พักก่อน ผ่อนน้อยลงหน่อย!
รวม 7 เทคนิคยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน

ปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยว่า ภาระค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของคนไทยในแต่ละเดือน คือค่าผ่อนชำระสินค้าต่างๆ และหนึ่งในค่าผ่อนที่ก้อนใหญ่ก็คือ ‘ค่าผ่อนบ้าน’ ซึ่งในขณะเดียวกัน ผู้ที่ต้องผ่อนค่าบ้านก็มีภาระหนี้อื่นๆ เข้ามาแทรกจนอาจทำให้ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสูงจนเหนื่อยใจในแต่ละเดือน

refinance บ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน รีเทนชัน แสนสิริ sansiri บ้านแสนสิริ

หน้าร้อน Summer ปีนี้ เริ่มคลายความร้อนใจ ลดภาระหนี้กันไปได้ ด้วยการ ‘รีไฟแนนซ์บ้าน’ ซึ่งจะช่วยให้วางแผนการเงินได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะอยากให้หนี้หมดเร็วกว่าเดิม ต้องการให้ยอดผ่อนต่อเดือนลดลง หรือต้องการใช้เงินก้อนไปใช้จ่ายในส่วนอื่น

ใครที่กำลังสนใจรีไฟแนนซ์บ้าน อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ และชวนมาเช็ก 7 เทคนิค ที่จะช่วยให้ยื่นรีไฟแนนซ์บ้านได้ผ่านสบายหายห่วง

1.) ตั้งเป้าวงเงินที่อยากได้ เท่าไหร่จึงจะแบ่งเบาภาระ

ก่อนจะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน ควรตั้งวงเงินที่ต้องการไว้ในใจก่อน โดยลองคิดว่าเราต้องได้วงเงินเท่าไหร่ จึงจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่มีอยู่ได้ จากนั้นจึงลองประเมินวงเงินคร่าวๆ จากราคาบ้านปัจจุบัน

ตามปกติแล้ว ธนาคารจะให้วงเงินสินเชื่อรีไฟแนนซ์ประมาณ 80% – 90% ของราคาบ้านปัจจุบัน โดยธนาคารจะเป็นผู้ประเมินราคา เช่น ถ้าธนาคารประเมินราคาปัจจุบันของบ้านอยู่ที่ 3 ล้านบาท แล้วให้วงเงิน 90% ของราคาบ้าน แปลว่าเราจะได้รับวงเงินประมาณ 2.7 ล้านบาท และเรายังสามารถขอกู้เงินก้อนเพิ่มเติม เพื่อไปหมุนใช้จ่ายเรื่องจำเป็นอื่นๆ ได้ด้วย เงินก้อนนี้เรียกว่า ‘วงเงินก้อนใหม่’ พูดง่ายๆ คือเป็นส่วนต่างระหว่างยอดหนี้ที่เหลืออยู่ กับวงเงินกู้สูงสุดที่เราได้จากการรีไฟแนนซ์นั่นเอง

ตัวอย่างเช่น เรากู้ซื้อบ้านครั้งแรกราคา 3 ล้านบาท ผ่อนไปแล้ว 1 ล้านบาท เท่ากับมียอดหนี้คงเหลือ 2 ล้านบาท จากนั้น เมื่อมาขอรีไฟแนนซ์ ธนาคารประเมินราคาบ้านปัจจุบันเป็น 4 ล้านบาท และให้วงเงินกู้ 90% เท่ากับได้วงเงิน 3.6 ล้านบาท วงเงินนี้เมื่อหักหนี้คงเหลือ 2 ล้านบาทออก จะเหลือเป็นส่วนต่าง 1.6 ล้านบาท ซึ่งเงิน 1.6 ล้านบาทนี่เอง คือวงเงินก้อนใหม่ที่เราขอกู้ไปใช้จ่ายได้ และผ่อนคืนพร้อมค่าผ่อนบ้านตามปกติ

2.) ศึกษาข้อเสนอแต่ละธนาคาร เลือกให้ตรงความต้องการที่สุด

refinance บ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน รีเทนชัน แสนสิริ sansiri บ้านแสนสิริ

เงื่อนไข ข้อเสนอ และโปรโมชันของแต่ละธนาคารอาจตอบโจทย์คนแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน ดังนั้นก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน อย่าลืมศึกษาสินเชื่อแต่ละธนาคารอย่างรอบคอบ หลักๆ แล้ว ควรพิจารณา 2 ปัจจัยหลัก คือ ดอกเบี้ยและระยะเวลาการผ่อน

ถ้าเลือกรีไฟแนนซ์ธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิม จะช่วยลดภาระหนี้ระยะยาวได้ และถ้าเป็นไปได้ ควรมองหาเงื่อนไขที่เปลี่ยนรูปแบบจาก ‘ดอกเบี้ยลอยตัว’ จากธนาคารเดิม มาเป็น ‘ดอกเบี้ยคงที่’ เพราะจะช่วยให้ผ่อนบ้านได้ราคาถูกลงในระยะยาว สำหรับระยะเวลาการผ่อน หลายธนาคารให้ข้อเสนอยืดเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปให้นานขึ้น ทำให้ลดภาระหนี้ต่อเดือนลงได้ และวางแผนการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น

นอกจากดอกเบี้ยและระยะเวลาการผ่อนแล้ว อย่าลืมเช็กสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ต่างกันไป บางธนาคารอาจให้วงเงินกู้สูงกว่า บางธนาคารอาจคิดค่าดำเนินการถูกกว่า แล้วแต่ว่าข้อเสนอไหนจะตอบโจทย์เรามากที่สุด

3.) เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ให้พร้อม

เอกสารกู้บ้าน refinance บ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน รีเทนชัน แสนสิริ sansiri บ้านแสนสิริ

การยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านก็เหมือนกับการทำธุรกรรมอื่นๆ คือ ถ้ามีเอกสารครบถ้วน ขั้นตอนต่างๆ ก็จะผ่านไปได้อย่างราบรื่น ผู้ที่ต้องการยื่นรีไฟแนนซ์ต้องเตรียมเอกสารหลักๆ 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล
• สำเนาบัตรประชาชน
• สำเนาทะเบียนบ้าน
• ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
• สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
• สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ของคู่สมรส (ถ้ามี)

กลุ่มที่ 2 เอกสารแสดงรายได้
สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ:
• สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
• รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
• สำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

สำหรับเจ้าของกิจการ:
• สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนการค้า
• สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
• สำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน (ทั้งบัญชีส่วนตัวและบัญชีกิจการ)
• สำเนา ภ.พ. 30 (ถ้ามี)

กลุ่มที่ 3 เอกสารแสดงหลักประกันที่นำมารีไฟแนนซ์
• สำเนาแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองกรรมสิทธิ์
• สำเนาสัญญาการซื้อขายหรือให้ที่ดิน ทด.13 หรือ 14 หรือสัญญาซื้อขายห้องชุด
• สำเนาสัญญาจำนองที่ดิน
• สำเนาสัญญากู้เงินธนาคารเดิม
• สำเนาใบเสร็จเงินกู้เดือนล่าสุด
• แผนที่ตั้งของหลักประกัน

4.) เช็กเงื่อนไขธนาคารเดิมให้ชัวร์ รีไฟแนนซ์ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

refinance บ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน รีเทนชัน แสนสิริ sansiri บ้านแสนสิริ

เมื่อขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ เราอาจต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้กับธนาคารเดิมด้วย อย่าลืมเช็กเงื่อนไขกับธนาคารเดิม แล้วเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ให้เรียบร้อย ส่วนใหญ่แล้วธนาคารเดิมมักจะมีค่าใช้จ่ายการรีไฟแนนซ์ต่อไปนี้

• ในกรณีที่ขอรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนด 3 ปี อาจต้องจ่ายค่าปรับประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้ทั้งจำนวน โดยบางธนาคารอาจคิดค่าปรับจากมูลค่าของหนี้ที่เหลืออยู่
• ค่าธรรมเนียมในการจำนอง ประมาณ 1% ของราคาประเมินบ้าน (ถ้ารีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม ไม่จำเป็นต้องจ่าย)
• ค่าประเมินราคาหลักประกัน ประมาณ 0.25% ของราคาบ้านปัจจุบัน (บางธนาคารอาจไม่ต้องจ่าย ถ้ารีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม)

5.) เตรียมค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุม รีไฟแนนซ์ได้ราบรื่น

นอกจากค่าใช้จ่ายกับธนาคารเดิม ก็ยังมีค่าดำเนินการต่างๆ ที่ต้องจ่ายให้ธนาคารใหม่ที่เรารีไฟแนนซ์ด้วย การเตรียมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไว้ล่วงหน้าจะทำให้การรีไฟแนนซ์ไม่ติดขัด และทำให้เราไม่ต้องฉุกละหุกรีบหาเงินก้อนมาจ่ายในเวลาอันสั้น โดยค่าใช้จ่ายที่ควรเตรียมเผื่อล่วงหน้า มีดังนี้

• ค่าจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ประมาณ 0-1% ของวงเงินกู้ใหม่
• ค่าประเมินราคาบ้าน ประมาณ 0.25% ของราคาบ้านปัจจุบัน
• ค่าทำประกันอัคคีภัย อัตราส่วนประมาณ 2,000 บาทต่อมูลค่าบ้าน 1 ล้านบาท
• ค่าอากรแสตมป์ ประมาณ 0.05% ของวงเงินกู้จากการรีไฟแนนซ์
• ค่าจดจำนอง 1% ของยอดสินเชื่อใหม่ที่เราขอกู้
• ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของยอดสินเชื่อใหม่ที่เราขอกู้
• ค่าเบี้ยประกันภัย หรืออื่นๆ แล้วแต่เงื่อนไขและข้อตกลงของแต่ละธนาคาร

6.) เพิ่มทางเลือก ยื่นขอรีไฟแนนซ์หลายที่

ถึงแม้จะเลือกธนาคารที่ข้อเสนอตอบโจทย์ที่สุดได้แล้ว ก็ควรยื่นขอรีไฟแนนซ์เผื่อไว้อย่างน้อย 3 ธนาคาร เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพื่อเปรียบเทียบข้อเสนออย่างละเอียดที่สุด และอย่าเพิ่งมองข้ามธนาคารเดิมที่เรากำลังกู้อยู่ เพราะบางครั้งธนาคารเดิมก็อาจมีข้อเสนอรีไฟแนนซ์ที่ดีอยู่เช่นกัน

Retention อีกทางเลือกพัก (ผ่อน) บ้าน

refinance บ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน รีเทนชัน แสนสิริ sansiri บ้านแสนสิริ

นอกจากการรีไฟแนนซ์แล้ว ยังมีอีกหนึ่งทางออกสำหรับผู้ที่อยากลดภาระค่าผ่อนบ้าน นั่นคือการ “Retention” ซึ่งเป็นการยื่นขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม โดยต้องผู้กู้ต้องผ่อนบ้านมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี ข้อดีของการ Retention คือไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารใหม่ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก และอนุมัติเร็ว แต่ก็มีข้อเสียคืออัตราดอกเบี้ยอาจลดลงไม่มากเท่ากับการรีไฟแนนซ์

ท้ายที่สุด ไม่ว่าจะเลือกวิธีการลดภาระด้วยวิธีใด รีไฟแนนซ์หรือ Retention ก็ควรศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ พร้อมเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียอย่างละเอียด และเลือกข้อเสนอที่ตอบโจทย์แผนการเงินของเราที่สุด แล้วจะสัมผัสได้ว่า ภาระหนี้สินที่แบกอยู่ค่อยๆ เบาลง ไม่ต้องร้อนใจอย่างที่เคย

CONTRIBUTOR

Related Articles

ขายของออนไลน์ ก็กู้ซื้อบ้านได้ ง่ายนิดเดียว-ขายออนไลน์ซื้อบ้าน-กู้บ้าน-sansirihomefinancialplanner

ขายของออนไลน์ ก็กู้ซื้อบ้านได้ ง่ายนิดเดียว

ในยุคของ E-Commerce แบบนี้ ไม่ว่าหันไปทางไหน ใครๆ ก็ซื้อของออนไลน์กันทั้งนั้น จึงไม่แปลกเลยที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะกลายเป็นอาชีพยอดฮิต เพราะค่อนข้างมั่นคงและรายได้ดีไม่แพ้งานประจำเลย เผลอๆ ดีกว่าด้วยซ้ำ อะไรคือสาเหตุที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กู้ไม่ผ่าน? แต่ทั้งๆ ที่ยอดขายทะลุเป้าทุกเดือนแบบนี้ ทำไมพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนถึงยังกู้ไม่ผ่านในเวลาที่อยากมีบ้านกันล่ะ? สาเหตุหลักเลย คือหลายคนไม่ได้เก็บหลักฐานการใช้จ่ายของธุรกิจไว้ เช่น ใบสั่งซื้อ หรือบิลต่างๆ ทำให้พิสูจน์ไม่ได้ว่ารายได้มาจากการขายออนไลน์จริงหรือไม่

กู้ร่วม ทางออกของคนอยากมีบ้าน

เชื่อว่าทุกคนที่กำลังวางแผนซื้อบ้าน ต้องมีบ้านในฝันของตัวเองอยู่แล้ว… ปัญหาคือถ้าได้วงเงินกู้ไม่เพียงพอ หรือยื่นกู้ไม่ผ่านขึ้นมา บ้านหลังนั้นคงหลุดมือไปอย่างน่าเสียดาย แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกัน! เพราะปัญหานี้มีทางออก “การกู้ร่วม” นี่เอง คือทางออกที่จะทำให้บ้านในฝันเป็นของเราได้ง่ายขึ้น แล้วการกู้ร่วมต้องทำยังไง มีเทคนิคยังไงบ้าง Sansiri Blog มีคำตอบ กู้ร่วมคืออะไร? ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักการกู้ร่วมกันก่อน “การกู้ร่วม” คือการร่วมเซ็นสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน

Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาเรื่องการเงินจากแสนสิริ

Sansiri Home Financial Planner ที่ปรึกษาเรื่องการเงินจากแสนสิริ ช่วยคุณมีบ้านง่าย ได้ยังไงบ้าง?

“อยากมีบ้าน แต่กลัวเรื่องกู้…, จะกู้แต่ก็กลัวเรื่องเอกสารวุ่นวาย…, ไหนจะต้องติดต่อธนาคาร โอ้ยย ทำไมมีบ้านสักหลัง ต้องคิดอะไรเยอะแยะจัง” สารพัดหลายปัญหาหลายความกังวลของคนอยากมีบ้าน แสนสิริเข้าใจดีว่าการซื้อบ้านสักหลังนึงสำหรับบางคนถือเป็นเรื่องสำคัญในชีวิต หลายๆ คนอาจมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เราจึงมีบริการเพื่อสำหรับผู้ที่สนใจอยากเป็นเจ้าของโครงการจากแสนสิริ “Sansiri Home Financial Planner” บริการให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อคนอยากมีบ้าน ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากธนาคารชั้นนำมาเป็นที่ปรึกษา ทั้งการเตรียมเอกสาร