การยอมรับและเยียวยาจิตใจ
หลังสูญเสียคนในครอบครัว 

“เวลา” เป็นสิ่งล้ำค่าที่สุดในชีวิต
เพราะเราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้อีก
จงใช้เวลา ดูแลเอาใจใส่ คนที่เรารักให้มากที่สุด

การสูญเสียเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอในชีวิตอยู่ที่ว่าเวลานั้นจะมาถึงเมื่อไหร่ สิ่งที่เราควรจะทำและต้องทำให้ได้คือ การยอมรับความจริงและเดินต่อไปให้ได้ ทำหน้าที่ที่ต้องทำให้ดีที่สุด เข้มแข็ง อดทน เพื่อไม่ทำให้คนที่จากไปและคนที่อยู่ในชีวิตเราเขาเป็นห่วงรวมถึงเราต้องเข้มแข็งให้เร็วที่สุดเพื่อจะได้เยียวยาจิตใจคนอื่นในครอบครัว

เราทุกคนเป็นมนุษย์คงไม่มีใครหลีกหนีการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ เพราะสิ่งเหล่านี้คือธรรมชาติของชีวิต แต่เมื่อเราต้องสูญเสีใครสักคนที่เป็นที่รัก ที่มีความผูกพันก็เป็นเรื่องยากที่จะทำใจใช่ไหมล่ะค่ะ แต่เราเชื่อว่าเวลาจะเยียวยาหัวใจของเราให้กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง เมื่อถึงเวลานั้นเราจะยิ้มได้ สดใส และกลับมามีพลังในการใช้ชีวิต 

วันนี้ Mental Life by Chanisara จะชวนทุกคนมาย้อนคิดถึงคุณค่าของเวลาที่ทุกคนมีอยู่ในชีวิต ระยะเวลาของความเศร้าและวิธีเยียวยาจิตใจหลังสูญเสียคนที่เป็นที่รักในครอบครัวกันค่ะ

เมื่อเวลาเป็นสิ่งล้ำค่าที่สุดในชีวิต

เมื่อการสูญเสียคนที่รักหรือคนในครอบครัวเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องพบเจอและผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากที่สุดในชีวิตไปให้ได้ เราไม่รู้เลยว่าวันสุดท้ายของชีวิตของคนที่เรารักจะมาถึงเมื่อไหร่ บางคนอาจมีเวลาทำใจ แต่บางคนกลับไม่ได้มีเวลาตั้งตัวด้วยซ้ำ  สำหรับเรา ”เวลา” จึงเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในชีวิต เพราะเราทุกคนไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้อีก จงใช้เวลากับคนที่เรารักให้คุ้มค่าที่สุด ดูแล เอาใจใส่ แสดงความรัก ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะที่เรายังมีเวลา เพราะฉะนั้นทุกคนอย่าลืมกลับไปหาคนที่คุณรักและใส่ใจเขาให้มากที่สุดกันนะคะ

ระยะเวลาของความเศร้า 

หลังเกิดการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก จะมีระยะเวลาของความเศร้า 5 ระยะด้วยกัน เรียกว่า “5 Stages of Grief” ทฤษฎีนี้คิดค้นโดย อลิซาเบธ คูเบอร์ รอส (Elisabeth Kübler-Ross) จิตแพทย์ชาวอเมริกัน – สวิส ซึ่งศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสูญเสียและพบว่า 

ระยะที่ 1 ปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้น (Denial) ยอมรับไม่ได้ คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแค่เพียงความฝัน

ระยะที่ 2 โกรธกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Anger) อาจจะโทษสิ่งรอบข้าง อารมณ์ขึ้นใส่คนใกล้ชิด พยายามหาเหตุผลของการสูญเสีย

ระยะที่ 3 การต่อรอง อ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (Bargaining) อยากเปลี่ยนความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

ระยะที่ 4 การซึมเศร้า (Depression) อยู่ในภาวะที่โศกเศร้ากับความสูญเสีย

ระยะที่ 5 การยอมรับ (Acceptance) ยอมรับความจริงและใช้ชีวิตต่อไป

วิธีเยียวยาจิตใจ เมื่อสูญเสียคนที่รักหรือคนในครอบครัวแบบกะทันหัน

1. ให้เวลากับความสูญเสีย เคยได้ยินใช่ไหมคะว่าเวลาจะเยียวยาและรักษาจิตใจให้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่อาจจะต้องใช้เวลา บางคนอาจจะต้องใช้เวลาเป็นเดือน หรือ บางคนอาจจะต้องใช้เวลาเป็นปี แต่เชื่อเถอะว่ามันจะดีขึ้นในทุกๆ วัน

2. ร้องไห้ออกมาอย่ากักเก็บความรู้สึก ปลดปล่อยออกมาอย่างเต็มที่ ไม่ต้องพยายามเข้มแข็ง ทั้งๆ ที่ใจตัวเองไม่ไหว

3ระบายความรู้สึกให้คนอื่นฟัง

4. ดูแลสุภาพร่างกายตัวเอง กินให้ได้ นอนให้หลับพักผ่อนให้เพียงพอ

5. พยายามดำเนินชีวิตประจำวันให้ปกติที่สุด

6. ลาหยุดสักพักให้สภาพจิตใจดีขึ้น

7.ให้ศาสนาเป็นที่พึ่งทางจิตใจ

8. หาก 2-3 สัปดาห์ไม่ดีขึ้นควรไปพบจิตแพทย์

เราไม่อาจรู้เลยว่าวันสุดท้ายของชีวิตเราและคนที่เรารักจะมาถึงเมื่อไหร่เราจึงต้องใช้เวลากับคนที่เรารัก ดูแลเอาใจใส่เขาให้มากที่สุดในตอนที่เรายังมี “เวลา” เพราะเวลาเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในชีวิต ที่ทุกคนมีเท่ากัน และเวลาก็ไม่สามารถย้อนกลับมาได้อีก ไม่ว่าเราจะต้องการเวลาแค่ไหนก็ตาม


Source 

https://www.kwilife.com/blog/detail/change-sadness-to-understanding 

https://www.ekrfoundation.org/5-stages-of-grief/5-stages-grief/ 

Related Articles

ทำไมโรคซึมเศร้าถึงเป็นปัญหาสุภาพจิตอันดับหนึ่งของไทย

สุขภาพจิตเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะสภาพจิตใจของเราสำคัญไม่แพ้สุขภาพกายเลยนะคะทุกคนว่าไหม? เพราะหากเรามีสุขภาพจิตที่ดี ก็จะทำให้เรามีความสุขในการใช้ชีวิต มีพลังในการจะทำสิ่งต่างๆ มีภาวะทางอารมณ์ที่ดี ยิ้มแย้ม สดใส และยังส่งผลต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของเราด้วยนะคะ  จากการรายงานโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขในปี 2556 พบว่าคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตถึง 7 ล้านคน แต่มีผู้เข้ารับการรักษาเพียงประมาณ 2 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่า คนไทยอาจมีปัญหาสุขภาพจิตถึง

Altruistic love

Altruistic love ความรัก ความช่วยเหลือ ด้วยหัวใจจะสามารถเยียวยาจิตใจได้

การทำดีช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ จะทำให้เรารู้สึกใจฟูและมีความสุข เวลาที่มีใครสักคนมาทำดีกับเรา ด้วยหัวใจโดยที่เขาไม่ได้ต้องการสิ่งใดตอบแทน เรามักจะรู้สึกดีและรู้สึกใจฟูใช่ไหมละค่ะ การพูดคุยให้กำลังใจ การช่วยเหลือ แบ่งปัน ด้วยความเต็มใจจะสร้างความสุขให้กับผู้รับและผู้ให้เสมอ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการแสดงความรักให้กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนคนรัก คนรู้จัก หรือแม้กระทั่งคนที่เราไม่รู้จักก็ตาม อาจเป็นคนที่เขากำลังเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ เช่น คนแก่ที่เดินข้ามถนนหรือคนที่เขาเดือดร้อนจากน้ำท่วม ฯลฯ การกระทำเหล่านี้อาจเป็นเพียงการกระทำเล็กๆ น้อย

flood

ระวังใจ…เมื่อประสบภัยน้ำท่วม

น้ำท่วมอาจทดสอบกาย แต่จิตใจเราแกร่งกว่า ผ่านมรสุม ผ่านสายฝน ขอให้เข้มแข็งและอดทน เราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่คงเป็นเรื่องยากที่เราจะควบคุมฝน ฟ้า อากาศ ในช่วงนี้เกิดน้ำท่วมในหลากหลายจังหวัดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น เชียงราย พะเยา หนองคาย ฯลฯ ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนท้อแท้ สิ้นหวังหรือหมดกำลังใจ สภาพจิตใจย่ำแย่ หลายคนอาจจะเกิดความเครียด