เปิดลิสต์ค่าใช้จ่ายที่มือใหม่ต้องรู้
หากคิดจะซื้อบ้าน คอนโด
หรือทาวน์โฮมสักหลัง

หลายคนที่คิดอยากจะซื้อบ้านสักหลังเพื่อสร้างครอบครัวของตัวเอง หรืออยากจะมีคอนโดสักห้องที่เดินทางไปทำงานได้แสนสะดวก
แต่ใจมันก็ยังไม่กล้าพอสักที เพราะเมื่อลองมาคิดคำนวณเรื่องค่าใช้จ่ายก็ทำให้กังวลไปเสียหมด

เพราะหากเรากำลังคิดจะซื้อบ้าน คอนโด หรือทาวน์โฮมสักหลัง ไม่ว่าจะจ่ายด้วยเงินสด หรือกู้สินเชื่อก็ตาม เราจะต้องคำนวณให้ดีก่อนว่าจากวงเงินที่เรามีทั้งหมด จะต้องแบ่งไปจ่ายเป็นค่าอะไรอีกบ้าง นอกเหนือไปจากราคาที่อยู่อาศัย เพราะใช่ว่าเรากำเงินไป 5 ล้าน แล้วจะสามารถซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคา 5 ล้านได้เลย เพราะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งก่อนซื้อ ระหว่างการโอนกรรมสิทธิ์ หรือระหว่างการอยู่อาศัย วันนี้เราเลยอยากชวนคุณมานั่งศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานต่างๆ เหล่านี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเตรียมตัวเป็นเจ้าของบ้านในฝันกัน

Family Sansiri Blog

1. เตรียมเงินให้พร้อม ตั้งแต่ก่อนซื้อ

แค่คิดจะซื้อ ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับค่าใช้จ่ายด่านแรกที่รอเราจะอยู่ ซึ่งจะมี 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน

เงินจอง

เมื่อเราเจอบ้านที่ถูกใจแล้วและปักธงว่าต้องการจะเป็นเจ้าบ้านหลังนี้แน่นอน เราก็จะต้องวางเงินจอง ทั้งเพื่อแสดงเจตจำนงว่าเราจะซื้อบ้านหลังนี้ และเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการซื้อขายบ้านนี้ให้กับผู้อื่นอีก ซึ่งจำนวนเงินจองนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับมูลค่าของโครงการ หรือแล้วแต่โครงการกำหนดขึ้น

เงินทำสัญญา

ภายในประมาณ 7 -14 วันหลังจากที่เราจองที่พักอาศัยไปแล้ว ผู้ขายจะติดต่อให้เราเข้ามาทำสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็จะเกิดค่าใช้จ่ายอีกหนึ่งอย่าง นั่นก็คือ เงินทำสัญญา ซึ่งจะมากจะน้อยก็จะขึ้นอยู่กับมูลค่าของที่พักอาศัย และท้ายที่สุดทั้งเงินจองและเงินทำสัญญาก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเงินดาวน์

เงินดาวน์

การซื้อขายคอนโดโครงการใหม่ๆ ในปัจจุบันจะแตกต่างกับบ้านเดี่ยว เพราะว่าจะเริ่มทำการซื้อขายกันตั้งแต่ก่อนดำเนินการก่อสร้างหรือช่วงกำลังดำเนินการก่อสร้าง ดังนั้นผู้ซื้อก็จะต้องวางเงินดาวน์ในระหว่างรอโครงการสร้างเสร็จ ซึ่งอาจมีทั้งวางเงินดาวน์เป็นก้อนทีเดียว กับแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ โดยเงินส่วนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 10 – 15 % ของราคาคอนโด

ทั้งนี้หากเป็นกรณีสินเชื่อที่อยู่อาศัยก็จะมีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยด้วย หากเป็นคอนโดมือสองจะมีค่าราคาประเมินซึ่งจะไม่เกิน 3,000 บาท ค่าทำสัญญา และค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์โดยรวมแล้วอยู่ที่ประมาณ 5% ของราคาประเมิน

Anasiri Ayuthaya Sansiri Blog

2. ระหว่างโอนกรรมสิทธิ์ ก็มีค่าใช้จ่ายที่ต้องคิดคำนวณ

ค่าใช้จ่ายกลุ่มต่อมาที่คนอยากเป็นเจ้าของบ้านต้องรู้และต้องเตรียมไว้ คือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนระหว่างการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งจะมี 3 ส่วนเช่นกันคือ

ค่าจดจำนอง

เมื่อถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ เราจะต้องจ่ายค่าจดจำนอง ซึ่งจะคิดเป็น 1% ของมูลค่าที่พักอาศัยที่จดจำนอง เพื่อจ่ายให้กับสำนักงานที่ดินเพื่อเอาที่พักอาศัยนั้นเป็นหลักประกันหนี้ให้กับธนาคารในกรณีของผู้ที่กู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ค่าธรรมเนียมการโอน

สำหรับค่าธรรมเนียมการโอนนั้นมีมูลค่า 2% ของราคาประเมิน โดยส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งให้ผู้ซื้อและผู้ขายออกกันคนละครึ่ง หรือคนละ 1% เพื่อความยุติธรรม

ค่าอากรสแตมป์

ในการจดทะเบียนโอน กรมที่ดินจะเก็บค่าอากรแสตมป์ในอัตราร้อยละ 0.5 โดยจะพิจารณามาจากราคาซื้อขาย หรือถ้าคิดง่ายๆ ก็คือค่าอากรแสตมป์จะอยู่ที่ 5 บาท ต่อมูลค่าโครงการทุกๆ 1,000 บาท นั่นเอง

Customer Relations

และเป็นโอกาสดีสำหรับคนที่กำลังจะซื้อบ้าน เนื่องจาก คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเห็นชอบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ต่อปี ซึ่งส่งผลดีกับคนที่กำลังจะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง เพราะจะทำให้ภาระดอกเบี้ยลดลง อัตราการผ่อนชำระหนี้ลดลง โอกาสในการกู้ผ่านมีสูงขึ้น และมีโอกาสที่จะได้วงเงินอนุมัติมากขึ้นอีกด้วย**

นอกจากนี้ รัฐยังออกมาตราการลดค่าธรรมเนียมการโอน – จดจำนอง โดยลดอัตราค่าธรรมเนียมการโอน จาก 2% เป็น 0.01% และค่าจดจำนองจาก 1% เป็น 0.01% สำหรับการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งบ้าน คอนโด และทาวน์โฮม ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องโอนและจดจำนองพร้อมกัน ซึ่งมีผลบังคับใช้จนถึงเดือนธันวาคม 2565

แต่แสนสิริให้แรง แซงรัฐ! เพียงคุณซื้อและโอนโครงการบ้าน คอนโด หรือทาวน์โฮมไม่เกิน 3 ล้าน ตั้งแต่วันนี้ – ธ.ค. 65 เราให้คุณมากกว่าทั้ง ฟรี! ค่าธรรมเนียมการโอน ฟรี! ค่าจดจำนอง และฟรี! ทองคำ มูลค่าสูงสุด 60,000 บาท* ค้นหาโครงการ ได้ที่นี่

3. รายจ่ายส่วนสุดท้าย ระหว่างการอยู่อาศัย

อย่าเพิ่งคิดว่าเมื่อซื้อขายหรือโอนกรรมสิทธิ์เสร็จแล้ว ค่าใช้จ่ายจะหมดเพียงเท่านั้น เพราะยังมีเงินอีก 3 ส่วนหลักๆ ที่ผู้ซื้อบ้าน คอนโด หรือทาวน์โฮม จะต้องเตรียมไว้ คือ ค่าใช้จ่ายระหว่างการอยู่อาศัย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเก็บล่วงหน้าตั้งแต่วันทำสัญญา

ค่าส่วนกลาง

ซึ่งเป็นค่าดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลางในคอนโด โดยจะคำนวณตามพื้นที่เป็นตารางเมตรของห้องชุด เช่น หากคอนโดที่เราซื้อ มีขนาด 30 ตารางเมตร มีค่าส่วนกลางราคา 50 บาท/เดือน/ตร.ม. ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เราต้องจ่ายจะคิดเป็น 50 (ค่าส่วนกลาง) x 30 (ขนาดห้องเป็นตารางเมตร) x 12 (1 ปี) = 18,000 บาทต่อปี

ค่ากองทุน

เงินส่วนนี้นิติบุคคลจะเรียกเก็บไว้เป็นกองทุนสำรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายกองกลาง ในการบริหารจัดการต่างๆ ภายในโครงการในระยะยาว โดยจะคำนวณตามพื้นที่ของห้องชุดเช่นกัน เช่น ค่ากองทุน 500 บาทต่อตารางเมตร หากห้องชุดขนาด 30 ตารางเมตร ก็จะต้องจ่ายให้โครงการ 15,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะชำระเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ค่าประกันมิเตอร์ไฟ

โดยส่วนใหญ่โครงการจะออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ก่อนและจะเรียกเก็บตามภายหลัง โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 – 4,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์หรืออัตราการใช้ไฟฟ้าในห้องของเรา ซึ่งบางโครงการจะเรียกเก็บทั้งค่าประกัน ค่ามิเตอร์ ผู้ซื้อต้องดูรายละเอียดในส่วนนี้ให้ถี่ถ้วน

นอกจากนี้ก็ยังมีค่าใช้จ่ายในระหว่างการอยู่อาศัยในส่วนอื่นๆ อีก เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เนต ค่าโทรศัพท์ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคน แต่หากเฉลี่ยแล้วหากเป็นห้องขนาด 30 ตารางเมตร ซึ่งประกอบด้วย 1 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว 1 ห้องนอน และ 1 ห้องนั่งเล่น ที่อาศัยอยู่ 2 คน ก็จะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนตกอยู่ที่ประมาณเดือนละ 1,000 – 1,500 บาท

แต่ถ้าหากเจ้าของคอนโด ต้องการจะขายคอนโด แต่ครอบครองคอนโดน้อยกว่า 5 ปี ก็จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ทั้งภาษีธุรกิจเฉพาะที่อัตราร้อยละ 3.3% ของราคาประเมินหรือราคาตลาดขึ้นอยู่กับว่าอัตราใดสูงกว่าก็จะใช้ราคานั้นในการคำนวณ และภาษีเงินได้ที่จะพิจารณาจากราคาประเมินและจำนวนปีที่ถือครอง

Family Home Sansiri Blog

เพราะเรื่องค่าใช้จ่ายที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเราอยากซื้อบ้าน คอนโด หรือทาวน์โฮมมาครอบครอง ดังนั้นเราก็ควรศึกษาความรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้มากพอ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมตัวของเราเอง นอกจากจะเพื่อความพร้อมของเราแล้ว ยังป้องกันการถูกเอาเปรียบได้อีกด้วย

สนับสนุนข้อมูล Living Guides โดย: Plus Property

**อ้างอิงจาก ข่าวสด

Related Articles

ขายของออนไลน์ ก็กู้ซื้อบ้านได้ ง่ายนิดเดียว-ขายออนไลน์ซื้อบ้าน-กู้บ้าน-sansirihomefinancialplanner

ขายของออนไลน์ ก็กู้ซื้อบ้านได้ ง่ายนิดเดียว

ในยุคของ E-Commerce แบบนี้ ไม่ว่าหันไปทางไหน ใครๆ ก็ซื้อของออนไลน์กันทั้งนั้น จึงไม่แปลกเลยที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะกลายเป็นอาชีพยอดฮิต เพราะค่อนข้างมั่นคงและรายได้ดีไม่แพ้งานประจำเลย เผลอๆ ดีกว่าด้วยซ้ำ อะไรคือสาเหตุที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กู้ไม่ผ่าน? แต่ทั้งๆ ที่ยอดขายทะลุเป้าทุกเดือนแบบนี้ ทำไมพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนถึงยังกู้ไม่ผ่านในเวลาที่อยากมีบ้านกันล่ะ? สาเหตุหลักเลย คือหลายคนไม่ได้เก็บหลักฐานการใช้จ่ายของธุรกิจไว้ เช่น ใบสั่งซื้อ หรือบิลต่างๆ ทำให้พิสูจน์ไม่ได้ว่ารายได้มาจากการขายออนไลน์จริงหรือไม่

กู้ร่วม ทางออกของคนอยากมีบ้าน

เชื่อว่าทุกคนที่กำลังวางแผนซื้อบ้าน ต้องมีบ้านในฝันของตัวเองอยู่แล้ว… ปัญหาคือถ้าได้วงเงินกู้ไม่เพียงพอ หรือยื่นกู้ไม่ผ่านขึ้นมา บ้านหลังนั้นคงหลุดมือไปอย่างน่าเสียดาย แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกัน! เพราะปัญหานี้มีทางออก “การกู้ร่วม” นี่เอง คือทางออกที่จะทำให้บ้านในฝันเป็นของเราได้ง่ายขึ้น แล้วการกู้ร่วมต้องทำยังไง มีเทคนิคยังไงบ้าง Sansiri Blog มีคำตอบ กู้ร่วมคืออะไร? ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักการกู้ร่วมกันก่อน “การกู้ร่วม” คือการร่วมเซ็นสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน

Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาเรื่องการเงินจากแสนสิริ

Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาเรื่องการเงินจากแสนสิริ ช่วยคุณมีบ้านง่าย ได้ยังไงบ้าง?

“อยากมีบ้าน แต่กลัวเรื่องกู้…, จะกู้แต่ก็กลัวเรื่องเอกสารวุ่นวาย…, ไหนจะต้องติดต่อธนาคาร โอ้ยย ทำไมมีบ้านสักหลัง ต้องคิดอะไรเยอะแยะจัง” สารพัดหลายปัญหาหลายความกังวลของคนอยากมีบ้าน แสนสิริเข้าใจดีว่าการซื้อบ้านสักหลังนึงสำหรับบางคนถือเป็นเรื่องสำคัญในชีวิต หลายๆ คนอาจมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เราจึงมีบริการเพื่อสำหรับผู้ที่สนใจอยากเป็นเจ้าของโครงการจากแสนสิริ “Sansiri Home Financial Planner” บริการให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อคนอยากมีบ้าน ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากธนาคารชั้นนำมาเป็นที่ปรึกษา ทั้งการเตรียมเอกสาร