เด็กหลุดระบบการศึกษา
ปัญหาที่ต้องช่วยกัน
ให้เป็น “ศูนย์”

การมาของโควิด-19 พลิกชีวิตผู้คนจากหน้ามือเป็นหลังมือ อีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักก็คือเหล่าเด็กๆ

เพราะไม่ว่าจะเป็นการต้องปรับตัวเพื่อเรียนออนไลน์ ต้องแบกรับความเครียด รับมือปัญหาสุขภาพจิต และที่มากกว่านั้น คืออนาคตของเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังจะต้องถูกโรคระบาดพัดพาหายไป เพราะในวิกฤตครั้งนี้ พวกเขาอาจจะไม่ได้เรียนต่อ และต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาไปอย่างน่าเสียดาย

เปิดเทอมครั้งต่อไป อาจไม่ได้เจอเพื่อนๆ เหมือนเดิม

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) แสนสิริ เด็กหลุดระบบการศึกษา เรียนออนไลน์ หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out

ถ้าหากลองถามเด็กนักเรียนว่าชอบเรียนออนไลน์หรือเรียนที่โรงเรียนมากกว่า ส่วนใหญ่มักตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากกลับไปเรียนที่โรงเรียน ด้วยเหตุผลว่าเรียนออนไลน์ไม่ค่อยเข้าใจ อยากทำกิจกรรม ที่สำคัญคืออยากเจอเพื่อน แต่สิ่งที่น่าเศร้าคือ ในขณะที่เด็กๆ หลายคนรอโรงเรียนเปิดอย่างใจจดใจจ่อ เด็กอีกกลุ่มหนึ่งก็กำลังหมดโอกาสที่จะได้กลับไปเจอเพื่อนๆ เพราะเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา 2564 นี้ จะมีเด็กถึง 50,000 คนหรือมากกว่านั้นที่ต้องหลุดจากระบบการศึกษาไป และจากการคาดการณ์ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษาจะเพิ่มขึ้นทุกปี ถ้ายังไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

ย้อนกลับไปก่อนการระบาดของโควิด-19 ข้อมูลจาก กสศ. บอกว่าประเทศไทยมีเด็กหลุดจากระบบการศึกษาอยู่แล้วถึง 500,000 คน* โดยส่วนมาก นักเรียนที่เสี่ยงหลุดจากระบบมากที่สุดคือนักเรียนในกลุ่มรอยต่อระหว่างช่วงชั้น โดยเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพราะถือเป็นปีสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ เมื่อเรียนจบชั้น ม.3 แล้ว ก็ต้องตัดสินใจว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ซึ่งนักเรียนที่มาจากครอบครัวรายได้น้อยมักจะเลือกไม่เรียนต่อเพราะเศรษฐกิจครอบครัวไม่เอื้ออำนวย และตัดสินใจออกไปหางานทำแทน

โควิด-19 กับภาระหนักอึ้งที่นักเรียนต้องแบกรับ’

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) แสนสิริ เด็กหลุดระบบการศึกษา เรียนออนไลน์ หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out

ถึงแม้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษาจะเป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมายาวนาน แต่การมาของโควิด-19 กลับยิ่งซ้ำเติมให้ปัญหาหนักขึ้น เพราะเมื่อเศรษฐกิจซบเซาด้วยโรคระบาด สถานะทางการเงินของนักเรียนก็แย่ลงไปด้วย เห็นได้จากสถิติของ กสศ. ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีนักเรียนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ยากจนพิเศษ” มากถึง 1,302,968 คน ถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยสำรวจมา โดยกลุ่มยากจนพิเศษนี้ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพียงครอบครัวละ 1,094 บาทเท่านั้น!

เมื่อรายได้เฉลี่ยลดลงเหลือเดือนละประมาณหนึ่งพันบาท ผู้ปกครองจำนวนมากก็ต้องเผชิญกับ “ภาวะยากจนเฉียบพลัน” บ้างถูกลดเงินเดือน บ้างถูกพักงานไม่มีกำหนด บ้างก็ถูกเลิกจ้างกระทันหัน สถานการณ์แบบนี้บีบให้ผู้ปกครองต้องตัดรายจ่ายออกให้มากที่สุดเพื่อความอยู่รอด ซึ่งนั่นแปลว่า ต้องยอมตัดรายจ่ายในการเรียนของเด็กๆ ออกไปด้วย

แน่นอนว่าหลายครอบครัวอยากส่งให้ลูกหลานได้เรียนสูง แต่รายจ่ายด้านการศึกษานั้นเพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้อย่างเห็นได้ชัด เพราะถึงแม้จะได้รับการสนุบสนุนค่าเทอมจากภาครัฐ แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ การไปโรงเรียนยังมีภาระค่าใช้จ่ายที่มากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าชุดนักเรียน ค่าบำรุงการศึกษา หรือแม้แต่ค่าอุปกรณ์เรียนออนไลน์ในช่วงโควิด-19 ระบาด ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยอมรับว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้ตัดสินใจนำลูกหลานออกจากระบบการศึกษา ด้วยเหตุนี้เอง การที่จะดึงเด็กๆ กลับเข้ามาสู่ระบบได้ ต้องสนับสนุนรายจ่ายให้กับผู้ปกครองเป็นอันดับแรก

เรียนออนไลน์ ขยายความเหลื่อมล้ำ

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) แสนสิริ เด็กหลุดระบบการศึกษา เรียนออนไลน์

หากมองเผินๆ บางคนอาจเข้าใจผิดว่าการเรียนออนไลน์จะประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการไปโรงเรียน แต่อันที่จริงแล้วไม่ใช่ สำหรับเด็กกลุ่มยากจนและยากจนพิเศษ การเรียนออนไลน์คือการเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย ทำให้เข้าถึงการศึกษาได้ยากลำบากขึ้นหลายเท่า และอาจนำไปสู่การหลุดออกจากระบบการศึกษาได้

ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการเรียนออนไลน์ คือนักเรียนจำนวนมากไม่มีอุปกรณ์ที่พร้อม จากทั่วประเทศไทย มีนักเรียนถึง 271,888 คนจากที่ขาดคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตสำหรับเรียน และหลายคนเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ตและไฟฟ้า ซึ่งเมื่อขาดอุปกรณ์เหล่านี้ นักเรียนก็ไม่สามารถเข้าเรียนได้ แต่ถ้าจะต้องซื้อ ก็อาจเป็นค่าใช้จ่ายที่แพงเกินกว่าผู้ปกครองจะจ่ายไหว เมื่อถึงจุดนี้ ผู้ปกครองหลายคนก็จำต้องตัดสินใจให้เด็กออกจากระบบการศึกษา

นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายแฝงที่เพิ่มมาเมื่อนักเรียนต้องเรียนที่บ้าน เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าอาหารกลางวันสำหรับเด็กเล็ก (ซึ่งปกติจะมีแจกที่โรงเรียน) ยิ่งสำหรับครอบครัวที่มีเด็กอยู่หลายคน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็ยิ่งทวีคูณ

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) แสนสิริ เด็กหลุดระบบการศึกษา เรียนออนไลน์ หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out หุ้นกู้แสนสิริ เพื่อการศึกษา zero drop-out

การศึกษาคือหนึ่งในรากฐานที่สำคัญของสังคม ถ้าหากสถานการณ์เด็กหลุดจากระบบการศึกษายังคงเป็นแบบนี้ต่อไป สังคมไทยของเราอาจไม่ได้เห็นอนาคตที่สดใสอย่างที่หวัง ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนจะต้องหยิบยกหัวข้อเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาขึ้นมาพูดคุยอย่างจริงจัง ร่วมกันหาทางออก

พร้อมช่วยทำให้เด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาเป็นศูนย์ให้ได้ เพื่อคืนโอกาสให้กับเด็กๆ ให้พวกเขาได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ที่จะร่วมสร้างอนาคตที่สดใสให้กับสังคมเราต่อไป

ที่มา : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

CONTRIBUTOR

Related Articles

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

ZERO DROPOUT เพราะการศึกษาที่มีคุณภาพ คือสะพานสู่ความฝัน

ปัจจุบัน จังหวัดราชบุรีมีนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 127,266 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนยากจนพิเศษ อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาท ต่อคนต่อเดือน 3,258 คน คิดเป็น 2.56 % สาเหตุดังกล่าวทำให้ครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องในการไปโรงเรียนได้ จึงทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา คือมีเด็กที่หลุดระบบการศึกษาและเสี่ยงหลุดระบบการศึกษาเกิดขึ้น โจทย์ดังกล่าวทำให้แสนสิริ องค์กรในภาคเอกชนที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมเด็กและเยาวชน ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน-แสนสิริ-นักเรียนไทย-นักเรียน

สร้างโอกาสให้น้องเรียนรู้ “วิชาชีพ วิชาชีวิต” ใน Zero Dropout

หากคุณเป็นแฟนคลับ ที่ติดตามแสนสิริเป็นประจำเสมอ น่าจะยังคงจำกันได้ดีกับโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ภารกิจที่เรามุ่งมั่นให้เด็กไทยมีโอกาสได้เรียนและกลับคืนสู่ระบบการศึกษา โดยเริ่มต้นที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นโมเดล และจากที่เราได้ลงไปสัมผัสโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าว พบว่าในหลายโรงเรียนมีทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านอาชีพให้กับนักเรียนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพื้นที่นั้นเป็นส่วนที่ติดกับชายแดนเมียนมาร์ จึงเป็นเหตุให้มีเด็กชาติพันธุ์มากมาย ประกอบกับครอบครัวมีฐานะยากจน ส่งผลให้เด็กบางคนไม่สามารถเรียนจบในการศึกษาภาคบังคับได้ เพราะต้องช่วยพ่อแม่รับจ้างเพื่อหาเงินมายังชีพในครอบครัว หนึ่งในกิจกรรมย่อยที่ช่วยเติมเต็มในโครงการ

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

Giving Mission ภารกิจ ‘ให้’น้องยิ้มได้ กับ Zero Dropout

เพราะอาหารกลางวัน คือพลังสำคัญของนักเรียน จำความรู้สึกของวันที่งานยุ่งมากจนแทบไม่ได้ทานข้าวได้ไหม? ทั้งเหนื่อยทั้งหิวจนอดทนแทบไม่ไหว ความรู้สึกแบบนั้นคงไม่มีใครอยากพบเจอ แล้วรู้ไหมว่า เรื่องน่าเศร้าคือยังมีนักเรียนจำนวนมากที่ยากจนหรือด้อยโอกาสจนมักจะไม่ได้ทานทั้งอาหารเช้าและอาหารเที่ยง เพราะครอบครัวมีรายได้ไม่มากพอที่จะเตรียมอาหารเช้าทุกวันได้ ส่วนโรงเรียนก็ได้รับงบประมาณสำหรับค่าอาหารกลางวันที่ไม่พอเพียง หลายครั้งที่เด็กๆ ได้กินอาหารกลางวันในปริมาณเพียงเล็กน้อย ไม่อิ่มท้องทั้งยังได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือบางวันก็อาจจะไม่ได้ทานอาหารเลย โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยยังสามารถเป็นกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนไปด้วยในตัว สอนให้นักเรียนได้ทดลองลงมือทำจริงแบบครบวงจร เกิดประสบการณ์ทั้งเพาะปลูก ดูแลพืชผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ไข่