ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ กู้ดีหรือเปล่า?

มนุษย์เงินเดือน ฐานะปานกลาง เงินเดือนสองหมื่นต้น ๆ พอมีเงินเก็บอยู่บ้าง การจะซื้อเฟอร์นิเจอร์สักชิ้นสองชิ้นเพื่อเป็นรางวัลชีวิตดูจะไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรนัก เราสามารถปักหมุดไปตามงานเฟอร์นิเจอร์แฟร์ที่จัดอยู่เรื่อย ๆ ทุกปีได้ ซึ่งงานลักษณะนี้จะมีแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ รวมถึงผู้ผลิตที่มีโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ขายเองโดยตรงมารวมตัวกันออกบูทพ่วงโปรโมชั่นและของแถมเต็มไปหมด

ข้อดีของการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ตามงานแฟร์อีกอย่างคือ จะมีร้านขายของใช้ ของแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมโปรโมชันดี ๆ มาร่วมออกร้านให้เราได้เลือกครบจบในงานเดียวด้วย สามารถเดินเข้าร้านโน้น ออกร้านนี้ ได้เป็นวัน ๆ

ภาพจากโครงการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา 2

เจอของถูกใจ ราคาเกินงบไปเยอะ ควรทำอย่างไร

เคยมั้ย เวลาเจอของถูกใจแต่ราคาสูงกว่างบที่ตั้งไว้ ก็เลยตัดใจไม่ซื้อ กลับบ้านไปนอนคิดอยู่หลายตลบ จนความอยากได้ทวีคูณขึ้นมา กลับไปที่ร้านเดิม อ้าว! ของถูกคนอื่นซื้อไปแล้ว ทั้งเสียดาย และเจ็บใจตัวเองที่ไม่ได้ซื้อ

การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ก็เช่นกัน เราอาจเจอของที่ชอบเอามาก ๆ เช่น อยากได้โต๊ะทำงาน และตู้เก็บของเพื่อใช้สอยและจัดระเบียบข้าวของต่าง ๆ ให้เข้าที่เข้าทาง แล้วก็มาเจอเนื้อคู่เป็นชั้นวางของที่มีทั้งลิ้นชัก ตู้เก็บของ ชั้นวางของ และโต๊ะทำงานในตัว ดูมินิมอลเข้ากับพื้นที่ของเรามาก ๆ วัสดุที่ใช้ก็ทนทานได้มาตรฐาน แต่ราคาไม่ได้มินิมอลสักเท่าไหร่

ภาพจากโครงการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา 2

สิ่งที่อยากแนะนำคือ ต้องแน่ใจว่าเราได้เดินดูของลักษณะเดียวกันจากร้านอื่น ๆ ในงานแล้ว มีร้านนี้ ชิ้นนี้แหละชอบที่สุด ราคาไม่เวอร์เกินไปเมื่อเทียบกับร้านที่ใกล้เคียงกัน อย่าใช้อารมณ์ตัดสินใจ ให้ใช้เหตุผลคิดดูก่อนว่าของชิ้นนี้จำเป็นแค่ไหน ได้ใช้บ่อยแค่ไหน ช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้นได้แค่ไหน ถ้าคำตอบคือมันใช่ไปซะทุกอย่าง ไม่ซื้อตอนนี้เสียดายแย่เลย เรื่องเงินก็พอมีอยู่บ้าง เดี๋ยวเงินเดือนก็จะออกอีกแล้ว ชอบมากขนาดนี้ก็ตัดสินใจเลยแล้วกัน แต่ไม่ใช่ตัดสินใจซื้อนะ ให้ถามรายละเอียดเกี่ยวกับร้านค้า ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ และรายละเอียดการมัดจำ การส่งสินค้า บริการหลังการขาย และการรับประกันสินค้าไว้ก่อนว่าเป็นอย่างไร

แล้วเดินออกมาหาที่สงบ ๆ ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตดูก่อนว่าร้านนี้มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน การบริการเป็นไปตามที่ให้ข้อมูลไว้หรือไม่ มีที่ตั้งร้าน หรือโรงงานเป็นหลักแหล่งน่าเชื่อถือหรือไม่ ส่งของตรงเวลาหรือไม่ หากหาข้อมูลแล้วไม่เจออะไรเลยก็ต้องชั่งใจดี ๆ แต่ถ้าร้านนั้นมีคนพูดถึงในมุมที่เรารับได้ก็มัดจำไว้ก่อนเลย

การจัดงบประมาณที่เหนือความควบคุม ให้สามารถควบคุมได้

การซื้อของที่เกินงบประมาณเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือเป็นความผิดแต่อย่างใด อยู่ที่เราจะบริหารจัดการ และวางแผนการใช้จ่ายอย่างไรเท่านั้นเอง ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน

1. บัตรเครดิตช่วยได้

ถ้าร้านนั้นรับบัตรเครดิต และยิ่งมีโปรโมชันผ่อน 0% ด้วยยิ่งเลิศมาก แต่สำหรับการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือวงเงินบัตรเครดิตของเราที่ต้องเหลือพอด้วย ถ้าราคาของใกล้เคียงกับวงเงินบัตรเครดิตจนเกินไป ก็ต้องคิดให้ดีว่าเรามีแผนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในรอบบัญชีนี้อยู่ด้วยหรือไม่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกัน ซึ่งถ้ารวมแล้วเกินวงเงินไปเยอะก็ขอให้เก็บบัตรเครดิตไว้ที่เดิมก่อน

2. เงินในบัญชีของเราเป็นที่พึ่งได้

ข้อนี้จะเหมาะมาก ๆ กับคนที่มีเงินเก็บในบัญชีค่อนข้างเยอะ ซึ่งก็ต้องมาดูว่า ถ้าเราถอนเงินก้อนนี้ออกมาจ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์แล้วทำให้เงินในบัญชีเหลือน้อยกว่า 6 เท่าของค่าใช้จ่ายในขีวิตประจำวันต่อเดือน ก็ไม่แนะนำให้นำเงินก้อนนี้มาใช้ เพราะจะทำให้เราขาดสภาพคล่องทางการเงินทันที หากมีเหตุไม่คาดฝัน เช่น ตกงาน แถมต้องใช้เงินก้อนกะทันหันจะเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาได้ ดังนั้นควรให้เงินเก็บของเราทำหน้าที่เป็นที่พึ่งยามยากจริง ๆ จะดีกว่า

3. สินเชื่อผ่อนสบาย ๆ จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน

หากทางเลือกอื่น ๆ ยังไม่พร้อม การขอสินเชื่อเป็นทางเลือกที่หลายคนนิยมใช้กัน มีหลากหลายรูปแบบให้เลือก เอาที่เหมาะกับเรา ไม่ต้องเป็นหนี้บุญคุณใคร สภาพคล่องยังมี เงินเก็บยังอยู่ และการขอสินเชื่อก็ไม่ได้ทำให้เครดิตทางการเงินเสียแต่อย่างใด ตรงกันข้ามหากเรามีวินัยในการจ่ายคืน เราก็จะมีเครดิตที่ดีขึ้นด้วย


วิธีขอกู้แบบง่าย ๆ จบภายในไม่กี่นาที

บางครั้งสิ่งที่เราอยากเป็นเจ้าของอาจมาในเวลาที่ยังไม่พร้อมที่สุด แต่ก็ใช่ว่าเราจะเป็นเจ้าของสิ่งนั้นไม่ได้ การขอสินเชื่อจากธนาคารถือเป็นวิธีที่ดี และปลอดภัยสำหรับผู้ขอกู้ มีกฏหมายและธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแลอยู่ อีกทั้งธนาคารเองยังทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการชำระคืนให้เราได้ด้วย

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าการกู้กับธนาคารอนุมัติยากบ้าง ดอกเบี้ยแพงบ้าง ซึ่งถ้าใครคิดแบบนี้ขอให้หยุดความคิดนี้ไว้ได้เลย เพราะปัจจุบันนี้การขอสินเชื่อมีให้เลือกเยอะมาก แถมไม่ยุ่งยากด้วย ดอกเบี้ยนอกระบบที่เราเห็นว่าถูก ๆ นั้น เขาคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน ไม่ใช่ต่อปีเหมือนของธนาคาร ดังนั้นไม่ว่าจะนอนคิด นั่งคิดยังไง ดอกเบี้ยของธนาคารคิดออกมาแล้วก็จ่ายถูกกว่านอกระบบหลายเท่าตัว

ปัจจุบันนี้เราสามารถขอสินเชื่อจากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เพียงแค่มีแอปของธนาคาร ยกตัวอย่างของธนาคารไทยพาณิชย์ มีแอป SCB EASY ที่เราสามารถเข้าระบบไปกดเลือกประเภทของสินเชื่อที่เหมาะกับเราผ่านทางมือถือได้เลย มีให้เลือกทั้งการขอสินเชื่อแบบมีหลักประกัน และไม่มีหลักประกัน หรือสินเชื่อที่ขอได้โดยไม่ต้องมีบัญชีกับธนาคารเลยก็มี  ใช้เวลาไม่กี่นาทีในการกรอกข้อมูลของเราเอง จากนั้นก็รอผลอนุมัติจากธนาคารได้เลย ง่ายมาก ๆ

ภาพจาก SCB

แต่ถ้ายังไม่ได้เป็นลูกค้าและไม่มีแอป ก็สามารถไปแจ้งความประสงค์ได้บนเว็บไซต์ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/personal-loans/speedy-loan.html ก็จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ สะดวกเหมือนกัน

การขอสินเชื่อกับธนาคาร เราจะได้รับคำปรึกษาแบบเฉพาะตัวจริง ๆ ไหวแค่ไหน ก็เลือกผ่อนเท่านั้น อยากผ่อนสั้น ผ่อนยาว เอาที่เหมาะกับเรา เป็นการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินที่คุ้มมาก แต่ที่สำคัญเหนืออื่นใดก็คือ การที่เราได้เครดิตมาแล้วก็ต้องมีวินัยในการใช้จ่ายให้มากขึ้น เงินเพื่อรักษาเครดิตดี ๆ ให้อยู่กับเราไปนาน ๆ

Related Articles

มาตราการอสังหา 2567

วางแผนซื้อบ้านต้องรู้! มาตรการอสังหาฯ ปี 2567 ช่วยยังไงบ้าง?

สานฝันคนอยากมีบ้านกับมาตรการอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐ ปี 2567  ที่ออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง วันนี้ เราจะมาพูดถึงมาตรการที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังจะวางแผนซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าโอนและจดจำนองที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมจากการปลูกสร้างบ้าน (ล้านละหมื่น) หรือสินเชื่อบ้าน โดย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งรายละเอียดแต่ละมาตรการจะเป็นอย่างไร มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ เริ่มจาก “มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567”

ค่าใช้จ่ายซื้อบ้าน 2566

อัพเดตล่าสุด! ซื้อบ้าน ปี 2567 ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

เก็บเงินมาได้สักพัก ถึงเวลาทำความฝัน “ซื้อบ้าน-คอนโด” ของตัวเองสักหลังให้เป็นความจริงสักที แต่ๆๆ ก่อนจะไปลุยคว้ามา ต้องมาเช็กความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เราต้องเตรียมการกันก่อน วันนี้เรามาอัพเดทกันดีกว่า ในปี 2567 นี้ ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และที่สำคัญภาครัฐฯ มีมาตรการช่วยคนซื้ออสังหาริมทรัพย์อะไรหรือไม่อย่างไร พร้อมแล้วไปอัพเดทกันเลย! ค่าจองและทำสัญญา เป็นค่าใช้จ่ายก้อนแรกสำหรับวางมัดจำ ขึ้นอยู่แต่ละโครงการ ส่วนใหญ่บ้านจะแพงกว่าหลักหมื่นขึ้นไป

วางแผนยื่นภาษี ฉบับคนมีคู่...สมรส

วางแผนยื่นภาษี ฉบับคนมีคู่…สมรส

สมัยก่อนอยู่ตัวคนเดียว ทำอะไรคนเดียว ยื่นภาษีก็ทำได้เพียงแบบเดียว แต่ครั้นพอแต่งงานแล้ว มีคนอีกคนเข้ามาเป็นคู่ชีวิต มาแชร์สิ่งต่างๆ ในทุกๆ วัน ซื้อบ้านหลังอบอุ่นด้วยกัน แม้แต่การยื่นภาษีก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วยเช่นกัน เดือนแห่งความรักเวียนมาถึงทั้งที แสนสิริเอาใจคนมีคู่(สมรส) ด้วยเรื่องราวที่คู่สมรสทุกคู่จะไม่รู้ไม่ได้! นั่นก็คือการยื่นภาษีในวันที่มีใครอีกคนหนึ่งก้าวเข้ามาเป็นอีกครึ่งชีวิตของคุณแล้วนั่นเอง ยิ่งในช่วงมกราคม – มีนาคมแบบนี้ ยังเป็นช่วงการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วยเช่นกัน ว่าแต่จะ “ยื่นแยกกัน”