why sansiri academy

แสนสิริ อะคาเดมี่ จุดเริ่มต้นแห่งความฝัน

why sansiri academy

 แสนสิริ อะคาเดมี่ จุดเริ่มต้นแห่งความฝัน

เมื่อถามจุดเริ่มต้นของการเล่นฟุตบอลในโครงการ แสนสิริ อะคาเดมี่ ของน้องเตสแล้ว บุคคลที่ให้คำตอบเราได้ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นคุณแม่ของน้องเตส คุณน้ำทิพย์ ชัยรัตน์ ที่เล่าเรื่องราวจุดเริ่มต้นในการเล่นฟุตบอลของน้องเตสไว้อย่างน่าสนใจว่า

sansiri-academy_sansiri-blog-6 “เกิดจากที่เค้าไม่สบายตอนเล็กๆ เลือดกำดาวไหลเยอะมาก ก็เลยไปหาคุณหมอ คุณหมอบอกว่าไม่ได้เป็นอะไร แต่แนะนำว่าควรออกกำลังกาย ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้น้องเตสเริ่มเล่นฟุตบอล”  จุดเริ่มต้นจากเลือดกำดาวนี้เองที่ทำให้น้องเตสหันมาเล่นกีฬา โดยได้คุณแม่และคุณพ่อเป็นหัวแรงใหญ่ในการหาข้อมูลสถานที่สำหรับเล่นกีฬา จนมาลงเอยที่ แสนสิริอะคาเดมี่ “ตอนแรกเข้าใจว่าแสนสิริ อคาเดมี่รับเฉพาะเด็กที่เป็นลูกบ้าน แต่พอได้โทรไปคุยกับโค้ชรุ่งเลยได้รู้ว่ารับเด็กหมดทุกคนโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยสักบาท คุณแม่เลยพาน้องเตสมาฝึกซ้อมตั้งแต่ตอนนั้น” อีกหนึ่งเหตุผลที่คุณแม่น้องเตสเลือก แสนสิริอะคาเดมี่ ให้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมคือการที่แสนสิริไม่ได้เป็นเพียงสถาบันสำหรับฝึกสอนฟุตบอลเท่านั้น แต่เป็นเหมือน “ครอบครัว” ที่เอาใจใส่ในตัวเด็กที่นอกจากจะให้ความรู้และทักษะเรื่องฟุตบอลแล้ว โค้ชทุกคนยังให้ความรักและความอบอุ่น จนทำให้ แสนสิริอะคาเดมี่ กลายเป็น “บ้าน” ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ sansiri-academy_sansiri-blog-4 “จริงๆ คุณแม่เคยพาน้องเตสไปซ้อมมาหลายที่ค่ะ ที่แสนสิริฯ ไม่เหมือนกับที่อื่นตรงที่โค้ชทุกคนใจดีกับเด็กมาก ไม่มีด่า ไม่มีตะคอก แม่เห็นก็สบายใจ เพราะเราก็อยากเห็นลูกมีความสุขกับสิ่งที่เค้าทำ ไม่อยากกดดันเค้า” เมื่อลองถามโค้ชรุ่ง หัวหน้าโค้ชฝึกสอนของ แสนสิริ อะคาเดมี่ จะเห็นว่าทางแสนสิริ อะคาเดมี่ ให้ความสำคัญกับการสอนทักษะพื้นฐานที่แข็งแรงมากกว่ามุ่งเน้นให้เด็กแข่งขันเพื่อเอาชนะ sansiri-academy_sansiri-blog-7 “…แสนสิริอะคาเดมี่ก็จะเปิดการสอนทุกเช้าวันเสาร์-อาทิตย์ โดยเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้มีโอกาสเรียนฟุตบอลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เราจะทำการฝึกซ้อมตั้งแต่ 8-11 โมง ซึ่งจะเป็นการสอนฟุตบอลทักษะขั้นพื้นฐาน ไม่เน้นการแข่งขัน เน้นการฝึก เลี้ยง ส่ง โหม่ง ยิงซะเป็นส่วนใหญ่” เพราะการอยากเห็นเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในวันหยุดนี้เอง ที่ทำให้ แสนสิริอะคาเดมี่ เติบโตขึ้นจากจุดเล็กๆ จนตอนนี้มีเด็กกว่าร้อยคนหมุนเวียนมาซ้อมที่สนามเป็นประจำ ไม่ว่าจะมาเพราะมีความฝันว่าอยากเป็นนักฟุตบอลมือโปร หรือแค่อยากจะหาเพื่อนเล่นวันเสาร์-อาทิตย์ แสนสิริอะคาเดมี่ก็พร้อมต้อนรับเด็กๆ ทุกคนเสมอมา ถ้าคุณสนใจ  แสนสิริอะคาเดมี่ กับแรงผลักดันจากครอบครัว คลิก หรือ เช้าวันอาทิตย์ที่ แสนสิริอะคาเดมี่ คลิก หากสนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ แสนสิริ อะคาเดมี่ สามารถติดต่อ คุณจิรกิตติ์ สิงหรานนท์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-3907

อ่านเรื่องราวอันน่าภูมิใจของ แสนสิริ อะคาเดมี่ ต่อได้ ที่นี่

Related Articles

7 เรื่องฟุตบอลที่ใครอาจไม่รู้!

โจนาธาน วิลสัน นักข่าว คนเขียนบทความของ The Guardian พูดเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” ที่มีคนตาม follow ล้านกว่า อย่าง Henry Winter ที่ไปออกความเห็นใน GQ ว่า “ฟุตบอล” คือตลาดที่ใหญ่ที่สุด กว้างกว่า

European Super League Feature

ความเป็นไปได้อีกครั้งของ European Super League?

ในปีนี้ผมเขียนถึงประเด็นของลีกฟุตบอลในทวีปยุโรปที่นับวันจะมีความเป็นพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ มาก็หลายครั้งแล้ว แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่อให้เห็นว่า โครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลลีกแบบเดิมๆ ในทวีปยุโรปนี้กำลังถูกรุกรานและคุกคามจากอำนาจของเงินตราและผลประโยชน์จำนวนหลายแสนล้านบาทที่มองไปตอนนี้ยังไงผมก็ยังเห็นกรรมวิธีการแบ่งเค้กในเรื่องของรายได้ระหว่างสโมสรในลีกยอดนิยม กับสโมสรในลีกที่ถดถอย หรือระหว่างสโมสรยักษ์ใหญ่ กับสโมสรเล็กๆ ยังไงๆ ก็คงหาจุดลงตัวได้ยาก ถ้าผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ผมมาตลอดจะพอจำได้ว่าผมเคยเขียนถึงบรรดาสโมสรยักษ์ใหญ่ในลีกของยุโรปที่ถูกนายทุนและเจ้าของเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเก่าหรือเข้าไปถือหุ้นเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่สุดของสโมสรอันเนื่องมาจากโอกาสในการทำรายได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์ค่าถ่ายทอดสดที่เราพูดกันที่ตัวเลขหลักแสนล้านบาทกันแล้วสำหรับ EPL ไม่ว่าจะเป็นสโมสร Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool,

10 ปีของการเดินทางเพื่อรากฐานที่ยั่งยืนของเด็กๆ ทุกคน

สิทธิและชีวิตที่ดีของเด็กๆ ทุกคน…คืออีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจมองข้าม…คืออีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใหญ่เช่นเราควรปกป้อง ดูแล ผลักดัน และสนับสนุน…คืออีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องสร้างและเติมเต็ม เพื่อให้ทุกๆ ชีวิตเหล่านั้นได้เติบโตอย่างมั่นคง สมบูรณ์ และยั่งยืน ในประเทศไทย ตลอดชีวิตของเรานั้นมีหลายครั้งที่เคยได้เห็นอีกชีวิตเล็กๆ ที่ไม่มีโอกาสเติบโตอย่างมั่นคงหรือแม้แต่ใช้ชีวิตได้อย่างไร้กังวล เราได้เห็นเด็กๆ ตัวน้อยถูกใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม เราได้เห็นโรคขาดสารไอโอดีนในเด็ก (Iodine Deficiency Disorder หรือ IDD)