เด็กหลุดระบบการศึกษา
ปัญหาที่ต้องช่วยกัน
ให้เป็น “ศูนย์”

การมาของโควิด-19 พลิกชีวิตผู้คนจากหน้ามือเป็นหลังมือ อีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักก็คือเหล่าเด็กๆ

เพราะไม่ว่าจะเป็นการต้องปรับตัวเพื่อเรียนออนไลน์ ต้องแบกรับความเครียด รับมือปัญหาสุขภาพจิต และที่มากกว่านั้น คืออนาคตของเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังจะต้องถูกโรคระบาดพัดพาหายไป เพราะในวิกฤตครั้งนี้ พวกเขาอาจจะไม่ได้เรียนต่อ และต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาไปอย่างน่าเสียดาย

เปิดเทอมครั้งต่อไป อาจไม่ได้เจอเพื่อนๆ เหมือนเดิม

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) แสนสิริ เด็กหลุดระบบการศึกษา เรียนออนไลน์ หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out

ถ้าหากลองถามเด็กนักเรียนว่าชอบเรียนออนไลน์หรือเรียนที่โรงเรียนมากกว่า ส่วนใหญ่มักตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากกลับไปเรียนที่โรงเรียน ด้วยเหตุผลว่าเรียนออนไลน์ไม่ค่อยเข้าใจ อยากทำกิจกรรม ที่สำคัญคืออยากเจอเพื่อน แต่สิ่งที่น่าเศร้าคือ ในขณะที่เด็กๆ หลายคนรอโรงเรียนเปิดอย่างใจจดใจจ่อ เด็กอีกกลุ่มหนึ่งก็กำลังหมดโอกาสที่จะได้กลับไปเจอเพื่อนๆ เพราะเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา 2564 นี้ จะมีเด็กถึง 50,000 คนหรือมากกว่านั้นที่ต้องหลุดจากระบบการศึกษาไป และจากการคาดการณ์ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษาจะเพิ่มขึ้นทุกปี ถ้ายังไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

ย้อนกลับไปก่อนการระบาดของโควิด-19 ข้อมูลจาก กสศ. บอกว่าประเทศไทยมีเด็กหลุดจากระบบการศึกษาอยู่แล้วถึง 500,000 คน* โดยส่วนมาก นักเรียนที่เสี่ยงหลุดจากระบบมากที่สุดคือนักเรียนในกลุ่มรอยต่อระหว่างช่วงชั้น โดยเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพราะถือเป็นปีสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ เมื่อเรียนจบชั้น ม.3 แล้ว ก็ต้องตัดสินใจว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ซึ่งนักเรียนที่มาจากครอบครัวรายได้น้อยมักจะเลือกไม่เรียนต่อเพราะเศรษฐกิจครอบครัวไม่เอื้ออำนวย และตัดสินใจออกไปหางานทำแทน

โควิด-19 กับภาระหนักอึ้งที่นักเรียนต้องแบกรับ’

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) แสนสิริ เด็กหลุดระบบการศึกษา เรียนออนไลน์ หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out

ถึงแม้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษาจะเป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมายาวนาน แต่การมาของโควิด-19 กลับยิ่งซ้ำเติมให้ปัญหาหนักขึ้น เพราะเมื่อเศรษฐกิจซบเซาด้วยโรคระบาด สถานะทางการเงินของนักเรียนก็แย่ลงไปด้วย เห็นได้จากสถิติของ กสศ. ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีนักเรียนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ยากจนพิเศษ” มากถึง 1,302,968 คน ถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยสำรวจมา โดยกลุ่มยากจนพิเศษนี้ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพียงครอบครัวละ 1,094 บาทเท่านั้น!

เมื่อรายได้เฉลี่ยลดลงเหลือเดือนละประมาณหนึ่งพันบาท ผู้ปกครองจำนวนมากก็ต้องเผชิญกับ “ภาวะยากจนเฉียบพลัน” บ้างถูกลดเงินเดือน บ้างถูกพักงานไม่มีกำหนด บ้างก็ถูกเลิกจ้างกระทันหัน สถานการณ์แบบนี้บีบให้ผู้ปกครองต้องตัดรายจ่ายออกให้มากที่สุดเพื่อความอยู่รอด ซึ่งนั่นแปลว่า ต้องยอมตัดรายจ่ายในการเรียนของเด็กๆ ออกไปด้วย

แน่นอนว่าหลายครอบครัวอยากส่งให้ลูกหลานได้เรียนสูง แต่รายจ่ายด้านการศึกษานั้นเพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้อย่างเห็นได้ชัด เพราะถึงแม้จะได้รับการสนุบสนุนค่าเทอมจากภาครัฐ แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ การไปโรงเรียนยังมีภาระค่าใช้จ่ายที่มากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าชุดนักเรียน ค่าบำรุงการศึกษา หรือแม้แต่ค่าอุปกรณ์เรียนออนไลน์ในช่วงโควิด-19 ระบาด ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยอมรับว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้ตัดสินใจนำลูกหลานออกจากระบบการศึกษา ด้วยเหตุนี้เอง การที่จะดึงเด็กๆ กลับเข้ามาสู่ระบบได้ ต้องสนับสนุนรายจ่ายให้กับผู้ปกครองเป็นอันดับแรก

เรียนออนไลน์ ขยายความเหลื่อมล้ำ

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) แสนสิริ เด็กหลุดระบบการศึกษา เรียนออนไลน์

หากมองเผินๆ บางคนอาจเข้าใจผิดว่าการเรียนออนไลน์จะประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการไปโรงเรียน แต่อันที่จริงแล้วไม่ใช่ สำหรับเด็กกลุ่มยากจนและยากจนพิเศษ การเรียนออนไลน์คือการเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย ทำให้เข้าถึงการศึกษาได้ยากลำบากขึ้นหลายเท่า และอาจนำไปสู่การหลุดออกจากระบบการศึกษาได้

ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการเรียนออนไลน์ คือนักเรียนจำนวนมากไม่มีอุปกรณ์ที่พร้อม จากทั่วประเทศไทย มีนักเรียนถึง 271,888 คนจากที่ขาดคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตสำหรับเรียน และหลายคนเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ตและไฟฟ้า ซึ่งเมื่อขาดอุปกรณ์เหล่านี้ นักเรียนก็ไม่สามารถเข้าเรียนได้ แต่ถ้าจะต้องซื้อ ก็อาจเป็นค่าใช้จ่ายที่แพงเกินกว่าผู้ปกครองจะจ่ายไหว เมื่อถึงจุดนี้ ผู้ปกครองหลายคนก็จำต้องตัดสินใจให้เด็กออกจากระบบการศึกษา

นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายแฝงที่เพิ่มมาเมื่อนักเรียนต้องเรียนที่บ้าน เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าอาหารกลางวันสำหรับเด็กเล็ก (ซึ่งปกติจะมีแจกที่โรงเรียน) ยิ่งสำหรับครอบครัวที่มีเด็กอยู่หลายคน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็ยิ่งทวีคูณ

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) แสนสิริ เด็กหลุดระบบการศึกษา เรียนออนไลน์ หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out

การศึกษาคือหนึ่งในรากฐานที่สำคัญของสังคม ถ้าหากสถานการณ์เด็กหลุดจากระบบการศึกษายังคงเป็นแบบนี้ต่อไป สังคมไทยของเราอาจไม่ได้เห็นอนาคตที่สดใสอย่างที่หวัง ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนจะต้องหยิบยกหัวข้อเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาขึ้นมาพูดคุยอย่างจริงจัง ร่วมกันหาทางออก

พร้อมช่วยทำให้เด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาเป็นศูนย์ให้ได้ เพื่อคืนโอกาสให้กับเด็กๆ ให้พวกเขาได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ที่จะร่วมสร้างอนาคตที่สดใสให้กับสังคมเราต่อไป

ที่มา : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

CONTRIBUTOR

Related Articles

แสนสิริ กับ 18 ปี แห่งการสร้างรากฐานที่ยั่งยืน เพื่ออนาคตของเด็กทุกคน

SansiriSocialChange ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แสนสิริไม่ได้เพียงแค่สร้างบ้าน แต่เรายังมุ่งมั่นในการสร้างรากฐานสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการต่างๆ ร่วมกับพันธมิตร พร้อมส่งต่อโอกาสในด้านต่างๆ ทั้งสุขภาพ การศึกษา กีฬา และคุณภาพชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างอนาคตที่ดีให้กับ “เด็กทุกคน”  กว่า 18 ปีที่ผ่านมา แสนสิริ ยืนหยัดและผลักดันในประเด็นของสิทธิเด็ก การยุติการใช้ความรุนแรง และการใช้แรงงานเด็ก

“แสนสิริ” เดินหน้า ZERO DROPOUT ชูโมเดลการศึกษา 1 โรงเรียน  3 รูปแบบ “เด็กทุกคนต้องได้เรียน” พัฒนาทุนมนุษย์เคลื่อนเศรษฐกิจ

“แสนสิริหวังว่าโครงการ ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน นำร่องที่จังหวัดราชบุรี จะจุดประกายให้เห็นกลไกการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ขยายผลนำไปใช้ทั่วประเทศ” เพราะทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจ ดังนั้นการสร้าง “ความเสมอภาคทางการศึกษา” ทำให้เด็กไม่หลุดจากระบบการศึกษา เติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วม โดยบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แถวหน้าของไทย ได้ผลักดันสร้างความเสมอภาคทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

ZERO DROPOUT เพราะการศึกษาที่มีคุณภาพ คือสะพานสู่ความฝัน

ปัจจุบัน จังหวัดราชบุรีมีนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 127,266 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนยากจนพิเศษ อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาท ต่อคนต่อเดือน 3,258 คน คิดเป็น 2.56 % สาเหตุดังกล่าวทำให้ครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องในการไปโรงเรียนได้ จึงทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา คือมีเด็กที่หลุดระบบการศึกษาและเสี่ยงหลุดระบบการศึกษาเกิดขึ้น โจทย์ดังกล่าวทำให้แสนสิริ องค์กรในภาคเอกชนที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมเด็กและเยาวชน ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา