เลือก ซื้อคอนโด ให้ดีต่อใจ
ฐานเงินเดือนบอกคุณได้

เมื่อเริ่มมีเก็บเงินได้สักก้อน ทุกคนก็ต่างล้วนมีความฝันที่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ซึ่งคอนโดมิเนียมก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มนุษย์เงินเดือนสมัยนี้ให้ความสนใจ เนื่องด้วยความสะดวกในการเดินทาง ทำให้ในปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นมากมายตลอดแนวรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการและรวมไปถึงสายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากสไตล์ความชอบส่วนตัวแล้ว เรายังสามารถใช้ฐานเงินเดือนเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดฯ ได้ โดยที่เราสามารถใช้พิจารณาเพื่อยื่นขอกู้สินเชื่อจากธนาคารและช่วยให้ภาระการผ่อนไม่เกินตัว

 

การปล่อยสินเชื่อหรือวงเงินกู้เพื่อซื้อที่พักอาศัยนั้นจะขึ้นอยู่กับฐานเงินเดือนของแต่ละคน ระยะเวลาการทำงาน รายได้เสริม และยอดหนี้สินที่แต่ละคนมีนั่นเอง โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดคำถามว่าวงเงินที่จะกู้ธนาคารจะสามารถกู้ได้เท่าไหร่ โดยพื้นฐานแล้วก็จะอยู่ที่ประมาณ 50 เท่าของเงินเดือนหรืออาจจะมากกว่า 50 เท่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับความมั่นคงในหน้าที่การงานความมีวินัยในการชำระหนี้สิน หรือประวัติทางการเงินของคุณนั่นเอง

มาดูเรื่องสัดส่วนและความสามารถของการผ่อนชำระหนี้ของแต่ละคนนั้นไม่ควรที่จะเกิน  40% ของเงินเดือน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทางธนาคารจะประเมินว่าภาระหนี้สินประมาณ  40% ของเงินเดือน จะเป็นระดับของการผ่อนได้สบายๆ ตามฐานเงินเดือนในแต่ละช่วง ดังตารางต่อไปนี้

อ้างอิงระดับฐานเงินเดือนจาก Jobsdb Thailand

กู้ได้เท่าไหร่ แล้วแบบไหนที่เหมาะกับเรา

เพื่อที่จะอธิบายความสามารถในการยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารตามรายได้ของโครงสร้างในแต่ละฐานเงินเดือนนั้น จะสามารถแบ่งได้เป็น  4 ระดับ ดังนี้

  1. First jobber: ระดับพนักงาน พนักงานใหม่หรือเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานทั่วไป เงินเดือนตั้งแต่ 15,000-30,000 บาท
  2. Senior: ระดับหัวหน้างาน หัวหน้าแผนก หรือพนักงานที่ทำงานมานาน เงินเดือนจะอยู่ที่ 30,000-70,000 บาท
  3. Management: ระดับผู้จัดการ ทำหน้าที่บริหารแผนกต่างๆ และวางแผนงาน เงินเดือนจะอยู่ที่ 70,000-100,000 บาท
  4. Top level: ระดับผู้บริหารองค์กร ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง และวางนโยบายต่างๆ ขององค์กร เงินเดือนจะอยู่ที่ 100,000 บาทขึ้นไป
อ้างอิงการให้วงเงินสินเชื่อจากธนาคารอาคารสงเคราะห์
  • ระดับพนักงาน (First Jobber) : เงินเดือน 15,000-30,000 จะสามารถกู้ได้ 750,000-1,500,000 บาท โดยประมาณ ซึ่งคอนโดที่อยู่ในเรทนี้มักจะเป็นคอนโดมิเนียมแบบโลว์ไรส์ที่อยู่บริเวณแถวชานเมืองที่ตั้งอยู่ภายในซอยต่างๆ ซึ่งจะไม่อยู่ติดถนนใหญ่ เรทราคาเฉลี่ยไม่ควรเกิน 50,000 –65,000 บาท/ตารางเมตร
  • ระดับหัวหน้างาน (Senior) : เงินเดือน 30,000-70,000 จะสามารถกู้ได้ 1,500,000 – 3,000,000 บาท โดยประมาณ ซึ่งจะเหมาะกับคอนโดมิเนียมแบบไฮไรส์ เป็นคอนโดแนวสูงวิวสวย อยู่ติดถนนใหญ่ ใกล้หรือติดแนวรถไฟฟ้ารอบๆ เมือง หรือบางคนต้องการความเป็นส่วนตัวขึ้นมาหน่อย ใจกลางเมืองขึ้นมาอีกนิด ก็เลือกเป็นคอนโดแบบโลว์ไรส์ ที่เน้นความหรูหราในย่านใจกลางเมือง มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เรทราคาเฉลี่ยไม่ควรเกิน 100,000 – 120,000 บาท/ตารางเมตร
  • ระดับผู้จัดการ (Management): เงินเดือน 70,000-100,000 จะสามารถกู้ได้  3,500,000 – 10,000,000 บาท โดยประมาณ ซึ่งฐานเงินเดือนระดับนี้ทางธนาคารจะมองว่าเป็นลูกค้าชั้นดี ทำให้สามารถกู้ได้ยอดที่สูง ซึ่งเหมาะกับคอนโดมิเนียมแบบไฮไรส์ ระดับลักชูรี่ ที่เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกระดับไฮเอนด์  มักจะมีทำเลอยู่ติดสถานีรถไฟฟ้าใจกลางเมือง เรทราคาเฉลี่ยไม่ควรเกิน 150,000 – 230,000 บาท/ตารางเมตร
  • ระดับผู้บริหารองค์กร(Top level) : เงินเดือน 100,000 บาทขึ้นไป จะสามารถกู้ได้ 10,000,000 บาท ขึ้นไปโดยประมาณ ซึ่งฐานเงินเดือนระดับนี้ ส่วนใหญ่ก็จะเหมาะกับ คอนโดมิเนียมแบบไฮไรส์ ระดับลักชูรี่ จนไปถึงซูปเปอร์ลักชูรี่ และสามารถเลือกเป็นห้องเพนท์เฮาส์ เน้นวิว เน้นพื้นที่ใช้สอย มีหลายห้อง อยู่ได้ทั้งครอบครัว เรทราคาเฉลี่ยก็ตั้งแต่  230,000 บาท/ตารางเมตร ขึ้นไป

อย่างไรก็ตามการเลือกซื้อคอนโดแต่ละช่วงราคานั้นขึ้นอยู่กับ ความชอบ จึงสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความชอบส่วนตัวของแต่ละบุคคล และวัตถุประสงค์การซื้อ ซึ่งในระดับของผู้จัดการหรือผู้บริหารที่มีฐานเงินเดือนสูงๆ อาจจะมาซื้อโครงการในระดับล่างๆ เพื่อการปล่อยเช่า หรือซื้อในระดับกลางๆ เพื่อเป็นการจัดพอร์ทสำหรับนักลงทุนก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ

ธนาคารส่วนใหญ่มักจะอนุมัติสินเชื่อให้ไม่เกิน 90% ของราคาขายหรือราคาประเมิน โดยจะเลือกราคาที่ต่ำกว่า ยกเว้นคอนโดมิเนียมบางโครงการที่เป็นของบริษัทผู้พัฒนาใหญ่ที่มีผลประกอบการดี เครดิตดี ธนาคารอาจพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเงินกู้ให้ถึง 100%

 

ส่วนใครที่ต้องการกู้เงินเพิ่มเพื่อนำมาใช้ในการตกแต่งห้องนั้นก็ขึ้นอยู่กับธนาคารว่าจะให้เรากู้หรือไม่ แต่ราคาดอกเบี้ยก็จะต่างจากราคาของดอกเบี้ยบ้าน ซึ่งต้องดูเงื่อนไขของแต่ละธนาคารกันอีกครั้งว่าจะได้เป็นสินเชื่อแบบไหนและกู้ได้กี่% แต่โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะไม่เกิน10% และระยะเวลาในการผ่อนก็จะสั้นกว่าสินเชื่อบ้านนั่นเอง ติดตามวิธีการกู้เงินเพิ่มเพื่อนำมาตกแต่งห้องได้ในบทความต่อไป

 

สำหรับใครที่มีความสนใจเรื่องที่อยู่อาศัยและการลงทุนอสังหาฯ

สามารถติดตามบทความจากพลัส พร็อพเพอร์ตี้ ได้ที่ คลิก

 

Related Articles

มาตราการอสังหา 2567

วางแผนซื้อบ้านต้องรู้! มาตรการอสังหาฯ ปี 2567 ช่วยยังไงบ้าง?

สานฝันคนอยากมีบ้านกับมาตรการอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐ ปี 2567  ที่ออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง วันนี้ เราจะมาพูดถึงมาตรการที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังจะวางแผนซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าโอนและจดจำนองที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมจากการปลูกสร้างบ้าน (ล้านละหมื่น) หรือสินเชื่อบ้าน โดย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งรายละเอียดแต่ละมาตรการจะเป็นอย่างไร มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ เริ่มจาก “มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567”

ค่าใช้จ่ายซื้อบ้าน 2566

อัพเดตล่าสุด! ซื้อบ้าน ปี 2567 ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

เก็บเงินมาได้สักพัก ถึงเวลาทำความฝัน “ซื้อบ้าน-คอนโด” ของตัวเองสักหลังให้เป็นความจริงสักที แต่ๆๆ ก่อนจะไปลุยคว้ามา ต้องมาเช็กความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เราต้องเตรียมการกันก่อน วันนี้เรามาอัพเดทกันดีกว่า ในปี 2567 นี้ ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และที่สำคัญภาครัฐฯ มีมาตรการช่วยคนซื้ออสังหาริมทรัพย์อะไรหรือไม่อย่างไร พร้อมแล้วไปอัพเดทกันเลย! ค่าจองและทำสัญญา เป็นค่าใช้จ่ายก้อนแรกสำหรับวางมัดจำ ขึ้นอยู่แต่ละโครงการ ส่วนใหญ่บ้านจะแพงกว่าหลักหมื่นขึ้นไป

วางแผนยื่นภาษี ฉบับคนมีคู่...สมรส

วางแผนยื่นภาษี ฉบับคนมีคู่…สมรส

สมัยก่อนอยู่ตัวคนเดียว ทำอะไรคนเดียว ยื่นภาษีก็ทำได้เพียงแบบเดียว แต่ครั้นพอแต่งงานแล้ว มีคนอีกคนเข้ามาเป็นคู่ชีวิต มาแชร์สิ่งต่างๆ ในทุกๆ วัน ซื้อบ้านหลังอบอุ่นด้วยกัน แม้แต่การยื่นภาษีก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วยเช่นกัน เดือนแห่งความรักเวียนมาถึงทั้งที แสนสิริเอาใจคนมีคู่(สมรส) ด้วยเรื่องราวที่คู่สมรสทุกคู่จะไม่รู้ไม่ได้! นั่นก็คือการยื่นภาษีในวันที่มีใครอีกคนหนึ่งก้าวเข้ามาเป็นอีกครึ่งชีวิตของคุณแล้วนั่นเอง ยิ่งในช่วงมกราคม – มีนาคมแบบนี้ ยังเป็นช่วงการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วยเช่นกัน ว่าแต่จะ “ยื่นแยกกัน”