ไม่ว่าเพศไหนก็มีบ้านได้!
ส่อง Tips การเตรียมตัว
ก่อน LGBTQ+ กู้ร่วม

ความรักอาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่มีรูปแบบไม่ตายตัวที่สุด ไร้พรมแดนที่สุด และนำไปสู่ความฝันได้ไม่สิ้นสุดอันดับต้นๆ ของทุกสิ่งในโลกใบนี้ ในขณะที่คู่รักบางคู่ใฝ่ฝันถึงการแต่งงาน มีลูกน้อยเป็นโซ่ทองคล้องใจ ยังมีคู่รักมากมายที่ปรารถนาเพียงการใช้ชีวิตร่วมกัน  ดูแลกันไปตราบนานเท่านาน ในบ้านอันแสนอบอุ่นที่เป็นของเขา…ทั้งสองคน

ใครที่ได้ติดตามเรื่องเล่าของ ‘รักเท่า(กับ)บ้าน’ ของคุณลี่-ธนิดา แก้วกำพลกุล และคุณแอน-ปุณณดา เศวตธนะ คงได้เห็นอีกคู่รักที่พิสูจน์แล้วว่าความรักไม่จำกัดเพียงความเป็นชาย-หญิง และความฝันของคู่รักอาจเป็นเพียงการดูแลกัน ฝึกโยคะไปด้วยกันจนผมเป็นสีขาว โดยมีคอนโดจากการกู้ร่วม LGBTQ+ เป็นทรัพย์สินร่วมกัน ราวกับเป็นลูกตัวน้อยๆ ที่เข้ามาเติมเต็มการชีวิตคู่

รักเท่าบ้าน Video

ถึงการกู้ร่วมของคู่รัก LGBTQ+ จะง่ายดายและเป็นไปได้แบบนี้ หลายคนก็ยังอดกังวลในหลายๆ เรื่องไม่ได้ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า “กุญแจสำคัญ” อยู่ที่การเตรียมเอกสาร รวมทั้งการเลือกธนาคารเท่านั้นเอง! ตามมาส่อง Tips ดีๆ ของการเตรียมพร้อมก่อนกู้ร่วม LGBTQ+ ที่จะช่วยให้คุณและคนรักกู้ได้ง่ายๆ และได้บ้านในฝันอย่างที่ตั้งใจกัน

ความสัมพันธ์ต้องยืนยันกันหน่อย

Sansiri LGBTQ Home Loan

ใครว่ารักกันต้องแต่งงานกันเสมอไป? เช่นเดียวกับคุณลี่และคุณแอน คู่รักมากมายมองว่าการแต่งงานอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญจำเป็นนัก และสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ในประเทศไทยเอง ก็ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับการแต่งงานหรือให้สิทธิ์ในการจดทะเบียนสมรสสำหรับคู่รัก LGBTQ+ (ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ควรถูกผลักดันให้เกิดขึ้นได้อย่างจริงจังเสียที) แม้จะมีการพิจารณาเรื่องของพ.ร.บ.คู่ชีวิต แต่การแต่งงานที่ไม่ได้เพิ่มสิทธิทางกฎหมายให้กับคู่รัก LGBTQ+ แต่อย่างใด ทำให้หลายคู่รักก็ยังกังวลเกี่ยวกับการมีสินทรัพย์ร่วมกัน หรือการกู้ร่วม

แต่ในปัจจุบัน หลายธนาคารได้เปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQ+ สามารถกู้ร่วมกันได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร บางธนาคารอาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมมากกว่าการกู้ร่วมแบบชาย-หญิง แต่ไม่ต้องห่วง แสนสิริบล็อกจะช่วยคุณเองค่ะ

Sansiri LGBTQ Home Loan

นอกเหนือจากเอกสารปกติที่จะต้องจัดเตรียมสำหรับการกู้ซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเอกสารส่วนตัว เอกสารทางการเงินที่แสดงรายได้และความสามารถทางการเงินเอกสารข้อมูลทรัพย์สิน หรือเอกสารหลักประกัน (เช็คเอกสารต่างๆ ได้เลย ที่นี่) แต่สำหรับการกู้ร่วมของคู่รัก LGBTQ+ แล้วนั้น อาจลองเตรียมเอกสารเพิ่มเติมเหล่านี้ที่ช่วยยืนยันความสัมพันธ์ได้ดีเผื่อไว้ด้วย เช่น

 – ทะเบียนบ้านที่มีชื่อของคุณทั้งคู่อยู่ เพื่อยืนยันว่าอาศัยอยู่ด้วยกัน

– บัญชีเงินฝากร่วมกัน (บัญชีคู่)

– เอกสารจากการกู้ซื้อทรัพย์สินอื่นร่วมกัน เช่น รถยนต์

– เอกสารยืนยันการทำธุรกิจร่วมกัน

– ใบสมัครสินเชื่อบ้านที่มีการลงชื่อเพื่อยืนยันเพิ่มเติมว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างผู้กู้หลักและคู่รักที่จะกู้ร่วม

ส่วนสำหรับคู่ไหนที่แต่งงานกันแล้ว ก็อาจนำรูปถ่ายจากการแต่งงานมายื่นประกอบ หรือหากใครมีการแต่งงานในประเทศที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ จดทะเบียนสมรสกันได้อย่างถูกต้อง ก็สามารถเตรียมเอกสารทะเบียนสมรสนั้นเผื่อยื่นประกอบให้ธนาคารพิจารณาได้ด้วยเช่นกัน

เช็คก่อนเลือกธนาคารที่ใช่ ช่วยให้กู้ร่วมได้ง่ายกว่าที่คิด

Sansiri LGBTQ Home Loan

การเดินดุ่มๆ เข้าไปยื่นเอกสารให้กับธนาคารที่ยังไม่เปิดให้กู้ร่วมสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน อาจทำให้ต้องเสียเวลาจากโดนปฏิเสธและผิดหวังแบบไม่ทันตั้งตัว! เราต้องถือคติ “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ก่อนอื่นมาเช็คลิสต์รายชื่อของธนาคารและเงื่อนไขกันก่อน ว่ามีธนาคารไหนที่ยอมให้มีการกู้ร่วมคู่รัก LGBTQ+ หรือมีเงื่อนไขและดอกเบี้ยเงินกู้ที่เหมาะสมหรือเอื้อต่อการกู้ร่วมในกรณีของคุณที่สุด

ตัวอย่างธนาคารที่รับพิจารณาการยื่นกู้ร่วมเพศเดียวกันทุกกรณี

โดยมาก ธนาคารมักมีการกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติผู้กู้ เหมือนกับการกู้ร่วมทั่วไป เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี โดยอายุของผู้กู้ เมื่อรวมกับระยะเวลากู้ต้องไม่เกิน 65 ปี โดยพิจารณาจากผู้กู้ร่วมที่อายุน้อยที่สุด รวมทั้งยังคงต้องดูวงเงินกู้ รายได้ และภาระหนี้ด้วยเช่นกัน

 – ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB): หนึ่งในธนาคารที่ร่วมมือกับแสนสิริ เปิดกว้างให้คู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วมได้ทุกเพศ ทุกอาชีพ ไม่มีข้อจำกัด แค่คุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด

 – ธนาคารออมสิน (GSB): มีการพิจารณารายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

 – ธนาคารกสิกร (KBANK): ต้องมีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน หรือบัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน

 – ธนาคารยูโอบี (UOB): กำหนดให้ต้องมีผู้กู้ร่วมฝ่ายหนึ่งที่ธนาคารประเมินว่าสามารถกู้บ้านหลังนี้ได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว และผู้กู้ร่วมอีกคนที่เหลือจะต้องมีความสามารถในการผ่อนชำระในฐานะผู้กู้ร่วมด้วย

 – ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY): ผู้กู้ต้องมีอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยเมื่อรวมอายุกับระยะเวลาผ่อนชำระแล้วต้องไม่เกิน 65 ปี รวมทั้งต้องมีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน หรือบัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน และต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกันร่วมกัน

ตัวอย่างธนาคารที่รับพิจารณาการยื่นกู้ร่วมเพศเดียวกันเป็นรายกรณี

 – ธนาคารกรุงเทพ (BBL): รับพิจารณาเป็นรายกรณี และมักดูจากระยะเวลาที่อยู่ร่วมกันมา

 – ธนาคารกรุงไทย (KTB): รับพิจารณาเฉพาะบางกลุ่มอาชีพ เช่น แพทย์และข้าราชการ

(เช็คเงื่อนไขและธนาคารที่ให้คู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วมได้ ที่นี่)

Sansiri Live Equally

อาจดูเหมือนว่าคู่รัก LGBTQ+ มีสิ่งที่ต้องเตรียมตัวเพิ่มขึ้นจากคู่รักคู่อื่นไม่น้อย แต่ในความจริงแล้วก็ไม่ได้มีขั้นตอนที่แตกต่างกันมากนัก เพราะคุณสมบัติหลักที่จะตัดสินว่าจะกู้ร่วมผ่านหรือไม่ ยังคงเป็นอายุ รายได้ วงเงินกู้ ความสามารถทางการเงิน ภาระหนี้ เป็นต้น

สำหรับใครที่ยังกังวลใจอยู่ หรือแม้แต่จะเริ่มต้นเตรียมเอกสาร ก็เริ่มไม่ถูก Home Financial Planner บริการผู้ช่วยของแสนสิริที่เชี่ยวชาญและพร้อมให้คำแนะนำด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการซื้อบ้าน ก็พร้อมช่วยให้คำปรึกษาเสมอ เพื่อให้คุณได้มีบ้านแสนอบอุ่น และใช้ชีวิตร่วมกันกับคนที่คุณรักไปได้ตราบนานเท่านานอย่างที่วาดฝันไว้

CONTRIBUTOR

Related Articles

ขายของออนไลน์ ก็กู้ซื้อบ้านได้ ง่ายนิดเดียว-ขายออนไลน์ซื้อบ้าน-กู้บ้าน-sansirihomefinancialplanner

ขายของออนไลน์ ก็กู้ซื้อบ้านได้ ง่ายนิดเดียว

ในยุคของ E-Commerce แบบนี้ ไม่ว่าหันไปทางไหน ใครๆ ก็ซื้อของออนไลน์กันทั้งนั้น จึงไม่แปลกเลยที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะกลายเป็นอาชีพยอดฮิต เพราะค่อนข้างมั่นคงและรายได้ดีไม่แพ้งานประจำเลย เผลอๆ ดีกว่าด้วยซ้ำ อะไรคือสาเหตุที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กู้ไม่ผ่าน? แต่ทั้งๆ ที่ยอดขายทะลุเป้าทุกเดือนแบบนี้ ทำไมพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนถึงยังกู้ไม่ผ่านในเวลาที่อยากมีบ้านกันล่ะ? สาเหตุหลักเลย คือหลายคนไม่ได้เก็บหลักฐานการใช้จ่ายของธุรกิจไว้ เช่น ใบสั่งซื้อ หรือบิลต่างๆ ทำให้พิสูจน์ไม่ได้ว่ารายได้มาจากการขายออนไลน์จริงหรือไม่

กู้ร่วม ทางออกของคนอยากมีบ้าน

เชื่อว่าทุกคนที่กำลังวางแผนซื้อบ้าน ต้องมีบ้านในฝันของตัวเองอยู่แล้ว… ปัญหาคือถ้าได้วงเงินกู้ไม่เพียงพอ หรือยื่นกู้ไม่ผ่านขึ้นมา บ้านหลังนั้นคงหลุดมือไปอย่างน่าเสียดาย แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกัน! เพราะปัญหานี้มีทางออก “การกู้ร่วม” นี่เอง คือทางออกที่จะทำให้บ้านในฝันเป็นของเราได้ง่ายขึ้น แล้วการกู้ร่วมต้องทำยังไง มีเทคนิคยังไงบ้าง Sansiri Blog มีคำตอบ กู้ร่วมคืออะไร? ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักการกู้ร่วมกันก่อน “การกู้ร่วม” คือการร่วมเซ็นสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน

Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาเรื่องการเงินจากแสนสิริ

Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาเรื่องการเงินจากแสนสิริ ช่วยคุณมีบ้านง่าย ได้ยังไงบ้าง?

“อยากมีบ้าน แต่กลัวเรื่องกู้…, จะกู้แต่ก็กลัวเรื่องเอกสารวุ่นวาย…, ไหนจะต้องติดต่อธนาคาร โอ้ยย ทำไมมีบ้านสักหลัง ต้องคิดอะไรเยอะแยะจัง” สารพัดหลายปัญหาหลายความกังวลของคนอยากมีบ้าน แสนสิริเข้าใจดีว่าการซื้อบ้านสักหลังนึงสำหรับบางคนถือเป็นเรื่องสำคัญในชีวิต หลายๆ คนอาจมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เราจึงมีบริการเพื่อสำหรับผู้ที่สนใจอยากเป็นเจ้าของโครงการจากแสนสิริ “Sansiri Home Financial Planner” บริการให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อคนอยากมีบ้าน ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากธนาคารชั้นนำมาเป็นที่ปรึกษา ทั้งการเตรียมเอกสาร