“สินเชื่อบ้าน” มีค่ามากกว่าที่คุณรู้ !

“บ้าน” เป็นทรัพย์สินที่มีค่า กว่าจะได้มาต้องแลกด้วยน้ำพักน้ำแรง  แต่บ้านนี่แหละ คือผู้ช่วยชั้นดีที่อยู่ข้างกายคุณเสมอ เมื่อถึงยามยาก บ้านที่เราลงทุนมาด้วยกายและใจจะเปลี่ยนเป็น “เงินก้อน” ช่วยคุณแบ่งเบาภาระทางการเงินได้เป็นอย่างดี โดยที่คุณยังมีบ้านไว้อยู่อาศัย ไม่ต้องขายบ้านให้ใครเพื่อนำเงินมาใช้ แน่นอนว่าสิ่งที่เรากำลังพูดถึงอยู่นั้น คือสินเชื่อรูปแบบหนึ่งที่หลายคนคงพอคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว “สินเชื่อบ้านคือเงิน หรือบ้านแลกเงิน” นั่นเอง


บ้านจะเปลี่ยนเป็นเงินได้อย่างไร?

สินเชื่อประเภทนี้ เป็นการนำบ้านหรือที่ดินที่ปลอดภาระหนี้สินมาเป็นหลักประกันไว้กับธนาคาร โดยธนาคารจะประเมินราคาของบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันการขอสินเชื่อ โดยจะอนุมัติวงเงินสินเชื่อสูงสุดให้ได้เท่าไหร่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับราคาประเมินบ้าน รายได้ของผู้กู้ และความสามารถในการชำระหนี้ เป็นต้น สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อได้นั้นได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม คอนโด ตึกแถว อาคารชุด หรือแม้แต่ที่ดินว่างเปล่าก็ใช้ยื่นขอได้เช่นกัน

ทีเด็ดสินเชื่อบ้านเปลี่ยนเป็นเงิน…อยู่ตรงนี้

ได้ยินคำว่า “หนี้” หลายคนก็เบือนหน้าหนีแล้ว แต่ “สินเชื่อบ้านคือเงิน หรือสินเชื่อที่นำบ้านมาแลกเงิน” เป็นการสร้างหนี้ที่ต่างออกไป และมีจุดเด่นที่หลายๆ คนถูกใจ ได้แก่

  • วงเงินสูง ระยะเวลาผ่อนยาว : สินเชื่อประเภทอื่นอาจมีเงื่อนไขที่ไม่สามารถมอบข้อเสนอวงเงินกู้ได้สูงเท่ากับสินเชื่อประเภทนี้ ซึ่งวงเงินกู้สูงได้ถึงหลักสิบล้าน ขึ้นอยู่กับราคาประเมินของหลักประกัน ซึ่งทางธนาคารมีสิทธิ์อนุมัติวงเงินให้สูงสุดถึง 95% ของราคาประเมินเลยทีเดียว อีกทั้งผู้กู้ยังสามารถวางแผนผ่อนระยะยาวได้สบายๆ
  • อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อรูปแบบอื่นๆ : เราสามารถนำเงินก้อนนี้มาต่อยอดเพื่อสร้างผลประโยชน์ที่มีมูลค่ามากกว่าดอกเบี้ยจากการกู้ยืมได้ หรือหากนำเงินก้อนนี้มาปิดหนี้ก้อนเดิมจากที่อื่นที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า เช่น หนี้นอกระบบ หรือหนี้บัตรเครดิต ก็เป็นอีกทางเลือกที่เรียกว่า “สมเหตุสมผล” กับการเป็นหนี้ เพราะช่วยให้เราลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่ต้องเสียไปได้เป็นอย่างดี
  • เพิ่มผู้กู้ร่วมได้ : เพิ่มผู้กู้ได้ ก็เพิ่มวงเงินได้ โดยนำรายได้ของผู้กู้ร่วมมาพิจารณาด้วย ต่างจากสินเชื่อบุคคลที่เป็นการกู้เพียงคนเดียว
  • เงินก้อนนี้นำมาทำอะไรก็ได้ : คุณมีอิสระในการบริหารจัดการเงินได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะนำมาซ่อมแซม ต่อเติมบ้าน, ปลดภาระหนี้สินก้อนเดิมที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ, เป็นเงินก้อนสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน, ใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่ในเรื่องการศึกษา หรือแม้กระทั่งสานฝันทำธุรกิจ

สินเชื่อแบบนี้…เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่มีบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ผ่อนหมดแล้ว หรือที่เรียกกันว่าปลอดภาระหนี้สิน
  • ต้องการกู้สินเชื่อวงเงินสูง ผ่อนเดือนละไม่มาก แต่ผ่อนนานๆ สบายๆ
  • ต้องการประหยัดดอกเบี้ยที่ต้องเสีย โดยเลือกขอสินเชื่อบ้านคือเงิน (บ้านแลกเงิน) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ มาชำระหนี้ก้อนอื่นๆ ที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า
  • มีการวางแผนล่วงหน้ามาแล้วว่าจะต้องใช้เงินก้อนนี้ เนื่องจากขั้นตอนการพิจารณาอาจต้องใช้เวลามากกว่าสินเชื่อบุคคลทั่วไป เช่น บัตรกดเงินสด อยู่บ้าง

 

ใครปิ๊งไอเดียแล้วว่าสินเชื่อรูปแบบนี้ตอบโจทย์ทางการเงินของคุณ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านคือเงิน My Home My Cash จาก SCB และดูเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการขอสินเชื่อได้ที่ SCB PERSONAL BANKING 

สนับสนุนข้อมูล Living Guides โดย: ธนาคารไทยพาณิชย์

Related Articles

มาตราการอสังหา 2567

วางแผนซื้อบ้านต้องรู้! มาตรการอสังหาฯ ปี 2567 ช่วยยังไงบ้าง?

สานฝันคนอยากมีบ้านกับมาตรการอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐ ปี 2567  ที่ออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง วันนี้ เราจะมาพูดถึงมาตรการที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังจะวางแผนซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าโอนและจดจำนองที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมจากการปลูกสร้างบ้าน (ล้านละหมื่น) หรือสินเชื่อบ้าน โดย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งรายละเอียดแต่ละมาตรการจะเป็นอย่างไร มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ เริ่มจาก “มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567”

ค่าใช้จ่ายซื้อบ้าน 2566

อัพเดตล่าสุด! ซื้อบ้าน ปี 2567 ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

เก็บเงินมาได้สักพัก ถึงเวลาทำความฝัน “ซื้อบ้าน-คอนโด” ของตัวเองสักหลังให้เป็นความจริงสักที แต่ๆๆ ก่อนจะไปลุยคว้ามา ต้องมาเช็กความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เราต้องเตรียมการกันก่อน วันนี้เรามาอัพเดทกันดีกว่า ในปี 2567 นี้ ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และที่สำคัญภาครัฐฯ มีมาตรการช่วยคนซื้ออสังหาริมทรัพย์อะไรหรือไม่อย่างไร พร้อมแล้วไปอัพเดทกันเลย! ค่าจองและทำสัญญา เป็นค่าใช้จ่ายก้อนแรกสำหรับวางมัดจำ ขึ้นอยู่แต่ละโครงการ ส่วนใหญ่บ้านจะแพงกว่าหลักหมื่นขึ้นไป

วางแผนยื่นภาษี ฉบับคนมีคู่...สมรส

วางแผนยื่นภาษี ฉบับคนมีคู่…สมรส

สมัยก่อนอยู่ตัวคนเดียว ทำอะไรคนเดียว ยื่นภาษีก็ทำได้เพียงแบบเดียว แต่ครั้นพอแต่งงานแล้ว มีคนอีกคนเข้ามาเป็นคู่ชีวิต มาแชร์สิ่งต่างๆ ในทุกๆ วัน ซื้อบ้านหลังอบอุ่นด้วยกัน แม้แต่การยื่นภาษีก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วยเช่นกัน เดือนแห่งความรักเวียนมาถึงทั้งที แสนสิริเอาใจคนมีคู่(สมรส) ด้วยเรื่องราวที่คู่สมรสทุกคู่จะไม่รู้ไม่ได้! นั่นก็คือการยื่นภาษีในวันที่มีใครอีกคนหนึ่งก้าวเข้ามาเป็นอีกครึ่งชีวิตของคุณแล้วนั่นเอง ยิ่งในช่วงมกราคม – มีนาคมแบบนี้ ยังเป็นช่วงการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วยเช่นกัน ว่าแต่จะ “ยื่นแยกกัน”