6 ชีวิตที่ 'ZERO DROPOUT'
ได้ช่วย ไม่ให้หลุดการศึกษา

ช่วงต้นของโครง ‘Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน’ ที่แสนสิริบริจาคเงินให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) เพื่อดำเนินการนำเด็กที่มีความเสี่ยงหรือหลุดจากระบบการศึกษากลับเข้าโรงเรียน…

เป็นช่วงที่ทีมงานเริ่มลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและช่วยเหลือเด็กที่ถูกระบุจากทางหน่วยงานแล้วว่ามีความเสี่ยงที่จะหลุดจากระบบการศึกษาในเร็ววัน ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งแรกเราได้รับทราบเรื่องราวจากเด็กจาก 6 ครอบครัว จากเรื่องราวของน้องๆ ทั้ง 6 ชีวิต ที่ทางโครงการ Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน ได้เริ่มดำเนินการช่วยเหลือทันที

น้องทอง : บกพร่องทางการเรียนรู้ ไม่แน่ใจว่าจบ ป.6 แล้วชีวิตจะไปทางไหนต่อ

น้องทอง Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน

‘น้องทอง’ อาศัยอยู่กับแม่และยาย พ่อเสียชีวิตแล้ว แม่ทำอาชีพรับจ้างในไซต์งานก่อสร้างหารายได้คนเดียว เป็นค่าแรงขั้นต่ำ และมีปัญหาด้านพฤติกรรมคือดื่มเหล้าเป็นประจำ โดยมากทองจึงได้รับการดูแลเพียงลำพังจากยายวัยชรา หรือบางช่วงทองก็ต้องไปอยู่ที่บ้านน้า ซึ่งพอช่วยเหลืออุปการะได้บ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ

ด้านการเรียน ทองมีปัญหาการเรียนรู้บกพร่อง เรียนช้ากว่าเพื่อน ๆ แต่เขาเป็นเด็กตั้งใจเรียน และแสดงออกชัดว่าต้องการเรียนต่อชั้นมัธยมต้น โดยบอกเล่าความตั้งใจให้ครูประจำชั้นฟังบ่อย ๆ และในช่วงก่อนจบชั้น ป.6 ทองตัดสินใจเข้าหาผู้อำนวยการเพื่อแจ้งเจตจำนงว่าต้องการความช่วยเหลือเรื่องเรียนต่อ เพราะเขากังวลว่าแม่จะส่งเสียไม่ไหว ประกอบกับเรื่องที่ตนเองมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จึงไม่แน่ใจว่าจบ ป.6 แล้ว เขาจะไปต่อในด้านการศึกษาได้อย่างไร

สำหรับแนวทางการช่วยเหลือน้องทอง โดยเบื้องต้นได้ประสานไปยังโรงเรียนรุจิรพัฒน์ ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ และเป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่มีการจัดการศึกษาพิเศษ พร้อมรองรับเด็กในกลุ่มการเรียนรู้บกพร่อง โดยหลักสูตรของโรงเรียนมุ่งเน้นด้านคุณธรรมจริยธรรม หลักสูตรฝึกอาชีพ เช่น เลี้ยงไก่ไข่ ปลูกพืชผักสวนครัว งานฝีมือ ฯลฯ

“ด้วยอุปสรรคเรื่องค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การดูแลจากครอบครัว รวมถึงเรื่องการเรียนรู้ ถ้าทองเข้าเรียนในโรงเรียนทั่วไป อาจเป็นไปได้ว่าน้องจะมีปัญหาด้านการเรียนจนต้องออกกลางคัน แต่ที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ทองจะได้รับการดูแลในลักษณะที่ใกล้เคียงกับโรงเรียนเดิม คือเป็นหลักสูตรที่เอื้อต่อเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ มีครูที่มีประสบการณ์ดูแล และการเรียนที่ไม่หนักไปในด้านวิชาการจนน้องตามไม่ทัน ซึ่งจะช่วยประคับประคองให้น้องเรียนจนจบชั้น ม.3 ได้ ทั้งในระหว่างนั้นยังได้ค้นหาความถนัดของตนเอง หรือได้ฝึกฝนเรียนรู้ทักษะอาชีพที่จะนำไปใช้เลี้ยงตัวในอนาคตได้”

นอกจากนี้ การพักนอนประจำที่โรงเรียน ยังช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องเด็กไม่มีผู้ดูแลที่เหมาะสม ประหยัดค่ากินอยู่ ค่าเดินทาง แล้วยังได้ฝึกฝนความรับผิดชอบต่าง ๆ ทักษะสังคม การดูแลแปลงเกษตรในโรงเรียน และฝึกทักษะอื่น ๆ เช่นศิลปะ งานฝีมือ ที่มีครูคอยสนับสนุนให้เด็กค้นพบทางเลือก ความสนใจ และความถนัดที่หลากหลายยิ่งขึ้น

ส่วนการส่งต่อปลายทาง โรงเรียนรุจิรพัฒน์ได้ร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่ ในการเข้ามาสนับสนุนน้อง ๆ ที่มีความสามารถ มีความตั้งใจ แต่ขาดโอกาส ให้ได้เข้าเรียนต่อในระดับ ปวช. พร้อมส่งเสริมให้ไปได้สุดทางตามความสนใจและความตั้งใจ เพื่อให้เด็กที่อาจไม่ถนัดด้านวิชาการ มีโอกาสศึกษาต่อหรือค้นพบอาชีพที่จะใช้เลี้ยงตัวได้อย่างยั่งยืน

น้องต้นข้าว : บกพร่องทางการเรียนรู้ ผู้ปกครองอยากได้ตัวเด็กไว้ช่วยทำงาน

น้องต้นข้าวกับแพะ น้องทอง Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน

‘น้องต้นข้าว’ จบชั้น ป.6/2 ห้องเดียวกับน้องทอง จัดอยู่ในกลุ่มเด็กมีปัญหาการเรียนรู้เช่นกัน ต้นข้าวอาศัยอยู่กับลุง-ป้า ที่มีรายได้ไม่เพียงพอจะส่งเสียให้เรียนต่อ เมื่อสอบถามถึงความต้องการหรือแนวทางช่วยเหลือ ลุง-ป้า กล่าวว่า ยินดีให้หลานได้เรียนต่อถ้ามีทุนสนับสนุน แต่มีข้อแม้ว่าอยากให้น้องเรียนใกล้บ้าน เพราะจะได้เอาเวลาว่างจากการเรียนมาช่วยกันทำงานหารายได้

คณะทำงานวิเคราะห์ว่า ถ้าเป็นไปได้ต้นข้าวควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนรุจิรพัฒน์เช่นเดียวกับทอง เนื่องจากมีการจัดการศึกษาเฉพาะทาง และหากได้เข้าเรียนพร้อมกับทอง จะช่วยในเรื่องการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่

หลังจากหารือกับผู้ปกครองของต้นข้าวอีกครั้ง ลุง-ป้ายินดีให้น้องไปเรียนที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ เพื่อประโยชน์ของตัวน้องต้นข้าว ซึ่งคณะทำงานจะพูดคุยฝากฝังกับทางโรงเรียนให้ดูแลเป็นพิเศษ

น้องเพชร : มีความบกพร่องทางสภาพร่างกาย

น้องต้นข้าวกับแพะ น้องทอง Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน

น้องเพชร อาศัยอยู่กับป้า (ไม่มีอาชีพประจำ) ที่ผาปก อำเภอสวนผึ้ง ส่วนพ่อผู้ทำหน้าที่ส่งเสียเลี้ยงดูทำงานรับจ้างที่อำเภอจอมบึงแล้วส่งเงินให้ป้าอีกทีหนึ่ง

สำหรับเรื่องการเรียนต่อ ทีแรกพ่อของเพชรวางแผนไว้ว่าหลังจบ ป.6 จะให้ไปเรียนที่จอมบึงอยู่กับพ่อ แต่เมื่อคำนึงถึงเวลาการทำงานที่เกือบเต็มวัน พ่อน้องจึงไม่แน่ใจว่าจะมีเวลาดูแลน้องได้เพียงพอ ประกอบกับรายได้ที่ค่อนข้างน้อย และความบกพร่องทางร่างกายของน้องเพชร ทางครูโรงเรียนสินแร่สยามได้แนะนำให้น้องเรียนต่อที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ร่วมกับเพื่อน ๆ ที่เรียนจบ ป.6 พร้อมกัน เนื่องจากที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ มีการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่ไม่ถนัดทางวิชาการ โดยเน้นการฝึกฝนทักษะอาชีพ ค้นหาความถนัดเฉพาะบุคคล รวมถึงเป็นโรงเรียนประจำที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก

“ผลการเรียนน้องเพชรไม่ดีมาก แต่ความประพฤติดี การเรียนที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์น่าจะช่วยให้เพชรปรับตัวกับโรงเรียนใหม่ได้ไม่ยาก และสามารถเรียนได้ต่อเนื่องจนจบชั้น ม.3”

น้องเตี้ย : อยากเรียนต่อ แต่พ่อ-แม่ไม่สามารถส่งเสียได้

Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน

แม้บิดา-มารดาจะมีสัญชาติไทย แต่กระนั้นก็ยังมีปัญหาเรื่องข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ และไม่สามารถไปทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ นั่นเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เมื่อ ’น้องเตี้ย’ ได้จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ไปแล้วนั้น น้องไม่ได้เข้าเรียนต่อระดับชั้นมัธยมศึกษา

จากการติดตามของคณะทำงานได้พบ และได้สอบถามตัวนักเรียนเองและผู้ปกครอง ทราบว่ามีความประสงค์จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา แต่ติดตรงที่ทางฐานะครอบครัวยากจนนักเรียนอาศัยอยู่กับบิดา-มารดา ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้างและมีลูกหลายคน จึงไม่มีเงินส่งเสียให้นักเรียนเรียนต่อ น้องเตี้ยจึงอยู่บ้านช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านแทน โดยแนวทางการช่วยเหลือ ได้ส่งตัวน้องให้สามารถไปเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมฯ ที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ ต่อไป

น้องเอชือ​ : เด็กชาติพันธุ์ ปัญหาสำคัญทำหลุดการศึกษา

‘น้องเอชือ’ เด็กชายที่เกิดในครอบครัวชาติพันธุ์ ทำให้น้องมีสัญชาติกระเหรี่ยง และมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาต่อ ท่ามกลางพี่-น้องที่มากมาย ทำให้หลังจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ไปแล้วนั้น เอชือก็เป็นเด็กอีกคนที่ต้องหลุดจากระบบการศึกษาไปถึงหนึ่งปีเต็ม

เมื่อคณะทำงานได้ตามพบ ก็พบว่าเด็กและครอบครัวอยากให้เจ้าตัวได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา แต่ติดตรงที่ทางฐานะครอบครัวยากจนอาศัยอยู่มารดาและยาย ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้างและมีลูกหลายคน ส่วนบิดามีครอบครัวใหม่ ผู้ปกครองเลยไม่มีเงินส่งเสียให้นักเรียนเรียนต่อ ช่วงที่หยุดเรียนไปนักเรียนอยู่บ้านช่วยพ่อแม่ทำงาน เช่นเดียวกับเด็กคนอื่นๆ ในโครงการ Zero Dropout ก็ได้ประสานให้น้องได้ไปเรียนที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ เพื่อค้นหาความถนัดของตนเอง และได้ฝึกฝนเรียนรู้ทักษะอาชีพที่จะนำไปใช้เลี้ยงตัวในอนาคต

น้องวิรดา : เกือบหลุดไปเป็นแรงงาน

Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน

เพื่อนร่วมรุ่นกับน้องเตี้ยและน้องเอชือ และยังหลุดจากระบบการศึกษาไปพร้อมกันเมื่อปี 2563 จากปัญหาที่มีคล้ายคลึงกัน นั่นก็คือ สภาวะความยากจนของครอบครัวและปัญหาเรื่องทะเบียนราษฎร์ อย่างไรก็ตามการมาของโครงการ Zero Dropout ที่ได้เสมือนชุบชีวิตทางการศึกษาให้กับน้องวิรดาอีกครั้ง

ในวันเปิดเทอมภาคการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา เธอและเพื่อนๆ อีก 5 ชีวิตได้มีโอกาสเริ่มต้นการศึกษาอีกครั้งที่รุจิรพัฒน์ ซึ่งเชื่อว่าแม้เพศสภาพอาจจะทำให้น้องวิรดาไม่ได้ใกล้ชิดกับเพื่อนในกลุ่มคนอื่นๆ มากนัก แต่ทั้งหมดก็จะช่วยกันในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ พร้อมมุ่งสู่การเรียนที่พวกเขาเฝ้าหวัง

จะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่องของการหลุดจากระบบการศึกษาของเด็กไทย โดยเฉพาะกลุ่มอ่อนไหวทางเศรษฐกิจ มีความละเอียดอ่อนสูง ถ้าไม่ลงไปฟังเองจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าปัญหาของเด็กเหล่านี้ซับซ้อนและต้องใช้การแก้ปัญหารายกรณีจึงจะมีโอกาสที่จะสร้างโอกาสให้เด็กๆ เหล่านี้ได้

CONTRIBUTOR

Related Articles

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

ZERO DROPOUT เพราะการศึกษาที่มีคุณภาพ คือสะพานสู่ความฝัน

ปัจจุบัน จังหวัดราชบุรีมีนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 127,266 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนยากจนพิเศษ อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาท ต่อคนต่อเดือน 3,258 คน คิดเป็น 2.56 % สาเหตุดังกล่าวทำให้ครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องในการไปโรงเรียนได้ จึงทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา คือมีเด็กที่หลุดระบบการศึกษาและเสี่ยงหลุดระบบการศึกษาเกิดขึ้น โจทย์ดังกล่าวทำให้แสนสิริ องค์กรในภาคเอกชนที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมเด็กและเยาวชน ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน-แสนสิริ-นักเรียนไทย-นักเรียน

สร้างโอกาสให้น้องเรียนรู้ “วิชาชีพ วิชาชีวิต” ใน Zero Dropout

หากคุณเป็นแฟนคลับ ที่ติดตามแสนสิริเป็นประจำเสมอ น่าจะยังคงจำกันได้ดีกับโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ภารกิจที่เรามุ่งมั่นให้เด็กไทยมีโอกาสได้เรียนและกลับคืนสู่ระบบการศึกษา โดยเริ่มต้นที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นโมเดล และจากที่เราได้ลงไปสัมผัสโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าว พบว่าในหลายโรงเรียนมีทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านอาชีพให้กับนักเรียนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพื้นที่นั้นเป็นส่วนที่ติดกับชายแดนเมียนมาร์ จึงเป็นเหตุให้มีเด็กชาติพันธุ์มากมาย ประกอบกับครอบครัวมีฐานะยากจน ส่งผลให้เด็กบางคนไม่สามารถเรียนจบในการศึกษาภาคบังคับได้ เพราะต้องช่วยพ่อแม่รับจ้างเพื่อหาเงินมายังชีพในครอบครัว หนึ่งในกิจกรรมย่อยที่ช่วยเติมเต็มในโครงการ

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

Giving Mission ภารกิจ ‘ให้’น้องยิ้มได้ กับ Zero Dropout

เพราะอาหารกลางวัน คือพลังสำคัญของนักเรียน จำความรู้สึกของวันที่งานยุ่งมากจนแทบไม่ได้ทานข้าวได้ไหม? ทั้งเหนื่อยทั้งหิวจนอดทนแทบไม่ไหว ความรู้สึกแบบนั้นคงไม่มีใครอยากพบเจอ แล้วรู้ไหมว่า เรื่องน่าเศร้าคือยังมีนักเรียนจำนวนมากที่ยากจนหรือด้อยโอกาสจนมักจะไม่ได้ทานทั้งอาหารเช้าและอาหารเที่ยง เพราะครอบครัวมีรายได้ไม่มากพอที่จะเตรียมอาหารเช้าทุกวันได้ ส่วนโรงเรียนก็ได้รับงบประมาณสำหรับค่าอาหารกลางวันที่ไม่พอเพียง หลายครั้งที่เด็กๆ ได้กินอาหารกลางวันในปริมาณเพียงเล็กน้อย ไม่อิ่มท้องทั้งยังได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือบางวันก็อาจจะไม่ได้ทานอาหารเลย โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยยังสามารถเป็นกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนไปด้วยในตัว สอนให้นักเรียนได้ทดลองลงมือทำจริงแบบครบวงจร เกิดประสบการณ์ทั้งเพาะปลูก ดูแลพืชผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ไข่