ฟังเสียงร่างกายด้วยหัวใจ
รู้จักกับภาวะ Presenteeism
ฝืนทำงานทั้งที่ร่างกาย-จิตใจไม่ไหว

ใครเคยเป็นบ้างคะ ฝืนทำงานทั้งที่สภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจไม่ไหว เพราะไม่อยากลาหยุด แต่การฝืนทำงานทั้งที่ยังป่วยอาจทำให้เราป่วยเพิ่มมากขึ้นและอาจจะทำให้เราทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยในประเทศไทยมีคนมากกว่า 50% ยังไปทำงานทั้งที่ยังคงเผชิญอาการป่วยทางร่างกายไม่เพียงเท่านั้นยังพบว่า ผู้คนประมาณ 27.5% ยังคนฝืนทำงานทั้งที่มีปัญหาสุขภาพใจ นอกจากนี้มีการสำรวจพบว่ายังมีบางคนฝืนทำงานมากกว่า 5 ครั้งทั้งที่ป่วยภายใน 1 ปี อีกด้วยค่ะ 

ทำไมหลายคนถึงทำเช่นนั้นอาจเป็นเพราะ อาจจะมองว่าเป็นภาระหน้าที่ที่เราต้องทำ งานนั้นไม่มีใครทำแทนเราได้ มีงานด่วน หรืออาจจะคิดว่าเราพอไหวทั้งที่เราอาจจะไม่ไหวแล้ว ฯลฯ ภาวะนี้มีชื่อเรียกว่า “Presenteeism” หรือ “ภาวะฝืนทำงาน” ซึ่งไม่ได้ถูกจัดเป็นโรคแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา อย่างไรก็ตามการรับผิดชอบในหน้าที่เป็นเรื่องที่ดีและเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ แต่ในบางครั้งเราต้องคิดถึงสุขภาพร่างกายของตัวเองด้วย เราจึงต้องฟังเสียงร่างกายของเราด้วยหัวใจค่ะ

วันนี้ Mental Life by Chanisara จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะ “Presenteeism”หรือภาวะฝืนทำงาน สัญญาณเตือนทางร่างกายที่แสดงออกมาหลัง “ฝืนทำงาน” ทุกคนรู้ไหมว่าภาวะฝืนทำงานเป็น “ปัญหาซ่อนเร้น” ที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงเราจะมาบอก 5 วิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะฝืนทำงานที่เราทำได้ด้วยตัวเองกันค่ะ

Presenteeism

รู้จักภาวะ “Presenteeism” เมื่อกาย – ใจไม่ไหวอย่าฝืนทำงาน

ใครเคยฟืนทำงานทั้งที่เราไม่สบายอยู่บ้างคะ ป่วยนะ ร่างกายไม่ไหว แต่เราบอกไหวนะ ไม่ได้ป่วยขนาดนั้นหรอก และเราเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นแบบนี้ โดยพฤติกรรมดังกล่าวถูกเรียกว่า “Presenteeism” หรือภาวะฟืนทำงาน คือคนที่ไปทำงานแต่ร่างกายไม่พร้อมทำงาน ภาวะนี่ไม่ได้หมายถึงกายเจ็บป่วยทางกายเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการป่วยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและรวมไปถึงความเสียใจหลังจากสูญเสียคนรัก หรือ การอกหักอีกด้วย โดยมีคนไทยที่ร่างกายและจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน แต่ยังฝืนมาทำงาน กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นตัวเลขที่น่าตกใจไม่น้อยเลยทีเดียว

และแน่นอนการที่ทำงานทั้งที่ร่างกายป่วยหรือเรากำลังไม่สบายใจนั้น ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเราลดลง และทุกคนรู้ไหมว่าจากภาวะฝืนทำงานสร้างความเสียหายต่อองค์กรและบริษัทต่างๆ มากกว่าการหยุดงานประมาณ 3 – 10 เท่าเลยทีเดียว (โดยข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยจากเว็บไซต์ Paylocity ซึ่ง Paylocity เป็นเว็บไซต์และ Application Platform ที่ให้บริการเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรบุคคลและการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา)

แล้วทุกคนสงสัยกันไหมว่าทำไมคนจำนวนมากถึงไปทำงานทั้งที่ยังรู้สึกป่วยกายหรือป่วยใจ ไม่พร้อมทำงาน จากการสำรวจของสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) ของประเทศไทยได้สำรวจ เหตุผลของคนที่ป่วยแล้วยังไปทำงาน พบว่าคิดว่าไม่มีใครสามารถทำแทนเราได้ถึง 22.2% เหตุผลรองลงมา มีงานด่วนที่ต้องทำให้เสร็จภายในวันนั้น 20.2%  ต่อมาคือเหตุผลเรื่องของความจำเป็นต้องใช้เงินหรือกลัวมีผลกระทบต่อการประเมินประจำปี ถึง 17.5% เหตุผลต่อมาคือ มีความจำเป็นที่ต้องไปทำงาน 14.3%  และเหตุผลต่อมาคิดว่าตัวเองยังไหว ยังไปทำงานได้ 14.3% เช่นกัน แล้วที่เรากล่าวมามีเหตุผลของเพื่อนๆ ข้อไหนอยู่ในนี้บ้างไหมคะ และรู้ไหมคะผลสำรวจยังพบว่ามีคนไทยที่ทำงานมากกว่า 5 ครั้งทั้งที่ป่วยภายใน 1 ปี ถึง 2.3% อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเรารู้สึกป่วยกายหรือป่วยใจ เราควรพักผ่อนให้หายดี เพื่อที่จะได้กลับไปทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนะคะ ใครที่กำลังเผชิญภาวะฝืนทำงานอยู่เราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้คุณนะคะ

สัญญาณเตือนทางร่างกายที่แสดงออกมาหลัง “ฝืนทำงาน”

เมื่อเราฝืนทำงานในขณะร่างกายของเราไม่ไหว ร่างกายจะส่งสัญญาณบอกเรา ดังนี้

รู้สึกร่างกายอ่อนล้า ไม่อยากทำงาน คิดอะไรไม่ออก ปวดหัว สมองไม่แล่น รู้สึกไม่มีแรงทำงาน รู้สึกเหมือนร่างจะพัง 

ปวดกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ปวดตา ปวดหลัง เพราะอาจเกิดจากการนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม หากคนที่มีอาการ Office Syndrome อยู่แล้ว อาจจะมีอาการแย่ลงกว่าเดิมก็ได้ค่ะ

ป่วยง่ายขึ้น  เมื่อภูมิคุ้มกันเราลดลงทำให้เราป่วยง่ายขึ้น นอกจากเป็นไข้หวัด อาจจะมีโรคอื่นๆ ตามมาได้อีกด้วยค่ะ โดยงานวิจัยจาก Harvard Medical School ระบุว่า ความเครียดและการนอนไม่เพียงพอจะส่งผลให้เราติดเชื้อง่ายขึ้น

เกิดการนอนไม่หลับ อาจจะเกิดจากการฝืนทำงานจนเกิดเครียด ทำให้เรานอนไม่หลับ 

โรคกระเพราะ โรคกดไหลย้อนถามหา เพราะเมื่อเราฝืนทำงาน เราจะเครียด และเมื่อเกิดความเครียดแล้วอาจจะเป็นโรคเครียดลงกระเพาะหรือโรคกรดไหลย้อนได้ค่ะ

อ้วนขึ้น จากการฝืนทำงานทำให้เราเครียด พอเราเครียด เราก็จะกินเพิ่มขึ้น เพราะ หลายคนเชื่อว่าการกินสามารถทำให้เราเครียดน้อยลงได้ 

โรคประจำตัวกำเริบ ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคประจำตัวอาจจะกำเริบขึ้นได้ เมื่อเราฝืนทำงานเพราะเราเกิดความเครียดค่ะ 

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าแม้ภาวะ Presenteeism จะไม่ถูกจัดเป็นโรค แต่คนฝืนทำงานอาจจะทำให้โรคอื่นๆ ตามมานั่นเองค่ะ 

ภาวะฝืนทำงาน “ปัญหาซ่อนเร้น” ที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต

ภาวะ Presenteeism ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราอย่างมาก แต่บ่อยครั้งปัญหานี้ถูกมองข้ามไป อาจเป็นเพราะปัญหานี้เป็นปัญหาซ่อนเร้นที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ บางครั้งอาจจะไม่มีใครล่วงรู้ และคนที่ประสบภาวะนี้ อาจจะคิดว่า “ฉันยังไหว” “ ฉันไม่เป็นไร” แต่การฝืนทำงาน ทั้งที่สภาพจิตใจของเรายังไม่พร้อม อาจทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล หากมีอาการรุนแรงอาจจะถึงขั้นหมดไฟในการทำงาน และกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ ภาวะฝืนทำงาน จึงเป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามไป อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า มีคนจำนวนถึง 27.5% ที่ฝืนทำงาน โดยที่มีปัญหาสุขภาพใจ ซึ่งการฝืนทำงานทั้งที่ยังป่วยไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระยะยาวได้ค่ะ

5 วิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะฝืนทำงานที่ทำได้ด้วยตัวเอง

ปรับความคิดตัวเอง ว่าไม่ไหวต้องหยุดงาน

หันกลับมารักตัวเองมากขึ้น บอกตัวเองว่า หากป่วยไม่ไหวต้องหยุดทำงาน เพราะหากเรายังฝืนทำงาน อาจจะส่งผลต่อสุขภาพของตัวเองในระยะยาวก็ได้ค่ะ 

พยายาม work life balance ให้ได้

เราเข้าใจว่าการ work Life Balance อาจจะทำยากสำหรับบางคน แต่เราต้องพยายามแบ่งเวลาระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตส่วนตัวให้เหมาะสม เพื่อที่ทำให้เราจะได้ไม่เครียดจนเกินไป การพักผ่อนทำให้ร่างกายและจิตใจของเราได้ชาร์จแบต มีแรงกลับมาทำงาน และสามารถลดอาการป่วยลงได้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ Presenteeism ได้ค่ะ

นอนให้ครบ 6 – 8 ชั่วโมง ต่อวัน

การนอนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในชีวิตประจำวันของเรา เพราะการนอนหลับมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน เราสังเกตดูนะคะถ้าหากวันไหนเรานอนไม่พอ เราจะเกิดอาการสมองล้าและ คิดอะไรไม่ออก แต่ถ้าหากเรานอนเร็วเราจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าตอนที่เรานอนไม่พอค่ะ

พักระหว่างการทำงานทุก 2 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 10 นาที

หากใครนั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะคอม ควรลุกขึ้นมาขยับตัว ยืดเส้นยืดสาย หรือพักสายตาบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่เป็นโรค Office Syndrome นั่นเองค่ะ

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต

หากรู้สึกว่าตัวเองรับไม่ไหว อาจจะไปปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพราะการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นค่ะ 

มีคนวัยทำงานกว่าครึ่งที่ประสบภาวะ Presenteeism หรือภาวะฝืนทำงาน ซึ่งเราคิดว่า หากเรากำลังไม่สบายกายหรือไม่สบายใจ ควรพักรักษาให้หายดีก่อน เพื่อที่เราจะได้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ส่งผลกระทบต่อเราและผู้อื่นในระยะยาว สุดท้ายนี้เราก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับคนทำงานทุกคนนะคะ


Source

https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1137619 

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1615 

https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC2947637/ 

https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/how-to-boost-your-immune-system 

https://www.pptvhd36.com/health/how-to/5885 

Related Articles

pet sick

เพราะการใส่ใจ คือ การมอบความรักให้สัตว์เลี้ยง มาสังเกตดูว่า “น้องหมา-น้องแมว” สบายดีอยู่หรือเปล่านะ?

ทุกคนเคยสงสัยไหมคะว่าเราจะรู้ได้ยังไงว่าน้องหมา น้องแมว ที่เรารักนั้นกำลังไม่สบายอยู่หรือเปล่านะ? เพราะน้องหมา น้องแมว บอกเราไม่ได้เราจึงต้องสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงอย่างใส่ใจ ว่าสัตว์เลี้ยงของเรานั้นมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปยังไง หรือมีอาการผิดปกติอะไรที่แสดงออกมาทางร่างกาย เพื่อที่เราจะได้พาพวกเขาไปรักษาได้อย่างเร็วที่สุดค่ะ สุขภาพของน้องหมา น้องแมวเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม หากน้องหมาที่คอยวิ่งออกมาส่งเมื่อเราจะออกจากบ้าน หรือมานั่งรอกระดิกหางหน้าบ้านเมื่อเรากลับมาไม่มานั่งคอยเหมือนเดิม น้องแมวที่คอยมาอ้อน คลอเคลียเรา กลับเงียบซึมไม่มาหาเหมือนเคย บางครั้งเราอาจจะคิดว่าน้องหมา น้องแมวขี้เกียจ หรืออารมณ์ไม่ดีหรือเปล่านะ เดียวก็หายแล้วกลับมาสดใสร่าเริงเหมือนเดิม

Food Coma

“หนังท้องตึง หนังตาหย่อน” “Food Coma” อาการง่วงนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จ

ไหนใครมีอาการแบบนี้บ้าง ง่วงหลังทานอาหารเสร็จแต่เราต้องกลับมานั่งทำงาน กลับมาเรียนต่อในตอนบ่าย ต้องกินชา กินกาแฟ เป็นตัวช่วยให้ตาสว่าง กลับมารู้สึกกระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง หลายคนอาจสงสัยว่าที่เรามีอาการเช่นนี้เพราะเราขี้เกียจหรือเปล่านะ? แต่แท้จริงแล้ว อาจจะเป็นเพราะเรากินอาหารที่มีแป้งและไขมันมากเกินไป รวมถึงกินอิ่มมากเกินไปจึงทำให้เรารู้สึกง่วงนอนนั่นเองค่ะ  อาการนี้เขาเรียกกันว่า “Food Coma” หรือการง่วงหลังจากรับประทานอาหารเสร็จหากฟังดูอาจจะดูเหมือนเป็นอาการที่อันตราย แต่แท้จริงแล้ว อาการนี้ไม่เป็นอันตราย แต่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน การเรียน สุขภาพ

White Lies

White Lies โกหกตัวเองและผู้อื่นวันนี้เพื่อความสบายใจ แต่ส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างไม่คาดคิด

อย่าโกหกตัวเองเพื่อรักษาความรู้สึกคนอื่น เพราะความรู้สึกของเราสำคัญไม่แพ้ใคร ทุกคนเคยโกหกตัวเองว่ามีความสุขเพื่อให้คนอื่นสบายใจไหมคะ? หลายครั้งที่เราโกหกตัวเองว่าเรายังไหว ไม่เป็นไรแค่นี้สบายมาก เราพูดกับตัวเอง “ฉันโอเค” “ฉันมีความสุข” พยายามหลอกตัวเองให้คิดแบบนั้น เพื่อที่จะแสดงออกมาให้คนอื่นเห็นว่า “”ฉันไม่เป็นไร” ทั้งที่ภายในใจแตกสลายและรับอะไรแทบจะไม่ไหวอีกแล้ว แต่เราพยายามยิ้ม พยายามหัวเราะ และบอกคนอื่นว่าไม่เป็นไร เพียงเพราะไม่อยากเป็นภาระผู้อื่นและเพื่อให้คนรอบข้างของเรารู้สึกสบายใจ  การกระทำเช่นนี้เรียกว่า “การโกหกสีขาว” หรือ  “White