Think Outside the Book

แสนสิริกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนในโครงการ Knowledge Sharing

Think Outside the Book ความรู้นอกห้องเรียนกับแสนสิริ

Think Outside the Book เมื่อความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในบทเรียน และแสนสิริเองก็มีบุคลากรซึ่งมีความรู้ด้านการออกแบบที่พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ จึงเป็นที่มาของโครงการ Knowledge Sharing ที่สถาปนิกของแสนสิริ ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชางานออกแบบสถาปัตยกรรม 4 ที่จะเปิดโอกาสให้นิสิตในรายวิชานี้ได้สัมผัสกระบวนการทำงานที่มาพร้อมกับแนวคิด 4 ข้อ คือ 

แบ่งปัน/ ความรู้/ อาชีพ/ มิตรภาพ/

SHARING

จุดเริ่มต้นของการแบ่งปัน

KNOWLEDGE

Studio Design_DSD project (2) Studio Design_DSD project (11)

เพราะธุรกิจของแสนสิริส่วนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยกลุ่มคนที่มีพลังในการสร้างสรรค์และหลงใหลในสุนทรียะของการใช้ชีวิต ไม่ต่างจากเด็กรุ่นใหม่ที่มีความเชื่อและความมุ่งมั่นในแนวทางของตัวเอง เมื่อคนทั้ง 2 กลุ่มมาเจอกัน การร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในฐานะคนทำงาน และอุดมการณ์จากคลื่นลูกใหม่จึงทำให้เกิดแนวทางใหม่ที่จะตอบสนองโจทย์และเงื่อนไขการใช้ชีวิตของคนทุกกลุ่ม

 “เวิร์กช็อปคราวนี้ไม่มีอาจารย์พูดและนักเรียนจด แต่เป็นการเรียนจากประสบการณ์จริง รู้สึกประทับใจมากที่พี่ๆ สถาปนิกลงมาเป็นโค้ช คือลงมาเล่นด้วย เด็กๆ ก็จะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์  และจะได้รู้ว่า เจ้าของงานจริงๆ เขามองยังไงกับงานเรา สิ่งที่นักเรียนมองว่าดีแล้ว บางทีมันก็ไม่ใช่ ลูกค้าอาจจะคิดไม่เหมือนกัน ซึ่งการเวิร์กช็อปแบบนี้นับว่ามีประโยชน์มาก”  ความเห็นของ อ.พีรศรี โพธิ์วาทอง หนึ่งในอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

CAREER

Studio Design_DSD project (8) Studio Design_DSD project (12)

 นอกจากจะร่วมแชร์ความสนใจที่มีเหมือนกันแล้ว คุณค่าของโครงการนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อน้องๆ ได้รับความรู้ที่จะนำไปต่อยอดเพื่อประกอบอาชีพหรือสะสมไว้เพื่อเป็นภูมิให้กับตัวเอง เพราะชีวิตการทำงาน ย่อมมีอุปสรรคมาทดสอบเราเสมอ

“มันไม่ง่ายเลยครับ เราต้องมีมุมมองด้านการบริหารทรัพยากรเพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปด้วย ซึ่งปกติผมจะไม่เคยคำนวณ ไม่ได้คิดว่ามันจะแพงหรือไม่แพงขนาดไหน แต่พอมาทำแบบนี้ทำให้เราได้มองอีกมุม แล้วที่คณะเราก็ไม่ได้ทำในเชิง mass หรือทำครบวงจรมาก่อน แต่โครงการนี้ได้ทำครบเลย ได้เปิดหูเปิดตา ได้เห็นอะไรใหม่ๆ จากกับพี่ๆ ที่เป็นมืออาชีพ ก็รู้สึกดีมากครับ” 1 ในความรู้สึกของน้องที่เข้าร่วมโครงการ

FRIENDSHIP

IMG_5644

Sansiri Knowledge Sharing (1)สิ่งที่ถือว่าเป็นกำไรที่แท้จริงของโครงการนี้ ก็คือ มิตรภาพ ที่เกิดขึ้นจากการแบ่งปันความคิดระหว่างอาจารย์ นิสิต และสถาปนิกจากแสนสิริ

“รู้สึกตื่นเต้นและดีใจค่ะที่ได้ทำงานคล้ายของจริง ตอนแรกก็กดดันนิดนึง แต่พี่ที่เป็นโค้ชเขาใจดี ก็เลยรู้สึกดี อาจเป็นเพราะอายุใกล้ๆ กับเราด้วยค่ะ เลยคุยกันรู้เรื่อง แล้วก็พี่เขามีไอเดียจากการทำงานจริงด้วย เวลาพี่ๆ แนะนำก็จะคนละแบบกับในมหาวิทยาลัยเลย เราก็เลยได้ความรู้ใหม่ๆ ไม่ใช่โปรแกรมสมมติอย่างเดียว แล้วถ้าไอเดียเราถูกเลือกนำไปใช้บ้างก็จะภูมิใจมาก” อีก 1 เสียงที่ประทับใจรูปแบบโครงการ

แม้อีกไม่นาน โครงการนี้จะสิ้นสุดลง แต่จากความสำเร็จและความพึงพอใจของทุกฝ่ายในครั้งนี้ ทำให้แสนสิริเชื่อมั่นว่าการแบ่งปันความรู้ พื้นฐานอาชีพ มิตรภาพในรูปแบบนี้จะยังคงดำเนินต่อไป และสามารถสะท้อนตัวตนแบบแสนสิริที่เป็นผลผลิตจากแนวคิดของคนรุ่นใหม่ออกมาได้ในทุกโครงการของเรา

คุณอาจสนใจบทความ DSD ฉีกกรอบดีไซน์ สร้างสรรค์นวัตกรรมการอยู่อาศัย หรือ The EARTH BLOX by NUMBERS

Related Articles

“แสนสิริ” เดินหน้า ZERO DROPOUT ชูโมเดลการศึกษา 1 โรงเรียน  3 รูปแบบ “เด็กทุกคนต้องได้เรียน” พัฒนาทุนมนุษย์เคลื่อนเศรษฐกิจ

“แสนสิริหวังว่าโครงการ ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน นำร่องที่จังหวัดราชบุรี จะจุดประกายให้เห็นกลไกการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ขยายผลนำไปใช้ทั่วประเทศ” เพราะทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจ ดังนั้นการสร้าง “ความเสมอภาคทางการศึกษา” ทำให้เด็กไม่หลุดจากระบบการศึกษา เติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วม โดยบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แถวหน้าของไทย ได้ผลักดันสร้างความเสมอภาคทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง

sansiri logo, โลโก้แสนสิริ

รู้กันหรือยัง? แสนสิริเปลี่ยน Logo แล้วนะ

แสนสิริเปลี่ยนไป!? มีอะไรที่แสนสิริเปลี่ยนไปกันนะ หลายคนอาจจะไม่ได้สังเกตหรือยังไม่เห็นบางอย่างของเราที่เปลี่ยนไป วันนี้แสนสิริขอพาทุกคนไปตามดูกันว่า อะไรกันนะ ที่เปลี่ยนไป ถ้าพร้อมแล้วก็เลสต์โก! อันดับแรก ลองเสิร์ชก่อน อะไรกันนะของแสนสิริที่เปลี่ยนไป ถ้านึกไม่ออก ลองถามเฮียคนนี้ดีกว่า อยากรู้อะไรก็ต้องถามเฮียเค้าคนนี้ “อากู๋”! เริ่มจะเอ๊ะ เริ่มเห็นความแตกต่าง หลังจากเสิร์ชถามอากู๋แล้ว ก็กดค้นหาเลย หลายๆ คนคงมีคำถามว่า

DSD

DSD ฉีกกรอบดีไซน์ สร้างสรรค์นวัตกรรมการอยู่อาศัย

ด้วยความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของความคิด ความชอบและความต้องการของผู้บริโภค แสนสิริ จึงได้สร้างสรรค์ Sansiri Design Solution Department (DSD) เพื่อนำเสนอผลงานด้านดีไซน์ที่ตอบโจทย์ทุกการเปลี่ยนแปลง และเพื่อสร้างคุณค่าความแตกต่างอย่างสวยงามและมีคุณภาพ