สมรมเท่าเทียม:
ไม่ใช่ความสุขของใคร แต่เป็นสุข (ของ) สาธารณะ

เมื่อสังคมโลกเต็มไปด้วยความหลากหลาย เราสามารถมอบโอกาสให้ทุกคนมีสุขอย่างเท่าเทียมได้รึเปล่า?

ตลอดเดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่เต็มไปด้วยสีสันแห่งสายรุ้ง เป็นเดือนของการเฉลิมฉลอง Pride Month เทศกาลแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)

แม้ว่า Pride Month จะมีจุดเริ่มต้นที่ไม่สวยงามเหมือนขบวนพาเหรดที่ถูกจัดขึ้นในหลายๆ ประเทศ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างโอกาสให้กับทุกคนไม่ว่าจะเพศไหน ให้ออกมาแสดงตัวตนและเรียกร้องในสิทธิที่ถูกลดทอนเพียงเพราะตนนั้น “แตกต่าง”

สำหรับบางคน “สมรสเท่าเทียม” อาจเป็นสิ่งเล็กๆ ที่ไม่กระทบต่อชีวิต แต่สำหรับคนบางกลุ่ม นี่เป็นโอกาสครั้งใหญ่ที่จะเปิดทางให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตในแบบที่มั่นคงได้ โดยไม่ต้องกังวลต่อข้อกฎหมายใดๆ ซึ่งจุดเริ่มต้นเล็กๆ นี่เอง ที่จะพาเราไปรู้จักกับ “สุข (ของ) สาธารณะ”

pride month-live equally-สมรมเท่าเทียม

ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ความสุขนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องแค่กับใครคนใดคนหนึ่งเลย แต่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่และความเท่าเทียมของสังคมโดยส่วนรวมต่างหาก เพราะมันก็เกิดเป็นคำถามมากมายว่าเราจะทำอย่างไรให้สังคมนี้ได้รับโอกาสที่ทั่วถึงอย่างเท่าเทียม

อย่างแรกก็คงต้องมองดูถึงเรื่องของโอกาสในการเข้าถึง “สิทธิพื้นฐาน” โดยเฉพาะในเรื่องของ “ชีวิตคู่” ที่ใครๆ อาจมองว่าเป็นเรื่องง่าย แต่กับคนบางกลุ่มแล้ว นี่ไม่ง่ายเลย หนทางของการวางแผนอนาคตนั้น มองไปก็อาจมืดมิด เพียงเพราะถูกจำกัดอยู่แค่ว่า “เขาเป็นเพศเดียวกัน” แต่หากทุกคนได้รับ “โอกาส” ในการมีชีวิตคู่ ที่จะสามารถวางแผนใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างราบรื่น ทุกคนก็จะมีสิทธิที่จะมีความสุขได้อย่างเท่าเทียม ทั้งหมดนี้ก็เพื่อในอนาคตที่ถูกเติมเต็มด้วยสีสัน พร้อมรอยยิ้มที่สดใสของทุกคน ไม่ว่าใครก็สามารถใช้ชีวิตของตนเองและคู่ครองได้อย่างมีความสุขท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่สวยงามเช่นนี้

ถึงแม้สังคมแห่งความเท่าเทียมอาจจะใช้เวลานานในการสร้างให้สมบูรณ์ แต่จุดเริ่มต้นเล็กๆ ก็สามารถกลายเป็นจุดเปลี่ยนทางสังคม จนทำให้เกิด “สุข (ของ) สาธารณะ” ที่มีผลต่อทั้งโลกเหมือนกับครั้งแรกที่กฎหมายเท่าเทียมได้ถูกบัญญัติขึ้น

A Step Forward To Live Equally: ก้าวแรกของโอกาส ก้าวต่อไปของความเท่าเทียม

pride month-live equally-สมรมเท่าเทียม

“กฎหมายสมรสเท่าเทียม” คำที่ทำให้เราได้ตระหนักว่า นี่คือก้าวแรกของโอกาส ที่จะทำให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม

กฎหมายนี้ เริ่มขึ้นเมื่อปีค.ศ. 2000 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทางเนเธอร์แลนด์ แก้ไขกฎหมายการสมรสเพียงแค่ประโยคเดียวเท่านั้น คือ การแต่งงานสามารถทำได้ระหว่างคนสองคนที่มีเพศแตกต่างกัน หรือ “เพศเดียวกัน” ซึ่งทำให้เราเห็นเลยว่า นี่คือประเทศที่เคารพการเป็นอยู่ของคนอย่างแท้จริง จนทำให้ปัจจุบัน มีถึง 31 ประเทศ ที่อนุญาตให้มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม และยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ ที่ไม่ใช่แค่เพียงมองว่าเป็นสีสัน แต่เป็นการบ่งบอกสิทธิ ที่พวกเขาควรได้ใช้ชีวิตคู่กันอย่างถูกกฎหมาย

ดังนั้น Pride Month อาจไม่ใช่แค่เวทีแสดงสีสันหรือความแตกต่าง แต่อาจรวมถึงการสร้างโอกาสให้คนตัวเล็กๆ ที่มีจำนวนไม่น้อย ให้เขาได้ใช้ชีวิตกันอย่างเท่าเทียมในแบบที่ควรจะเป็น

Chance For Change: จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากการให้โอกาส

pride month-live equally-สมรมเท่าเทียม

จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง “ข้อดี” ที่จะนำมาซึ่งโอกาสของความเท่าเทียม และส่งผลถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในสังคมระยะยาว โดยสภาพสังคมที่ดี ต้องเริ่มจากสวัสดิการรัฐที่เข้าถึงได้ เหมือนกับคู่สมรสชายและหญิง

• “การรับบุตรบุญธรรม” ที่จะช่วยให้เด็กกำพร้าทุกคน มีโอกาสในการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความรักจากพ่อแม่ที่เพียบพร้อม

• “อำนาจทางการเงิน” ที่จะได้รับโอกาสเข้าถึงได้มากขึ้น และยังอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ในเรื่องของธุรกิจต่าง ๆ ที่จะมาซัพพอร์ตพวกเขาได้มากขึ้นอีกด้วย

เพียงแค่ไม่กี่ข้อดี ก็นับว่าเป็นโอกาสของความเท่าเทียมที่ทุกคนจะได้รับอย่างแท้จริง และจะดีแค่ไหน หากเราได้รับโอกาสในการดำเนินไปถึงจุดที่ควรจะเป็น

Sustainable Happiness Starts From Living Equally: ความสุขที่ยั่งยืนเริ่มจากชีวิตที่เท่าเทียม

pride month-live equally-สมรมเท่าเทียม

ความสุขที่ไม่ยากเกินคว้ามักเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่เรียกว่า “ครอบครัว” ใครๆ ต่างก็มองหาความมั่นคงให้กับคนที่รัก และเมื่อทุกครอบครัวได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกัน ก็จะเกิดการยกระดับสังคมไทยให้เป็นสากลมากขึ้นตามมา

แม้เราจะอยู่ในสังคมที่ความหลากหลาย เป็นดั่งแสงสว่างที่คอยมอบสีสันให้กับคนรอบข้าง แต่กลับกันชีวิตของพวกเขามักถูกบดบังด้วยเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นเพียงเพราะ “ความแตกต่าง” หากทุกอย่างดำเนินต่อไปในทิศทางที่ดี ก็จะทำให้เกิดความเสมอภาคทั้งในเรื่องของสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของชีวิตคู่สำหรับ “ทุกคน” ไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่ง และเมื่อใดที่ความเท่าเทียมบังเกิดต่อทุกคนในสังคม ก็จะเกิด “สุข (ของ) สาธารณะ” อย่างแท้จริง

เราจึงพร้อมสนับสนุนทุกโอกาส ที่จะทำให้ทุกคนในสังคมนี้ “เท่าเทียมกัน” เหมือนดั่งแคมเปญ “Live Equally” ของเราที่จัดขึ้น เพื่อให้ทุกคนได้เติบโตอย่างสวยงามในสังคมที่เสมอภาคกันอย่างแท้จริง

CONTRIBUTOR

Related Articles

เมื่อรัก คือ รักบนความเท่าเทียม ชีส & รถเมล์

หากลองคิดดูจากผู้คนนับล้านคนจะมีสักกี่คนที่เกิดวัน เดือน ปี เดียวกัน แล้วได้โคจรมาเจอกัน มากกว่านั้นคือได้กลายเป็น “คู่รัก” กัน เช่นเดียวกับคู่ของ “ชีส” – ณัฐฐิยา สงวนศักดิ์ และ “รถเมล์” – ชัญญานุช มะลิมาตร ที่ร่วมกันถักทอเรื่องราวความรักต่างๆ ร่วมกันมาจนจะเข้าปีที่

เมื่อรัก…คือ การให้ความสำคัญ กับคนที่อยู่เคียงข้าง ลูกไม้ & มาย

แสนสิริ ขอชวนทุกคนมาร่วมกันนับถอยหลังสู่วันที่ประเทศไทยจะมี “สมรสเท่าเทียม” อย่างเป็นทางการ โดยคู่รักทุกคู่จะสามารถจดทะเบียนเป็น “คู่สมรส” และได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมพร้อมกันในวันที่ 22 มกราคม 2568 ผ่านแคมเปญ Ready, Set, Marry! เริ่มจากคู่รักสายแฟชั่น ‘ลูกไม้’ อินทิรา หอมเทียนทอง และ ‘มาย’

ส่งต่อโอกาสทางการศึกษาผ่านโครงการ ZERO DROPOUT

Zero Dropout  เพราะ “การศึกษา” เปรียบเสมือนใบเบิกทางต่อยอดสู่อนาคต แต่กลับมีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ รายได้ในครอบครัวไม่เพียงพอ สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการศึกษา เด็กบางคนต้องช่วยที่บ้านทำงานจนเรียนไม่ทัน หรือขาดเอกสารในการยืนยันตัวตน ทำให้ “เด็ก” หลายคนหลุดออกจากระบบการศึกษาและพลาดโอกาสในการทำตามความฝันและพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น    โครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” เป็นสิ่งที่แสนสิริมีความมุ่งมั่นตั้งใจริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ