6 ชีวิตที่ 'ZERO DROPOUT'
ได้ช่วย ไม่ให้หลุดการศึกษา

ช่วงต้นของโครง ‘Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน’ ที่แสนสิริบริจาคเงินให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) เพื่อดำเนินการนำเด็กที่มีความเสี่ยงหรือหลุดจากระบบการศึกษากลับเข้าโรงเรียน…

เป็นช่วงที่ทีมงานเริ่มลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและช่วยเหลือเด็กที่ถูกระบุจากทางหน่วยงานแล้วว่ามีความเสี่ยงที่จะหลุดจากระบบการศึกษาในเร็ววัน ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งแรกเราได้รับทราบเรื่องราวจากเด็กจาก 6 ครอบครัว จากเรื่องราวของน้องๆ ทั้ง 6 ชีวิต ที่ทางโครงการ Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน ได้เริ่มดำเนินการช่วยเหลือทันที

น้องทอง : บกพร่องทางการเรียนรู้ ไม่แน่ใจว่าจบ ป.6 แล้วชีวิตจะไปทางไหนต่อ

น้องทอง Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน

‘น้องทอง’ อาศัยอยู่กับแม่และยาย พ่อเสียชีวิตแล้ว แม่ทำอาชีพรับจ้างในไซต์งานก่อสร้างหารายได้คนเดียว เป็นค่าแรงขั้นต่ำ และมีปัญหาด้านพฤติกรรมคือดื่มเหล้าเป็นประจำ โดยมากทองจึงได้รับการดูแลเพียงลำพังจากยายวัยชรา หรือบางช่วงทองก็ต้องไปอยู่ที่บ้านน้า ซึ่งพอช่วยเหลืออุปการะได้บ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ

ด้านการเรียน ทองมีปัญหาการเรียนรู้บกพร่อง เรียนช้ากว่าเพื่อน ๆ แต่เขาเป็นเด็กตั้งใจเรียน และแสดงออกชัดว่าต้องการเรียนต่อชั้นมัธยมต้น โดยบอกเล่าความตั้งใจให้ครูประจำชั้นฟังบ่อย ๆ และในช่วงก่อนจบชั้น ป.6 ทองตัดสินใจเข้าหาผู้อำนวยการเพื่อแจ้งเจตจำนงว่าต้องการความช่วยเหลือเรื่องเรียนต่อ เพราะเขากังวลว่าแม่จะส่งเสียไม่ไหว ประกอบกับเรื่องที่ตนเองมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จึงไม่แน่ใจว่าจบ ป.6 แล้ว เขาจะไปต่อในด้านการศึกษาได้อย่างไร

สำหรับแนวทางการช่วยเหลือน้องทอง โดยเบื้องต้นได้ประสานไปยังโรงเรียนรุจิรพัฒน์ ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ และเป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่มีการจัดการศึกษาพิเศษ พร้อมรองรับเด็กในกลุ่มการเรียนรู้บกพร่อง โดยหลักสูตรของโรงเรียนมุ่งเน้นด้านคุณธรรมจริยธรรม หลักสูตรฝึกอาชีพ เช่น เลี้ยงไก่ไข่ ปลูกพืชผักสวนครัว งานฝีมือ ฯลฯ

“ด้วยอุปสรรคเรื่องค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การดูแลจากครอบครัว รวมถึงเรื่องการเรียนรู้ ถ้าทองเข้าเรียนในโรงเรียนทั่วไป อาจเป็นไปได้ว่าน้องจะมีปัญหาด้านการเรียนจนต้องออกกลางคัน แต่ที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ทองจะได้รับการดูแลในลักษณะที่ใกล้เคียงกับโรงเรียนเดิม คือเป็นหลักสูตรที่เอื้อต่อเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ มีครูที่มีประสบการณ์ดูแล และการเรียนที่ไม่หนักไปในด้านวิชาการจนน้องตามไม่ทัน ซึ่งจะช่วยประคับประคองให้น้องเรียนจนจบชั้น ม.3 ได้ ทั้งในระหว่างนั้นยังได้ค้นหาความถนัดของตนเอง หรือได้ฝึกฝนเรียนรู้ทักษะอาชีพที่จะนำไปใช้เลี้ยงตัวในอนาคตได้”

นอกจากนี้ การพักนอนประจำที่โรงเรียน ยังช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องเด็กไม่มีผู้ดูแลที่เหมาะสม ประหยัดค่ากินอยู่ ค่าเดินทาง แล้วยังได้ฝึกฝนความรับผิดชอบต่าง ๆ ทักษะสังคม การดูแลแปลงเกษตรในโรงเรียน และฝึกทักษะอื่น ๆ เช่นศิลปะ งานฝีมือ ที่มีครูคอยสนับสนุนให้เด็กค้นพบทางเลือก ความสนใจ และความถนัดที่หลากหลายยิ่งขึ้น

ส่วนการส่งต่อปลายทาง โรงเรียนรุจิรพัฒน์ได้ร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่ ในการเข้ามาสนับสนุนน้อง ๆ ที่มีความสามารถ มีความตั้งใจ แต่ขาดโอกาส ให้ได้เข้าเรียนต่อในระดับ ปวช. พร้อมส่งเสริมให้ไปได้สุดทางตามความสนใจและความตั้งใจ เพื่อให้เด็กที่อาจไม่ถนัดด้านวิชาการ มีโอกาสศึกษาต่อหรือค้นพบอาชีพที่จะใช้เลี้ยงตัวได้อย่างยั่งยืน

น้องต้นข้าว : บกพร่องทางการเรียนรู้ ผู้ปกครองอยากได้ตัวเด็กไว้ช่วยทำงาน

น้องต้นข้าวกับแพะ น้องทอง Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน

‘น้องต้นข้าว’ จบชั้น ป.6/2 ห้องเดียวกับน้องทอง จัดอยู่ในกลุ่มเด็กมีปัญหาการเรียนรู้เช่นกัน ต้นข้าวอาศัยอยู่กับลุง-ป้า ที่มีรายได้ไม่เพียงพอจะส่งเสียให้เรียนต่อ เมื่อสอบถามถึงความต้องการหรือแนวทางช่วยเหลือ ลุง-ป้า กล่าวว่า ยินดีให้หลานได้เรียนต่อถ้ามีทุนสนับสนุน แต่มีข้อแม้ว่าอยากให้น้องเรียนใกล้บ้าน เพราะจะได้เอาเวลาว่างจากการเรียนมาช่วยกันทำงานหารายได้

คณะทำงานวิเคราะห์ว่า ถ้าเป็นไปได้ต้นข้าวควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนรุจิรพัฒน์เช่นเดียวกับทอง เนื่องจากมีการจัดการศึกษาเฉพาะทาง และหากได้เข้าเรียนพร้อมกับทอง จะช่วยในเรื่องการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่

หลังจากหารือกับผู้ปกครองของต้นข้าวอีกครั้ง ลุง-ป้ายินดีให้น้องไปเรียนที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ เพื่อประโยชน์ของตัวน้องต้นข้าว ซึ่งคณะทำงานจะพูดคุยฝากฝังกับทางโรงเรียนให้ดูแลเป็นพิเศษ

น้องเพชร : มีความบกพร่องทางสภาพร่างกาย

น้องต้นข้าวกับแพะ น้องทอง Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน

น้องเพชร อาศัยอยู่กับป้า (ไม่มีอาชีพประจำ) ที่ผาปก อำเภอสวนผึ้ง ส่วนพ่อผู้ทำหน้าที่ส่งเสียเลี้ยงดูทำงานรับจ้างที่อำเภอจอมบึงแล้วส่งเงินให้ป้าอีกทีหนึ่ง

สำหรับเรื่องการเรียนต่อ ทีแรกพ่อของเพชรวางแผนไว้ว่าหลังจบ ป.6 จะให้ไปเรียนที่จอมบึงอยู่กับพ่อ แต่เมื่อคำนึงถึงเวลาการทำงานที่เกือบเต็มวัน พ่อน้องจึงไม่แน่ใจว่าจะมีเวลาดูแลน้องได้เพียงพอ ประกอบกับรายได้ที่ค่อนข้างน้อย และความบกพร่องทางร่างกายของน้องเพชร ทางครูโรงเรียนสินแร่สยามได้แนะนำให้น้องเรียนต่อที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ร่วมกับเพื่อน ๆ ที่เรียนจบ ป.6 พร้อมกัน เนื่องจากที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ มีการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่ไม่ถนัดทางวิชาการ โดยเน้นการฝึกฝนทักษะอาชีพ ค้นหาความถนัดเฉพาะบุคคล รวมถึงเป็นโรงเรียนประจำที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก

“ผลการเรียนน้องเพชรไม่ดีมาก แต่ความประพฤติดี การเรียนที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์น่าจะช่วยให้เพชรปรับตัวกับโรงเรียนใหม่ได้ไม่ยาก และสามารถเรียนได้ต่อเนื่องจนจบชั้น ม.3”

น้องเตี้ย : อยากเรียนต่อ แต่พ่อ-แม่ไม่สามารถส่งเสียได้

Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน

แม้บิดา-มารดาจะมีสัญชาติไทย แต่กระนั้นก็ยังมีปัญหาเรื่องข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ และไม่สามารถไปทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ นั่นเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เมื่อ ’น้องเตี้ย’ ได้จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ไปแล้วนั้น น้องไม่ได้เข้าเรียนต่อระดับชั้นมัธยมศึกษา

จากการติดตามของคณะทำงานได้พบ และได้สอบถามตัวนักเรียนเองและผู้ปกครอง ทราบว่ามีความประสงค์จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา แต่ติดตรงที่ทางฐานะครอบครัวยากจนนักเรียนอาศัยอยู่กับบิดา-มารดา ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้างและมีลูกหลายคน จึงไม่มีเงินส่งเสียให้นักเรียนเรียนต่อ น้องเตี้ยจึงอยู่บ้านช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านแทน โดยแนวทางการช่วยเหลือ ได้ส่งตัวน้องให้สามารถไปเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมฯ ที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ ต่อไป

น้องเอชือ​ : เด็กชาติพันธุ์ ปัญหาสำคัญทำหลุดการศึกษา

‘น้องเอชือ’ เด็กชายที่เกิดในครอบครัวชาติพันธุ์ ทำให้น้องมีสัญชาติกระเหรี่ยง และมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาต่อ ท่ามกลางพี่-น้องที่มากมาย ทำให้หลังจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ไปแล้วนั้น เอชือก็เป็นเด็กอีกคนที่ต้องหลุดจากระบบการศึกษาไปถึงหนึ่งปีเต็ม

เมื่อคณะทำงานได้ตามพบ ก็พบว่าเด็กและครอบครัวอยากให้เจ้าตัวได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา แต่ติดตรงที่ทางฐานะครอบครัวยากจนอาศัยอยู่มารดาและยาย ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้างและมีลูกหลายคน ส่วนบิดามีครอบครัวใหม่ ผู้ปกครองเลยไม่มีเงินส่งเสียให้นักเรียนเรียนต่อ ช่วงที่หยุดเรียนไปนักเรียนอยู่บ้านช่วยพ่อแม่ทำงาน เช่นเดียวกับเด็กคนอื่นๆ ในโครงการ Zero Dropout ก็ได้ประสานให้น้องได้ไปเรียนที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ เพื่อค้นหาความถนัดของตนเอง และได้ฝึกฝนเรียนรู้ทักษะอาชีพที่จะนำไปใช้เลี้ยงตัวในอนาคต

น้องวิรดา : เกือบหลุดไปเป็นแรงงาน

Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน

เพื่อนร่วมรุ่นกับน้องเตี้ยและน้องเอชือ และยังหลุดจากระบบการศึกษาไปพร้อมกันเมื่อปี 2563 จากปัญหาที่มีคล้ายคลึงกัน นั่นก็คือ สภาวะความยากจนของครอบครัวและปัญหาเรื่องทะเบียนราษฎร์ อย่างไรก็ตามการมาของโครงการ Zero Dropout ที่ได้เสมือนชุบชีวิตทางการศึกษาให้กับน้องวิรดาอีกครั้ง

ในวันเปิดเทอมภาคการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา เธอและเพื่อนๆ อีก 5 ชีวิตได้มีโอกาสเริ่มต้นการศึกษาอีกครั้งที่รุจิรพัฒน์ ซึ่งเชื่อว่าแม้เพศสภาพอาจจะทำให้น้องวิรดาไม่ได้ใกล้ชิดกับเพื่อนในกลุ่มคนอื่นๆ มากนัก แต่ทั้งหมดก็จะช่วยกันในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ พร้อมมุ่งสู่การเรียนที่พวกเขาเฝ้าหวัง

จะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่องของการหลุดจากระบบการศึกษาของเด็กไทย โดยเฉพาะกลุ่มอ่อนไหวทางเศรษฐกิจ มีความละเอียดอ่อนสูง ถ้าไม่ลงไปฟังเองจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าปัญหาของเด็กเหล่านี้ซับซ้อนและต้องใช้การแก้ปัญหารายกรณีจึงจะมีโอกาสที่จะสร้างโอกาสให้เด็กๆ เหล่านี้ได้

CONTRIBUTOR

Related Articles

แสนสิริ กับ 18 ปี แห่งการสร้างรากฐานที่ยั่งยืน เพื่ออนาคตของเด็กทุกคน

SansiriSocialChange ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แสนสิริไม่ได้เพียงแค่สร้างบ้าน แต่เรายังมุ่งมั่นในการสร้างรากฐานสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการต่างๆ ร่วมกับพันธมิตร พร้อมส่งต่อโอกาสในด้านต่างๆ ทั้งสุขภาพ การศึกษา กีฬา และคุณภาพชีวิต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างอนาคตที่ดีให้กับ “เด็กทุกคน”  กว่า 18 ปีที่ผ่านมา แสนสิริ ยืนหยัดและผลักดันในประเด็นของสิทธิเด็ก การยุติการใช้ความรุนแรง และการใช้แรงงานเด็ก

“แสนสิริ” เดินหน้า ZERO DROPOUT ชูโมเดลการศึกษา 1 โรงเรียน  3 รูปแบบ “เด็กทุกคนต้องได้เรียน” พัฒนาทุนมนุษย์เคลื่อนเศรษฐกิจ

“แสนสิริหวังว่าโครงการ ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน นำร่องที่จังหวัดราชบุรี จะจุดประกายให้เห็นกลไกการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ขยายผลนำไปใช้ทั่วประเทศ” เพราะทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจ ดังนั้นการสร้าง “ความเสมอภาคทางการศึกษา” ทำให้เด็กไม่หลุดจากระบบการศึกษา เติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วม โดยบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แถวหน้าของไทย ได้ผลักดันสร้างความเสมอภาคทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

ZERO DROPOUT เพราะการศึกษาที่มีคุณภาพ คือสะพานสู่ความฝัน

ปัจจุบัน จังหวัดราชบุรีมีนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 127,266 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนยากจนพิเศษ อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาท ต่อคนต่อเดือน 3,258 คน คิดเป็น 2.56 % สาเหตุดังกล่าวทำให้ครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องในการไปโรงเรียนได้ จึงทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา คือมีเด็กที่หลุดระบบการศึกษาและเสี่ยงหลุดระบบการศึกษาเกิดขึ้น โจทย์ดังกล่าวทำให้แสนสิริ องค์กรในภาคเอกชนที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมเด็กและเยาวชน ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา