Healthy Weight
น้ำหนักที่สมดุล
กุญแจสำคัญของสุขภาพดี

หากพูดถึงความอ้วนหลายคนอาจจะนึกถึงเรื่องรูปลักษณ์ ความสวย ความหล่อภายนอก แต่ความอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป จนกลายเป็น “โรคอ้วน” ในที่สุดและเป็นปัจจัยที่นำไปสู่โรคอื่นๆ ตามมามากมาย การรับประทานอาหารจึงเป็นกุญแจสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของเรา 

ในปี 2022 ทุกคนรู้ไหมว่า 1 ใน 8 ของประชากรทั่วโลกมีภาวะโรคอ้วน นั่นเท่ากับว่าในปัจจุบันประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคอ้วน (ข้อมูลนี้ถูกเผยแพร่ในปี  2024) การดูแลน้ำหนักตัวจึงไม่ใช่เพียงเรื่องของรูปร่างที่สวยงามหรือตัวเลขบนตาชั่งเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการที่เรามีสุขภาพที่ดีจากภายในสู่ภายนอกซึ่งจะส่งผลถึงการมีความสุขในการใช้ชีวิตอีกด้วยค่ะ

การมีสุขภาพที่ดีไม่ใช่การที่เรามีรูปร่างที่ผอมเพรียว แต่หมายถึงการที่เรามีร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี และน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับสัดส่วนของแต่ละบุคคลนะคะ

วันนี้ วันที่ 4 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคนอ้วนโลก (World Obesity Day) Mental Life by Chanisara อยากจะชวนทุกคนมาย้อนคิดถึงเรื่อง การมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมเป็นกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพดี รวมถึงมาค้นหาคำตอบกันว่าทำไมการลดน้ำหนักอย่างการอดอาหารไม่ได้ทำให้เราผอมได้ในระยะยาวกันค่ะ

Healthy Weight

เมื่อ “ความอ้วน” ไม่ใช่เรื่องของภาพลักษณ์ แต่เป็นเรื่องสุขภาพและอายุขัย

การลดความอ้วนไม่ใช่แค่เรื่องของภาพลักษณ์แต่เป็นเรื่องของสุขภาพ เพราะการที่เราอ้วนจะทำให้ร่างกายของเราไม่แข็งแรงซึ่งทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ข้อเข่าเสื่อม มะเร็งบางชนิด ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ 

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดโรคอ้วน ย่อมเกิดความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคต่างๆ  ตามมาและที่สำคัญไปกว่านั้น คนที่เป็นโรคอ้วนยังเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งโดยสถิติแล้ว คนที่เป็นโรคอ้วนจะมีอายุสั้นลงเมื่อเทียบกับคนที่มีน้ำหนักที่เหมาะสมถึง 10 ปี และทุกคนรู้ไหมว่าโรคอ้วนเป็นโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นอันดับ 5 ของโลกเลยทีเดียว เหตุผลที่กล่าวมาจึงสะท้อนให้เห็นว่า การที่เรามีน้ำหนักตัวมากเกินไป ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอายุขัยของเราเป็นอย่างมากค่ะ การมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมจึงเป็นกุญแจสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามค่ะ 

 น้ำหนักเท่าไร…ถึงเข้าสู่โรคอ้วน

เราจะรู้ได้ไงนะว่าตอนนี้เราเป็นโรคอ้วนรึยัง? แล้วน้ำหนักเท่าไรถึงเป็นโรคอ้วน หรือที่หลายคนเรียกว่า“ภาวะน้ำหนักเกิน” การที่จะบอกว่า คนคนหนึ่งอ้วนหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวแต่ขึ้นอยู่กับดัชนีมวลร่างกาย หรือ ที่เรียกว่า BMI  ซึ่งค่าเกณฑ์ BMI มีดังนี้

น้ำหนักปกติ: BMI 18.5 – 22.9 kg/m² 

น้ำหนักเกิน: BMI 23 – 24.9 kg/m²

ภาวะอ้วน: BMI 25 kg/m² ขึ้นไป

การลดอาหารไม่ได้ทำให้ผอมในระยะยาว

ทุกคนรู้หรือไม่การอดอาหารไม่ได้ทำให้ผอม มีงานวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาและค้นพบว่าการคุมอาหารอย่างเข้มงวด อาจจะทำให้คนที่ลดน้ำหนักกินอาหารมากเกินไป ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวที่มากขึ้น ซึ่งบางคนอาจจะเกิดโรคผิดปกติทางการกิน งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Eating Disorders 

รวมถึงมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นระบุว่า การลดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักจะทำได้ในระยะสั้น แต่จะไม่เห็นผลในระยะยาว อาจจะเห็นผลแค่ช่วงปีแรกเท่านั้นค่ะ

ไขมันไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิด “โรคอ้วน”

ทุกคนรู้หรือไม่ว่า สาเหตุของการเกิดโรคอ้วน ไม่ได้เกิดจากไขมันส่วนเกินของร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกี่ยวข้องกับ

การเพิ่มของมวลกล้ามเนื้อ การเพิ่มขึ้นของมวลกล้ามเนื้อ อาจจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่บางคนอาจไม่ได้มีไขมันส่วนเกิน โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต

การที่ระบบเผาผลาญทำงานประสิทธิภาพลดลง ยิ่งเราเติบโตขึ้นเรื่อยๆประสิทธิภาพของระบบเผาผลาญจะทำงานลดลงตามอายุ ทำให้อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการเกิดโรคอ้วนนั่นเองค่ะ หรือทุกคนเคยสงสัยไหมว่า ทำไมบางคนทานอาหารเยอะมากแต่ไม่อ้วน อาจเป็นเพราะระบบเผาผลาญในร่างกายของคนคนนั้นอาจจะทำงานได้ดีก็ได้ค่ะ

การกระจายไขมันในร่างกาย ส่งผลต่อความอ้วนของเรา หากไขมันกระจายไปอยู่บริเวณช่องท้องจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานประสิทธิภาพแย่ลง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด  ในขณะที่หาก ไขมันถูกสะสมบริเวณใต้ผิวหนังจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ได้มากกว่า  เนื่องจากไขมันที่ถูกสะสมใต้ผิวหนังจะไม่สามารถสะสมอยู่รอบๆ อวัยวะได้ รวมถึงไขมันที่ถูกสะสม บริเวณใต้ผิวหนังไม่สามารถปล่อยสารกระตุ้นการอักเสบได้ นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการที่ไขมันกระจายไปสะสมบริเวณใต้ผิวหนังดีกว่าการที่ไขมันสะสมอยู่บริเวณช่องท้องนั่นเอง 

Lifestyle การใช้ชีวิต ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอ้วน เช่น พฤติกรรมการกินของเรา สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสาเหตุบางประการที่ทำให้เกิดโรคอ้วนนอกจากการสะสมไขมันนั่นเองค่ะ

การมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม เป็นกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพดี การรักษาน้ำหนักให้สมดุลกับร่างกาย จึงไม่ใช่เพียงตัวเลขบตาชั่ง แต่เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับของการมีสุขภาพดีและมีชีวิตที่ยั่งยืนนั่นเองค่ะ


Source

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30097511/ 

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33480098/ 

https://www.scientificamerican.com/article/why-diets-don-t-work-and-what-does/ 

https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/body-image-and-diets 

https://bcofa.com/how-obesity-shortens-life-expectancy/

https://www.worldobesity.org/about/about-obesity/prevalence-of-obesity

Related Articles

lose friend

เพื่อน” ที่จริงใจ คือ ของขวัญล้ำค่าที่ควรมีอยู่ในชีวิต

เมื่อเราเติบโตขึ้น “เพื่อน” อาจจะหล่นหายไปบ้าง แต่ “เพื่อน” ที่จริงใจและคอยเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เรา คือ ของขวัญล้ำค่าที่ควรมีอยู่ในชีวิต  เมื่อเราเติบโตขึ้นเพื่อนเราจะน้อยลง ทุกคนว่าจริงไหมคะ? ในชีวิตคนเราอาจจะต้องพบเจอคนมากมาย ในจุดเริ่มต้นของการมีเพื่อน คนในครอบครัวเป็นคนเลือกสังคมให้เรา เช่น การเลือกสังคมโรงเรียน หรือการพาเราไปเล่นกับลูกเพื่อน และหากใครมาเล่นกับเรา เราก็จะนับว่าเขาคือ “เพื่อน” ทำให้ตอนเด็กๆ

the power of love

“พลังของความรัก” จะทำให้เราจับมือกันก้าวผ่านทุกอุปสรรค และเปลี่ยนแปลงชีวิตไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้

“พลังของความรัก” จะทำให้เราจับมือกันก้าวผ่านทุกอุปสรรค และเปลี่ยนแปลงชีวิตไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ ทุกคนเชื่อในพลังแห่งความรักไหมคะ ความรักสามารถเปลี่ยนแปลงใครคนหนึ่งให้เป็นคนที่ดีขึ้นได้ แต่ความรักไม่ได้มีเวทมนตร์พิเศษอะไรหรอกค่ะ เพียงแค่ความรักเป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ที่ทำให้ใครบางคน อยากเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีกว่าเดิมเพื่อใครอีก คน ทำให้รู้สึกว่าตัวเองคู่ควรกับความรัก ความสัมพันธ์นั้น นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมความรักถึงทรงพลัง ความรักยังมีพลังทำให้มนุษย์เราสามารถจับมือก้าวผ่านทุกอุปสรรคที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นจากกลไกลทางจิตวิทยา การสนับสนุนของคู่รัก และวัฒนธรรมในบริบทของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นคู่รักชายหญิง หรือคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ  หากย้อนกลับไปในสมัยอดีต ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความรักของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศนั้น

Presenteeism

ฟังเสียงร่างกายด้วยหัวใจ รู้จักกับภาวะ Presenteeism ฝืนทำงานทั้งที่ร่างกาย-จิตใจไม่ไหว

ใครเคยเป็นบ้างคะ ฝืนทำงานทั้งที่สภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจไม่ไหว เพราะไม่อยากลาหยุด แต่การฝืนทำงานทั้งที่ยังป่วยอาจทำให้เราป่วยเพิ่มมากขึ้นและอาจจะทำให้เราทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยในประเทศไทยมีคนมากกว่า 50% ยังไปทำงานทั้งที่ยังคงเผชิญอาการป่วยทางร่างกายไม่เพียงเท่านั้นยังพบว่า ผู้คนประมาณ 27.5% ยังคนฝืนทำงานทั้งที่มีปัญหาสุขภาพใจ นอกจากนี้มีการสำรวจพบว่ายังมีบางคนฝืนทำงานมากกว่า 5 ครั้งทั้งที่ป่วยภายใน 1 ปี อีกด้วยค่ะ  ทำไมหลายคนถึงทำเช่นนั้นอาจเป็นเพราะ อาจจะมองว่าเป็นภาระหน้าที่ที่เราต้องทำ งานนั้นไม่มีใครทำแทนเราได้ มีงานด่วน