เส้นทางชีวิต "น้องทอง"
ที่เกือบหลุดการศึกษา ไปเป็นแรงงาน

“ครูครับ ผมอยากเรียนต่อ ช่วยผมด้วย” ประโยคที่ไม่ว่าใครฟังก็ต้องเศร้าใจ เมื่อได้ยินจากปากของเด็กคนหนึ่ง

โครงการ ‘Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน‘ แสนสิริเราได้ร่วมเงินสนับสนุนแก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) เพื่อดำเนินการนำเด็กที่มีความเสี่ยงหรือหลุดจากระบบการศึกษากลับเข้าโรงเรียน…

เป็นช่วงที่ทีมงานเริ่มลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและช่วยเหลือเด็กที่ถูกระบุจากทางหน่วยงานแล้วว่า มีความเสี่ยงที่จะหลุดจากระบบการศึกษาในเร็ววัน ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งแรกเราได้รับทราบเรื่องราวจากเด็กจากหลายครอบครัว และหนึ่งในนั้นมี “น้องทอง” เด็กชายวัยกำลังอยู่บนเส้นทางแยกของชีวิต โดยที่ตัวน้องก็เกือบจะไปหลุดไปในอีกเส้นทางที่ไม่ควรจะเป็น

อุบัติเหตุ ครอบครัว สุรา : ใช้ชีวิตในแต่ละวันยังยาก โอกาสการเรียนแทบมองไม่เห็น

เส้นทางชีวิต น้องทอง zero dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน sansiri แสนสิริ

‘น้องทอง’ หนุ่มน้อยที่มีปัญหาเรื่องข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ แม้จะเกิดในประเทศไทย แต่เนื่องจากคุณพ่อเป็นชาวเมียนมาร์ ขณะที่แม่เป็นชาวชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ชีวิตในวัยเด็ก ทองเคยประสบอุบัติเหตุจากการนั่งซ้อนรถจักรยานยนต์ไปพร้อมกับคุณพ่อ จนศรีษะกระแทก ส่วนคุณพ่อเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในครั้งนั้น  และแม่ก็มีสามีและลูกใหม่

แม่ทำอาชีพรับจ้างในไซต์งานก่อสร้างหารายได้คนเดียว เป็นค่าแรงขั้นต่ำ และมีปัญหาด้านพฤติกรรมคือดื่มเหล้าเป็นประจำ โดยมากทองจึงได้รับการดูแลเพียงลำพังจากยายวัยชรา หรือบางช่วงทองก็ต้องไปอยู่ที่บ้านน้า ซึ่งพอช่วยเหลืออุปการะได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ ด้วยเหตุนี้ นั่นจึงเป็นเหตุให้ชีวิตของน้องทอง เป็นเสมือนกับอย่าว่าแต่โอกาสที่จะได้เรียนต่อเลย แค่การใช้ชีวิตในแต่ละวันยังเป็นเรื่องยาก

บกพร่องทางการเรียน แต่ไม่บกพร่องในความคิด : ชอบไปโรงเรียน ได้เจอเพื่อน ช่วยงานคุณครู

เส้นทางชีวิต น้องทอง zero dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน sansiri แสนสิริ

จากอุบัติเหตุครั้งนั้น ทำให้สมองของน้องทองได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งมีผลต่อการเรียนโดยตรง นอกจากจะทำให้น้องทองต้องปวดหัวอยู่บ่อยๆ แล้ว ก็มีผลให้การเรียนรู้ค่อนข้างช้ากว่าเพื่อนๆ

อย่างไรก็ตามแม้จะบกพร่องทางการศึกษา แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ทองไม่อยากไปโรงเรียนเลย ตรงกันข้ามน้องทองกลับเป็นเด็กที่ชอบการไปโรงเรียนมาก โดยทุกเช้าน้องจะไปช่วยคุณครูกวาดถนน จัดโต๊ะ ทำความสะอาดห้องเรียนก่อนเสมอ น้องทองบอกกับเราว่า เค้าชอบไปโรงเรียน เพราะได้เจอเพื่อนๆ เจอคุณครู มีอาหารให้ทานไม่ต้องทนหิว และที่สำคัญคือเค้าชอบที่จะได้เรียนหนังสือ แม้จะเข้าใจยากในบางครั้งก็ตามที

ตัดสินใจครั้งใหญ่ ในวัยเพียงสิบกว่า : อนาคตของเขาต้องไปต่อ

เส้นทางชีวิต น้องทอง zero dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน sansiri แสนสิริ

เมื่อใกล้จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 น้องทอง โดยบอกเล่าความตั้งใจให้ครูประจำชั้นฟังบ่อยๆ ว่าเขาต้องการเรียนต่อชั้นมัธยมต้น แต่ยังไม่เห็นหนทางไปต่อ จนในช่วงก่อนจบชั้น ป.6 ทองได้ตัดสินใจเข้าหาผู้อำนวยการโรงเรียนสินแร่ เพื่อแจ้งเจตจำนงว่าต้องการความช่วยเหลือเรื่องเรียนต่อ เพราะเขากังวลว่าแม่จะส่งเสียไม่ไหว ประกอบกับเรื่องที่ตนเองมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จึงไม่แน่ใจว่าหากเรียนจบแล้ว เขาจะไปต่อในด้านการศึกษาต่อไปได้อย่างไร…

รับโอกาสสำคัญของชีวิต Zero Dropout ส่งให้ได้เรียนต่อ

เส้นทางชีวิต น้องทอง zero dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน sansiri แสนสิริ

จากการเข้ามาของโครงการ Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน ที่แสนสิริร่วมกับมือกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน และได้เริ่มต้นโครงการครั้งแรกที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จึงเป็นจังหวะประจวบเหมาะที่เป็นโอกาสได้ช่วยเหลือและสนับสนุนทุนการศึกษาแก่น้องทองให้ได้ศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมได้

โดยทีมงานได้ประสานไปยังโรงเรียนรุจิรพัฒน์ ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ และเป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่มีการจัดการศึกษาพิเศษ พร้อมรองรับเด็กในกลุ่มการเรียนรู้บกพร่อง โดยหลักสูตรของโรงเรียนมุ่งเน้นด้านคุณธรรมจริยธรรม หลักสูตรฝึกอาชีพ เช่น เลี้ยงไก่ไข่ ปลูกพืชผักสวนครัว งานฝีมือ เพื่อให้น้องทองสามารถเรียนรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพติดตัวในอนาคตได้

ไม่ใช่แค่เรียนตำรา แต่ได้ฝึกวิชา การใช้ชีวิตในภายภาคหน้า

เส้นทางชีวิต น้องทอง zero dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน sansiri แสนสิริ

ด้วยอุปสรรคเรื่องค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การดูแลจากครอบครัว รวมถึงเรื่องการเรียนรู้ที่ล่าช้า ถ้าหากเข้าเรียนในโรงเรียนทั่วไป อาจเป็นไปได้ว่าน้องอาจจะมีปัญหาด้านการเรียนจนต้องออกกลางคัน

แต่ที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ทองจะได้รับการดูแลในลักษณะที่ใกล้เคียงกับโรงเรียนเดิม คือเป็นหลักสูตรที่เอื้อต่อเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ มีครูที่มีประสบการณ์ดูแล และการเรียนที่ไม่หนักไปในด้านวิชาการจนน้องตามไม่ทัน ซึ่งจะช่วยประคับประคองให้น้องเรียนจนจบชั้น ม.3 ได้ ทั้งในระหว่างนั้นยังได้ค้นหาความถนัดของตนเอง หรือได้ฝึกฝนเรียนรู้ทักษะอาชีพที่จะนำไปใช้เลี้ยงตัวในอนาคตได้

นอกจากนี้ การพักนอนประจำที่โรงเรียน จะช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องเด็กไม่มีผู้ดูแลที่เหมาะสม ประหยัดค่ากินอยู่ ค่าเดินทาง แล้วยังได้ฝึกฝนความรับผิดชอบต่าง ๆ ทักษะสังคม การดูแลแปลงเกษตรในโรงเรียน และฝึกทักษะอื่น ๆ เช่นศิลปะ งานฝีมือ ที่มีครูคอยสนับสนุนให้เด็กค้นพบทางเลือก ความสนใจ และความถนัดที่หลากหลายยิ่งขึ้น

เปิดเทอมครั้งใหม่ : อย่าให้เปลี่ยนจากนั่งห้องเรียน เป็นยืนใช้แรงงาน

โอกาสที่มากกว่าในอนาคต… เพราะเมื่อหลังจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว หากน้องทองยังต้องสร้างโอกาสทางศึกษาของตัวเองต่อ ที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ได้มีการร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่ ในการเข้ามาสนับสนุนเด็กๆ ที่มีความสามารถ มีความตั้งใจ แต่ขาดโอกาส ให้ได้เข้าเรียนต่อในระดับ ปวช. พร้อมส่งเสริมให้ไปได้สุดทางตามความสนใจและความตั้งใจ เพื่อให้เด็กที่อาจไม่ถนัดด้านวิชาการ มีโอกาสศึกษาต่อหรือค้นพบอาชีพที่จะใช้เลี้ยงตัวได้อย่างยั่งยืน…

นี่เป็นเพียง 1 ในตัวอย่างของเด็กเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เสี่ยงหลุดการศึกษาและกลับมาโรงเรียนได้อีกครั้ง ประเทศไทยยังมีเด็กอีกเกือบนับล้านชีวิตที่ยังคงเสี่ยงหลุดออกจากระบบ หลุดออกจากการมีอนาคตที่ดี

ช่วยกัน อย่าให้การเปิดเทอมครั้งต่อไป ต้องเปลี่ยนจากนั่งในห้องเรียน กลายเป็นยืนใช้แรงงาน เพราะพวกเขาคืออนาคตของพวกเรา

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับโครงการ ‘Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน’ คลิก Blog.sansiri.com/zero-dropout-main

Related Articles

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

ZERO DROPOUT เพราะการศึกษาที่มีคุณภาพ คือสะพานสู่ความฝัน

ปัจจุบัน จังหวัดราชบุรีมีนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 127,266 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนยากจนพิเศษ อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาท ต่อคนต่อเดือน 3,258 คน คิดเป็น 2.56 % สาเหตุดังกล่าวทำให้ครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องในการไปโรงเรียนได้ จึงทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา คือมีเด็กที่หลุดระบบการศึกษาและเสี่ยงหลุดระบบการศึกษาเกิดขึ้น โจทย์ดังกล่าวทำให้แสนสิริ องค์กรในภาคเอกชนที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมเด็กและเยาวชน ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน-แสนสิริ-นักเรียนไทย-นักเรียน

สร้างโอกาสให้น้องเรียนรู้ “วิชาชีพ วิชาชีวิต” ใน Zero Dropout

หากคุณเป็นแฟนคลับ ที่ติดตามแสนสิริเป็นประจำเสมอ น่าจะยังคงจำกันได้ดีกับโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ภารกิจที่เรามุ่งมั่นให้เด็กไทยมีโอกาสได้เรียนและกลับคืนสู่ระบบการศึกษา โดยเริ่มต้นที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นโมเดล และจากที่เราได้ลงไปสัมผัสโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าว พบว่าในหลายโรงเรียนมีทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านอาชีพให้กับนักเรียนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพื้นที่นั้นเป็นส่วนที่ติดกับชายแดนเมียนมาร์ จึงเป็นเหตุให้มีเด็กชาติพันธุ์มากมาย ประกอบกับครอบครัวมีฐานะยากจน ส่งผลให้เด็กบางคนไม่สามารถเรียนจบในการศึกษาภาคบังคับได้ เพราะต้องช่วยพ่อแม่รับจ้างเพื่อหาเงินมายังชีพในครอบครัว หนึ่งในกิจกรรมย่อยที่ช่วยเติมเต็มในโครงการ

ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน

Giving Mission ภารกิจ ‘ให้’น้องยิ้มได้ กับ Zero Dropout

เพราะอาหารกลางวัน คือพลังสำคัญของนักเรียน จำความรู้สึกของวันที่งานยุ่งมากจนแทบไม่ได้ทานข้าวได้ไหม? ทั้งเหนื่อยทั้งหิวจนอดทนแทบไม่ไหว ความรู้สึกแบบนั้นคงไม่มีใครอยากพบเจอ แล้วรู้ไหมว่า เรื่องน่าเศร้าคือยังมีนักเรียนจำนวนมากที่ยากจนหรือด้อยโอกาสจนมักจะไม่ได้ทานทั้งอาหารเช้าและอาหารเที่ยง เพราะครอบครัวมีรายได้ไม่มากพอที่จะเตรียมอาหารเช้าทุกวันได้ ส่วนโรงเรียนก็ได้รับงบประมาณสำหรับค่าอาหารกลางวันที่ไม่พอเพียง หลายครั้งที่เด็กๆ ได้กินอาหารกลางวันในปริมาณเพียงเล็กน้อย ไม่อิ่มท้องทั้งยังได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือบางวันก็อาจจะไม่ได้ทานอาหารเลย โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยยังสามารถเป็นกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนไปด้วยในตัว สอนให้นักเรียนได้ทดลองลงมือทำจริงแบบครบวงจร เกิดประสบการณ์ทั้งเพาะปลูก ดูแลพืชผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ไข่