ทุกคนเคยสงสัยไหมคะว่าเราจะรู้ได้ยังไงว่าน้องหมา น้องแมว ที่เรารักนั้นกำลังไม่สบายอยู่หรือเปล่านะ? เพราะน้องหมา น้องแมว บอกเราไม่ได้เราจึงต้องสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงอย่างใส่ใจ ว่าสัตว์เลี้ยงของเรานั้นมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปยังไง หรือมีอาการผิดปกติอะไรที่แสดงออกมาทางร่างกาย เพื่อที่เราจะได้พาพวกเขาไปรักษาได้อย่างเร็วที่สุดค่ะ
สุขภาพของน้องหมา น้องแมวเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม หากน้องหมาที่คอยวิ่งออกมาส่งเมื่อเราจะออกจากบ้าน หรือมานั่งรอกระดิกหางหน้าบ้านเมื่อเรากลับมาไม่มานั่งคอยเหมือนเดิม น้องแมวที่คอยมาอ้อน คลอเคลียเรา กลับเงียบซึมไม่มาหาเหมือนเคย บางครั้งเราอาจจะคิดว่าน้องหมา น้องแมวขี้เกียจ หรืออารมณ์ไม่ดีหรือเปล่านะ เดียวก็หายแล้วกลับมาสดใสร่าเริงเหมือนเดิม แต่แท้จริงแล้วอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณที่บอกว่าน้องหมา น้องแมวกำลังไม่สบาย ลองสังเกตอาการเบื้องต้นหากน้องหมา น้องแมวมีอาการ เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องเสีย เซื่องซึม ฯลฯ หากไม่หาย 1-2 วันควรพาไปพบแพทย์
การดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดขึ้น เจ้าของจึงต้องพาน้องหมา น้องแมว ไปตรวจสุขภาพปีละ 1-2 ครั้ง ยิ่งสัตว์เลี้ยงอายุมากขึ้น เจ้าของอย่างเรายิ่งต้องใส่ใจสุขภาพของพวกเขามากขึ้นเช่นกัน วันนี้ Mental Life by Chanisara จะมาบอกวิธีสังเกตอาการเมื่อน้องหมา น้องแมวป่วยกันค่ะ
ลองสังเกตอาการที่จะบอกว่า น้องหมา น้องแมว ป่วย
ไม่อยากกินอาหารทั้งที่เคยชอบกิน หากน้องหมา น้องแมวที่เรารัก ไม่ยอมกินอาหาร เกิน 1 วัน ควรจะพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป
กินน้ำมากกว่าปกติ ทุกคนรู้หรือไม่หากน้องหมา น้องแมวของเรา กินน้ำหรือปัสสาวะมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณของโรคไตและเบาหวานนั่นเองค่ะ เพราะโดยปกติแล้วน้องหมา น้องแมวจะดื่มน้ำประมาณ 50 – 70 มล. ต่อวันนั่นเองค่ะ
ไม่ร่าเริงแจ่มใสเหมือนเมื่อก่อน หากน้องหมา น้องแมว ไม่สดใสร่าเริง เหมือนอย่างที่เคยเป็น ไม่เล่นกับเรา หรือไม่ทำกิจกรรมที่เคยชอบทำ มีอาการซึมเศร้า เช่น น้องแมวไม่มาคลอเคลียเราเหมือนเคย ควรพาเขาไปปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป
อุจจาระหรือปัสสาวะนานกว่าปกติ หากน้องมาน้องแมวยืนขับถ่ายหรือปัสสาวะนานกว่าปกติแต่ไม่มีอะไรออกมา หรือหากขับถ่ายและมีเลือดเจือปน อาจเป็นเพราะมีความผิดปกติทางทางเดินปัสสาวะ เช่น การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ หรืออาการท้องผูกอย่างรุนแรง ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
อย่างไรก็ตามเราต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่า การที่น้องหมา น้องแมว ปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ออกนั้นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอกหรือเปล่า เช่น การเปลี่ยนที่อุจจาระหรือปัสสาวะของน้องหมา น้องแมว ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้พวกเขาอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ออกได้เช่นเดียวกันค่ะ
น้ำหนักตัวลดลง การที่น้ำหนักตัวของน้องหมา น้องแมวลดลง ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนของการป่วย อาจจะเป็นเพราะพวกเขาเบื่ออาหาร หรือ อาจจะเป็นเพราะพวกเขามีความผิดปกติภายในช่องปากหรือระบบทางเดินอาหาร
ขนร่วงผิดปกติ ขนร่วงออกมาเยอะมาก มีอาการคัน เกาจนเป็นแผล อาจจะเป็นโรคภูมิแพ้ หรือหาก มีแผลนูน หรือก้อนเนื้อที่ผิดปกติ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป
น้ำมูกหรือน้ำตาเยอะ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ของโรคระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ หากน้องหมา น้องแมว มีจมูกแฉะหรือน้ำตาไหลตลอดเวลา ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป
หากเป็นโรคอื่นๆ เช่น มีกลิ่นปากอย่างรุนแรง หูเหม็น ก็ควรพาน้องหมา น้องแมวไปพบสัตวแพทย์ เพราะอาจจะติดเชื้อในช่องปาก หรือมีแบคทีเรียที่หูได้
ทั้งนี้ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นแค่สัญญาณบางส่วนในการเกิดโรคในน้องหมา น้องแมว และหากพบความผิดปกติทางพฤติกรรมหรือร่างกายของน้องหมา น้องแมว ควรสังเกตยังใกล้ชิด ถ้าพบว่ามีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ควรพาเขาไปตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อที่จะรักษาได้ทันท่วงทีและทำให้สัตว์เลี้ยงที่เรารักกลับมาแข็งแรงสดใสในเร็ววันค่ะ
ความแตกต่างของอาการป่วยในน้องหมา – น้องแมว
การแสดงออก
น้องหมา มักจะแสดงออกถึงอาการเจ็บป่วยได้ชัดเจนกว่า เช่น ไม่ร่าเริง มีอาการซึมเศร้า ครางหงิงๆ มาอ้อนให้เราสนใจ หรือสุนัขบางตัวอาจจะไม่ร้อง ไม่แสดงอาการ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่เจ็บไม่ป่วย
น้องแมว มักจะเก็บตัวหลบซ่อนตัว ไปอยู่มุมใดมุมหนึ่งของบ้าน ไม่ออกมาเล่นเหมือน ปกติ บางทีอาจจะมีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าวเมื่อรู้สึกว่าตัวเองกำลังไม่สบาย
การกินอาหาร
น้องหมา หากไม่กินอาหารอาจเป็นเพราะ น้องหมาเบื่ออาหารก็เป็นได้ แต่ถ้าไม่กินอาหารเกิน 1-2 วันก็ควรพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาโรคต่อไป
น้องแมว การที่น้องแมวอดอาหารอาจจะเป็นอันตรายกว่าการที่น้องหมาอดอาหาร เพราะการที่น้องแมวอดอาหารมากกว่า 1 ถึง 2 วัน อาจจะเกิดภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver หรือ Hepatic Lipidosis) ซึ่งโรคนี้เป็นอันตรายต่อชีวิต หากน้องแมวไม่ยอมกินอาหาร เกิน 2 วัน ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
การเลียตัวเอง
น้องหมา น้องหมาจะไม่ได้เลียขนทั่วร่างกายเหมือนน้องแมว ที่เราสังเกตได้เขาจะเลียบริเวณที่เป็นแผลหรือที่ตัวเองเจ็บ
น้องแมว จะเลียขนตัวเองเป็นประจำทั่วร่างกาย หากปล่อยให้คนรุงรัง ไม่เลียขนตัวเองนั่นเป็นสัญญาณของความผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณว่าเขากำลังป่วย
การขับถ่ายอุจจาระ
น้องหมาที่ขับถ่ายไม่เป็นที่ (ต้องเป็นกรณีที่น้องหมาได้รับการฝึกแล้ว) นั่นอาจเป็นสัญญาณบอกว่าเขากำลังมีความเครียด
น้องแมว เป็นสัตว์ที่มีวินัยในการขับถ่ายสูง หากเขาขับถ่ายแล้วไม่มีอะไรออกมาอาจเป็นสัญญาณว่าเขาป่วย อาจจะเป็นโรคท้องผูก ฯลฯ
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ทำให้เราแยกอาการป่วยของน้องหมา น้องแมวได้ค่ะ เพราะบางครอบครัวอาจจะเลี้ยงน้องหมา น้องแมวคู่กัน
หรือบางครอบครัวอาจจะมีแค่น้องหมา น้องแมว เราจะได้สังเกตอาการเพื่อที่จะพาเขาไปรักษาต่อไปค่ะ
หากสังเกตว่าน้องหมา น้องแมวป่วย ควรทำเช่นไร
จดบันทึกสังเกตอาการ สังเกตอาการและจดบันทึกความผิดปกติ ทางด้านพฤติกรรมและร่างกายของน้องหมา น้องแมวไว้เพื่อจะได้บอกหมอได้แม่นยำ และเราเองจะได้รู้ว่าพวกเขาอาการดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไรนั่นเองค่ะ
ค้นหาข้อมูลเบื้องต้น จากอินเทอร์เน็ตโดยใช้แหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อที่จะได้รู้อาการเบื้องต้นของน้องหมา น้องแมวและจะได้พาไปพบสัตวแพทย์ได้ทันท่วงทีค่ะ
ไม่ให้น้องหมา น้องแมวงดอาหารเกินไป ควรพยายามให้น้องหมา น้องแมวกินอาหาร เพื่อจะทำให้มีแรงและไม่ป่วยไปมากกว่านี้ค่ะ
พาไปพบสัตวแพทย์เมื่อเห็นถึงความผิดปกติ ควรพาน้องหมาน้อง แมวไปพบสัตวแพทย์ เพื่อที่จะรักษาให้หายขาด ไม่เกิดอาการลุกลามไปยังโรคอื่นๆ ค่ะ
การป้องกันอาการป่วยเบื้องต้นของน้องหมา น้องแมว
ควรพาน้องหมา น้องแมวไปตรวจสุขภาพปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับสัตว์เลี้ยงที่มีอายุมากกว่า 8 ปี จะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากกว่า ไม่ได้แข็งแรงเหมือนตอนที่เขาอายุยังน้อย ดังนั้นอาจจะตรวจร่างกายบ่อยขึ้นเพื่อป้องกันโรคที่จะตามมาในอนาคต หรือหากป่วยจะได้รักษาทันค่ะ
เพราะน้องหมา น้องแมวพูดไม่ได้ เราเลยต้องดูแลพวกเขาด้วยความใส่ใจให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้รับรู้ถึงอาการป่วย ดูแลและพาพวกเขาไปรักษาให้น้องหมา น้องแมวกลับมาแข็งแรงได้ในเร็ววันค่ะ
Source
https://thonglorpet.com/diary/
https://www.sfspca.org/blog/is-your-pet-sick-2/
https://www.americanhumane.org/public-education/recognizing-caring-for-a-sick-pet/
https://pettownsendvet.com/blog/pet-signs-of-pain/#:~:text=Altered%20Grooming%20Habits
https://www.petmd.com/cat/conditions/digestive/hepatic-lipidosis-cats-fatty-liver-disease
PET HORNNIA