รู้จัก Burnout Syndromes
ภาวะหมดไฟ หมดใจในการทำงาน

จากงานที่เรารัก งานที่เราชอบ อยู่ๆ กลับรู้สึกเบื่อกับงานที่ทำอยู่ และไม่อยากทำขึ้นมาซะงั้น

ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า นี่ฉันเป็นอะไร? จนอาจจะคิดว่า เป็นโรคซึมเศร้ารึเปล่านะ? เพราะบางอาการอาจมีความคล้ายคลึงกัน คำตอบคือไม่ใช่ แต่อาการเหล่านี้เรียกว่า Burnout syndromes หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งกรมอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การรับรองว่าเป็นโรคทางการแพทย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019  ซึ่งจัดอยูในกลุ่ม ICD (International Classification of Diseases) โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่กดดันมากเกินไป

Burnout syndromes เกิดขึ้นจากอะไร

Burnout syndromes เกิดขึ้นจากความรู้สึกเหนื่อยล้าทางจิตใจ ที่สะสมต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเครียดและความกดดันในการทำงาน หากไม่ได้รับการระบายหรือการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง จะทำให้เกิดความรู้สึก เหนื่อยล้า หมดเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หดหู่ หมดหวัง ท้อแท้ หงุดหงิด โมโหง่าย รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า ฯลฯ หากไม่ได้รับการเยียวยาทางจิตใจ อาจจะทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับและโรคซึมเศร้าตามมาในที่สุด

5 ระยะของอาการภาวะหมดไฟ

ระยะฮันนีมูน (the honeymoon) เป็นช่วงมีไฟในการทำงาน มีความตั้งใจ พร้อมทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อความสำเร็จของตัวเองและองค์กร

ระยะรู้สึกตัว (the awakening) เมื่อทำงานผ่านไปสักระยะ เกิดความรู้สึกว่าความคาดหวังไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ค่าตอบแทนไม่ได้ดั่งที่หวัง งานเยอะเกินไป ฯลฯ

ระยะไฟตก (brownout) มีความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากไปทำงาน ไม่อยากเจอผู้คน บางคนอาจจะติดแอลกอฮอล์หรือใช้จ่ายเกินจำเป็น

ระยะหมดไฟเต็มที่ (full scale of burnout) เมื่อรู้สึกหมดไฟอย่างเต็มที่จะไม่อยากทำงาน อยากลาออจากงาน รู้สึกสิ้นหวังและหมดความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งอาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้

ระยะฟื้นตัว (the phoenix phenomenon) หากได้รับการผ่อนคลายหรือบำบัดรักษาจัดสมดุลชีวิต หรือได้งานที่อยากทำ จะทำให้กลับมามีไฟในการทำงานอีกครั้ง

 เช็กหน่อยสิ เราอยู่ในภาวะหมดไฟรึเปล่านะ

  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายหมดพลังในการทำงาน
  • นอนไม่หลับหรือหลับยาก
  • ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ไม่อยากทำงาน
  • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • มีอาการปวดหัว คลื่นใส้ ม้วนท้อง ในระหว่างการทำงาน
  • อารมณ์แปรปรวน
  • ไม่ดูแลตัวเอง
  • แยกตัวออกจากผู้อื่น

7 วิธี ปลุกพลังใจ เติมไฟในการทำงาน

หาความสุขให้กับตัวเอง ให้เวลาพักผ่อนกับตัวเอง หาเวลาทำสิ่งที่ชอบ ออกไปเที่ยว ไปรับประทานอาหารอร่อยๆ เล่นเกม ดูทีวี ฯลฯ เพื่อให้ผ่อนคลายจากความเครียด

พูดคุยกับคนที่ไว้ใจหรือปรึกษาจิตแพทย์ ควรระบายความในใจให้คนอื่นฟัง อย่าเก็บไว้คนเดียว หากไม่มีใครที่รับฟังเราได้ ให้ลองปรึกษาจิตแพทย์ เพราะการพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว

ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี ให้กลับมาสดใสแข็งแรง ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้ครบ 8 แก้ว ดูแลผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ถ้าตัวเองสวย หล่อจะทำให้กลับมาสดใสได้ค่ะ

สร้าง work life balance ให้กับตัวเอง สร้างสมดุลชีวิตให้กับตัวเอง จัดสรรเวลาชีวิต ไม่เอางานกลับไปทำที่บ้าน หาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นทำให้สามารถเยียวยาจิตใจได้

ไม่กดดันตัวเองในการทำงาน เพราะการกดดันจะทำให้คิดงานไม่ออกและงานขาดประสิทธิภาพ จึงควรทำใจให้สบายหรือลองฝึกนั่งสมาธิก่อนนอนอาจจะทำให้มีสมาธิมากขึ้น

เล่นกีฬา ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่งทำให้ใจกลับมาฟู ลดอาการเหนื่อยล้ากลับมารู้สึกสดชื่นและมีชีวิตชีวาเหมือนเดิม

ลดการเล่นสื่อโซเชียล ลดการใช้อินเทอร์เน็ต ลดการไถฟีด หรือลองทำ Social Detox เพราะการดูชีวิตคนอื่นมากเกินไป อาจจะทำให้บั่นทอนจิตใจตัวเอง คิดมาก และเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับคนอื่น การไม่เห็นอาจจะทำให้เราสบายใจขึ้นก็ได้นะ

หากวันไหนคุณรู้สึกหมดไฟ ขอให้คุณเยียวยาจิตใจให้หายดี เราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้คุณ

อ้างอิง :

https://www.medparkhospital.com/en-US/lifestyles/burnout-syndrome

https://www.chulaguide.com/burnout-syndrome/ 

Royal Thai Air Force Medical Gazette Vol. 66 No. 2 May – August 2020

https://www.forbes.com/sites/learnvest/2013/04/01/10-signs-youre-burning-out-and-what-to-do-about-it/?sh=6b455e00625b

https://www.medparkhospital.com/lifestyles/burnout-syndrome 

https://www.dek-d.com/studyabroad/51560/ 

Related Articles

The worth something in my life

“This is Worth Something in My Life” คุณค่าของสิ่งที่ทุกคนมีอยู่ในชีวิต

“อย่าเสียใจในสิ่งที่เราไม่มีหรือสูญเสียไป แต่จงมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามีอยู่ในชีวิต” ชีวิตเราก็เปรียบเหมือนหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ทำให้เราเรียนรู้ไปทีละหน้าตั้งแต่วันแรกที่เราเกิดมาจนวันสุดท้ายของชีวิต ชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน ต้นทุนในชีวิตของคนเราก็ไม่เหมือนกัน ในการใช้ชีวิตในแต่ละวันเราเห็นชีวิตของผู้คนมากมาย บางคนอาจจะคิดว่าเราทำไมถึงไม่มีแบบคนอื่นเขาหรือไม่เป็นอย่างคนอื่นเขา เช่น ทำไมถึงไม่รวย ทำไมถึงไม่ประสบความสำเร็จ ฯลฯ จงหลงลืมไปว่าเรามีอะไรในชีวิตที่ดีอยู่แล้วบ้าง บางทีอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อยที่คุณมองข้ามไปก็ได้ค่ะ  วันนี้ Mental Life by Chanisara อยากชวนทุกคนมาย้อนกลับไปมองคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่

The end to the start

“From the End to the Start” เพราะบางทีจุดสิ้นสุด คือ โอกาสของการเริ่มต้นใหม่ 

เมื่อเหตุการณ์บางอย่างเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด อาจไม่ใช่เรื่องที่แย่เสมอไป เพราะอาจเป็น “โอกาสในการเริ่มต้นสิ่งใหม่” ที่ดีกว่า  ในชีวิตนี้เราเชื่อว่าทุกคนต้องเคยเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดของบางเหตุการณ์ เช่น เหตุการณ์ที่ต้องลาจากใครสักคน ไม่ว่าจะเป็น การเลิกรา การต้องจากกันไปอยู่คนละที่ การจบการศึกษา หรือเหตุการณ์อะไรก็ตามที่เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดและบางครั้งเราอาจจะรู้สึกเสียใจ เสียความรู้สึก หรือใจหาย แต่ก็เป็นเรื่องที่มนุษย์อย่างเราต้องประสบพบเจอด้วยกันทั้งสิ้น  ทุกคนรู้หรือไม่ว่าบางครั้งจุดสิ้นสุด อาจจะไม่ใช่สิ่งที่แย่หรือสิ่งที่ไม่ดีเสมอไป แม้ในช่วงแรกเราอาจเสียใจ เจ็บปวด

Pet Humanization

Pet Humanization ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงเลี้ยงสัตว์แทนลูก

“เพราะสัตว์เลี้ยงไม่ใช่แค่สัตว์เลี้ยง แต่เป็นอีกหนึ่งสมาชิกในครอบครัว ที่เราพร้อมเลี้ยงดูด้วยความรัก” ทุกคนเลี้ยงสัตว์กันบ้างไหมเอ่ย แล้วทำไมถึงเลี้ยงล่ะ? หลายคนอาจจะมีเหตุผลที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะอยู่คนเดียวเลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อน เลี้ยงไว้คลายเหงา บางคนอาจจะเลี้ยงเพราะน้องน่ารักทำให้มีความสุข บางคนอาจจะเลี้ยงน้องไว้เฝ้าบ้านเพื่อความปลอดภัย บางคนอาจจะเลี้ยงน้องไว้เพื่อเยียวยาจิตใจ หรือบางคนอาจจะเลี้ยงเพราะไม่อยากมีลูก แต่ไม่ว่าจะเลี้ยงเขาเพื่ออะไรก็แล้วแต่ เราเชื่อว่าสัตว์ที่เราเลี้ยงส่วนใหญ่จะมีความรักความผูกพันให้เราเสมอค่ะ ในปัจจุบันผู้คนหันมาเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะน้องหมา น้องแมวเพิ่มมากขึ้น คนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยงสัตว์ ให้เหมือนสัตว์เลี้ยงเป็นอีกหนึ่งสมาชิกในครอบครัว หรือที่เรียกกันว่า