงินมาได้สักพัก ถึงเวลาทำความฝัน “ซื้อบ้าน-คอนโด” ของตัวเองสักหลังให้เป็นความจริงสักที แต่ๆๆ ก่อนจะไปลุยคว้ามา ต้องมาเช็กความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เราต้องเตรียมการกันก่อน วันนี้เรามาอัพเดทกันดีกว่า ในปี 2567 นี้ ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และที่สำคัญภาครัฐฯ มีมาตรการช่วยคนซื้ออสังหาริมทรัพย์อะไรหรือไม่อย่างไร พร้อมแล้วไปอัพเดทกันเลย! ค่าจองและทำสัญญา เป็นค่าใช้จ่ายก้อนแรกสำหรับวางมัดจำ ขึ้นอยู่แต่ละโครงการ ส่วนใหญ่บ้านจะแพงกว่าหลักหมื่นขึ้นไป

วางแผนยื่นภาษี ฉบับคนมีคู่...สมรส

วางแผนยื่นภาษี ฉบับคนมีคู่…สมรส

สมัยก่อนอยู่ตัวคนเดียว ทำอะไรคนเดียว ยื่นภาษีก็ทำได้เพียงแบบเดียว แต่ครั้นพอแต่งงานแล้ว มีคนอีกคนเข้ามาเป็นคู่ชีวิต มาแชร์สิ่งต่างๆ ในทุกๆ วัน ซื้อบ้านหลังอบอุ่นด้วยกัน แม้แต่การยื่นภาษีก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วยเช่นกัน เดือนแห่งความรักเวียนมาถึงทั้งที แสนสิริเอาใจคนมีคู่(สมรส) ด้วยเรื่องราวที่คู่สมรสทุกคู่จะไม่รู้ไม่ได้! นั่นก็คือการยื่นภาษีในวันที่มีใครอีกคนหนึ่งก้าวเข้ามาเป็นอีกครึ่งชีวิตของคุณแล้วนั่นเอง ยิ่งในช่วงมกราคม – มีนาคมแบบนี้ ยังเป็นช่วงการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วยเช่นกัน ว่าแต่จะ “ยื่นแยกกัน”