ทำความรู้จัก “ซาร่า” : ชื่อนี้มีแต่คนอารมณ์ดี!

ถ้าลองนึกดูว่าในชีวิต เรารู้จักคนชื่อ “ซาร่า” ทั้งหมดกี่คน แล้ว “ซาร่า” แต่ละคนนั้น มีคาแรกเตอร์เป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น

“ซาร่า AF”

“ซาร่า ผุงประเสริฐ”

“ซาร่า เล็กจ์”

ไล่ไปจนถึง “ซาร่า มิเชล เกลลาร์”

สิ่งหนึ่งที่ทุก “ซาร่า” มีเหมือนกันคือ ภาพลักษณ์ของความร่าเริง สนุกสนาน  ไปจนถึงตลกโปกฮา ไม่มีแววของความเกรี้ยวกราดแฝงอยู่เลย (ยกเว้นให้ ซาร่า มิเชล เกลลาร์ ในเรื่อง Buffy Vampire Slayer แล้วก็ Cruel Intentions ไว้นิดนึงละกัน) 

ไม่ว่าจะเป็นความบังเอิญหรือเป็นยีนส์เด่นของคนชื่อ “ซาร่า” หรืออะไรก็แล้วแต่ “ซาร่า คอริเน็น (Sarah Corynen)” นักออกแบบลายกราฟฟิคชาวเบลเยี่ยม ก็มีบุคลิกของความ “เอิ๊กอ๊าก” อยู่ในตัว จนทำให้บรรดาสาวกหรือคนที่มาเที่ยวงาน Sansiri Presents The Alphabet of Joy by Sarah Corynen Hosted by Sansiri Club Collection บริเวณธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ต่างหลงเสน่ห์ศิลปินผมสั้นคนนี้

ซึ่งเพราะความเป็นกันเอง ไม่ถือตัวของซาร่านี่เอง ที่ทำให้แสนสิริ บล็อก อยากทำความรู้จักเธอขึ้นอีกนิด ผ่านบทสัมภาษณ์สุด Exclusive ที่จะเผยที่มาของ “งานอารมณ์ดี” ของเธอ

Sarah Corynen Sansiri Club Collection

บรรยากาศของ Art festival หรือ Art scene ในไทย แตกต่างจากที่เบลเยี่ยมหรือที่ยุโรปอย่างไรบ้าง?

ฉันยังไม่ได้เห็นส่วนที่ดีที่สุดของ Art festival ในกรุงเทพฯ ครั้งนี้นะ แต่ดูเหมือนว่างานที่นี่มีความเป็น ‘experimental’ กล้าคิด กล้าลองมากกว่าที่เบลเยี่ยม ในขณะเดียวกันก็มีงานศิลปะที่ ‘ซุกซ่อน’ อยู่ตามตรอกซอกซอย กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมของกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี เหมือนกับการ ‘พรางตัว’ ยังไงยังงั้นเลยล่ะ

Sarah Corynen Sansiri Club Collection

งานของคุณดูเป็นอะไรที่ optimistic มาก คุณคิดว่าได้รับอิทธิพลเหล่านี้มาจากอะไร?

จริงๆ แล้วฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน ฉันว่าฉันก็แค่เป็นคนมองโลกในแง่ดี…ส่วนใหญ่น่ะนะ

เคยคิดมั้ยว่าผลงานของคุณจะถูกนำมาจัดแสดงบนเรือ กลางแม่น้ำสายหลักของประเทศไทยอย่างแม่น้ำเจ้าพระยาแบบนี้?

ไม่เลย ไม่เคยคิดมาก่อนเลยจริงๆ ว่าผลงานของฉันจะได้แสดงในสถานที่ที่สุดพิเศษขนาดนี้! ฉันมาเที่ยวประเทศไทยบ่อยๆ แล้วก็เป็นแฟนตัวยงของทั้งประเทศนี้ คนที่นี่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพฯ เพราะอย่างนั้น การที่ได้นำงานมาแสดงที่นี่เป็นอะไรที่วิเศษมากเลยจริงๆ! ฉันรู้สึกเป็นเกียรติมาก!

จากบรรดา 4 แบรนด์คอนโดของแสนสิริ (The Line, XT, HAUS และ The BASE) คุณคิดว่าแบรนด์ใดใกล้เคียงตัวตนของคุณมากที่สุด?

ทั้ง 4 แบรนด์ล้วนมีส่วนที่คล้ายกับตัวตนฉันอยู่นะ อย่างเช่นที่ XT เอกมัย ฉันชอบความรู้สึกไฮเทคของมัน แต่ฉันก็รักความเงียบสงบเรียบง่ายแบบธรรมชาติๆ ของญี่ปุ่นที่ oka HAUS แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ฉันชอบแนวทางการออกแบบแบบ futuristic ของทั้ง 4 แบรนด์เลย

จากจุดเริ่มต้น การร่วมงานกับแสนสิริดูจะไม่ได้ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ แต่ตอนนี้มีแบรนด์ต่างๆ เข้าร่วม มีการทำ installation ต่างๆ ตาม sales gallery และจะมี special collection ต่างๆ มากมายอีกในอนาคต นับเป็นครั้งแรกของแสนสิริเช่นกันที่ร่วมมือกับศิลปินในสเกลใหญ่แบบนี้ คุณรู้สึกอย่างไร?

ฉันคิดว่าแสนสิริทำได้ดีมากเลยล่ะ ทีมงานของแสนสิริมีความรู้ดีมากในเรื่องการทำงานให้ออกมามีคุณภาพ และพวกเขาเองก็ให้เกียรติในตัวศิลปินมากๆ เลยล่ะ! สเกลของงานนี้ที่ออกมาก็ยิ่งน่าเหลือเชื่อสุดๆ พวกเพื่อนของฉันในเบลเยี่ยมพอได้เห็นรูปก็ชอบผลลัพธ์ที่ออกมามาก ดังนั้นฉันก็เชื่อว่าคนไทยเองก็จะต้องชอบงานนี้เหมือนกัน

 

Sarah Corynen Sansiri Club Collection

Sarah Corynen Sansiri Club Collection

สำหรับผู้ชมงานทั่วไป ที่อาจจะผ่านมาชื่นชมผลงานโดยยังไม่เคยทราบ background เกี่ยวกับงานของคุณ คุณมีอะไรสั้นๆ ที่อยากบอกกับเค้าถึงที่มาหรือ inspiration ของคุณไหม?

แรงบันดาลใจหลักสำหรับงานของฉันก็มาจากชีวิตประจำวัน สัตว์น้อยใหญ่ต่างๆ ธรรมชาติ และความฝันที่ฉันมี เช่น การออกไปเที่ยวในวันหยุด ก็อาจให้แรงบันดาลใจกับฉันได้นะ แม้แต่ตอนก่อนที่กำลังจะออกไปเที่ยว ฉันก็จะวาดรูปออกมาว่าวันหยุดของฉันจะเป็นอย่างไร ฉันพยายามทำให้แรงบันดาลใจนั้นเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แล้วก็มีอารมณ์ขันอยู่เสมอ

ที่ผ่านมาคุณเคยร่วมงานกับแบรนด์แฟชั่นชั้นนำ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกหรือเปล่าที่คุณร่วมงานกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรที่ท้าทายบ้าง?

นี่นับเป็นครั้งแรกจริงๆ ที่ฉันได้รับเชิญให้มาร่วมงานกับธุรกิจอสังหาฯ! ฉันไม่เคยคิดว่าผลงานของฉันจะมาบรรจบกับเส้นทางนี้ แต่คุณก็เห็นแล้ว อะไรก็เกิดขึ้นได้ ถ้าเราไม่ปิดกั้นตัวเอง

Sarah Corynen Sansiri Club Collection Sarah Corynen Sansiri Club Collection

 

คนไทยมักมี perception ว่าศิลปินที่โด่งดังมักจะต้องเข้าถึงยากทั้งต่อตัวผลงานและตัวศิลปิน (แต่ดูเหมือนจะไม่ใช่ในกรณีของคุณ) คุณมีความคิดเห็นต่อ assumption นี้อย่างไร?

นั่นอาจจะเป็นเฉพาะกับศิลปินที่มีชื่อเสียงบางคนเท่านั้น แต่ก็ดูเหมือนว่าที่เบลเยี่ยมและยุโรปจะคิดแบบนี้เหมือนกัน…ฉันว่าศิลปินบางคนแค่เข้าถึงยาก  แต่ก็มีศิลปินอีกมากมายที่ฉันรู้จัก ที่ทั้ง friendly แล้วก็เป็นคนที่น่ารักมากๆ เลย

Sansiri Presents The Alphabet of Joy by Sarah Corynen Hosted by Sansiri Club Collection

แสนสิริ บล็อก ขอชวนคุณไปพิสูจน์ความเป็นกันเองแบบสุดๆ ของซาร่า คอริเน็น ที่งาน Sansiri Presents The Alphabet of Joy by Sarah Corynen Hosted by Sansiri Club Collection ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Bangkok Design Week 2019 ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2562 เท่านั้น ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Event Page : Sansiri Presents The Alphabet of Joy by Sarah Corynen Hosted by Sansiri Club Collection

#SansiriDesign  #SansirixSarahCorynen #SansiriClubCollection
#bkkdw2019 #BangkokDesignweek2019 #TCDC

Related Articles

BELLOW! อย่าง สีเหลือง ... อยู่ตรงไหนในบ้านได้บ้าง

BELLOW! อย่าง สีเหลือง … อยู่ตรงไหนในบ้านได้บ้าง

อย่าง “สีเหลือง” เบลโล่วว!  พร้อมแจกความสดใสไปทั่วเมืองกับเหล่าวายร้ายจอมป่วน “MINION” ที่กลับมาสร้างสีสันความสนุกอีกครั้ง ทำให้ปิ๊ง! ไอเดียและได้แงบันดาลใจจากสีเหลือ เหล่านี้ ถ้านำมาแต่งบ้าน จะนำไปแมตช์ตรงไหนให้ดูสนุกและสดใสได้บ้างนะ มาดูกันเลย สีเหลืองเป็นสีสันแห่งความสุข ความสดใส สร้างความคิดสร้างสรรค์ และเติมแรงบันดาลใจ หากเลือกโทนสีที่ใช่และเลือกใช้ให้ลงตัว เช่น การไล่เฉดสีเข้ม-อ่อน และจัดสรรสัดส่วนให้พอเหมาะ

THE ERAS OF AESTHETIC DESIGN

THE ERAS OF AESTHETIC DESIGN 40 ปีแห่งการดีไซน์ เล่าผ่านยุคสมัยอันรุ่งเรืองทางศิลปะ

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัย “ศิลปะ” ก็ยังคงเป็นสิ่งสร้างความจรรโลงใจ เพลิดเพลิน รื่นรมย์ และผ่อนคลายให้กับมนุษย์ จากความวิจิตรงดงามในด้านต่างๆ ทั้ง สถาปัตยกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม จิตรกรรม รวมไปถึงคีตศิลป์ต่างๆ ทั้งหมดทั้งมวลได้รับการรังสรรค์และร้อยเรียงกันด้วย “การดีไซน์” ให้ลงตัว บทบาทของความผู้ด้านดีไซน์ของ แสนสิริ เองนั้นก็เองก็เริ่มจากความเชื่อ…เชื่อในความเป็นไปได้ใหม่ๆ พร้อมสานต่อยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปะให้คงอยู่ไปจนถึงอนาคต

Behind The Design EP3

Behind The Design EP.3: เพราะบ้านคือพื้นที่ของทุกคน? การดีไซน์ ⇆ ความเท่าเทียม

ในการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันเราอาจจะเจอกับหลายเหตุการณ์ที่ยากลำบากไม่ว่าจะเป็นการเดินทางที่แสนยากลำบาก เจอรถติด คนบนรถไฟฟ้าเยอะ เจอแอ่งน้ำตามทางเท้าใวัฝนตก แต่หากเปรียบเทียบกลุ่มคนพิการที่ต้องใช้วีลแชร์ หรือผู้สูงอายุที่เดินเหินได้ไม่คล่องตัวแล้ว ปัญหาที่พวกเขาต้องพบเจอนั้นอาจจะใหญ่กว่าคนทั่วไป  การเข้าใจในการออกแบบที่จะตอบโจทย์ผู้คนทุกกลุ่มหรือที่เรียกว่า “Universal Design” จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากการร่วมมือของทุกคนทุกกลุ่ม โดยต้องปรับเปลี่ยนปัจจัยภายนอกให้เกิดความเหมาะสม แต่สิ่งที่น่าจะตอบโจทย์ทุกคนน่าจะต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้น  นั่นก็คือ “บ้าน” วันนี้ Behind The Design อยากชวนทุกคนลองมองในมุมของคนพิการทางการเคลื่อนไหวและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบพื้นที่