อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบไหน
เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ

เมื่อทำงานมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว หลายคนก็มีความฝันที่จะมีบ้านสักหลังหรือคอนโดสักห้องเป็นของตัวเอง แต่การซื้ออสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ ที่ทำให้ต้องตัดสินใจกู้สินเชื่อจากธนาคารเพื่อที่อยู่อาศัยที่เราอยากเป็นเจ้าของ

ในการกู้เงินจากธนาคารจะต้องเข้าใจเรื่องการผ่อนชำระ ซึ่งเป็นการจ่ายผ่อนชำระหนี้ตามระยะเวลาที่ตกลงเอาไว้กับธนาคาร โดยบางคนสามารถกู้ได้ 100% บางคนอาจจะไม่ถึง 90% ของราคาประเมิน ซึ่งขึ้นอยู่กับสัดส่วนรายได้และกำลังผ่อนของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่แล้วจะกู้ได้ประมาณ 50 เท่าของรายได้หรือแล้วแต่การพิจารณาของธนาคาร

ก่อนเริ่มตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นของตัวเอง เรามาทำความเข้าใจกับเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แบบไหนที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ทางการเงินของคุณ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนในการใช้จ่ายของคุณ

ทำความรู้จักกับ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR และ MRR

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบไหนเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ

ในการกู้เงินของธนาคาร เมื่อมีลูกค้า 2 คนเข้ามาขอกู้เงินที่ธนาคารเดียวกัน พวกเขาจะได้ข้อเสนอของอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากลูกค้าแต่ละรายมีความเสี่ยงของการกู้ยืมที่ต่างกัน โดยถูกพิจารณาจากรายได้, ความสามารถในการชำระหนี้, ประวัติการชำระหนี้, เครดิตบูโรหรือภาวะหนี้สินปัจจุบัน ซึ่งเป็นตัววัดความเชื่อถือของลูกค้าที่ต้องการกู้เงิน

อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อ

MLR (Minimum Loan Rate) อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่เหมาะกับเงินกู้ระยะยาว โดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยนี้ธนาคารมักจะปล่อยกู้ให้กับลูกค้าชั้นดีซึ่งวัดได้จาก อาชีพ ฐานเงินเดือน รายรับ ประวัติการเคลื่อนไหวบัญชี อายุที่เปิดบัญชีธนาคาร และข้อมูลการค้างชำระกับทางธนาคาร

MRR (Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ยขั้นต้นสำหรับเงินกู้ที่เรียกเก็บกับลูกค้ารายย่อยชั้นดี ซึ่งเป็นบุคคลทั่วไป โดยเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อบัตรเครดิต

การผ่อนชำระเงินกู้

ระยะเวลาในการผ่อนชำระ สำหรับการกู้ยืมเงินหรือสินเชื่อในระยะยาว จะมีการแบ่งชำระเป็นจำนวนเดือนหรือจำนวนงวดตามระยะเวลาที่ตกลงไว้กับในสัญญากับธนาคาร สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้นจะได้รับระยะเวลาในการผ่อนที่นานกว่าสินเชื่อแบบอื่นๆ แต่จะมีระยะเวลาไม่เกิน 30 ปี

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราค้างการผ่อนชำระเป็นเวลานาน?

เมื่อเราค้างชำระค่างวดกับธนาคาร ทางธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้จะเข้าไปยึดที่พักอาศัยที่คุณกู้ซื้อมา เพื่อนำไปขายและนำเงินที่ขายได้นั้นมาชำระหนี้ที่คุณติดค้างเอาไว้ ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียยอดเงินผ่อนจ่ายทั้งหมดแล้ว ก็เสียที่อยู่อาศัยที่กู้ซื้อมาด้วย ดังนั้น ควรตรวจความพร้อมทางการเงินของคุณให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจกู้ซื้อเงิน

ประเภทของดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย

lending-rate-01-Sansiri Blog

Fixed Rate เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ ที่ผู้กู้ยืมต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่กำหนดไว้ในอัตราที่เท่ากันตลอดจนครบยอด ข้อดีของอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่คือ ไม่ต้องกังวลว่ายอดชำระเงินกู้จะสูงขึ้น เมื่อธนาคารมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะเศรษฐกิจ และยังทำให้ผู้ที่กู้ยืมสามารถวางแผนการเงินของตนเองได้อย่างแม่นยำ

Float Rate เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวที่เปลี่ยนไปตามต้นทุนของธนาคารแต่ละแห่ง ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่คงที่อยู่ตลอดระยะเวลาที่กู้ยืม โดยธนาคารสามารถปรับเปลี่ยนขึ้นหรือลงได้ตามที่เห็นสมควร ในปีที่อัตราดอกเบี้ยถูกลงจะทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยถูก แต่เมื่อปีไหนที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเราก็ต้องจ่ายตามอัตราที่เพิ่มขึ้น

อัตราการปรับเปลี่ยนของดอกเบี้ยในบางธนาคารอาจมีการปรับเปลี่ยนถึง 5 ครั้ง หรือบางปีก็แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย โดยบางธนาคารออาจจะคิดดอกเบี้ยตามประกาศจริง แต่บางธนาคารอาจจะคำนวณค่างวดโดยบวกอัตราดอกเบี้ยไปอีก 1-3% ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ขอกู้ เนื่องจากเงินค่างวดที่จ่ายเกินไว้จะไปทบกับเงินต้นมากขึ้น ส่งผลให้หนี้หมดเร็วกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา

ภาพเปรียบเทียบประเภทอัตราดอกเบี้ยแบบ ​Fixed Rate และแบบ Float Rate

Mixed Rate เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบผสมระหว่าง Fixed Rate และ Float Rate โดยเป็นแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ในอัตราที่ธนาคารกำหนดไว้ และหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะปรับเป็นแบบไม่คงที่ ซึ่งธนาคารในประเทศไทยจะมีอัตราดอกเบี้ยแบบผสมแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

1. อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นในช่วง 1-5 ปี หลังจากนั้นปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยจะไม่รู้ล่วงหน้าว่าหลังจากดอกเบี้ยลอยตัวแล้วจะปรับให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นหรือต่ำลง

2. อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นแบบขั้นบันไดในช่วง 1-5 ปีแรก โดยการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มขึ้นในแต่ละปีซึ่งเริ่มจากต่ำไปสูง เช่น ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2% ปีถัดไปปรับขึ้นเป็น 3% เมื่อครบสัญญาจะปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว

แล้วคุณเหมาะกับดอกเบี้ยเงินกู้แบบไหน

การเลือกดอกเบี้ยเงินกู้ตามประเภทของเงินกู้เพื่อให้คุณสามารถวางแผนทางการเงินในระยะเวลาระหว่างกู้ได้ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบ Fixed Rate, Float Rate, และแบบ Mixed Rate โดยทั้งนี้ต้องพิจารณาจากความพร้อมในการจ่ายค่างวดในแต่ละเดือน รวมถึงภาระหนี้สินอื่นๆ ที่มีในปัจจุบัน

ตัวอย่างที่ 1  สำหรับการกู้ดอกเบี้ยแบบคงที่ หรือ Fixed Rate เป็นทางเลือกของผู้ที่มีแผนการใช้จ่ายที่แน่นอนในแต่ละเดือน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีภาวะหนี้สินอื่นๆ เช่น

lending-rate-02-Sansiri Blog

พนักงานเงินเดือน 35,000 บาทและมีรายได้จากช่องทางอื่นอีก 15,000 บาท รวมเป็น 50,000 บาทต่อเดือน ต้องการกู้สินเชื่อเพื่อบ้านหลังแรก โดยที่เขาไม่มีภาระผ่อนจ่ายอื่นๆ และไม่มีหนี้สิน ทำให้เขาสามารถแบ่งจ่ายอัตราดอกเบี้ยคงที่ได้อย่างสม่ำเสมอ

ตัวอย่างที่ 2 สำหรับการกู้ดอกเบี้ยแบบลอยตัว หรือ Float Rate เป็นทางเลือกของคนที่ยอมรับความเสี่ยงของการขึ้น-ลง ของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตได้ เช่น

lending-rate-03-Sansiri Blog

พนักงานเงินเดือน 50,000 บาท แต่มีภาระผ่อนชำระค่าบัตรเครดิต ทำให้มีแผนค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน การเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวจึงช่วยให้การจ่ายอัตราดอกเบี้ยในแต่ละงวดช่วยประหยัดค่าใช่จ่ายลงได้เมื่อมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง

สรุป

ข้อแนะนำของการกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคือ สังเกตสถานะการณ์ดอกเบี้ยเงินกู้ของแต่ละธนาคารดูก่อน และการเลือกผ่อนแบบดอกเบี้ยต่ำที่สุดก็จะเป็นผลดีต่อการชำระหนี้ในแต่ละงวด ซึ่งก็อาจจะขึ้นอยู่กับการเสนออัตราเงินกู้ของธนาคารเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากความเสี่ยงทางการเงินของแต่ละคนไม่เท่ากัน

อย่างไรก็ตามควรศึกษาเกี่ยวกับ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตลอดทั้งสัญญา และแผนการชำระค่างวดของตนเองเพื่อความคล่องตัวทางการเงินที่ดีที่สุดของคุณด้วย

Related Articles

ขายของออนไลน์ ก็กู้ซื้อบ้านได้ ง่ายนิดเดียว-ขายออนไลน์ซื้อบ้าน-กู้บ้าน-sansirihomefinancialplanner

ขายของออนไลน์ ก็กู้ซื้อบ้านได้ ง่ายนิดเดียว

ในยุคของ E-Commerce แบบนี้ ไม่ว่าหันไปทางไหน ใครๆ ก็ซื้อของออนไลน์กันทั้งนั้น จึงไม่แปลกเลยที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะกลายเป็นอาชีพยอดฮิต เพราะค่อนข้างมั่นคงและรายได้ดีไม่แพ้งานประจำเลย เผลอๆ ดีกว่าด้วยซ้ำ อะไรคือสาเหตุที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กู้ไม่ผ่าน? แต่ทั้งๆ ที่ยอดขายทะลุเป้าทุกเดือนแบบนี้ ทำไมพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนถึงยังกู้ไม่ผ่านในเวลาที่อยากมีบ้านกันล่ะ? สาเหตุหลักเลย คือหลายคนไม่ได้เก็บหลักฐานการใช้จ่ายของธุรกิจไว้ เช่น ใบสั่งซื้อ หรือบิลต่างๆ ทำให้พิสูจน์ไม่ได้ว่ารายได้มาจากการขายออนไลน์จริงหรือไม่

กู้ร่วม ทางออกของคนอยากมีบ้าน

เชื่อว่าทุกคนที่กำลังวางแผนซื้อบ้าน ต้องมีบ้านในฝันของตัวเองอยู่แล้ว… ปัญหาคือถ้าได้วงเงินกู้ไม่เพียงพอ หรือยื่นกู้ไม่ผ่านขึ้นมา บ้านหลังนั้นคงหลุดมือไปอย่างน่าเสียดาย แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกัน! เพราะปัญหานี้มีทางออก “การกู้ร่วม” นี่เอง คือทางออกที่จะทำให้บ้านในฝันเป็นของเราได้ง่ายขึ้น แล้วการกู้ร่วมต้องทำยังไง มีเทคนิคยังไงบ้าง Sansiri Blog มีคำตอบ กู้ร่วมคืออะไร? ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักการกู้ร่วมกันก่อน “การกู้ร่วม” คือการร่วมเซ็นสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน

Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาเรื่องการเงินจากแสนสิริ

Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาเรื่องการเงินจากแสนสิริ ช่วยคุณมีบ้านง่าย ได้ยังไงบ้าง?

“อยากมีบ้าน แต่กลัวเรื่องกู้…, จะกู้แต่ก็กลัวเรื่องเอกสารวุ่นวาย…, ไหนจะต้องติดต่อธนาคาร โอ้ยย ทำไมมีบ้านสักหลัง ต้องคิดอะไรเยอะแยะจัง” สารพัดหลายปัญหาหลายความกังวลของคนอยากมีบ้าน แสนสิริเข้าใจดีว่าการซื้อบ้านสักหลังนึงสำหรับบางคนถือเป็นเรื่องสำคัญในชีวิต หลายๆ คนอาจมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เราจึงมีบริการเพื่อสำหรับผู้ที่สนใจอยากเป็นเจ้าของโครงการจากแสนสิริ “Sansiri Home Financial Planner” บริการให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อคนอยากมีบ้าน ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากธนาคารชั้นนำมาเป็นที่ปรึกษา ทั้งการเตรียมเอกสาร