ไม่ว่าเพศไหนก็มีบ้านได้!
ส่อง Tips การเตรียมตัว
ก่อน LGBTQ+ กู้ร่วม

ความรักอาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่มีรูปแบบไม่ตายตัวที่สุด ไร้พรมแดนที่สุด และนำไปสู่ความฝันได้ไม่สิ้นสุดอันดับต้นๆ ของทุกสิ่งในโลกใบนี้ ในขณะที่คู่รักบางคู่ใฝ่ฝันถึงการแต่งงาน มีลูกน้อยเป็นโซ่ทองคล้องใจ ยังมีคู่รักมากมายที่ปรารถนาเพียงการใช้ชีวิตร่วมกัน  ดูแลกันไปตราบนานเท่านาน ในบ้านอันแสนอบอุ่นที่เป็นของเขา…ทั้งสองคน

ใครที่ได้ติดตามเรื่องเล่าของ ‘รักเท่า(กับ)บ้าน’ ของคุณลี่-ธนิดา แก้วกำพลกุล และคุณแอน-ปุณณดา เศวตธนะ คงได้เห็นอีกคู่รักที่พิสูจน์แล้วว่าความรักไม่จำกัดเพียงความเป็นชาย-หญิง และความฝันของคู่รักอาจเป็นเพียงการดูแลกัน ฝึกโยคะไปด้วยกันจนผมเป็นสีขาว โดยมีคอนโดจากการกู้ร่วม LGBTQ+ เป็นทรัพย์สินร่วมกัน ราวกับเป็นลูกตัวน้อยๆ ที่เข้ามาเติมเต็มการชีวิตคู่

รักเท่าบ้าน Video

ถึงการกู้ร่วมของคู่รัก LGBTQ+ จะง่ายดายและเป็นไปได้แบบนี้ หลายคนก็ยังอดกังวลในหลายๆ เรื่องไม่ได้ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า “กุญแจสำคัญ” อยู่ที่การเตรียมเอกสาร รวมทั้งการเลือกธนาคารเท่านั้นเอง! ตามมาส่อง Tips ดีๆ ของการเตรียมพร้อมก่อนกู้ร่วม LGBTQ+ ที่จะช่วยให้คุณและคนรักกู้ได้ง่ายๆ และได้บ้านในฝันอย่างที่ตั้งใจกัน

ความสัมพันธ์ต้องยืนยันกันหน่อย

Sansiri LGBTQ Home Loan

ใครว่ารักกันต้องแต่งงานกันเสมอไป? เช่นเดียวกับคุณลี่และคุณแอน คู่รักมากมายมองว่าการแต่งงานอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญจำเป็นนัก และสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ในประเทศไทยเอง ก็ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับการแต่งงานหรือให้สิทธิ์ในการจดทะเบียนสมรสสำหรับคู่รัก LGBTQ+ (ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ควรถูกผลักดันให้เกิดขึ้นได้อย่างจริงจังเสียที) แม้จะมีการพิจารณาเรื่องของพ.ร.บ.คู่ชีวิต แต่การแต่งงานที่ไม่ได้เพิ่มสิทธิทางกฎหมายให้กับคู่รัก LGBTQ+ แต่อย่างใด ทำให้หลายคู่รักก็ยังกังวลเกี่ยวกับการมีสินทรัพย์ร่วมกัน หรือการกู้ร่วม

แต่ในปัจจุบัน หลายธนาคารได้เปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQ+ สามารถกู้ร่วมกันได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร บางธนาคารอาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมมากกว่าการกู้ร่วมแบบชาย-หญิง แต่ไม่ต้องห่วง แสนสิริบล็อกจะช่วยคุณเองค่ะ

Sansiri LGBTQ Home Loan

นอกเหนือจากเอกสารปกติที่จะต้องจัดเตรียมสำหรับการกู้ซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเอกสารส่วนตัว เอกสารทางการเงินที่แสดงรายได้และความสามารถทางการเงินเอกสารข้อมูลทรัพย์สิน หรือเอกสารหลักประกัน (เช็คเอกสารต่างๆ ได้เลย ที่นี่) แต่สำหรับการกู้ร่วมของคู่รัก LGBTQ+ แล้วนั้น อาจลองเตรียมเอกสารเพิ่มเติมเหล่านี้ที่ช่วยยืนยันความสัมพันธ์ได้ดีเผื่อไว้ด้วย เช่น

 – ทะเบียนบ้านที่มีชื่อของคุณทั้งคู่อยู่ เพื่อยืนยันว่าอาศัยอยู่ด้วยกัน

– บัญชีเงินฝากร่วมกัน (บัญชีคู่)

– เอกสารจากการกู้ซื้อทรัพย์สินอื่นร่วมกัน เช่น รถยนต์

– เอกสารยืนยันการทำธุรกิจร่วมกัน

– ใบสมัครสินเชื่อบ้านที่มีการลงชื่อเพื่อยืนยันเพิ่มเติมว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างผู้กู้หลักและคู่รักที่จะกู้ร่วม

ส่วนสำหรับคู่ไหนที่แต่งงานกันแล้ว ก็อาจนำรูปถ่ายจากการแต่งงานมายื่นประกอบ หรือหากใครมีการแต่งงานในประเทศที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ จดทะเบียนสมรสกันได้อย่างถูกต้อง ก็สามารถเตรียมเอกสารทะเบียนสมรสนั้นเผื่อยื่นประกอบให้ธนาคารพิจารณาได้ด้วยเช่นกัน

เช็คก่อนเลือกธนาคารที่ใช่ ช่วยให้กู้ร่วมได้ง่ายกว่าที่คิด

Sansiri LGBTQ Home Loan

การเดินดุ่มๆ เข้าไปยื่นเอกสารให้กับธนาคารที่ยังไม่เปิดให้กู้ร่วมสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน อาจทำให้ต้องเสียเวลาจากโดนปฏิเสธและผิดหวังแบบไม่ทันตั้งตัว! เราต้องถือคติ “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ก่อนอื่นมาเช็คลิสต์รายชื่อของธนาคารและเงื่อนไขกันก่อน ว่ามีธนาคารไหนที่ยอมให้มีการกู้ร่วมคู่รัก LGBTQ+ หรือมีเงื่อนไขและดอกเบี้ยเงินกู้ที่เหมาะสมหรือเอื้อต่อการกู้ร่วมในกรณีของคุณที่สุด

ตัวอย่างธนาคารที่รับพิจารณาการยื่นกู้ร่วมเพศเดียวกันทุกกรณี

โดยมาก ธนาคารมักมีการกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติผู้กู้ เหมือนกับการกู้ร่วมทั่วไป เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี โดยอายุของผู้กู้ เมื่อรวมกับระยะเวลากู้ต้องไม่เกิน 65 ปี โดยพิจารณาจากผู้กู้ร่วมที่อายุน้อยที่สุด รวมทั้งยังคงต้องดูวงเงินกู้ รายได้ และภาระหนี้ด้วยเช่นกัน

 – ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB): หนึ่งในธนาคารที่ร่วมมือกับแสนสิริ เปิดกว้างให้คู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วมได้ทุกเพศ ทุกอาชีพ ไม่มีข้อจำกัด แค่คุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด

 – ธนาคารออมสิน (GSB): มีการพิจารณารายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

 – ธนาคารกสิกร (KBANK): ต้องมีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน หรือบัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน

 – ธนาคารยูโอบี (UOB): กำหนดให้ต้องมีผู้กู้ร่วมฝ่ายหนึ่งที่ธนาคารประเมินว่าสามารถกู้บ้านหลังนี้ได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว และผู้กู้ร่วมอีกคนที่เหลือจะต้องมีความสามารถในการผ่อนชำระในฐานะผู้กู้ร่วมด้วย

 – ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY): ผู้กู้ต้องมีอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยเมื่อรวมอายุกับระยะเวลาผ่อนชำระแล้วต้องไม่เกิน 65 ปี รวมทั้งต้องมีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน หรือบัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน และต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกันร่วมกัน

ตัวอย่างธนาคารที่รับพิจารณาการยื่นกู้ร่วมเพศเดียวกันเป็นรายกรณี

 – ธนาคารกรุงเทพ (BBL): รับพิจารณาเป็นรายกรณี และมักดูจากระยะเวลาที่อยู่ร่วมกันมา

 – ธนาคารกรุงไทย (KTB): รับพิจารณาเฉพาะบางกลุ่มอาชีพ เช่น แพทย์และข้าราชการ

(เช็คเงื่อนไขและธนาคารที่ให้คู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วมได้ ที่นี่)

Sansiri Live Equally

อาจดูเหมือนว่าคู่รัก LGBTQ+ มีสิ่งที่ต้องเตรียมตัวเพิ่มขึ้นจากคู่รักคู่อื่นไม่น้อย แต่ในความจริงแล้วก็ไม่ได้มีขั้นตอนที่แตกต่างกันมากนัก เพราะคุณสมบัติหลักที่จะตัดสินว่าจะกู้ร่วมผ่านหรือไม่ ยังคงเป็นอายุ รายได้ วงเงินกู้ ความสามารถทางการเงิน ภาระหนี้ เป็นต้น

สำหรับใครที่ยังกังวลใจอยู่ หรือแม้แต่จะเริ่มต้นเตรียมเอกสาร ก็เริ่มไม่ถูก Home Financial Planner บริการผู้ช่วยของแสนสิริที่เชี่ยวชาญและพร้อมให้คำแนะนำด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการซื้อบ้าน ก็พร้อมช่วยให้คำปรึกษาเสมอ เพื่อให้คุณได้มีบ้านแสนอบอุ่น และใช้ชีวิตร่วมกันกับคนที่คุณรักไปได้ตราบนานเท่านานอย่างที่วาดฝันไว้

CONTRIBUTOR

Related Articles

Live Equally, สมรสเท่าเทียม, Love Wins Sansiri

Sansiri Pride in Milestone จากวันนั้น สู่วันที่ “สมรสเท่าเทียม”

ช่วงเวลาที่ผ่านมา นอกจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แล้ว “แสนสิริ” ยังมุ่งมั่นในการส่งเสริมสังคมแห่งความเท่าเทียมและเคียงข้างผลักดันให้ทุกคนกล้าที่จะเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่ และในวันนี้สิ่งที่เราเฝ้ารอมาตลอดก็เข้าใกล้ความจริงแล้ว เมื่อ “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในอีกไม่ถึง 120 วันหลังจากนี้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปย้อนดูสิ่งที่เราผลักดันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ส่งเสริมพนักงานในองค์กร จนก้าวไปสู่การเป็นองค์กรที่สนับสนุนและผลักดันให้ความหลากหลายอย่างเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในระดับสังคม จาก Sansiri Pride ในวันนั้น ส่งต่อมาถึง Everyone is

Live Equally, สมรสเท่าเทียม, Love Wins Sansiri

เมื่อความรักไม่มีข้อจำกัด จินตนาการใหม่ของหนัง LGBTQIA+ ยุค #สมรสเท่าเทียม

 จากจอภาพยนตร์สู่โลกแห่งความจริง ยุคสมรสเท่าเทียม จากภาพยนตร์ LGBTQIA+ ที่เราคุ้นเคย กำลังจะถูกเขียนบทใหม่ เมื่อประเทศไทยก้าวสู่ยุคแห่งความเท่าเทียมทางเพศ คู่รักทุกคู่จะมีสิทธิ์สมรสอย่างถูกต้องมาร่วมกันจินตนาการถึงเรื่องราวความรักในภาพยนตร์เหล่านี้ ถ้าหากตัวละครได้มาอยู่ในยุคที่มีกฎหมายรองรับ ความสุข ความฝัน การใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จะงดงามเพียงใด โดยกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป แสนสิริขอร่วมยินดีกับก้าวสำคัญของประเทศไทยสู่การยอมรับความรักทุกรูปแบบ เพราะเราเชื่อว่า

มาตราการอสังหา 2567

วางแผนซื้อบ้านต้องรู้! มาตรการอสังหาฯ ปี 2567 ช่วยยังไงบ้าง?

สานฝันคนอยากมีบ้านกับมาตรการอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐ ปี 2567  ที่ออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง วันนี้ เราจะมาพูดถึงมาตรการที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังจะวางแผนซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าโอนและจดจำนองที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมจากการปลูกสร้างบ้าน (ล้านละหมื่น) หรือสินเชื่อบ้าน โดย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งรายละเอียดแต่ละมาตรการจะเป็นอย่างไร มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ เริ่มจาก “มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567”